วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

เริ่มโดย support-1, มีนาคม 29, 2024, 12:37:42 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

การวิเคราะห์แบบ multi-timeframe ประกอบกันช่วยกรองหลายๆ อย่างก่อนที่ท่านจะเปิดเทรด และยังเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยเมื่อท่านเปิดเทรดอิง timeframe ใหญ่ขึ้นเป็นหลัก วิธีการที่นิยมกันสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่า คือ กำหนด timeframe สำหรับกรอบ key level และ Trend พร้อม Momentum และเปิด timeframe ย่อยลงมาเพื่อหา trade setup ที่ชัดเจน และเปิดหรือออกเทรดด้วย timeframe ที่ย่อยลงมาอีก เช่น D1/H4 -> H1/M30 -> M15/M5 เป็นต้นสำหรับ Day trading หลักสำคัญของการวิเคราะห์ตลาดแบบนี้คือท่านเห็นภาพรวมของการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร ท่านเปิดเทรด อยู่ที่ตรงไหนของภาพรวม

เช่น เมื่อไม่คุ้นเคยการเทรดแบบวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกัน อาจเจอหุตการณ์ที่เห็น เมื่อเห็น key level และ trade setup ตามด้วย price action ที่บอกสัญญาณการเปิดเทรด แต่พอราคาวิ่งมาทางที่เราวิเคราะห์ไม่กี่ pips แล้วสุดท้ายราคากลับวิ่งสวนทางและไปนานด้วย นั่นเพราะว่าลืมการวิเคราะห์ market structure สำหรับภาพรวมจาก timeframe ที่ใหญ่กว่าเราเปิดเทรด

Key levels มองต่าง timeframe ให้ความสำคัญอย่างไร

You cannot view this attachment.

อธิบายคำว่า Key levels ก่อน เป็นพื้นที่ราคาโต้ตอบ เช่นอาจเป็น rejection หลายๆ รอบหรือ Break ก็ได้ เลยอาจมองมาจาก Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots เป็นต้น ให้ความสำคัญพื้นที่ราคาเดียวกัน หรือที่เรียกว่า clustering พื้นที่เดียวกัน ไม่ใช่ที่ราคาเดียวกัน อาจบอกง่ายๆ ว่าเป็นกรอบราคาที่เห็นราคาเปิดเผยแนวรับ-แนวต้าน สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ market structure ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะพื้นที่กรอบราคาพวกนี้ และราคาเปิดเผยอย่างไร

ส่วนประกอบในการพิจารณาไม่ต่างกัน แต่จะให้ความสำคัญกับ Key level จาก timeframe ที่ใหญ่กว่า เช่นจะเปิดเทรดจากชาร์ต H1 เราก็จะให้ความสำคัญ Key level จากชาร์ต H4 และ D1 มากกว่า

You cannot view this attachment.

ภาพประกอบอีก จะเห็นว่าเมื่อเรามองเรื่องของราคาเด้งออกมี wick หรือเปล่า ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่นั้นๆ แล้วราคาเด้งเปลี่ยนทางอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเห็นความพยายามเกิดขึ้นแบบเดียวกัน หลายรอบพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาบอกเราว่า เกิด แนวรับ-แนวต้านที่ไหน การมองพื้นที่พวกนี้ว่ามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรตามมาหรือเปล่า ให้ท่านดู market structure ที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการโต้ตอบเป็นหลัก

ดู D1 ภาพรวม ส่วนด้านขวาเป็น H1 สำหรับกำหนด trade setup และดูรายละเอียดการพัฒนา market structure สัมพันธ์กับ D1 อย่างไร ดูกรอบที่บอกว่าดูแท่งเทียนนี้สำคัญเพราะถือว่าเป็น Key change ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น เวลามอง key level เราก็มองย้อนกลับมาทางขวา จะเห็นกรอบที่บอกว่า Resistance สัมพันธ์กับดูแท่งเทียนอย่างไร ราคาพยายามหลายรอบ แต่ไม่สามารถเบรคได้ หลักการคือเห็นราคาเด้งที่เดียวกัน ก็มองเป็นพื้นที่ แนวรับ-แนวต้าน แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีกที่ต้องไม่ลืมว่า เวลาวิเคราะห์ต้องมองปริบทต่อเนื่องกัน ว่าพื้นที่แนวต้านเกิดขึ้นเพราะอะไร และผลจากความพยายามพื้นที่แนวต้านเป็นอย่างไร [ของจากความพยายามในที่นี้คือ เห็นราคาเด้งลง หรือมี Sell trading pressure เข้ามาพื้นที่เดียวกัน หลายแท่งเทียน D1 ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถเปลี่ยน market structure ราคาได้เบรคขึ้นมา ดูตรงที่ลูกศรชึ้ จะเห็น]

สิ่งสำคัญของการมอง Key level ว่าจะเทรดทางไหน นอกจากท่านแยกแยะด้วยราคาเปิดเผยออกมา ด้วย rejection หรือ breakout และต้องดูว่า market structure ของความพยายามแต่ละครั้งเป็นอย่างไร หลักการมอง แต่ละ key levels ต่าง timeframe ไม่แตกต่างกัน แต่ต้องให้ความสำคัญ timeframe ใหญ่กว่าที่เราวิเคราะห์หรือหาพื้นที่ trade setup

ทำไม Levels จาก timeframe ใหญ่กว่าสำคัญ

You cannot view this attachment.

อย่างแรกเลย แบบง่ายๆ คือ level ที่มาจาก timeframe ใหญ่เห็นชัดเจน เลยมีผลเชิงจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วยการมองหา level ที่ราคาโต้ตอบ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดเมื่อ market structure เปลี่ยนไปก็จะออกด้วย เพราะการที่ราคาเคลื่อนไหวเพราะออเดอร์ที่เกินกัน หรือที่เรียกว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก Sellers หรือทาง supply และออเดอร์จากทาง Buyers หรือทาง Demand  และแท่งเทียนที่เราเห็นเกิดขึ้นคือบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นพื้นที่ที่ราคาไหนบ้าง สังเกตดูกรอบสีเขียวอ่อน และชมพูอ่อนที่บอกว่าเทรดเดอร์ที่ถือ long positions และ short positions ที่ต้องการให้ใส่ใจเพราะว่า  trading transactions ที่เกิดขึ้นเพราะการจับคู่กันระหว่างออเดอร์ Sell และ Buy  ณ ราคาเดียวกัน volume เทรดเท่ากัน ราคาขึ้นหรือลงดูจากแท่งเทียน เพราะออเดอร์อีกข้างไม่พอ  การถือออเดอร์ที่เปิดเทรด ยังไม่ปิด สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรด Buy เรียกว่าถือ Long position สำหรับเปิดเทรด Sell และถือรอเรียกว่า Short position ดังนั้นสำหรับ positions ที่ถืออยู่ ข้างไหน กำไร ราคาวิ่งไปทางนั้น ราคาวิ่งสวน ทางนั้นติดลบ การที่เทรดเดอร์ถือ positions ต่อเนื่องกันแบบนี้ ก็จะได้ยินเรียกว่าเป็นช่วงขาใหญ่สะสม positions หรือ Accumulation  ยิ่งเกิดจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมีการสะสม positions เยอะ

ความจริงอีกอย่างที่ต้องรู้ และเป็นตัวเพิ่มความสำคัญของ key level จาก timeframe ใหญ่ได้อย่างดี คือการออกจากตลาด ของเทรดเดอร์ที่ถือ long positions หรือ short positions ช่วง Accumulation เท่ากับการเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ เช่น ถ้า ถือ long positions เมื่อออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเอง หรือ take profit หรือ stop loss เท่ากับการเปิด sell market order ณ จุดที่ออก

ดังนั้น key level ที่มาจาก timeframe ใหญ่จึงสำคัญ เพราะเป็นที่เห็นง่าย เพราะ market structure เห็นแนวรับ-แนวต้านชัดเจน เลยเป็น level ที่ดึงเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาด และรอเข้าเทรดสนใจเลยทำให้เกิดออเดอร์เยอะ ทั้งจากการเข้าเทรดและการออกเทรด และเมื่อเห็นมีการสะสม positions ประกอบด้วย พอราคาเบรค มีฝ่ายกำไรมากและติดลบมากเกิดขึ้น เลย ทำให้ฝ่ายที่ติดลบเริ่มออกจากตลาด เลยทำให้เกิดออเดอร์ตรงข้ามต่อเนื่องด้วย เลยยิ่งทำให้ level จาก timeframe มีผลต่อเนื่อง

จากภาพประกอบด้านบน Long positions เดือดร้อนเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า แต่ต้องให้มั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และ stop loss ด้านล่างของพื้นที่ นั่นเป็นพื้นที่ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย ส่วนต่อมาที่บอกว่า เทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็หลักการเช่นเดียวกัน พอขาใหญ่เข้าเทรดได้ ค่อยดันราคาเบรคหลังจากสะสม positions พอ market structure เปลี่ยนเทรดเดอร์กลุ่มนี้เดือดร้อน ต้องค่อยๆ ออก เลยทำให้ buy market orders เกิน sell orders ได้ง่าย และยังมีเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอีกด้วย