เทคนิคเทรด Forex ด้วยการหาจุดเข้าเทรดจากราคาบนกราฟ

เริ่มโดย support-1, กุมภาพันธ์ 03, 2023, 02:21:16 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

วิธีการกำหนด trade setup มีหลายรูปแบบแล้วแต่เทรดเดอร์ที่ใช้ต่างกันออกไปอาจเป็น support/resistance, support/demand, swings, Fibonacci Retracements, chart patterns หรือ price action หรือแม้แต่การเทรดด้วยอินดิเคเตอร์ เป็นต้น การเทรดแบบไหนก็ล้วนทำกำไรและทำให้เกิดการสูญเสียได้หมดขึ้นอยู่ที่เทรดเดอร์ วิธีการที่จะเสนอต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ง่ายสุดและแค่เข้าใจว่าตลาดและออเดอร์ทำงานอย่างไรเป็นความรู้เบื้องต้นเท่านั้นเอง

ราคาขึ้นหรือลง เพราะความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่มาจาก sellers และ buyers




วิธีการที่จะอธิบายเรื่องความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่ง่ายที่สุดคือใช้ Depth of Market หรือ Order Book จาก Metatrader 5 มาประกอบ เพราะตรง Metatrader 4 เราจะไม่เห็นในส่วนนี้ เรื่องออเดอร์จะอธิบายในรูปของ volume เป็นหลัก ตรงส่วน Metatrader 5 จะละเอียดกว่าตรงที่ Sell Limit หรือ Buy limit จะเห็นว่ามี Volume คือจำนวนที่ต้องการจะเปิดเทรดแต่ละราคาที่ Volumne นั้นๆ อยู่ทั้ง sell/buy limit เป็นการกำหนด Pending orders รอถ้าได้เงื่อนไข คือราคาตลาดมาถึงออเดอร์พวกนี้ก็จะเปิดเทรดตามที่กำหนด คำว่ารอราคาให้ราคาตลาดมาก่อนค่อยเปิดเทรด เลยบอกว่าพวก limit orders หรือ pending orders เพิ่ม liquidity เข้าตลาดที่ราคานั้นๆ เพราะรอให้ market order มาถึงแล้วได้เงื่อนไขเข้าตลาด เมื่อ market order มาถึงทำให้ Limit orders พวกนี้ได้เปิดเทรด จำนวน volume ที่กำหนดไว้เลยลดลงไปตามที่ว่า market orders ที่เข้ามามากพอหรือเปล่า เลยทำให้บอกว่า market orders ลดหรือลบหรือใช้ไป จำนวนวอลลูมที่ limit order ที่ราคานั้นๆ ถ้าจำนวน market orders มาอย่างต่อเนื่องและเกิน Limit orders ที่ราคานั้นๆ ก็จะทำให้ราคาที่มาจาก market orders วิ่งไปหาออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไป  นี่คือเหตุผลที่ว่าราคาขึ้นหรือลงเพราะความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ ณ ราคานั้นๆ และตอนนั้นๆ

อะไรเกิดขึ้น เมื่อ market orders ไปจับคู่กับ Limit orders



สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อราคาวิ่งไป ไม่ว่าขึ้นหรือลง อย่างใน Metatrader 4 เราก็จะมีส่วนที่เป็นสเปรดประกอบ คือระยะห่างระหว่างราคา Ask กับ Bid การกำหนด sell limit เท่ากับการกำหนด Ask ราคาที่ต้องการเปิดเทรด และการกำหนด Buy Limit เท่ากับการกำหนด Bid ราคาที่ต้องการการเปิดเทรด เมื่อบอกว่าราคาตลาดปัจจุบันหมายถึงราคา Bid/Ask เช่นเมื่อเปิดเทรดด้วย Market order ที่ราคาปัจจุบัน หมายความว่า เช่นถ้าเปิด Buy เท่ากับว่าออเดอร์ตรงข้ามที่รอคือ Best Ask ตรงส่วนบนของสเปรด และเมื่อเปิด Sell ออเดอร์ตรงข้ามคือ Best Bid ที่ส่วนล่างของสเปรด ถ้า market orders ที่เปิดเทรดราคานั้น เกินจำนวน Best Bid/Ask ราคาก็จะวิ่งไปหาตัวต่อไป เลยทำให้เกิด Best Bid/Ask ใหม่ตลอด ก็วิ่งไปแบบนี้เป็นอัตโนมัติ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการได้เข้าเทรด หรือจากออเดอร์กลายเป็น position ที่ต้องการอยู่ในตลาดแล้วแต่ข้าง ราคาวิ่งไปทางไหนทางนั้นก็กำไรอีกทางก็ติดลบ พอเรามองที่ชาร์ตเราจะเห็นว่าเป็นแท่งเทียน คือที่บอกว่า trading transaction ที่เกิดขึ้น หรือที่ได้มีการเข้าตลาด สิ่งที่เห็นบนชาร์ตมีดังนี้

•   เห็นว่ามีการเข้าเทรดตรงไหน หรือถ้าเป็นพื้นที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ (consolidation) ก็บอกว่ามีการเข้าเทรดเยอะ

•   เห็นว่าราคาเด้งตรงไหน บอกว่าราคาวิ่งไปด้วย market orders ต่อเนื่องทางใดทางหนึ่ง แต่พอราคาหยุดแล้วเด้งทำให้รู้ว่ามี limit orders มากพอที่จะหยุดราคา และเริ่มมี market orders เปลี่ยนข้างเลยทำให้เป็นแนวรรับ-แนวต้านหรือ key levels ในการกำหนดตัวช่วยทาง technical analysis เพื่อหาโอกาสเทรด เพราะเป็นต้นตอของความไม่สมดุลย์

•   เห็นว่าราคามีการเบรคตรงไหน ทำให้รู้ว่ามีความพยายามจะเอาชนะหรือเปล่า ตามด้วยเห็นว่าเทรดเดอร์ที่ติดลบอยู่ตรงไหน ที่ขาใหญ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

เข้าใจราคา rejection และ break มองอย่างไรที่ชาร์ตเปล่าก็หาที่เทรดเป็น



การหาโอกาสการเทรดเนื่องจากคาดหวังความไม่สมดุลย์ของออเดอร์ อย่างแรกที่ต้องการเห็นคือว่าราคาหยุดที่ไหน และคาดหวังว่าราคาจะเด้งกลับหรือไปต่อหลังจากเบรค วิธีการคือมองที่ราคาปัจจุบันแล้วมองย้อนมาทางช้ายมือ ดูร่องรอยเก่าว่าเคยเป็นเช่นไร เพราะถ้าราคาเด้ง แสดงว่าพื้นที่ตรงนั้นเคยมีเทรดกำหนดออเดอร์ไว้เพื่อหยุดราคา และก็คาดหวังว่าจะทำแบบเดิมๆ อีก เลยกลายเป็นพื้นฐานการเทรดแนวรับ-แนวต้าน ถ้าราคาจะไปต่อด้วยการเบรค ต้องเปิดเผยให้เห็นบางอย่างเช่น ตอนที่ราคาเด้งก็เด้งกลับได้นิดหน่อย และราคาต้องเบรคให้เห็นและต้องปิดทางที่ราคาเบรคด้วย เช่นตามภาพประกอบ พื้นที่เลข 1 ที่เห็นราคาเด้ง กลายเป็นแนวต้านหรือ resistance แต่ราคาดันลงมาไม่สามารถเบรคที่ทำให้ราคาขึ้นไปได้ ส่วนล่างก็กลายเป็นแนวรับหรือ support จุดเปลี่ยนแปลงคือที่เลข 3 เมื่อเกิดขึ้น ราคาเบรคขึ้นบนและปิดทางที่เบรคได้ เทรดเดอร์ที่เทรดด้วยการอิงแนวต้านก็กลายติดลบหมดทันที

พอราคาเบรคก็เปิดเผยโอกาส trade setup เกิดขึ้นเปิดโอกาสเปิด Buy ด้วยความเป็นไปได้สูงขึ้นมาทันที สรุปได้ดังนี้




•   ราคา rejection ทำให้รู้ว่า แนวต้านเกิดขึ้น และมีการเข้าเทรดด้วย

•   ราคาไม่สามารถดันลงมาได้ กลายเป็นกรอบราคาหรือ consolidation กลายเป็นสะสมออเดอร์ในกรอบแนวรับ-แนวต้าน

•   ราคาเบรค ทำให้รู้ว่าเทรดที่เปิด short ในกรอบกลายเป็นเทรดเดอร์ที่ติดลบทันที ถ้าราคาลงมาแต่ไม่ลงไปต่อ เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะหันมาออกเป็นหลัก

•   ราคาเบรค ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าหาโอกาสเทรดได้ อย่างที่ทำให้ trade setup เกิดขึ้น

•   เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด long ตอนอยู่ในกรอบ ก็อยากจะดันราคาขึ้นไปอีก ก็จะเพิ่มการเข้าเทรดอีก ณ จุดที่ราคาเบรค

•   ทั้งหมดคือที่มาของ Buy market order ที่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ได้

นี่คือหลักการเทรดที่รอให้ราคาบอกว่าควรจะเทรดตรงไหนดี ด้วยการเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร ราคาขึ้นหรือลงเพราะอะไร และเทรดเดอร์ทั้งที่รอเข้าตลาดและเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดมีผลอย่างไรกับการเคลื่อนไหวของตลาด