การใช้ Indicator ต่าง ๆ : William % R

เริ่มโดย support-1, พฤษภาคม 06, 2024, 10:01:08 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

นี่เป็น Indicator ตัวสุดท้ายของบทความการใช้ Indicator ในหมวด Oscillator โดย Indicator ตัวสุดท้ายนี้ชื่อ William % R ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ William Percent Range ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาประเภทหนึ่ง การแกว่งตัวของราคาประเภทนี้แกว่งอยู่ในกรอบ 100 % โดยเป็นการวัดกรอบ Overbought และ Oversold ของตลาด สัญญาณ Overbought จะเกิดขึ้นบริเวณแถบบน และสัญญาณ Oversold จะเกิดขึ้นบริเวณแถบด้านล่าง

การตั้งค่าสัยญาณ Overbought และ Oversold สำหรับค่ามาตรฐานที่ติดมากับตัวโปรแกรมนั้น เท่ากับ ระดับ 30 สำหรับสัญญาณ Oversold และสำหรับสัญญาณ Overbought เท่ากับ 70 อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้เป็นค่าที่ได้รับความนิยม เราจะพูดถึงการตั้งค่าที่เหมาะสมกันต่อไป โดยในบทความนี้จะมีเนื้อหาอยู่ 3 ส่วน คือ การคำนวณ William % R การใช้งาน William % R และ ข้อดีข้อเสียของมัน

การคำนวณ William Percent R

จากที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า William % R นั้นเป็นการบอกกรอบของการแกว่งของราคา มันจึงเป็นการวัดการแกว่งของราคาของช่วงเวลาที่กำหนด จากค่ามาตรฐาน โดยสูตรของการคำนวณ William % R มีดังนี้

You cannot view this attachment.

จากสูตรข้างต้น แสดงตัวแปรที่อยู่ในการคำนวณ ได้แก่

Highest High = ราคาสูงสุดของจำนวนแท่งที่เราใช้ในการคำนวณ ถ้าเป็นค่าเริ่มต้นจะเท่ากับ 14 วัน หรือ 2 อาทิตย์

Close = ราคาปิดของแท่งปัจจุบัน

Lowest Low = ราคาต่ำสุดของจำนวนแท่งที่ใช้ในการคำนวณ ถ้าเป็นค่าเริ่มต้นจะเท่ากับ 14 วัน หรือ 2 อาทิตย์เช่นกัน

การคำนวณ Williams % R

1. บันทึกราคาสูงสุดและต่ำสุดของระยะเวลา 14 แท่ง

2. ในจำนวน 14 แท่งบันทึกราคาปัจจุบัน ราคาสูงสุด และ ราคาต่ำสุด ซึ่งเมื่อได้แล้วก็จะสามารถคำนวณ William % R ได้แล้ว

3. ในแท่งที่ 15 ให้บันทึกราคาปัจจุบัน ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุด แต่ว่าเก็บข้อมูลแค่ 14 แท่งนับจากปัจจุบัน เช่นกันซึ่งจะได้ค่า William % R ค่าใหม่ที่เกิดขึ้น

4. แต่ละแท่งที่จบให้ทำการคำนวณค่า William % R ใหม่ทุกครั้ง ซึ่งผลของการคำนวณจะได้เรียงกันต่อเป็นเส้น

ปัจจุบัน การคำนวณแบบนั้นไม่จำเป็นต้องทำโดยตัวเราเองแล้วเพราะว่ามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานให้เราได้อัติโนมัติ ซึ่ง ตัวอย่างของ กราฟ William % R แสดงในรูปที่ 2 ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

จากรูปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า William % R นั้นมีลักษณะเป็นเส้นของการแกว่งของราคา ซึ่งเป็น Indicator ที่มีความคล้ายคลึงกับ Relative Strength Indicator หรือ RSI มาก เพราะว่ามีเส้นเดียวเช่นกัน แต่ Indicator William % นั้นจะมีความผันผวนสูงกว่ามาก เพราะว่า RSI จะไม่มีการแกว่งตัวบอกระยะของกรอบที่ชัดเจนของราคา

การใช้งาน William % R

Indicator William % R แตกต่างจาก Indicator ประเภทอื่น ๆ คือ มันสามารถใช้งานได้แค่กรอบของการแกว่งตัวเท่านั้น คือมันใช้วัดจุดเข้าออกแต่ไม่สามารถวัดเทรนด์ได้ว่าเป็นเทรนด์ขาลงหรือขาขึ้น ทำให้เราอาจจะต้องใช้กรอบของราคาตัวอื่นเป็นตัววัดเทรนด์และ ใช้มันบอกจุดเข้า เพื่อบอกความถูกแพงของราคา โดยมีหลักการใช้ดังนี้

ถ้าหาก ราคาหสินทรัพย์อยู่ต่ำกว่า เส้น Oversold หมายความว่า มีโอกาสที่ราคาจะเกิดการกลับตัว และ เราควรจะส่ง Order Buy ขณะที่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสัญญาณ ของ William % R อยู่สูงกว่าสัญญาณ Overbought เราควรจะส่งออเดอร์ Sell แม่จะมีหลักการใช้ง่าย ๆ แค่นี้แต่เราคงไม่อยากเทรดส่วนเทรนด์กันหรอกจริงไหมเพราะว่ามันไม่ได้บอกเทรนด์อย่างไรหล่ะ

เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ สิ่งที่เราต้องทำคือ ใช้เทรนด์กำหนดทิศทางมันก่อน เช่น ถ้าหากว่า เราใช้   เส้น Trend Line ว่าเขาขึ้น แทนที่เราจะส่งคำสั่งทั้ง Order Long และ Short เราจะเลือกส่งออเดอร์เพียงฝั่ง Long เท่านั้น ซึ่งจะทำให้เราเทรดไม่สวนเทรนด์ ไม่ต้องเผชิญกับการขนาดทุนติดกันบ่อย ๆ

เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่า เทรนด์อยู่ในขาลง เราก็ต้องเทรดเฉพาะการส่ง Sell เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะทำให้เราต้องเผชิญกับความเสี่ยงของการขาดทุน การส่งคำสั่งของ Indicator William % R นั้น สิ่งที่ต้องทำคือ การรอให้การเคลื่อนไหวพ้นระดับที่เรากำหนดขึ้นมาก่อน ไม่ได้หมายความว่าถ้ามันต่ำกว่า ระดับ Oversold ก็ให้ส่งเลย ถ้าเกิดเทรนด์ไปต่อเราจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากทันที และต้องทำสลับกันในการส่งสัณญาณ Overbought ด้วยเช่นกัน

จุดอ่อนของ William % R

จุดอ่อนของ William % R ก็มีความคล้ายคลึงกับ Indicator ส่วนใหญ่เพราะว่า มันไม่สามารถที่จะบอกผลของการเทรดได้แน่นอน และที่สำคัญมันไม่ได้บอกเทรนด์ให้เราแต่ชี้เฉพาะว่า จุดนั้น ราคาถูกที่สุดในกรอบ 14 วัน ถ้ากรณีที่เราใช้ค่ามาตรฐาน แต่สิ่งสำคัญก็ต้องไม่ลืมว่า การเคลื่อนที่ของกรอบนั้น จะทำให้ราคาที่ถูกที่สุดในอดีต อาจจะเป็นราคาที่แพงที่สุดในปัจจุบัน นั่นเพราะกรอบการคำนวณมันเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง