การใช้ Timeframe D1 หา trade setup เพื่อความแม่นยำ

เริ่มโดย support-1, มีนาคม 21, 2023, 03:21:22 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

วิธีการของการหา trade setup ด้วย technical analysis ส่วนมากก็จะมีกรอบที่ต้องการก่อน เป็นช่วงที่คาดการณ์ว่าราคาจะวิ่ง กรอบที่ว่าอาจเป็นแบบแนวรับ-แนวต้านหรือ supply/demand ก็ได้ หรืออาจเรียกกันรวมๆ ว่าเป็นกรอบ price level ที่ราคาจะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงไป ถ้าราคาเบรคกรอบนั้นๆ ก็เปลี่ยนกรอบใหม่ใช้หลักการ breakout ระหว่างกรอบเข้าไปประกอบอีก แล้วก็เวียนมาที่กรอบราคาอีกเช่นกัน การกำหนด trade setup ส่วนมากก็จะใช้กำหนดให้สัมพันธ์กับกรอบราคาที่แต่ละเทรดเดอร์เลือก technical analysis ในการกำหนด

กรอบราคา Day Trading สำคัญอย่างไร



วิธีการที่ถือว่าง่ายและแต่ละ trade setup ค่อนข้างจะตามมาด้วยความเป็นไปได้สูงคือ การดูกรอบราคาจากแท่งเทียนของชาร์ต D1 เป็นตัวนำ แต่ไม่ใช่ว่าชาร์ต W1 หรือ MN ไม่ทำงานดีเท่า หรือกรอบราคาที่มาจาก timeframe ที่ต่ำกว่านั้น จริงๆ หลักการทำงานไม่ได้ต่างกัน อาจมีตัวแปรเรื่องเวลาและผลกระทบที่จะทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนไหวต่างกันออกไปเท่านั้นเอง แต่ที่โฟกัสชาร์ต D1 เพราะตรรกะเรื่องของ liquidity ที่มากพอ ไม่น้อยและไม่นานเกินในการสะสม เพราะช่วงแต่ละวันมี price level ใหม่ๆ เกิดขึ้นและยังมีเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดมากถ้า price structure จาก D1 ไม่ได้มีระยะห่างจาก trade setup มากเกินไป แต่ไม่ใช่ว่าถ้าระยะห่างจากจุด trade setup ไม่ค่อยดีแค่ต้องรอให้ price structure ที่เกิดขึ้นปัจจุบันเพิ่มข้อมูลก่อน ดังนั้นถ้าพิจารณาตรงส่วนนี้ รายการที่ต้องดูประกอบมีดังนี้

•   ต้องเห็นความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นใกล้ๆ (impulsive move) ในที่นี้เรากำหนดจากชารต์ D1 ความไม่สมดุลย์ที่เห็นก่อน ต้องไม่ห่างจากราคาปัจจุบันมากเช่น 2-10 วันพอ เพราะถ้าห่างมากเกินไป เราอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด หรือแม้แต่ limit orders เองที่เทรดเดอร์รอเข้าตลาดต้องแยกออกเป็นส่วนๆ ถ้าเป็น limit orders แล้วราคาไม่มาในช่วงเวลาที่กำหนดคือนานเกินไป ก็จะมีการยกเลิกถ้าราคาปัจจุบันห่างออกไปจากพื้นที่ trade setup เรื่อยๆ เพราะ volatility แต่ละวันไม่เหมือนกัน เลยต้องรอเงื่อนไขใหม่ขึ้นมาประกอบก่อน ส่วนเทรดเดอร์ที่ถือ positions ที่อยู่ในตลาดมีทั้งที่กำไรและติดลบ

•   เข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร การเทรดไม่ใช่มองหาแค่แนวรับ-แนวต้านเป็นต้น ว่าแค่เห็นร่องรอยราคาเด้งหรือเบรคแล้วก็เทรด การเทรดไม่ได้เทรดง่ายแบบนั้นเพราะราคาขึ้นหรือลงไม่ใช่เพราะราคาไปเจอแนวรับหรือแนวต้าน แต่เพราะมีแต่เทรดเดอร์อยากเทรดตรงนั้นข้างเดียว เลยทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ข้างใดข้างหนึ่ง ดังนั้น สิ่งสำคัญต้องเข้าใจออเดอร์ทำงานอย่างไรและเข้าใจแหล่งที่มา แล้วจะวิเคราะห์ออกว่าทำไม trade setup ที่มาจาก D1 จึงมีข้อมูลเพียงพอสำหรับเรื่องออเดอร์

•   Risk:Reward ต้องมากพอ เงื่อนไขสำคัญอีกอย่างทุก trade setup คือมีสัดส่วน risk:reward เช่น 1:3 1:5 หรือ 1:10 หลักการคือยิ่งเสี่ยงน้อย ยิ่งโอกาสกำไรมากยิ่งดี ถ้าต่ำกว่า 1:3 ไม่แนะนำให้เทรด ไม่ว่าจะเทรดแบบ scalping ก็ตาม เพราะการเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ ความเป็นไปได้ยิ่งสูงยิ่งดี

ตัวอย่าง ใช้ D1 เพื่อกำหนด trade setup



ขั้นตอนแรกเปิดชาร์ตเปล่า D1 ขึ้นมา แล้วมองจากราคาเปิดเผยความไม่สมดุลย์เรื่องของออเดอร์ที่มาจากเทรดเดอร์ว่าเกิดทางไหน ดูว่า sellers หรือ buyers เป็นฝ่ายชนะ ดูที่เลข 1 และ 2 จะเห็นว่าฝ่าย buyers เป็นฝ่ายชนะ อย่างที่บอกแต่แรกว่า ในการเทรดสิ่งหนึ่งที่เราต้องสนใจให้ดีคือ การเทรดตามขาใหญ่เทรด ไม่ว่าวิธีการเทรดแนว technical analysis ก็จะมุ่งเน้นไปว่าขาใหญ่เข้าเทรดตรงไหนและเมื่อไร แล้วก็หาโอกาสเทรดตามพวกเขา คำถามจะอยู่ที่ว่า เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเป็นขาใหญ่เข้าเทรดตรงนั้น ที่กล่าวด้านบน ความไม่สมดุลย์มองผ่านแท่งเทียนไม่ยาก แค่หาบาร์ยาวๆ หรือ momentum บาร์ แต่ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังสำคัญมากกว่า ว่าขาใหญ่เข้าเทรดเพราะอะไรก่อน เมื่อท่านเข้าใจแล้วก็มองว่าแท่งเทียนเปิดเผยร่อยรอยให้เห็นหรือเปล่า และแยกแยะเป็น เมื่อเห็น (ในที่นี้เลยยกเรื่องของ D1 มาประกอบ) ก็ค่อยหาพื้นที่กำหนด trade setup เพื่อรอ ที่ไหนและเวลาในการเข้าเทรดเพื่อให้สัมพันธ์กับที่ขาใหญ่เทรด



ต้นตอของการเข้าเทรดอยู่ที่เลข 1 มองมาทางช้ายมือดู price structure ที่เกิดขึ้นก่อนที่เกิดเลข 1 จะเห็นว่าราคาลงเป็นหลักคือเทรนลง เทรดเดอร์ส่วนมากก็จะเปิดเทรดตามเทรนเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ง่าย เลข 1 คือการเทรดสวนเทรนซึ่งมีแต่เทรดเดอร์ที่เป็นขาใหญ่เท่านั้นที่ทำได้เพราะพวกเขาเทรดด้วยจำนวนออเดอร์เยอะ นี่คือที่บอกว่าต้องเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังก่อนไม่ใช่แค่ดูแท่งเทียนอย่างเดียว  เพราะความไม่สมดุลย์ของ D1 คือข้อมูลที่เปิดเผยว่าพวกเขาเข้าเทรด เนื่องจากพวกเขาเทรดด้วยจำนวนเยอะ และตลาดฟอเรกทำงาน trading transactions จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้าม ณ จุดที่ต้องการเข้าเทรด ให้ดูชาร์ต D1 และ H4 ประกอบกันเพื่อความชัดเจนเรื่องออเดอร์ และสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อขาใหญ่เข้าเทรดคือเทรดเดอร์ที่จับคู่กับออเดอร์ที่ขาใหญ่เปิดเทรด เพราะการเข้าเทรดเป็นความพยายามที่เปิดเผยล่าสุดเมื่อเทียบกับราคาปัจจุบันตอนนั้นๆ ถ้าขาใหญ่ดันราคา

เทรดเดอร์ที่ถือ positions ตรงข้ามที่ขาใหญ่เข้าเทรด เป็นกลุ่มที่ช่วยเร่งราคาด้วย นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าไม่จำเป็นต้องดูความสมดุลย์ที่ไกลมาก ถ้าเข้าใจเรื่องออเดอร์ ก็เพียงพอที่จะหา trade setup ความเป็นไปได้สูงได้ง่ายๆ ส่วนการกำหนด trade setup อาจกำหนดที่ M30 หรือ H1 ก็ได้ แล้ว M5 หรือ M15 เอาไว้เพื่อเข้าเทรด ส่วนการออกให้ดูกรอบจาก D1 ที่ดูรายละเอียดด้วย H4 เพื่อกำหนด stop loss และ take profit ท่านก็จะได้ trade setup ที่สัมพันธ์กันหมด
และอีกอย่าง ข้อดีของตลาดฟอเรกคือ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ท่านสามารถหา trade setup ได้ง่ายจากหลายคู่เงินได้ในแต่ละวัน สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องให้ได้ risk:reward ประกอบแต่ละ trade setup ที่มากพอด้วย