เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

เริ่มโดย support-1, เมษายน 18, 2024, 01:05:02 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

อินดิเคเตอร์อีกตัวที่เป็นที่นิยมกันในการกำหนดเทรนคือ Keltner Channel จะใช้ในการกำหนดและเทรดด้วยหลักการของเทรน เช่นดู Overbought/Oversold เพื่อหาเทรดจุดกลับตัว หรือว่าจะดูว่าเทรนหลักเป็นขาขึ้นหรือขาลงเพื่อเทรดตามเทรนเมื่อราคาลงมาทดสอบเทรน หลักการเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands คือเป็นกรอบเทรนหรือ Trend Channel ให้ดูเทียบกับราคาปัจจุบัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถ้าใช้กับ Market structure ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้เข้ามาอีกระดับหนึ่งสำหรับ Trade setup

Keltner Channel คืออะไร

You cannot view this attachment.

Keltner Channel เป็นอินดิเคเตอร์บอกเรื่องของเทรนหรือ Trend following เป็นหลัก รูปแบบการนำเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands แต่วิธีการในการหาค่าจะต่างกัน [ Keltner ใช้ ATR ในการหาค่า ส่วน Bollinger Bands ใช้ Standard Deviation ] ตัวอินดิเคเตอร์จะเสนอกรอบเทรนหรือ Channel ด้วย 3 เส้น เส้นกลางสำหรับกำหนดเทรนจากการหาค่าจาก EMA 20 ที่กำหนดใน Settings [สามารถเพิ่ม Moving Average กำหนดค่าวิธีการคำนวณเป็น Exponential เป็น 20 เปรียบเทียบได้] ส่วนเส้นด้านบนหาค่าจาก EMA +( 2 x ATR) และเส้นล่างหาค่าจาก EMA – (2 x ATR) เมื่อ 3 เส้นรวมกันก็จะได้กรอบเทรนสำหรับราคา

โดยการกำหนดเทรนจะอิงราคากับเส้นกลางหรือ EMA 20 ถ้าราคาเหนือกว่าเป็นเทรนขึ้น และถ้าราคาต่ำกว่าเป็นเทรนลง ถ้าราคาเริ่มออกจากเส้นกลางเป็นการเริ่มทำเทรนไปทางนั้นๆ ถ้าถึงเส้นบน ถือว่าเทรนไปมากหรือ Overbought ราคาอาจไปต่อแรงช่วงนี้ หรืออาจเด้งกลับมาหาเส้นกลางเพื่อทดสอบเทรนขึ้น การกลับมาเส้นกลางแล้วเด้งออกอีกรอบเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์จะได้เทรดตามเทรนขึ้นหรือหลักการเทรด Pullback นั่นเอง และถ้าราคาต่ำกว่าเส้นกลางเป็นเทรนลง หาโอกาส Sell เป็นหลัก ถ้าราคาไปถึงเส้นล่างพื้นที่ Oversold ราคาได้ลงไปเยอะ อาจไปต่อได้อีกอย่างรวดเร็วและอาจเด้งกลับมาทดสอบเทรนที่เส้นกลาง ถ้าราคาหักลงต่อก็จะเป็นโอกาสเปิดเทรดแบบ Pullback สำหรับตามเทรนลง

You cannot view this attachment.

อธิบายแบบง่ายๆ  การตีความเทรนก็จะเห็นได้ชัดเมื่อ Keltner Channel เอียงและการตีความความแคบระหว่างเส้นบนและเส้นล่าง ถ้าห่างน้อยบอกความผันผวนน้อย ถ้าห่างมากบอกความผันผวนมาก เช่นถ้าไม่เอียงไปทางไหน ราคาอยู่ในกรอบหรือ Consolidation ถ้าเอียงขึ้นเป็นเทรนขึ้น ถ้าเอียงลงเป็นเทรนลง  และเนื่องจากกรอบบนและล่างถือว่าเป็นพื้นที่ที่ราคาได้ดันไปเยอะหรือบอกถึง Overbought/Oversold ไปด้วยเลยทำให้เราสามารถเทรดจังหวะเทรนได้ดี และต้องระวังด้วยว่า อย่างกรณีที่เลข 1 และเลข 2 ราคาไปเกิดเส้นบน นอกจากบอก Overbought แล้วว่าราคาอาจเกิด Reversal ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เห็นอีกประจำคือ ก็จะเกิด Momentum ได้ดีด้วยเพราะเมื่อเกิด Overbought/Oversold ขึ้นหมายความว่าตอนนั้น Imbalance ออเดอร์อยู่ทางใดทางหนึ่งมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้ Keltner Channel เมื่อมองจากชาร์ตคือเห็นกรอบเทรนว่าตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร

Keltner Channel กับ Swing Highs/Lows

หลักการเทรด Keltner Channel คือดูราคาปัจจุบันสัมพันธ์กับ Trend channel อย่างไร แบบเดียวกันกับ Bollinger Bands คือค่าราคาเหนือเส้นกลางถือว่าเป็นเทรนขึ้น เทรดตามตอนราคาย่อตัวมาทดสอบหรือเริ่มออกจาก จนไปถึง เส้นบนให้หาจังหวะปิด พอราคาไปถึงเส้นบน ราคาวิ่งไปเยอะแล้ว Overbought โอกาสที่ราคาจะย่อกลับมาหาเทรนมีสูง ก็ให้ดู Price Action หรือสัญญาณที่บอกการ Rejection แล้วหาโอกาสเทรดสวนเทรนหรือ Reversal ในทางกลับกันสำหรับเทรนลงหรือราคาต่ำกว่าเส้นกลาง แต่ตรงที่เมื่อราคาไปเยอะแล้วถึงเกินพื้นที่ เส้นบนหรือเส้นล่างที่เป็น Overbought/Oversold ราคาอาจไปต่อก็ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร Keltner Channel เป็นการกำหนดเทรนด้วยการหาค่าจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่จะเกิดขึ้นแค่บอกความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างไร จากสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมา ถ้าเราสามารถหาจุดที่ราคาเคยเกิดร่องรอยอะไรบางอย่างไว้ แล้วใช้ข้อมูลจาก Keltner Channel ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือความสำคัญของ Swing highs/lows หรือตัวสร้าง Market structure

You cannot view this attachment.

มองดูชาร์ตอีกรอบด้วยการกำหนด Swing highs/lows คร่าวๆ เข้าไปพื้นที่เรากำหนด Keltner Channel ในการกำหนดกรอบเทรนหรือการเคลื่อนของราคา ดูเลข 1 ราคากลับขึ้นมาเบรคเส้นกลางแล้วดันขึ้นไป ดูจุด Swing high/low ที่ตีประกอบ ราคาโต้ตอบหลายรอบมาก พอราคาไปแตะเส้นบนได้ก็ดันลงมา บอกถึง Reversal สั้นๆ หรือเป็นการทดสอบตอนที่ราคาเบรคขึ้นมาก็ว่าได้  แล้วราคามาหยุดและเด้งอีกที่เส้นกลาง เกิดหางยาวๆ  ที่บอกถึง Buyers เข้ามาจะดันต่อเพราะ buying pressure ตรงเลข 1 มีข้อเสียอย่างเดียวคือ ราคายังไม่เบรคจุด Swing high ด้านบนเท่านั้นเอง แต่เราก็เห็น Build-up หรือกรอบ consolidation แคบๆ ตรงเส้นกลางพอดี บอกถึงแรงอ่อนจาก Sellers ดังนั้นโอกาสที่ราคาจะเบรคขึ้นก็มี

เลข 2 เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ Keltner Channel พร้อมทั้งหลักการ Swing Highs/Lows เพราะราคาลงมาอย่างแรกและเบรคจุด Swing low ก่อนที่เลข 1 ลงไปเกินเส้นล่างของ Keltner บอกถึง Oversold บอกถึงการเปลี่ยนข้างอย่างชัดเจน ราคากลับมาทดสอบ ก่อนที่จะไปที่เลข 2 แต่ราคาไม่ลงไปทำ New Low ใหม่ได้ ดันกลับมาเบรคเส้นกลาง เปลี่ยนจากมุมมองเทรนลงเป็นเทรนขึ้นถ้ามองจากมุม Keltner Channel แต่พอราคาดันมาถึงพื้นที่ Swing ก่อนที่ราคาจะเบรคลงไป เป็นราคาเด้งออกจากพื้นที่เส้นบนพอดี บอกถึง Overbought โอกาสที่จะเกิด Reversal เป็นไปได้ พอราคาต่ำกว่าเส้นกลางเปลี่ยนเทรนลงอีกรอบ ก็เป็นโอกาสเปิดเทรด Sell ตามเทรน แต่ถ้าท่านเห็นราคาเด้งหรือ Rejection ที่ตรง Swing ที่โดนเบรคไปและพื้นที่เส้นบนด้วย ท่านจะเปิดเทรดก่อนเมื่อเห็นราคายืนยันก่อนที่ราคาจะลงไปต่ำกว่าเส้น ที่พื้นที่เลข 4 5 และ 6 ก็เป็นหลักการเดียวกัน

You cannot view this attachment.

อีกวิธีการที่จะใช้ Keltner Channel เข้าเทรดด้วยหลักการของการใช้อินดิเคเตอร์คือ เป็นการวิเคราะห์หลาย timeframe ด้วยค่า Settings เดียวกัน เช่นอย่างภาพประกอบดูที่ H1 และ M15 แล้วดูจุด Swing high/low ประกอบก็จะช่วยในการหาจุดเข้าได้ดี