Money management คืออะไร วิธีใข้ money management กับการเทรด FOREX

เริ่มโดย support-1, กุมภาพันธ์ 22, 2022, 05:26:46 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

เมื่อตัดสินใจลงมือเทรดอย่างจริงจังแล้ว นอกขจากที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของการปรับตัวของราคาตลาด รวมถึงเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเทรด แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ และเป็นพื้นฐานจำเป็นต่อการเทรด forex เลย นั่นก็คือ Money Management หรือการบริหารเงินทุน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน วันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงการบริหารเงินทุนว่าคืออะไร และมีวิธีการอย่างบ้าง

money management คืออะไร
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า การบริหารหน้าตัก มากกว่าคำว่า MM หรือ Money management ซึ่งนี่คือปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเทรด

การบริหารเงินทุน คือ การวางแผนและแนวทางในการบริหารเงินทุน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดส่วนของกำไรที่ต้องการ การขาดทุน cut loss ได้ขนาดไหน จำนวนเงินที่จะวางในการเปิดออเดอร์แต่ละครั้ง หรือแม้แต่ขนาดของ Lot ที่จะเปิด เป็นต้น

การเทรดที่ล้มเหลวนั้น ไม่ได้เกิดแค่จากการขาดความรู้หรือประสบการณ์ในการเทรดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการกับเงินต้นทุนที่เรามีด้วย และการทำ money management ไม่ได้เจาะจงให้เฉพาะคนที่มีเงินทุนน้อยทำเท่านั้น แต่ยิ่งเรามีเงินทุนเยอะเท่าไหร่ เราก็ต้องวางแผนในการใช้เงินทุนให้ดีเช่นกัน

วิธีใช้ money management กับการเทรด Forex

ตัวอย่างคร่าว ๆ ของการใช้การบริหารหน้าตักในการเทรด forex คือ หากเรามีเงินทุนเทรดอยู่ที่ 50,000 บาท ให้เราลงเงิน deposit ไปที่ 50% ของเงินทุนทั้งหมดที่มี ก็จะเท่ากับ 25,000 บาท และเมื่อทำการเทรดได้เท่าเงินทุนแล้วให้ทำการถอนส่วนที่เป็นเงินทุนออกทันที โดยตัดเรื่องโบนัสครั้งแรกออกไปก่อนเลย ตั้งฝึกตั้งเป้าหมายในการเทรดต่อวันไว้เลยว่า ต้องการ profit หรือเงินกำไรเท่าไหร่ ควรตั้งไว้ที่ประมาณ 3-5 % ของเงินทุนถึงจะปลอดภัย ส่วนเรื่องของการขาดทุน cut loss เราก็ควรตั้งไว้ว่าไม่ควรขาดทุนเกิน 3% ของเงินทุน หากใน 1 วันเทรดเสียติดต่อกัน 4 ครั้งแล้ว ให้หยุดเทรดและทบทวนเงินทุนใหม่ และฝึกฝนทักษะการเทรดเพิ่มเติม

ทำไมต้องเรียนรู้ถึงการบริหารหน้าตัก MM ในการเทรด forex

การลงทุนเทรดกับตลาด forex นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะคาดเดาได้ง่าย ๆ ด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงมาก ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาทิศทางของตลาดได้ จึงเกิดความเสี่ยงขึ้นมากมาย ความเสี่ยงจากการเทรด forex มีดังนี้

Leverage Risk – ความเสี่ยงจากการใช้เลเวอเรจ

การใช้เลเวอเรจคือการยืมเงินจากโบรกเกอร์มาลงทุน เพื่อที่จะสามารถครองสถานะของนักลงทุนได้ หากไม่มีเลเวอเรจเราก็จะต้องหาเงินมาลงทุนเองจำนวนมหาศาล ดังนั้นการลงทุนที่เราต้องยืมมานั้น เราจะต้องคิดให้รอบคอบว่าเราเลเวอเรจขนาดเท่าไหร่ที่จะสามารถสร้างกำไรให้กับเราได้ และเราพร้อมที่จะขาดทุนได้มากน้อยแค่ไหน หากเราเป็นมืออาชีพในการเทรด การใช้เลเวอเรจสูง ๆ ก็อาจจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ใช่เราก็อาจจะต้องพบกับความเสี่ยงที่หนักอยู่พอสมควรเมื่อเทรดเสียขึ้นมา

Interest Risk - ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยอยู่ในกลุ่มของ market risk แต่สำคัญกว่านั้นคือเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนในตลาดอย่างรุนแรง เมื่อเราเข้าเทรดเราก็ควรที่จะศึกษาเรื่องของอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโบรกเกอร์ให้ดี เพราะนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนเราเช่นเดียวกัน ยิ่งดอกเบี้ยสูง ก็ยิ่งเทรดได้กำไรน้อยลง

Market Risk – ความเสี่ยงจากตลาด

นี่เป็นความเสี่ยงที่เกินการควบคุมของเรา นั่นก็เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน เกิดสงครามขึ้น หรือเกิดปัญหาสังคม ภัยพิบัติ เป็นต้น แม้เราจะมีการวางแผนมาอย่างดี ก็อาจจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีนัก เพราะการผันผวนที่สูงมาก ๆ ของตลาดนั้นล้วนเกิดขึ้นจากสิ่งปัญหาภายนอกเหล่านี้

Liquidity Risk – ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง

การเทรด forex จำเป็นที่จะต้องเลือกเทรดคู่เงินที่เป็นที่นิยม เพราะจะมีสภาพคล่องสูงกว่า และเมื่อใดที่เราเลือกเทรดคู่เงินที่ไม่เป็นที่นิยมก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องน้อย เพราะเราอาจจะไม่สามารถปิดสถานะการเทรดได้ทันเวลาตามที่ต้องการได้ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุนได้ง่าย เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากสภาพคล่องนี้ได้ ด้วยการศึกษาและเลือกเทรดคู่เงินที่ทั่วโลกนิยมเทรดกัน

สรุปหลักการและแนวคิดของ money management forex

นักเทรดที่ตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน จำเป็นที่จะต้องใส่ใจในพื้นฐานอย่าง money management หรือการบริหารหน้าตัก และถือเป็นหลักสำคัญในการลงทุน เราจะมามองภาพใหญ่มากขึ้นว่า money management มีวิธีและแนวคิดอย่างไรบ้าง

คิดกลยุทธ์และแผนในการเทรดของตัวเอง

สิ่งนี้จะเป็นตัวควบคุมเงินลงทุนของเราเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราวางแผนในการเทรดของเราขึ้นมาแล้ว เราจะรู้ว่าเราจะเทรดในรูปแบบไหน เทรดรายวันอย่างไร รายสัปดาห์ หรือรายเดือน และแผนในการเทรรดนี้จะช่วยไม่ให้เราเทรดมากเกินไป รู้ได้ว่าควรจะเก็บกำไรเท่าไหร่ และมีวางแผนเพื่อหยุดการขาดทุนตามที่กำหนดไว้

เทรดให้ได้เงินทุนกลับคืนมา

ส่วนนี้ก็จำเป็นที่จะต้องวางแผน เพราะเมื่อใดที่เราขาดทุน เพราะเรายังค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่นที่จะต้องจ่ายคืนแก่โบรกเกอร์ หากเราไม่วางแผนที่จะเทรดให้ได้กำไร เพื่อนำเงินทุนกลับคืนมา เราก็จะต้องหาเงินมาจ่ายหนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นภาระหนักเลยทีเดียว ดังนั้นหากเราลงทุนไป 10,000$ แล้วขาดทุนไป 2,000$ คิดเป็นขาดทุนไป 20% ดังนั้นเราจะต้องจัดการเทรดให้ได้กำไรคืนมา 25% ด้วยเงินทุนเท่าเดิมให้ได้

หยุดการขาดทุน

เรียนรู้การใช้ stop loss บนกราฟราคา และให้ตั้งค่าจุดหยุดขาดทุนในระดับที่เหมาะสม การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันการขาดทุนของเราได้ แม้ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงแปลงผรือผันผวนอย่างรุนแรง เราก็ยังได้กำไรอยู่

ไม่โลภหรือเครียดจนเกิดไป

แน่นอนว่าการเทรด forex มีความผันผวนของตลาดสูงมาก จนทำให้เราขาดสติในการลงทุน เพราะยิ่งตลาดมีสภาพคล่องสูง ความโลภก็เข้าครอบงำ จนตัดสินใจเทรดผิดพลาดและเกิดความเครียดมากจนเกินไป ให้เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ในการเปิดคำสั่งเทรด ให้เข้าเทรดอย่างมีวินัยตามเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่เข้าเทรดตลอดทุกๆ นาที  ให้กำหนดปริมาณเงินลงทุนที่สมเหตุสมผลและบริหารจัดการเวลาในการเข้าเทรดให้ดี

มองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว

การเทรด forex ควรถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว และไม่ควรใจร้อนหรือรีบทำการลงทุนมากจนเกินไป แต่ให้ฝึกฝนรูปแบบและกลยุทธ์การเทรดของตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ควรวัดความสำเร็จจากเงินกำไรที่ได้มาจำนวนมาก ๆ เพราะระดับเงินของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ให้ดูตอบแทนหรือผลกำไรระยะยาวเป็นหลักจะดีกว่า

หลักจิตวิทยา 7 ข้อ สำหรับการบริหารเงินทุน forex
ลดความเสี่ยงด้วยการพัฒนาทักษะของตัวเอง

คำนวณใช้เงินทุนอย่างสมเหตุสมผล

หยุดเทรดเมื่อขาดทุน

ตั้งค่าจุดหยุดขาดทุนเสมอ

ทำความเข้าใจเลเวอเรจให้ดี

ปรับขขนาด lot ให้เหมาะสมกับคู่เงินที่กำลังเทรดอยู่

อ่านข่าวสารข้อมูลในอดีตของคู่เงินที่กำลังเทรดอยู่


ระดับความเสี่ยงของเทรดเดอร์แต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เพราะบางคนสามารถรับมือกับความเสี่ยงสูง ๆ ได้ดีกว่าคนอื่น แต่ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดในระดับไหนก็ควรที่จะทำความเข้าใจกับ money management ให้ดี สำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็ควรที่จะทำแผน money management โดยเริ่มจากการลองลงทุนในปริมาณน้อย ๆ ดูก่อน ฝึกฝนการบริหารเงินทุนไว้เรื่อย ๆ จนไปถึงการลงทุนที่มากขึ้น