ข่าว:

กระทู้ล่าสุด

#1
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 02:06:39 หลังเที่ยง
Sell XAUUSD 2329-30
Limit 2334
Sl 2335
#2
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 12:10:53 หลังเที่ยง
#3
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / พัฒนากลยุทธ์การเทรดอย่างรวดเร...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - วันนี้ เวลา 02:24:31 ก่อนเที่ยง
อะไร คือวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขายของตัวเทรดเดอร์เอง?  อาจมีหลายคำตอบ แต่ในที่นี้ ขอให้เทรดเดอร์ลองใช้แนวคิดในการมองหาเส้นแนวรับแนวต้าน เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขาย

เทรดเดอร์เอง ต้องเรียนรู้วิธีใช้เส้นแนวรับแนวต้าน อย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการเข้าซื้อขาย และเพื่อให้ได้ผลลัทธ์ที่ดีขึ้น
เส้นแนวรับ แนวต้านเป็นอย่างไร?

ก่อนที่เทรดเดอร์จะเรียนรู้เกี่ยวกับ เส้นแนวรับ แนวต้านนี้  เทรดเดอร์ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของการอุปสงค์ อุปทาน (ความต้องการซื้อ ความต้องการขาย) ให้ดีเสียก่อน
ความต้องการซื้อและความต้องการขายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเคลื่อนไหวของราคา ตลาดจะเปลี่ยนเป็นตลาดขาขึ้นเมื่อความต้องการความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น และจะเปลี่ยนเป็นตลาดขาลงเมื่อความต้องการขายเพิ่มขึ้น

การศึกษารูปแบบราคากราฟแท่งเทียน เป็นการการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งส่งผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ อุปทาน (ความต้องการซื้อและความต้องการขาย) นั่นเอง ส่วนการวิเคราะห์ทางพื้นฐานเป็นปัจจัย กำหนดอุปสงค์ อุปทาน (ความต้องการซื้อและความต้องการขาย) อีกทีหนึ่ง

ราคาขยับขึ้นเมื่อความต้องการซื้อสูงกว่าความต้องการขาย  ผู้ซื้อมีความกระตือรือร้นต้องการที่จะซื้อมากกว่าผู้ขาย ที่ยินดีขาย ดังนั้นผู้ซื้อจะเสนอราคาที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดผู้ขาย
ราคาขยับลดลงเมื่อความต้องการขายสูงกว่าความต้องการซื้อ  ผู้ขายมีความกระตือรือร้นต้องการที่จะขายมากกว่าผู้ซื้อ ที่ยินดีซื้อ ในกรณีนี้ผู้ขายจะลดราคาเสนอของพวกเขาจนกว่าผู้ซื้อจะเต็มใจที่จะซื้อ

ในขณะที่กราฟราคาแท่งเทียนอยู่ที่เส้นแนวรับ เทรดเดอร์ทั่วไปมักคาดหวังว่าความต้องการซื้อจะมากกว่า ความต้องการขาย  เมื่อความต้องการซื้อสูงมากกว่าความต้องการขาย ราคาจะเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยราคาจะหยุดที่เส้นแนวรับนั่นเอง

ในขณะที่กราฟราคาแท่งเทียนอยู่ที่เส้นแนวต้าน ซึ่งแปลว่ามีความต้องการซื้อ  เทรดเดอร์ทั่วก็ไปมักคาดหวังว่า ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก

ให้เทรดเดอร์จำไว้ว่า เส้นแนวรับ แนวต้าน ไม่ได้เป็นระดับราคาที่ชัดเจนมากนัก  ทั้งแนวรับและแนวต้านเหล่านี้เป็นการเกิดขึ้นในช่วงช่องของราคา อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกและความชัดเจนนักวิเคราะห์ด้านเทคนิคหลาย ๆ คนได้วาดเส้นแนวรับ แนวต้านไว้

การลากเส้นแนวรับแนวต้านนี้ เพื่อเป็นแสดงให้เห็นเท่านั้น มันจะใช้งานได้ดี ตราบเท่าที่เทรดเดอร์เข้าใจว่าเส้นแนวรับ แนวต้านนี้ แท้ที่จริงแล้ว คือเส้นที่เป็นตัวแทนของช่วงหรือโซนที่ต้องการ ของอุปสงค์ อุปทาน (ความต้องการซื้อและความต้องการขาย)

จะหาเส้นแนวรับ แนวต้านได้อย่างไรบ้าง?

1. หาการแกว่งตัวสูงสุด และการแกว่งตัวต่ำสุด / SWING HIGH SWING LOW

You cannot view this attachment.

การแกว่งตัวสูงสุด และต่ำสุด ที่ใกล้ที่สุดเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ  ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับการคาดการณ์ของเส้นแนวรับ และแนวต้าน
ทุกๆ จุดแกว่งตัว ไม่ว่าจะแกว่งตัวสูงสุดหรือต่ำสุด อาจเกิดขึ้นได้ที่เส้นแนวรับ แนวต้าน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเข้าซื้อขายมีประสิทธิภาพที่สุด ให้เทรดเดอร์มุ่งเน้นความสนใจไปที่การแกว่งตัวสูงสุด และการแกว่งตัวต่ำสุด ในแต่ละรอบหรือกรอบช่วงเวลา

2. หาการกลับตัวบนเส้นแนวรับ แนวต้าน / FLIPPING OF SUPPORT, RESISTANCE

You cannot view this attachment.

การย้อนกลับของกราฟราคาแท่งเทียน หรือการพลิกกลับ (FLIPPING) เป็นแนวคิดที่สำคัญ สำหรับเส้นแนวรับและเส้นแนวต้าน  แปลความหมายได้ว่า เส้นแนวรับอาจจะเปลี่ยนเป็นเส้นแนวต้าน หรือเส้นแนวต้าน อาจจะเปลี่ยนเป็นเส้นแนวรับ

เมื่อกราฟราคาแท่งเทียน สามารถทะลุผ่านเส้นแนวรับไปได้ มันคือการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจการควบคุม จากผู้ซื้อไปยังผู้ขาย เส้นแนวรับจะกลายเป็นเส้นแนวต้าน ที่ผู้ขายมั่นใจว่าจะไม่สามารถทะลุขึ้นมาได้ เพราะเปลี่ยนจากเส้นแนวรับเป็นเส้นแนวต้านแล้ว

3. เส้นแนวรับ และเส้นแนวต้าน จากช่วงเวลาที่สูงขึ้น

You cannot view this attachment.

สำหรับการจะพุ่งเป้าไปที่เส้นแนวรับ แนวต้านแล้วนั้น เทรดเดอร์สามารถหาเส้นแนวรับ แนวต้านนี้ได้ในช่วงเวลาที่สูงขึ้นได้ ก่อนที่เทรดเดอร์จะนำเอาไปใช้ในกรอบเวลาที่ตัวเทรดเดอร์ใช้งาน

ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์สามารถทำบันทึกไว้ก่อนได้ถึงเส้นแนวรับ แนวต้านในกรอบเวลารายสัปดาห์ เมื่อได้กรอบเส้นแนวรับ แนวต้านรายสัปดาห์แล้ว (ลากเส้นเอาไว้ก่อน) หลังจากนั้น ให้เทรดเดอร์ย่อช่วงเวลาเป็นกรอบรายวัน เพื่อหาจังหวะในการเข้าซื้อขาย

วิธีนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์พุ่งเป้าให้ความสำคัญกับ เส้นแนวรับ แนวต้านพร้อมกับกราฟราคาแท่งเทียนว่า ทำปฎิกริยาอะไรบ้างเวลาที่กราฟราคาชนกับ เส้นแนวรับ หรือ เส้นแนวต้าน ให้เทรดเดอร์ฝึกฝนหมั่นสังเกตให้บ่อย วิธีนี้จะกลายเป็นวิธีที่เหมาะสมในช่วงเวลาไม่นาน
#4
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - วันนี้ เวลา 01:30:01 ก่อนเที่ยง
CADCHF
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่เหนือ Support Trendline จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement Zone สัมพันธ์กับ Support แล้วมีแรงซื้อกลับขึ้นมา จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นตามแนวโน้มเดิมต่อไป มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

NZDCHF
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบ Uptrend Channel จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 78.6% สัมพันธ์กับ Support Trendline แล้วมีแรงซื้อกลับขึ้นมา จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นตามแนวโน้มเดิมต่อไป มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ


GBPNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบ Uptrend Channel จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคากำลังย่อตัวกลับลงมาโดยที่ด้านล่างของราคามี Demand Zone สัมพันธ์กับ Support Trendline รออยู่ เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะลงมาทดสอบแล้วกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#5
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 12:31:03 ก่อนเที่ยง
#6
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมื่อวานนี้ เวลา 02:30:02 หลังเที่ยง
Buy XAUUSD 2333
Limit 2329-31
Tp 2337
Tp 2340
Tp 2343
Tp 2346
Tp 2350
Tp 2354
Tp 2358
Tp 2364
Tp 2370
Tp 2376
Sl 2328
#7
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / trading pressure คืออะไร Selli...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - เมื่อวานนี้ เวลา 01:38:24 ก่อนเที่ยง
แท่งเทียนเป็นส่วนสำคัญของการอ่าน price action ที่เกิดขึ้น อ่านบาร์ต่อบาร์แล้วอ่านเป็นภาพใหญ่ขึ้นเป็น price structure แล้วก็อ่านที่เปิดเผยตรงจุดต่างๆ ที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อกำหนดสำหรับ trade setup เข้าเทรดตอนราคากลับมาหา แนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand การอ่านความหมายโดยเฉพาะเรื่องของ trading pressure หรือความกดดันการเทรดจากฝ่ายไหน ที่แท่งเทียนเปิดเผยออกมามีผลต่อการกำหนดความเป็นไปได้สูงแต่ละ trade setup

Trading pressure ต่างจากแท่งเทียน Bullish หรือ Bearish

You cannot view this attachment.

ส่วนประกอบหลักของแต่ละแท่งเทียนคือ ราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิด (Open High Low Close = OHLC) โดยหลักการทั่วๆ ไปก็จะบอกว่า แท่งเทียนบอกถึงการสู้กันระหว่าง Sellers และ Buyers ในช่วงเวลาแต่ละแท่งเทียนที่กำหนด เช่น M30 H1 หรือ H4  ที่บอกว่าข้างไหนชนะตอนจบ ข้างไหนแพ้ ด้วยการเปรียบเทียบเบื้องต้นแค่ราคาเปิดและราคาปิด โดยส่วนความยาวของ Body แท่งเทียน (Body ของแท่งเทียนคือ ระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด) และส่วนหางของแท่งเทียนหรือ shadow หรือ wick ที่บอกถึง traidng pressure ว่าเป็น selling pressure หรือ buying pressure ว่าอยู่ข้างไหนของแท่งเทียน  ดังนั้นการตีความหมายเรื่อง tradng pressure สำคัญกว่าแค่บอกว่าเป็น Bullish candlestick หรือ Bearish candlestick เพราะราคาบอกว่าตลาดกำลังบอกอะไรอยู่ เพราะราคาไม่รู้จักแท่งเทียน ดังนั้นต้องอ่านแท่งเทียนด้วยการอ่าน trading pressure ประกอบ โดยเฉพาะอ่านต่อเนื่องกัน ก็จะบอกปริบทที่เกิดขึ้นว่าเป็นแบบที่ต้องการเห็นสำหรับ trade setup หรือการเข้าเทรดหรือเปล่า ดังนั้น แท่งเทียนที่เป็น Bullish candlestick มีความหมายเป็น Bearish ได้ หรือในทางกลับกัน แท่งเทียน Bearish candlestick มีความหมายเป็น Bullish ได้

ส่วนสำคัญ trading pressure

ส่วนสำคัญที่บอกถึง trading pressure มาจากขนาดความยาวของแท่งเทียน และส่วนของหางแท่งเทียน เช่นอย่างที่แท่งเทียนเลข 1 เมื่อดูที่แท่งเทียนจะเห็นว่าเป็น Bullish candlestick เพราะราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด แต่ท่านจะว่าขนาดของแท่งเทียนจะยาว แต่ส่วนของ Body คือระยะห่างราคาเปิดและราคาปิดน้อยมาก และยังมีหางบาร์หรือ wick ยาวด้วย แท่งเทียนที่เปิดขึ้นบอกถึงช่วงระยะที่มีการเทรดเกิดขึ้น ท่านจะเห็นว่าแม้ว่าแท่งเทียนนี้เป็น Bullish candlestick แต่พอราคาขึ้นไปทำ High ราคาเจอ resistance และดันราคาลงมามาก เมื่อเทียบสัดส่วนของแท่งเทียน ส่วนของ Body และหาง หางบาร์บอกว่าฝ่ายไหน dominant หรือมีบทบาทสำคัญมากกว่ากัน ดังนั้น Bullish candlestick นี้เมื่อตีความหมายถือว่าเป็นสัญญาณ หรือให้ข้อมูลว่าเป็น Bearish นั่นคือวิธีการบอกถึง trading pressure ที่เกิดขึ้นแต่และแท่งเทียน ดังนั้นการตีความตามตรรกะที่อธิบายมาก็จะเป็นดังนี้

แท่งเทียนเลข 1 – มีหางแท่งเทียนด้านบนยาว บอกว่ามี selling pressure มาก แท่งเทียนนี้หมายความว่า ราคาเปิดและดันขึ้นไปสูง ขึ้นไปได้ด้วย buyers  แต่จากนั้นพอราคาสูงสุดมี sellers เข้ามาและดันราคากลับลงมา

แท่งเทียนเลข 2 – มีหางบาร์ด้านล่างยาว บอกว่ามี buying pressure มาก แท่งเทียนนี้หมายความว่า ฝ่าย sellers ดันราคาลงมา แต่แล้ว buyers เข้ามาและสามารถดันราคากลับขึ้นมาได้

แท่งเทียนที่ 3 ดูข้างที่มีหางสั้นหรือน้อยบ้าง แท่งเทียนนี้บอกถึงมี buying pressure น้อยมาก เมื่อเทียบกับอีกข้าง

แท่งเทียนที่ 4 จะเห็นว่ามีหางบาร์น้อยทางด้านบน บอกถึง selling pressure น้อยมากเช่นกัน


ส่วนความยาวของ Body หรือระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด ถ้ายิ่งยาวมาก ยิ่งบอกถึง momentum หรือการเทรดทางใดทางหนึ่งทางที่ราคาปิดได้ ส่วนขนาด Body ที่สั้นบอกถึงการเคลื่อนไหวราคาไม่ห่างกันมาก เลยบอกถึง buying หรือ selling pressure ที่น้อยกว่า บอกถึง momentum ที่ลดลง

การใช้ trading pressure กับการเทรด

จากที่อธิบายมาเป็นการมองจากแท่งเทียนเดียวเป็นหลัก แต่การอ่านหลายๆ บาร์ประกอบกันสำคัญกว่า เพราะบอกถึงว่าการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็น bullish หรือ bearish แข็งหรืออ่อนขนาดไหน มากพอที่จะดันทางทางนั้นๆ หรือเปล่า เพราะการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการอ่านแท่งเทียนต่อเนื่องกัน บอกถึงว่า Bull หรือ Bear เป็นอย่างไร  หรือบอกถึง Momentum ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรนั่นเอง อย่างแรกที่เห็นการใช้ traidng pressure ในการเทรดคือการเทรดที่จุดแนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand เมื่อราคากลับมาหลังบอกว่าราคาเกิด trading pressure ทางที่เป็น key level นั้นๆ หรือเปล่า ยิ่ง trading pressure มากยิ่งเป็นสัญญาณที่สนับสนุนในการเปิดเทรด

You cannot view this attachment.

อย่างภาพประกอบจะเห็นว่าราคาวิ่งเข้าหา resistance ด้านบน ดูตรงที่ลูกศรสีแดง ขนาดแท่งเทียนสั้น บอกถึง momentum ที่ลดลงไปเพราะราคาวิ่งเข้าหาแนวต้านที่บอกว่ามีการกำหนด sell limit orders ไว้ตามขั้นตอนเพื่อหยุด หรือชะลอ momentum ที่เกิดขึ้น อาจเห็นแท่งเทียนยาวๆ ที่เบรคขึ้นไปหา resistance เป็นเรื่องของการเร่งราคาขึ้นไปเพื่อ liquidiy ที่ต้องการเข้าเทรดด้านบน หลักการพื้นๆ ถ้ามองจากรูปแบบในการเทรด พวกแนวรับ-แนวต้านเมื่อเห็นราคาเด้งออกจากแรงๆ จากพื้นที่พวกนั้นบอกว่า trading pressure เกิดขึ้นสัมพันธ์กับแนวรับ-แนวต้าน เช่นอย่างด้านบนราคาวิ่งไปหา แนวต้าน ราคาเด้งที่เห็นจุดๆ ที่สะท้อน selling pressure ชัดเจน 2 แท่งเทียนที่พื้นที่เดียวกัน หลังจากที่ราคาขึ้นไปบอก momentum ทางด้าน buy ลดลงด้วย จะเห็นว่าพอราคาได้เบรคลงมาที่เอาชนะแนวรับใกล้ เลยเกิดสัญญาณในการเปิดเทรด sell ที่ชัดเจนทันที จะเห็นว่าการอ่านแท่งเทียนหา trading pressure เพื่อประกอบการเทรด อย่างกรณีที่ยกมา ต้องดูโครงสร้างและปริบทประกอบ ค่อยจะตีความหมายของการเคลื่อนไหวของราคาได้แม่น ไม่ใช่แค่อ่านความหมายจากแท่งเทียนเดียว  เพราะการอ่านแท่งเทียนอย่างเดียว อาจตีความหมายผิดได้ นำไปสู่การเทรดผิดทางได้ เพราะ trading pressure ที่เกิดตรงส่วนที่หางแท่งเทียนหรือ wick ต้องไม่ลืมว่านอกจาก trading pressure ที่เกิดขึ้น ยังเป็นการลด Limit orders ที่พื้นที่ที่เกิดหางแท่งเทียนหรือ trading pressure ด้วย เลยต้องใช้ trading pressure ให้เป็นว่าตีความเป็น trading pressure เพื่อเทรดกับการ Key levels  หรือการซึมซับออเดอร์ แล้วไปต่อทางที่เกิดหางแท่งเทียนได้ง่าย

You cannot view this attachment.

ตัวอย่าง ดูจุดแรก ถ้าตีความจากแท่งเทียนอย่างเดียวว่าเป็น selling pressure จะพลาดได้ ดูแท่งเทียนต่อมา ไม่ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหว แม้ว่าตรงส่วนของ Body แท่งเทียนก่อนเกิดจะสั้นและต่อเนื่องกัน บอกถึง Momentum ที่ลดลงไป แต่ขณะเดียวกัน บอกว่า sellers ไม่สามารถดันลงมาได้ด้วยบอกถึง weakness ของฝ่ายนั้น
นี่คือการการตีความ trading pressure จากแท่งเทียนสำคัญต่อการเทรดอย่างไร สำคัญต้องอ่านปริบทหรือแท่งเทียนต่อเนื่องกัน และให้เข้ากับโครงสร้างที่ต้องการเปิดเทรด เพราะการอ่านต่อเนื่องกันบอกถึงการเคลื่อนไหวของฝ่าย sellers หรือฝ่าย buyers เป็นอย่างไร บอกถึง momentum ที่เกิดขึ้นว่ามากหรือลดลง เมื่อเกิด trading pressure ที่จุดที่คาด เช่น แนวรับ-แนวต้าน ว่าสัมพันธ์กันหมดหรือเปล่า
#8
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - เมื่อวานนี้ เวลา 01:09:21 ก่อนเที่ยง
GBPAUD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดต่ำลงเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบ Downtrend Channel จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาลง
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาดีดตัวกลับขึ้นมาที่ Resistance Trendline สัมพันธ์กับ Fibonacci Retracement 78.6% แล้วมีแรงขายกลับลงมา จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะลงไปทำสวิงโลวใหม่ต่ำลงตามแนวโน้มเดิมต่อไป มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

GBPCAD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคาสร้างรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่จะกลับตัวลงอย่าง Head and Shoulder จากนั้นราคาได้ร่วงลงมาปิดอยู่ใต้เส้น Neckline เป็นสัญญาณยืนยันว่ารูปแบบกลับตัวที่เกิดขึ้นสมบูรณ์ จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงตาม Chart Pattern ที่เกิด มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDCHF
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยม Descending Triangle จากนั้นราคาได้ทะลุขึ้นมาปิดอยู่ด้านบนของกรอบสามเหลี่ยม เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารูปแบบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาจะขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาทดสอบที่กรอบของ Descending Triangle เดิม สัมพันธ์กับระดับ Fibonacci Retracement 61.8% แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามา จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อ มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#9
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - เมษายน 19, 2024, 12:54:55 ก่อนเที่ยง
SILVER
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยม Symmetrical Triangle จากนั้นราคาทะลุออกจากด้านล่างของกรอบ Pattern เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารูปแบบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นครึ่งนี้บ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาจะลง มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDUSD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดต่ำลงเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาลง
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาเพิ่งจะทะลุลงมาทำสวิงโลวล่าสุดต่ำลงอยู่ใต้แนวรับ ถือเป็นสัญญาณยืนยันการไปต่อในแนวโน้มขาลง มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#10
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner C...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - เมษายน 18, 2024, 01:05:02 หลังเที่ยง
เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

อินดิเคเตอร์อีกตัวที่เป็นที่นิยมกันในการกำหนดเทรนคือ Keltner Channel จะใช้ในการกำหนดและเทรดด้วยหลักการของเทรน เช่นดู Overbought/Oversold เพื่อหาเทรดจุดกลับตัว หรือว่าจะดูว่าเทรนหลักเป็นขาขึ้นหรือขาลงเพื่อเทรดตามเทรนเมื่อราคาลงมาทดสอบเทรน หลักการเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands คือเป็นกรอบเทรนหรือ Trend Channel ให้ดูเทียบกับราคาปัจจุบัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถ้าใช้กับ Market structure ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้เข้ามาอีกระดับหนึ่งสำหรับ Trade setup

Keltner Channel คืออะไร

You cannot view this attachment.

Keltner Channel เป็นอินดิเคเตอร์บอกเรื่องของเทรนหรือ Trend following เป็นหลัก รูปแบบการนำเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands แต่วิธีการในการหาค่าจะต่างกัน [ Keltner ใช้ ATR ในการหาค่า ส่วน Bollinger Bands ใช้ Standard Deviation ] ตัวอินดิเคเตอร์จะเสนอกรอบเทรนหรือ Channel ด้วย 3 เส้น เส้นกลางสำหรับกำหนดเทรนจากการหาค่าจาก EMA 20 ที่กำหนดใน Settings [สามารถเพิ่ม Moving Average กำหนดค่าวิธีการคำนวณเป็น Exponential เป็น 20 เปรียบเทียบได้] ส่วนเส้นด้านบนหาค่าจาก EMA +( 2 x ATR) และเส้นล่างหาค่าจาก EMA – (2 x ATR) เมื่อ 3 เส้นรวมกันก็จะได้กรอบเทรนสำหรับราคา

โดยการกำหนดเทรนจะอิงราคากับเส้นกลางหรือ EMA 20 ถ้าราคาเหนือกว่าเป็นเทรนขึ้น และถ้าราคาต่ำกว่าเป็นเทรนลง ถ้าราคาเริ่มออกจากเส้นกลางเป็นการเริ่มทำเทรนไปทางนั้นๆ ถ้าถึงเส้นบน ถือว่าเทรนไปมากหรือ Overbought ราคาอาจไปต่อแรงช่วงนี้ หรืออาจเด้งกลับมาหาเส้นกลางเพื่อทดสอบเทรนขึ้น การกลับมาเส้นกลางแล้วเด้งออกอีกรอบเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์จะได้เทรดตามเทรนขึ้นหรือหลักการเทรด Pullback นั่นเอง และถ้าราคาต่ำกว่าเส้นกลางเป็นเทรนลง หาโอกาส Sell เป็นหลัก ถ้าราคาไปถึงเส้นล่างพื้นที่ Oversold ราคาได้ลงไปเยอะ อาจไปต่อได้อีกอย่างรวดเร็วและอาจเด้งกลับมาทดสอบเทรนที่เส้นกลาง ถ้าราคาหักลงต่อก็จะเป็นโอกาสเปิดเทรดแบบ Pullback สำหรับตามเทรนลง

You cannot view this attachment.

อธิบายแบบง่ายๆ  การตีความเทรนก็จะเห็นได้ชัดเมื่อ Keltner Channel เอียงและการตีความความแคบระหว่างเส้นบนและเส้นล่าง ถ้าห่างน้อยบอกความผันผวนน้อย ถ้าห่างมากบอกความผันผวนมาก เช่นถ้าไม่เอียงไปทางไหน ราคาอยู่ในกรอบหรือ Consolidation ถ้าเอียงขึ้นเป็นเทรนขึ้น ถ้าเอียงลงเป็นเทรนลง  และเนื่องจากกรอบบนและล่างถือว่าเป็นพื้นที่ที่ราคาได้ดันไปเยอะหรือบอกถึง Overbought/Oversold ไปด้วยเลยทำให้เราสามารถเทรดจังหวะเทรนได้ดี และต้องระวังด้วยว่า อย่างกรณีที่เลข 1 และเลข 2 ราคาไปเกิดเส้นบน นอกจากบอก Overbought แล้วว่าราคาอาจเกิด Reversal ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เห็นอีกประจำคือ ก็จะเกิด Momentum ได้ดีด้วยเพราะเมื่อเกิด Overbought/Oversold ขึ้นหมายความว่าตอนนั้น Imbalance ออเดอร์อยู่ทางใดทางหนึ่งมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้ Keltner Channel เมื่อมองจากชาร์ตคือเห็นกรอบเทรนว่าตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร

Keltner Channel กับ Swing Highs/Lows

หลักการเทรด Keltner Channel คือดูราคาปัจจุบันสัมพันธ์กับ Trend channel อย่างไร แบบเดียวกันกับ Bollinger Bands คือค่าราคาเหนือเส้นกลางถือว่าเป็นเทรนขึ้น เทรดตามตอนราคาย่อตัวมาทดสอบหรือเริ่มออกจาก จนไปถึง เส้นบนให้หาจังหวะปิด พอราคาไปถึงเส้นบน ราคาวิ่งไปเยอะแล้ว Overbought โอกาสที่ราคาจะย่อกลับมาหาเทรนมีสูง ก็ให้ดู Price Action หรือสัญญาณที่บอกการ Rejection แล้วหาโอกาสเทรดสวนเทรนหรือ Reversal ในทางกลับกันสำหรับเทรนลงหรือราคาต่ำกว่าเส้นกลาง แต่ตรงที่เมื่อราคาไปเยอะแล้วถึงเกินพื้นที่ เส้นบนหรือเส้นล่างที่เป็น Overbought/Oversold ราคาอาจไปต่อก็ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร Keltner Channel เป็นการกำหนดเทรนด้วยการหาค่าจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่จะเกิดขึ้นแค่บอกความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างไร จากสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมา ถ้าเราสามารถหาจุดที่ราคาเคยเกิดร่องรอยอะไรบางอย่างไว้ แล้วใช้ข้อมูลจาก Keltner Channel ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือความสำคัญของ Swing highs/lows หรือตัวสร้าง Market structure

You cannot view this attachment.

มองดูชาร์ตอีกรอบด้วยการกำหนด Swing highs/lows คร่าวๆ เข้าไปพื้นที่เรากำหนด Keltner Channel ในการกำหนดกรอบเทรนหรือการเคลื่อนของราคา ดูเลข 1 ราคากลับขึ้นมาเบรคเส้นกลางแล้วดันขึ้นไป ดูจุด Swing high/low ที่ตีประกอบ ราคาโต้ตอบหลายรอบมาก พอราคาไปแตะเส้นบนได้ก็ดันลงมา บอกถึง Reversal สั้นๆ หรือเป็นการทดสอบตอนที่ราคาเบรคขึ้นมาก็ว่าได้  แล้วราคามาหยุดและเด้งอีกที่เส้นกลาง เกิดหางยาวๆ  ที่บอกถึง Buyers เข้ามาจะดันต่อเพราะ buying pressure ตรงเลข 1 มีข้อเสียอย่างเดียวคือ ราคายังไม่เบรคจุด Swing high ด้านบนเท่านั้นเอง แต่เราก็เห็น Build-up หรือกรอบ consolidation แคบๆ ตรงเส้นกลางพอดี บอกถึงแรงอ่อนจาก Sellers ดังนั้นโอกาสที่ราคาจะเบรคขึ้นก็มี

เลข 2 เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ Keltner Channel พร้อมทั้งหลักการ Swing Highs/Lows เพราะราคาลงมาอย่างแรกและเบรคจุด Swing low ก่อนที่เลข 1 ลงไปเกินเส้นล่างของ Keltner บอกถึง Oversold บอกถึงการเปลี่ยนข้างอย่างชัดเจน ราคากลับมาทดสอบ ก่อนที่จะไปที่เลข 2 แต่ราคาไม่ลงไปทำ New Low ใหม่ได้ ดันกลับมาเบรคเส้นกลาง เปลี่ยนจากมุมมองเทรนลงเป็นเทรนขึ้นถ้ามองจากมุม Keltner Channel แต่พอราคาดันมาถึงพื้นที่ Swing ก่อนที่ราคาจะเบรคลงไป เป็นราคาเด้งออกจากพื้นที่เส้นบนพอดี บอกถึง Overbought โอกาสที่จะเกิด Reversal เป็นไปได้ พอราคาต่ำกว่าเส้นกลางเปลี่ยนเทรนลงอีกรอบ ก็เป็นโอกาสเปิดเทรด Sell ตามเทรน แต่ถ้าท่านเห็นราคาเด้งหรือ Rejection ที่ตรง Swing ที่โดนเบรคไปและพื้นที่เส้นบนด้วย ท่านจะเปิดเทรดก่อนเมื่อเห็นราคายืนยันก่อนที่ราคาจะลงไปต่ำกว่าเส้น ที่พื้นที่เลข 4 5 และ 6 ก็เป็นหลักการเดียวกัน

You cannot view this attachment.

อีกวิธีการที่จะใช้ Keltner Channel เข้าเทรดด้วยหลักการของการใช้อินดิเคเตอร์คือ เป็นการวิเคราะห์หลาย timeframe ด้วยค่า Settings เดียวกัน เช่นอย่างภาพประกอบดูที่ H1 และ M15 แล้วดูจุด Swing high/low ประกอบก็จะช่วยในการหาจุดเข้าได้ดี