ข่าว:

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - support-1

#496
Defi
Decentralize finance ระบบการเงินแห่งอนาคตที่ทำขึ้นมาเพื่อหวังกำจัดตัวกลาง เช่น ธนาคาร เพื่อลดค่าธรรมเนียม โดยให้เจ้าของเงินดูแลเงินตัวเอง ผ่าน

Blockchain
โอนเงิน ทำธุรกรรมได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งพวก Bitcoin หรือ Eth อยู่ในระบบนี้

Blockchain
ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบที่ไม่ต้องพึ่งตัวกลางกำเนิดมาพร้อม Bitcoin
ข้อมูลจะเรียงต่อกันคล้ายblock แก้ไขข้อมูลก่อนหน้าไม่ได้ มีความปลอดภัยสูง และต้องมีผู้ตรวจสอบธุรกรรม Node จริงๆ สกุลเงินดิจิทัลเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของระบบนี้เท่านั้น

Cryptocurrency
สกุลเงินดิจิทัล เหมือนเฟียตแต่จับต้องไม่ได้ รันอยู่บนระบบ Blockchain เช่น  Bitcoin Eth Ada Doge KUB เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล
ยังใช้ชำระหนี้ตามกฏหมายไทยไม่ได้ แต่เทรดผ่านตัวกลางเพื่อทำกำไรได้

Bitcoin
เหรียญดิจิทัลเหรียญแรกของโลก เกิดมาตั้งแต่ปี2009
ด้วยแนวคิดอยากกำจัดตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงิน

Bitkub
exchange ตัวกลางในการซื้อขายเหรียญคริปโตในไทยที่ถูกกฏหมาย  กลต รับรองแล้ว

Gas fee
ค่าทำเนียนในการทำธุรกรรมผ่านระบบ Blockchain ต่างๆ เช่น จะแปลง ภาพเป็น NFT ต้องเสียค่า Gas เป็น Eth

Governance token
เหรียญที่แพลตฟอร์มนั้นๆ สร้างขึ้นมาเพื่อระบบของตัวเอง เช่น เหรียญ KUB ของ Bitkub แล่วแต่ว่าราคาเป็นไง ใช้ทำอะไรได้บ้าง เช่น ใช้ลดค่า Gas fee  หรือใช้เป็นค่า gas ได้เลย

ICO initial coin offering
การระดมทุนขายเหรียญดิจิทัล สร้างเหรียญขึ้นมา เปิดขายให้คนมาถือเหรียญนี้ร่วมกับเขา แล้วแต่ว่าจะไปลงทุนทำอะไร

ATH (all time high)
เหรียญทำราคาสูงสุดในประวัติการณ์

Air drop
แจกเหรียญต่างๆ

Mining
การขุดเหมือง ที่ไม่ได้ขุดจริง แต่เปรียบเปรย คนที่ถอดสมการผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อรับรองธุรกรรมบนระบบ Blockchain ให้ปลอดภัย โดยจะได้เหรียญตอบแทน

Exchange
ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเหรียญ เช่น Bitkub Binance

CBDB
Central Bank digital currency
สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือ ธนบัตรในแบบดิจิทัล มูลค่าคงที่ ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย ข้อดีคือ น่าเชื่อถือสูงและ ลดค่าทำเนียมที่ไม่จำเป็น

KYC know your customer
การยืนยันตัวตนอัตลักษณ์ของตัวเอง เพื่อความปลอดภัย เมื่อจะทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล
ป้องกันคนร้าย แอบอ้างตัวตนเข้าสู่ระบบ นิยมใช้กันมากในแอปพลิเคชั่นปัจจุบัน
#497
เมื่อตัดสินใจลงมือเทรดอย่างจริงจังแล้ว นอกขจากที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของการปรับตัวของราคาตลาด รวมถึงเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเทรด แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ และเป็นพื้นฐานจำเป็นต่อการเทรด forex เลย นั่นก็คือ Money Management หรือการบริหารเงินทุน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน วันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงการบริหารเงินทุนว่าคืออะไร และมีวิธีการอย่างบ้าง

money management คืออะไร
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า การบริหารหน้าตัก มากกว่าคำว่า MM หรือ Money management ซึ่งนี่คือปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเทรด

การบริหารเงินทุน คือ การวางแผนและแนวทางในการบริหารเงินทุน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดส่วนของกำไรที่ต้องการ การขาดทุน cut loss ได้ขนาดไหน จำนวนเงินที่จะวางในการเปิดออเดอร์แต่ละครั้ง หรือแม้แต่ขนาดของ Lot ที่จะเปิด เป็นต้น

การเทรดที่ล้มเหลวนั้น ไม่ได้เกิดแค่จากการขาดความรู้หรือประสบการณ์ในการเทรดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการกับเงินต้นทุนที่เรามีด้วย และการทำ money management ไม่ได้เจาะจงให้เฉพาะคนที่มีเงินทุนน้อยทำเท่านั้น แต่ยิ่งเรามีเงินทุนเยอะเท่าไหร่ เราก็ต้องวางแผนในการใช้เงินทุนให้ดีเช่นกัน

วิธีใช้ money management กับการเทรด Forex

ตัวอย่างคร่าว ๆ ของการใช้การบริหารหน้าตักในการเทรด forex คือ หากเรามีเงินทุนเทรดอยู่ที่ 50,000 บาท ให้เราลงเงิน deposit ไปที่ 50% ของเงินทุนทั้งหมดที่มี ก็จะเท่ากับ 25,000 บาท และเมื่อทำการเทรดได้เท่าเงินทุนแล้วให้ทำการถอนส่วนที่เป็นเงินทุนออกทันที โดยตัดเรื่องโบนัสครั้งแรกออกไปก่อนเลย ตั้งฝึกตั้งเป้าหมายในการเทรดต่อวันไว้เลยว่า ต้องการ profit หรือเงินกำไรเท่าไหร่ ควรตั้งไว้ที่ประมาณ 3-5 % ของเงินทุนถึงจะปลอดภัย ส่วนเรื่องของการขาดทุน cut loss เราก็ควรตั้งไว้ว่าไม่ควรขาดทุนเกิน 3% ของเงินทุน หากใน 1 วันเทรดเสียติดต่อกัน 4 ครั้งแล้ว ให้หยุดเทรดและทบทวนเงินทุนใหม่ และฝึกฝนทักษะการเทรดเพิ่มเติม

ทำไมต้องเรียนรู้ถึงการบริหารหน้าตัก MM ในการเทรด forex

การลงทุนเทรดกับตลาด forex นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะคาดเดาได้ง่าย ๆ ด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงมาก ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาทิศทางของตลาดได้ จึงเกิดความเสี่ยงขึ้นมากมาย ความเสี่ยงจากการเทรด forex มีดังนี้

Leverage Risk – ความเสี่ยงจากการใช้เลเวอเรจ

การใช้เลเวอเรจคือการยืมเงินจากโบรกเกอร์มาลงทุน เพื่อที่จะสามารถครองสถานะของนักลงทุนได้ หากไม่มีเลเวอเรจเราก็จะต้องหาเงินมาลงทุนเองจำนวนมหาศาล ดังนั้นการลงทุนที่เราต้องยืมมานั้น เราจะต้องคิดให้รอบคอบว่าเราเลเวอเรจขนาดเท่าไหร่ที่จะสามารถสร้างกำไรให้กับเราได้ และเราพร้อมที่จะขาดทุนได้มากน้อยแค่ไหน หากเราเป็นมืออาชีพในการเทรด การใช้เลเวอเรจสูง ๆ ก็อาจจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ใช่เราก็อาจจะต้องพบกับความเสี่ยงที่หนักอยู่พอสมควรเมื่อเทรดเสียขึ้นมา

Interest Risk - ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยอยู่ในกลุ่มของ market risk แต่สำคัญกว่านั้นคือเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนในตลาดอย่างรุนแรง เมื่อเราเข้าเทรดเราก็ควรที่จะศึกษาเรื่องของอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโบรกเกอร์ให้ดี เพราะนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนเราเช่นเดียวกัน ยิ่งดอกเบี้ยสูง ก็ยิ่งเทรดได้กำไรน้อยลง

Market Risk – ความเสี่ยงจากตลาด

นี่เป็นความเสี่ยงที่เกินการควบคุมของเรา นั่นก็เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน เกิดสงครามขึ้น หรือเกิดปัญหาสังคม ภัยพิบัติ เป็นต้น แม้เราจะมีการวางแผนมาอย่างดี ก็อาจจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีนัก เพราะการผันผวนที่สูงมาก ๆ ของตลาดนั้นล้วนเกิดขึ้นจากสิ่งปัญหาภายนอกเหล่านี้

Liquidity Risk – ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง

การเทรด forex จำเป็นที่จะต้องเลือกเทรดคู่เงินที่เป็นที่นิยม เพราะจะมีสภาพคล่องสูงกว่า และเมื่อใดที่เราเลือกเทรดคู่เงินที่ไม่เป็นที่นิยมก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องน้อย เพราะเราอาจจะไม่สามารถปิดสถานะการเทรดได้ทันเวลาตามที่ต้องการได้ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุนได้ง่าย เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากสภาพคล่องนี้ได้ ด้วยการศึกษาและเลือกเทรดคู่เงินที่ทั่วโลกนิยมเทรดกัน

สรุปหลักการและแนวคิดของ money management forex

นักเทรดที่ตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน จำเป็นที่จะต้องใส่ใจในพื้นฐานอย่าง money management หรือการบริหารหน้าตัก และถือเป็นหลักสำคัญในการลงทุน เราจะมามองภาพใหญ่มากขึ้นว่า money management มีวิธีและแนวคิดอย่างไรบ้าง

คิดกลยุทธ์และแผนในการเทรดของตัวเอง

สิ่งนี้จะเป็นตัวควบคุมเงินลงทุนของเราเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราวางแผนในการเทรดของเราขึ้นมาแล้ว เราจะรู้ว่าเราจะเทรดในรูปแบบไหน เทรดรายวันอย่างไร รายสัปดาห์ หรือรายเดือน และแผนในการเทรรดนี้จะช่วยไม่ให้เราเทรดมากเกินไป รู้ได้ว่าควรจะเก็บกำไรเท่าไหร่ และมีวางแผนเพื่อหยุดการขาดทุนตามที่กำหนดไว้

เทรดให้ได้เงินทุนกลับคืนมา

ส่วนนี้ก็จำเป็นที่จะต้องวางแผน เพราะเมื่อใดที่เราขาดทุน เพราะเรายังค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่นที่จะต้องจ่ายคืนแก่โบรกเกอร์ หากเราไม่วางแผนที่จะเทรดให้ได้กำไร เพื่อนำเงินทุนกลับคืนมา เราก็จะต้องหาเงินมาจ่ายหนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นภาระหนักเลยทีเดียว ดังนั้นหากเราลงทุนไป 10,000$ แล้วขาดทุนไป 2,000$ คิดเป็นขาดทุนไป 20% ดังนั้นเราจะต้องจัดการเทรดให้ได้กำไรคืนมา 25% ด้วยเงินทุนเท่าเดิมให้ได้

หยุดการขาดทุน

เรียนรู้การใช้ stop loss บนกราฟราคา และให้ตั้งค่าจุดหยุดขาดทุนในระดับที่เหมาะสม การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันการขาดทุนของเราได้ แม้ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงแปลงผรือผันผวนอย่างรุนแรง เราก็ยังได้กำไรอยู่

ไม่โลภหรือเครียดจนเกิดไป

แน่นอนว่าการเทรด forex มีความผันผวนของตลาดสูงมาก จนทำให้เราขาดสติในการลงทุน เพราะยิ่งตลาดมีสภาพคล่องสูง ความโลภก็เข้าครอบงำ จนตัดสินใจเทรดผิดพลาดและเกิดความเครียดมากจนเกินไป ให้เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ในการเปิดคำสั่งเทรด ให้เข้าเทรดอย่างมีวินัยตามเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่เข้าเทรดตลอดทุกๆ นาที  ให้กำหนดปริมาณเงินลงทุนที่สมเหตุสมผลและบริหารจัดการเวลาในการเข้าเทรดให้ดี

มองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว

การเทรด forex ควรถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว และไม่ควรใจร้อนหรือรีบทำการลงทุนมากจนเกินไป แต่ให้ฝึกฝนรูปแบบและกลยุทธ์การเทรดของตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ควรวัดความสำเร็จจากเงินกำไรที่ได้มาจำนวนมาก ๆ เพราะระดับเงินของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ให้ดูตอบแทนหรือผลกำไรระยะยาวเป็นหลักจะดีกว่า

หลักจิตวิทยา 7 ข้อ สำหรับการบริหารเงินทุน forex
ลดความเสี่ยงด้วยการพัฒนาทักษะของตัวเอง

คำนวณใช้เงินทุนอย่างสมเหตุสมผล

หยุดเทรดเมื่อขาดทุน

ตั้งค่าจุดหยุดขาดทุนเสมอ

ทำความเข้าใจเลเวอเรจให้ดี

ปรับขขนาด lot ให้เหมาะสมกับคู่เงินที่กำลังเทรดอยู่

อ่านข่าวสารข้อมูลในอดีตของคู่เงินที่กำลังเทรดอยู่


ระดับความเสี่ยงของเทรดเดอร์แต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เพราะบางคนสามารถรับมือกับความเสี่ยงสูง ๆ ได้ดีกว่าคนอื่น แต่ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดในระดับไหนก็ควรที่จะทำความเข้าใจกับ money management ให้ดี สำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็ควรที่จะทำแผน money management โดยเริ่มจากการลองลงทุนในปริมาณน้อย ๆ ดูก่อน ฝึกฝนการบริหารเงินทุนไว้เรื่อย ๆ จนไปถึงการลงทุนที่มากขึ้น
#498
วิธีสร้างรายได้ผ่านการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลรูปแบบต่างๆ สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าสกุลเงินดิจิทัลสามารถสร้างรายได้ให้เราได้อย่างไร เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่คนที่สนใจแต่ยังไม่แน่ใจว่าจะก้าวเข้าไปลงทุนในวงการคริปโตฯ แบบไหนดี

ต่อไปนี้คือ 4 รูปแบบหลักๆ ของการสร้างรายได้ด้วย  Cryptocurrency

1.ซื้อเพื่อเก็งกำไรในระยะยาว (Buy and HODL)

วิธีง่ายที่สุดสำหรับผู้สนใจลงทุนในคริปโตฯ คือการ 'ซื้อและถือ' หากเป้าหมายของคุณคือการลงทุนในระยะยาว คุณไม่จำเป็นที่จะต้องสนใจสภาพเศรษฐกิจ หรือการอ่านกราฟเพื่อสังเกตการขึ้นลงของราคา เพราะตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของ 'บิตคอยน์' ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกของโลก ที่มีราคาพุ่งสูงขึ้นทุกปี หากนับเพียงแค่ช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ราคาของบิตคอยน์อยู่เพียงแค่ 9,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น แต่ปัจจุบันราคาได้พุ่งทะยานไปถึง 55,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเติบโตขึ้นกว่า 400% ภายใน 1 ปี ทำให้มีวลีในหมู่ของนักลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีว่า กฎเพียงข้อเดียวของการซื้อคริปโตฯ คือการ HODL (Hold On Dear Life) หรือ 'ไม่ขายจนกว่าจะตาย' นั่นเอง

2.ทำรายได้ด้วยการเทรดรายวัน (Day Trade)

เนื่องจากคริปโตเคอเรนซีเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการนักลงทุน ทำให้มีสกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆ นับร้อยนับพันเกิดขึ้นมากมาย และด้วยความใหม่นี้เอง ทำให้มีการผันผวนของราคาที่ค่อนข้างสูง จึงมักมีเสียงที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งว่า 'คริปโตฯ สร้างเศรษฐีใหม่' และ 'คริปโตฯ ทำให้คนหมดตัว' ดังนั้น ก่อนที่จะทำรายได้จากคริปโตฯ ผ่านการเทรดรายวัน ต้องมีความเข้าใจถึงเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของเหรียญแต่ละเหรียญก่อนลงทุนเสียก่อน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการอ่านค่ากราฟ เพราะหลักการของการเทรดรายวัน (Day Trade) นั้นแสนจะง่ายดาย นั่นคือ 'ซื้อถูก ขายแพง' ไม่ใช่ 'ซื้อแพง ขายถูก'

3.ทำรายได้จากการขุดเหรียญ (Mining)

การขุดเหรียญนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่การขุดจริงๆ แต่เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการยืนยันการทำธุรกรรมของคนในเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain) นั้นๆ ซึ่งหากคุณยืนยันธุรกรรมบนบล็อกเชนของบิตคอยน์ (Bitcoin) คุณก็จะได้เหรียญบิตคอยน์มาเป็นรางวัล แต่หากเป็นผู้ยืนยันบนบล็อกเชนของเหรียญอีเธอเรียม (Ethereum) ก็จะได้รับเหรียญอีเธอเรียมมาแทน แต่ทั้งนี้ การขุดจำเป็นที่จะต้องใช้การ์ดจอและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แรงพอที่จะสุ่มหาค่า Hash ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนสูง ทั้งค่าอุปกรณ์ ค่าไฟ อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าคุณไม่ใช่นักขุดเพียงคนเดียว แต่ต้องขุดแข่งกับคนทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องคำนวณรายรับที่ได้กับค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนตัดสินใจ

4.การทำ Yield Farming บนโลกของ DeFi

นับตั้งแต่ที่โลกของเราได้ตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมอย่างธนาคารด้วยระบบบล็อกเชนทิ้งไป ทำให้เกิดศัพท์ที่เรียกว่า DeFi หรือ Decentralize Finance ขึ้นมา เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเป็นธนาคารได้เพราะมีระบบบล็อกเชนที่ปลอดภัย ซึ่งคนในเครือข่ายช่วยเป็นหูเป็นตาในการดูแลความถูกต้องให้ แต่สิ่งที่น่าสนใจและสามารถทำรายได้ง่ายๆ คือ การทำ Yield Farming หรือการนำเหรียญไปฝากเป็นหลักประกันให้กับแอพพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม DeFi เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มเพื่อที่จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้ารายอื่นได้

ความน่าสนใจของการทำฟาร์มคือ ผลตอบแทนที่มากกว่า 100% ต่อปี ในรูปแบบของ Governance token ของแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น ฟาร์มใน Pancake จะได้เหรียญ Cake หรือ ฟาร์มใน Uni จะได้เหรียญ Uni มาเป็นผลตอบแทน ซึ่งเหรียญดังกล่าวก็มีการขึ้นลงของราคาเช่นกัน

สาเหตุที่อัตราผลตอบแทนสูง เนื่องจากทางแพลตฟอร์มต้องการดึงดูดให้คนในเครือข่ายนำเงินมาฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ซึ่งแพลตฟอร์มที่ให้บริการในปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่ PancakeSwap UniSwap และ BunnySwap

ในเบื้องต้นสำหรับผู้ที่อยากจะสร้างรายได้จากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี ทั้ง 4 ข้อนี้ถือเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ และมีผลตอบแทนที่ดีพอสมควร แต่แน่นอน ดังที่เคยกล่าวมาตลอดว่า ตลาดคริปโตฯ มีความผันผวนสูงเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ดังนั้น การลงทุนในคริปโตฯ คือการลงทุนในเทคโนโลยีที่อาจจะกลายมาเป็นอนาคตของโลกใหม่ และการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
#499
ในบ้านเรา มีธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ทำหน้าที่ดูและระบบการเงินของประเทศ...ถ้ามองไปยังประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ ก็จะมีธนาคารกลางสหรัฐ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เฟด (Fed)
นอกจากนี้ เรายังมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของ ธปท.เพื่อรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "อัตราดอกเบี้ยนโยบาย" (เรามักจะเห็นพาดหัวข่าวว่า กนง.มีมติคง/ขึ้น/ลดดอกเบี้ย) มีกรรมการ 7 คน มาจาก ธปท.3 คนและจากคนนอก 4 คน

เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ก็จะมีคณะกรรมการที่ดูแลนโยบายการเงิน เรียกสั้นๆ ว่า FOMC มีคณะกรรมการระบบธนาคารกลาง 12 คน ประกอบไปด้วยประธานเฟดจากแต่ละเมือง เช่น ปธ.เฟดสาขาชิคาโก, สาขาแอตแลนต้า, สาขาซานฟรานซิสโก และ ปธ.เฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เป็นต้น

กรรมการชุดนี้คือกลุ่มคนที่ "ชี้เป็นชี้ตาย" นโยบายการเงินของประเทศ และถ้าเป็น กนง. ของไทยนโยบายจะกระทบเฉพาะในไทย แต่บังเอิญนี่คือสหรัฐซึ่งเป็นเบอร์ 1 ของโลก ดังนั้น นโยบายทางการเงินที่ออกมาจาก FOMC จะไม่ได้มีผลแค่ต่อสหรัฐ แต่หมายถึงผลกระทบที่มีต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ ทั่วโลกเผชิญกับ "วิกฤตโควิด-19" หลายประเทศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจให้อยู่รอด คำว่า "ผ่อนคลาย" หมายถึงการ การที่ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นให้เอกชนกู้เงินไปขยายการลงทุน นำไปสู่การหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจและจีดีพีขยายตัว แต่ก็แลกกับเงินเฟ้อที่จะตามมา

เมื่อไหร่ก็ตามที่เศรษฐกิจเติบโต โดยธรรมชาติจะตามด้วยอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ธนาคารกลางจะใช้การ "ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย" เป็น "เครื่องมือ" สกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
ซึ่งการ "ชี้เป็นชี้ตายทิศทางเศรษฐกิจ" ของ FOMC ที่กระทำผ่านนโยบาย "ปรับขึ้นดอกเบี้ย/คงดอกเบี้ย/ลดดอกเบี้ย" นั้นจะเกิดขึ้นปีละ 8 ครั้ง

เฟดมีกำหนดการประชุม 8 ครั้งในปีนี้ ที่นักลงทุนต้องจับตา
ครั้งที่ 1-มกราคม (วันที่ 25-26)
ครั้งที่ 2-มีนาคม (วันที่ 15-16)
ครั้งที่ 3-พฤษภาคม (วันที่ 3-4)
ครั้งที่ 4-มิถุนายน (วันที่ 14-15)
ครั้งที่ 5-กรกฎาคม (วันที่ 26-27)
ครั้งที่ 6-กันยายน (วันที่ 20-21)
ครั้งที่ 7-พฤศจิกายน (วันที่ 1-2)
ครั้งที่ 8- ธันวาคม (วันที่ 13-14)

ทำไม เฟด ถึงมีอิทธิพลต่อตลาดคริปโท?
เฟด ไม่สามารถจะไปควบคุมตลาดคริปโทได้ เค้าเพียงแค่ดำเนินนโยบายของตัวเองไป แต่ด้วยความที่โลกนี้เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนมันเชื่อมถึงกันหมด เงินไหลออกจากตลาดหนึ่งก็ไปเข้าอีกตลาดหนึ่ง เช่น ออกจากตลาดหุ้นก็ไปตลาดคริปโท ออกจากตลาดคริปโทก็ไปเข้าตลาดตราสารหนี้ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้เพื่อวิ่งหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด

ทำให้ทุกการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยของเฟด โดยคณะกรรมการ FOMC จะผลกระทบต่อตลาดคริปโทเคอรืเรนซีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มากก็น้อย

เราในฐานะนักลงทุน จึงควรเฝ้าติดตามว่า "ก่อนการประชุม" ในแต่ละรอบตลาดคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยเฟดยังไง และ "หลังการประชุม" ผลที่ออกมาสอดคล้องหรือผิดไปจากที่ตลาดคาดไว้หรือไม่จะได้นำไปวิเคราะห์และทำการบ้านต่อเพื่อวางกลยุทธ์ของตัวเอง

อย่างเช่นช่วงต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา เฟด ได้เผยแพร่รายงานการประชุม FOMC (ของเดือน ธ.ค.ซึ่งประชุมจบไปแล้ว แต่เอารายละเอียดมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามหลังในรูปของเปเปอร์) ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (ยังไม่ขึ้นจริง) ปรากฎว่าในวันนั้นทั้งตลาดหุ้นและตลาดคริปโทต่างก็ร่วงหนักผิดปกติ

แม้ว่าในทางหนึ่ง "เงินเฟ้อยิ่งสูง" จะยิ่งดีกับตลาดคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะกับ Bitcoin เพราะนักลงทุนจะหันมาถือครองมากขึ้น (หลังๆ นักลงทุนสถาบันเก็บเข้าพอร์ตมากขึ้นรวมถึง Tesla ที่เริ่มเก็บเมื่อปีที่แล้ว) เพราะมองว่าป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดีกว่าการถือเงิน Fiat

อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เงินเฟ้อพุ่งสูงมาก กระทั่งนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย มันย่อมจะเป็นลบต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงตลาดคริปโทด้วย ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมานี้เอง

การประชุมนัดแรกและนัดสำคัญของเฟดประจำปี 2565 ในวันที่ 25-26 มกราคมนี้ทั่วโลกจึงจับตา!! เพราะจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมายาวนานบวกกับการ "อัดยาแรง" ด้วยการพิมพ์เงินเพิ่ม (QE) มันกำลังย้อนศรด้วยเงินเฟ้อพุ่งสูงในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว

นโยบายเฟดจึง "กำลังจะกลับทิศ"! เพราะกำลังจะดึงเงินกลับด้วยการลด QE และลดขนาดงบดุล เรียกได้ว่า "เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางเศรษฐกิจ"จากการส่งสัญญาณของประธานเฟดสาขาต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ "สนับสนุน" ให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย "ในการประชุมเดือนมีนาคมนี้"

ค่ายต่างประเทศอย่าง "โกลแมนแซคส์" คาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในปีนี้ (จากตลาดคาดจะขึ้น 3 ครั้ง) ซึ่งในวันที่มีข่าวนี้ออกมาจากโกลแมนแซคส์ ปรากฎว่าทั้งตลาดหุ้นและตลาดคริปโทตอบรับเป็นสีแดงทั้งกระดาน

ค่ายวิจัยในไทยอย่าง "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" คาดการณ์ว่าการประชุม FOMC วันที่ 25-26 ม.ค.นี้ เฟดจะยังไม่ส่งสัญญาณอะไรเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือน มี.ค. ตามที่ได้ส่งสัญญาณไปแล้วก่อนหน้านี้และตลาดต่างก็รับรู้ไปแล้ว

โดยสรุปทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ "นักลงทุน" ในตลาดทั้งหลายต้องระมัดระวังและจดวันประชุมสำคัญระดับโลกนี้เอาไว้ อย่างน้อยเราจะได้ปรับแผนการลงทุนได้ทันท่วงที

มาลุ้นกันว่าประชุมนัดแรกของปีนี้ เฟดจะยังคงดอกเบี้ย 0.00-0.25% ตามที่ตลาดคาดหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ตลาดหุ้นและตลาดคริปโทคงไม่แพนิก มาก...เว้นแต่เฟดจะ "หักปากกาเซียน"
#500
Forex (Foreign Exchange) คือ ตลาดที่ทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยราคานั้นจะแปรผันตาม demand และ supply ของแต่ละสกุลเงิน ซึ่งทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ สภาพเศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมือง เหตุการณ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการประกาศตัวเลขสำคัญ ๆ ของแต่ละประเทศ เช่น อัตราการว่างงาน เป็นต้น เรียกได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีความอ่อนไหวต่อปัจจัยรอบข้างค่อนข้างมาก

การซื้อขายเงินสกุลใหญ่ ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD), ยูโร (EUR), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), เยน (JPY) จะมีสภาพคล่องสูงมาก เนื่องจากมีผู้เล่นจำนวนมากและมีการเปลี่ยนแปลงของราคาตลอดเวลา ในอดีต ผู้เล่นในตลาด Forex จะจำกัดอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทประกัน แต่ในปัจจุบัน ด้วยการเข้ามาของระบบการเทรดออนไลน์ นักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา ก็สามารถเข้ามาลงทุนผ่านระบบการเทรดออนไลน์ของบริษัทโบรกเกอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปยังตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันทีที่ได้รับคำสั่ง

เราสามารถสรุปลักษณะเด่นของตลาด Forex ได้ดังต่อไปนี้


  • เป็นตลาดการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดทำการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ การซื้อขายเริ่มตั้งแต่ตลาดเปิดทำการตอนเช้าในออสเตรเลีย เอเชีย ยุโรปและจนจบวันทำการของอเมริกา
  • มีสภาพคล่องสูง เพราะมีคนซื้อ และคนขายจำนวนมาก ทำให้ปริมาณการซื้อขายสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบอื่น ๆ
  • มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรามีความอ่อนไหวมากต่อปัจจัยรอบตัว ซึ่งนับได้ว่าเป็นโอกาสที่จะใช้ทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกัน ก็อาจจะขาดทุนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
  • ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ในหนึ่งคู่สกุลเงิน นักลงทุนสามารถเปิดได้ทั้งสถานะซื้อ หรือขาย โดยเปิดสถานะซื้อหากคาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้น และเปิดสถานะขายหากคาดว่าราคาจะลดลง
  • ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่สามารถสร้างกำไรได้สูงด้วย leverage แต่ในทางตรงข้าม leverage ก็ทำให้ขาดทุนได้สูงมากเช่นกัน
  • ค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำ เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น มีหลายโบรกเกอร์ไม่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขาย แต่จะคิดค่าบริการจากส่วนต่างราคา bid / ask หรือที่เรียกว่า spread โดยคู่สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากจะมี spread แคบ

โดยการซื้อขาย Forex จะแสดงในรูปคู่ของสกุลเงิน เช่น EUR/USD = 1.105965 หมายความว่า 1 Euro มีค่าเท่ากับ 1.105965 US Dollars การซื้อ EUR/USD จะหมายถึง การซื้อ EUR และขาย USD และในทางตรงกันข้าม การขาย EUR/USD หมายถึง การซื้อ USD และขาย EUR ตัวอย่างการซื้อขายคู่สกุลเงินที่สำคัญ ๆ ได้แก่ EUR/USD, USD/JPY, GBP/USD, USD/CAD, USD/CHF, AUD/USD and NZD/USD

เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น เมื่อนักลงทุนในตลาด Forex เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคู่สกุลเงิน ก็นับเป็นโอกาสในการเข้าทำกำไร เช่น หากคาดการณ์ว่า ค่าเงิน EUR จะอ่อนลงเมื่อเทียบกับ USD นักลงทุนอาจจะสั่งขาย EUR/USD ณ ราคาปัจจุบัน โดยหากการคาดการณ์ของเราถูกต้อง และราคา EUR/USD ลดลง เราก็สามารถทำกำไรโดยการปิดสถานะการขาย ซึ่งกำไรที่ได้จะเป็นส่วนต่างของราคา คูณกับจำนวนหน่วยที่ซื้อ


  • ตัวอย่าง  จากการคาดการณ์ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งหมายความถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น น่าจะมีผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หรืออีกนัยหนึ่ง EUR/USD น่าจะมีค่าลดลง ดังนั้น เราจึงตัดสินใจเปิดสถานะขาย EUR/USD ที่ราคา bid 1.10288 จำนวน 10,000 หน่วย และด้วย leverage ที่ 50:1 ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ (1.10288 *10,000) / 50 = $220.576 (แทนที่จะต้องใช้เงิน $11,028.8 ) ซึ่งหากการคาดการณ์ถูกต้อง และ EUR/USD มีค่าลดลง เราสามารถปิดสถานะทันที เช่น ที่ราคา ask 1.09052 ในตัวอย่างนี้ เราสามารถทำกำไรได้ (1.10280-1.09052)*10,000 = $122.8

และด้วยลักษณะของ Forex ที่มีความเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว มีสภาพคล่องสูง ทั้งยังสามารถใช้ leverage ทำให้สร้างกำไรได้สูงด้วยเงินลงทุนต่ำ จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนใน Forex เหมาะกับนักลงทุนขาซิ่งที่ชอบความเสี่ยงสูง เน้นทำกำไรในช่วงเวลาสั้น ๆ ตัดสินใจซื้อขายอย่างรวดเร็ว
#501
พื้นฐาน Defi / DeFi คืออะไร?
กุมภาพันธ์ 21, 2022, 06:56:00 ก่อนเที่ยง
นอกเหนือจาก Cryptocurrency แล้ว เทคโนโลยี Blockchain ยังได้สร้างสิ่งที่ต่อยอดจากนั้นที่เรียกว่า Decentralized Finance ขึ้นมาด้วย

DeFi คืออะไร?

DeFi เป็นคำย่อมาจาก Decentralized Finance คำ ๆ นี้มักถูกใช้เพื่อพูดถึงสินทรัพย์ดิจิทัล, Smart Contracts ด้านการเงิน, Protocol ต่าง ๆ และ  Decentralized Applications (DApps) ที่ถูกสร้างบน Ethereum ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ มันคือซอฟต์แวร์ด้านการเงินที่ถูกสร้างบน Blockchain ซึ่งสามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านั้นมาต่อรวมกันได้แบบเลโก้

คุณสามรถเข้าไปดูพื่อคำรู้จักและศึกษาผลิตภัณฑ์และบริการในระบบนิเวศน์ของ Ethereum DeFi ได้ที่ DeFiPulse ในนนั้นจะคอยบอกว่ามี DeFi ที่ได้รับความนิยมต่าง ๆ นั้นมีมูลค่าเท่าไรบ้างที่ถูกล็อคอยู่

อะไรคือ Decentralized Finance และมันมีไว้สำหรับใคร?

เพื่อที่จะให้เข้าใจ DeFi มากขึ้น เราต้องลองย้อนไปดูก่อนว่า อุตสาหกรรมการเงินในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ฟังดูอาจจะแปลก ๆ แต่เงินนั้นไม่ใช่สิ่งที่อยูมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แต่เพิ่งมีมาได้ในช่วงหลายพันปีมานี้

แต่เดิมแล้วมนุษย์ไม่ได้ใช้เงิน แต่มีระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่พวกเขามีกันแทน ซึ่งเมื่อสังคมของมนุษย์มีอายุและพัฒนามากขึ้น ระบบเศรษฐกิจก็เริ่มเปลี่ยนไป พวกเราได้สร้างสกุลเงินขึ้นมา ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง  ๆ กันได้ง่ายยิ่งขึ้น สกุลเงินส่งผลให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และเศรษฐกิจก็พัฒนาแบบก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม การพัฒนานั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นฟรี ๆ แต่แลกมากับอะไรบางอย่าง

ตั้งแต่อดีตแล้ว ที่หน่วยงานที่มีอำนาจเช่น รัฐบาลจะทำการสร้างสกุลเงินที่เป็นตัวกำหนดระบบเศรษฐกิจของเรา ธนาคารกลางและสถาบันต่าง ๆ ถูกคาดหวังให้บริหารและออกกฎหมายควบคุมจำนวนเงินที่มีหรือ Supply ในระบบเศรษฐกิจ

เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ขนาดของเศรษฐกิจของเราก็ขยายใหญ่ขึ้น จนทำให้หน่วยงานเหล่านี้มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนก็ไว้วางใจพวกเขามากขึ้น

พวกเราเชื่อใจให้รัฐบาลไม่ทำการพิมพ์เงินออกมาจำนวนมหาศาลในชั่วข้ามคืน พวกเราเชื่อใจธนาคารของเราให้เก็บเงินเราอย่างปลอดภัย และพวกเราก็เชื่อใจผู้ให้คำแนะนำด้านการเงินของเราเวลาที่เราต้องการลงทุนในสินทรัพย์ไหน

ด้วยการที่เราส่งมอบอำนาจในการควบคุมเงินของเราเองให้กับคนอื่น เราก็คาดหวังที่จะทำกำไรจากมัน แต่ความเป็นจริงอันโหดร้ายเกี่ยวกับระบบการเงินในปัจจุบันก็คือ การมอบอำนาจและความเชื่อใจให้นั้นก็ใช่ว่าจะได้รับผลตอบแทนเสมอไป

ความเป็นจริงแล้ว เราแทบจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า องค์กรที่ดูแลจัดการเรื่องการลงทุนของเรา หรือรัฐบาลจัดการระบบเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว นักลงทุนก็มักจะได้ผลตอบแทนกลับมานิดหน่อยจากการเสี่ยงให้อำนาจแก่คนอื่น

DeFi ต้องการสร้างอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไป

Decentralized Finance นั้นเล็งที่จะสร้างระบบการเงินที่แตกต่างออกไป ซึ่งจะเปิดกว้างให้กับทุก ๆ คน พร้อมทั้งทำให้ผู้ที่ใช้งานไม่ต้องเชื่อใจองค์กรที่มีอำนาจให้มากที่สุด

เทคโนโลยีเช่นอินเทอร์เน็ต, Cryptography (การเข้ารหัส) และ Blockchain เป็นเครื่องมือที่เมื่อนำมารวมกันแล้ว สามารถสร้างระบบการเงินที่ไม่ต้องมีองค์กรที่มีอำนาจทั้งหมดขึ้นมาได้

มีคำพูดที่มักใช้ในวงการ Blockchain บ่อย ๆ ว่า 'ไม่จำเป็นต้องเชื่อใจหรอก แต่ไปพิสูจน์สิ' เพราะว่าในเครือข่ายของ Blockchain นั้น ทุก ๆ คนสามารถทำการยืนยันหรือพิสูจน์ทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน Blockchain ได้นั่นเอง ด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดความโปร่งใสในระบบ แตกต่างจากระบบทั่วไปที่มีองค์กรที่มีอำนาจดูแล ในกรณีนั้นเราจะไม่สามารถตรวจสอบได้เฉพาะสิ่งที่องค์กรเหล่านั้นเปิดให้ดูเท่านั้น

DeFi เปิดให้ทุก ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในวงการการเงิน

แทบจะทุกแอปฯ DeFi นั้นถูกสร้างบน Blockchain ของ Ethereum เครือข่าย Blockchain ทั้งสิ้น ซึ่ง Ethereum นั้นเป็น Blockchain ที่สามารถเขียนโปรแกรมบนนั้นได้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกด้วย Ethereum นั้นเป็นเครือข่าย Blockchain ที่มี Cryptoucurrency อย่าง Ether หรือ ETH ด้วย

นักพัฒนาต่าง ๆ สามารถสร้างแอปฯ บน Ethereum ที่สามารถสร้าง, เก็บ และจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Token ได้ แอปฯ เหล่านั้นจะถูกเรียกว่า Decentralized Applications หรือ DApps ซึ่งมันจะทำงานด้วย Smart Contracts ที่เป็นสัญญาหรือข้อตกลง โดยจะมีกฎบังคับใน Blockchain ของ Ethereum ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างข้อตกลงแบบเด็ดขาดที่ไม่มีใครฝ่าฝนหรือโกงได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจัดการเลย

Decentralized Finance ได้สร้างโอกาสที่จะทำให้วงการการเงินนั้นโปร่งใส และยืดหยุ่นมากขึ้น ใครก็ตามที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเข้าถึงและใช้งาน Smart Contracts ที่ถูกสร้างบน Blockchain ของ Ethereum ได้หมด

นอกจากนี้ Smart Contracts ต่าง ๆ ก็ถูกสร้างบน Smart Contracts ที่เคยถูกสร้างมาแล้วอีกรอบหนึ่ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าโค้ดของ Smart Contracts ไหนนั้นให้บริการที่ดีที่สุดกับพวกเขา

แอปฯ DeFi ไหนบ้างที่ได้รับความนิยม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แอปฯ DeFi นั้นได้ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการมากมาย ซึ่งมีความคล้ายับบริการการเงินทั่ว ๆ ไป แต่เพิ่มความเป็น Decentralized เข้าไป

แอปฯ DeFi ที่ได้รับความนิยมที่สุดในตอนนี้ก็คือ แอปฯ แพลตฟอร์มปล่อยกู้ที่ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคาร ผู้ใช้งานสามารถฝากเงินและได้รับดอกเบี้ยจากผู้ใช้งาคนอื่น ๆ ที่ทำการยืมได้ ในกรณีนี้ สินทรัพย์ต่าง ๆ นั้นเป็นรูปแบบดิจิทัลและมี Smart Contracts คอยเชื่อมผู้ปล่อยกู้ และผู้กู้ยืมไว่ บังคับให้ต้องทำตามข้อกำหนดของการกู้ยืม และมีการกระจายดอกเบี้ยไปตามอัตราส่วนเงินที่ฝากนั่นเอง

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อใจใด ๆ ในธนาคารหรือคนกลางทั้งนั้น และด้วยการที่ตัดตัวกลางเหล่านี้ออกไป ทำให้ผู้ปล่อยกู้สามารถรับผลตอบแทนที่มากขึ้นได้ พร้อมทั้งเห็นความเสีย่งชัดเจนมากขึ้นด้วยจากความโปร่งใสที่ Blockchain ทำให้นั่นเอง

โทเคนอย่าง Stablecoins เองก็มีความสำคัญในระบบนิเวศน์ของ DeFi เช่นกัน คุณอาจจะเคยเห็นว่ามูลค่าหรือราคาของ Cryptocurrency นั้นมักจะผันผวนตลอดเวลา แต่ Stablecoins นั้นเป็นโทเคนที่ถูกออกแบบมาให้มูลค่าผันผวนน้อยที่สุด และก็มักจะสกุลเงินหรือสินทรัพย์ค้ำมูลค่าไว้เสมอ ยกตัวอย่างเช่น DAI เป็น Stablecoin ที่มี ETH ค้ำอยู่ ในทุก ๆ DAI ที่สร้างขึ้นมา จะมี ETH มูลค่า 1.50 ดอลลาร์ ถูกล็อคเพิ่มเข้าไปใน MakerDAO ที่เป็น Smart Contract ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวค้ำมูลค่า

อีกหนึ่งแอปฯ DeFi ที่ได้รับความนิยมก็คือ Decentralized Exchange (เว็บเทรดแบบ Decentralized) หรือ DEX มันทำหน้าที่เหมือนเว็บเทรดคริปโตทั่ว ๆ ไปโดยการใช้ Smart Contracts สร้างกฎของการเทรด, ทำการเทรด และคุ้มครองคริปโตของเราตามที่ตั้งไว้ ข้อดีของ DEX ก็คือมันไม่จำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนอย่าง KYC, ไม่ต้องมีการสมัคร, ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมในการถอน และที่สำคัญไม่ต้องฝากคริปโตไว้ในเว็บเทรดด้วย เพราะเวลาจะเทรดก็แค่เชื่อม Wallet ของเราเข้ากับเว็บเทรดเท่านั้น ทำให้มีความปลอดภัยมาก ๆ ไม่ต้องฝากเงินไว้ในเว็บเทรด

DeFi เหมือนเลโก้ในวงการการเงิน

ลองจินตนาการภาพของตัวต่อเลโก้ ที่ตอนแรกคุณก็เริ่มจากตัวต่อไม่กี่ชิ้น และเมื่อเวลาผ่านไปมันก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะต่อมันอย่างไร หรือจะต่อให้มันเป็นรูปแบบไหน และ Smart Contracts นั้นก็คล้าย ๆ กับตัวต่อเลโก้

ในทุก ๆ โปรเจกต์, ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ ที่เปิดตัวบน Ethereum นั่นแปลว่าเครือข่ายของมันมีตัวต่อเพิ่มขึ้นมาอีกชิ้นแล้ว และการนำตัวต่อเหล่านั้นมาประกอบรวมกัน คุณจะสามารถสร้างเครื่องมือทางการเงินที่ทรงพลังมาก ๆ ขึ้นมาได้

ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ ก็คือ cDAI ตัวอย่างของเลโก้การเงินนี้ ในเครือข่าย Ethereum นั้นมี Compound ที่ทำหน้าที่เหมือนตลาดการเงิน หรือแพลตฟอร์มการกู้ยืมใน Ethereum ที่เมื่อคุณฝาก DAI เข้าไปแล้ว คุณจะได้โทเคน cDAI กลับมาเพื่อเป็นตัวแทน DAI และดอกเบี้ยที่ได้จากการปล่อยกู้ของเรา ด้วยความที่ cDAI เป็นโทเคน ทำให้คุณสามารถส่ง, รับ หรือใช้มันใน Smart Contracts อื่น ๆ ได้ ซึ่งตรงนี้แหละที่มันทำหน้าที่คล้ายเลโก้ เช่น เราทำการแปลง ETH ด้วย MakerDAO ให้ได้ DAI, เอา DAI ไปฝากไว้ใน Compound เพื่อให้ได้ cDAI จากนั้นนำ cDAI ไปใช้ใน DApps อื่นต่ออีก

ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำการแลก ETH เป็น cDAI ได้เลยผ่าน DEX และก็สามารถเก็บดอกเบี้ยได้เลยทันทีเพียงแค่ทำการถือ cDAI ไว้ คุณสามารถดูอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดได้ผ่าน DEX.AG ที่จะรวบรวมราคาของทุก ๆ DEX ไว้ด้วย

การ Decentralized อาจมีความแตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงบริการของ DeFi แล้วมันก็ไม่ได้ Decentralized ทั้งหมดซะทีเดียว เพราะมันเองก็มีระดับความกระอำนาจแตกต่างกันออกไป

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Stablecoins นั้นได้รับความนิยมมากใน DeFi แต่ก็ใช้ว่า Stablecoins นั้นจะ Decentralized เหมือน DAI เพราะมีหลากหลายสกุลที่เป็นโทเคนที่อิงจากการฝากเงิน Fiat เช่น ในทุก ๆ USDC ที่ถูกสรา้งขึ้นจะมีเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกฝากไว้ในบัญชีที่เอาไว้ค้ำมูค่า ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถแปลงสินทรัพย์ปกติเป็นรูปแบบดิจิทัลได้

ในจุดนี้เองที่จะเกิดความสับสนได้ เพราะถึงแม้คุณจะสามารถเทรด, ส่งและรับโทเคนเหล่านี้บน Blockchain ได้ แต่คุณยังไม่สามารถกำจัดความจำเป็นของการที่ต้องมาจัดการสินทรัพย์ในแบบปกติ หรือการแลกมันกลับเป็นสินทรัพย์ปกติอยู่ดี

ยกตัวอย่างเช่น คุณทำการซื้อบ้านบน Blockchain จากการที่มีคนบางคนทำการแปลงบ้านให้อยู่ในรูปแบบโทเคน จากนั้นนำมันไปตั้งขายไว้ในเว็บเทรด และคุณก็ซื้อมัน ด้วยความที่ไม่มีกฎหมายอะไรเลย คุณไม่สามารถบังคับผู้ขายให้มอบความเป็นเจ้าของของบ้านนั้นมาให้คุณได้ ถึงแม้คุณจะเป็นเจ้าของบ้านนั้นในรูปแบบโทเคนก็ตาม ซึ่งคุณก็ต้องใช้ระบบกฎหมายปกติเข้าช่วยอยู่ดีเพื่อจัดการในกรณีนี้

สรุปสั้น ๆ มันยังคงมีขีดจำกัดของเทคโนโลยีอยู่ว่า DeFi สามารถไปได้ถึงขนาดไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ กฎหมายก็จะปรับตัวเข้าหาอุตสาหกรรมการเงินที่เปลี่ยนไป และ DeFi ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ DeFi จะไม่หายไปไหน และจะค่อย ๆ ปฏิวัติวงการการเงินอย่างช้า ๆ แน่นอน

DeFi เติบโตต่อเนื่อง มูลค่ารวมแตะ 1 พันล้านดอลลาร์

หลังจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ บางคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีคนใช้งาน DeFi จริง ๆ แต่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ มูลค่าของคริปโตใน DeFi นั้นก็มีกันรวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 31.33 พันล้านบาทแล้ว

มันไม่ใช่แค่แนวคิดเพ้อฝันอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นสิ่งที่มีผู้คนใช้งานมันจริง ๆ และก็สามารถแก้ปัญหาของผู้คนได้จริง ๆ แล้ว ซึ่งนี่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะในอีกหลายปีต่อ ๆ ไปนี้มันจะพัฒนาต่อยอดกันไปเรื่อย ๆ เหมือนดั่งตัวต่อเลโก้ในวงการการเงิน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า DeFi นั้นเป็นส่วนที่ทำให้ Ethereum เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นในตอนนี้จนส่งผลให้ราคาของมันทะยานอย่างว่องไว ไม่แน่ว่าการที่ DeFi ได้รับความนิยมขนาดนี้อาจจะเหมือนตอนที่ ICO กำลังดัง และช่วยจุดกระแสให้ทั้ง Bitcoin และตลาดคริปโตทะยานต่ออีกครั้งก็เป็นได้








#502
พื้นฐาน Crypto / เริ่มลงทุน Cryptocurrency อย่างไร
กุมภาพันธ์ 21, 2022, 03:53:06 ก่อนเที่ยง
Cryptocurrency คืออะไร?

Cryptocurrency (คริปโตเคอร์เรนซี) หรือที่หลายคนมักเรียกย่อๆ ว่า "คริปโต" ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง กำลังได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนในปัจจุบัน และเมื่อพูดถึงคริปโตก็มักเชื่อมโยงกับเงินดิจิทัลอย่าง "Bitcoin" ทั้งหมดนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

Cryptocurrency คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ต้องอาศัยการเข้ารหัส โดยคำว่า "Crypto" หมายถึง การเข้ารหัส ส่วนคำว่า "Currency" หมายถึง สกุลเงิน ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีเป็นเงินดิจิทัลที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นสกุลเงินในอนาคต ที่จะเข้ามามีบทบาทในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน

ความน่าสนใจอยู่ที่กลไกสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์คริปโต จะแปรผันตามราคากลางในตลาด ซึ่งในปัจจุบัน "Cryptocurrency" ยังไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมาย เนื่องจากไม่มีหน่วยงานสากล หรือรัฐบาลใดเข้ามาควบคุมจัดการ ทำให้บางครั้งคริปโตก็ถูกเรียกว่า "สกุลเงินเสมือน" แบ่งออกเป็นสกุลเงินต่างๆ มากมาย หรือที่เรามักเรียกว่า "เหรียญ" เช่น เหรียญบิตคอยน์ เป็นต้น

ส่วนเงินตราที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย จะต้องถูกกำหนดโดยรัฐเท่านั้น เช่น ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์สกุลเงินต่างๆ ของแต่ละประเทศที่เราใช้กันในปัจจุบัน

คำถามที่นักลงทุนมือใหม่อาจยังสงสัยคือ คริปโตสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินปกติได้หรือไม่? คำตอบคือ แลกเปลี่ยนได้ โดยจะต้องซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านหน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

หลักการทำงานของ "Cryptocurrency" เป็นอย่างไร?
การทำงานของเงินดิจิทัล Cryptocurrency สกุลต่างๆ จะถูกบันทึกในระบบที่เรียกว่า "Blockchain" (บล็อกเชน) ซึ่งจะช่วยบันทึกข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของเหรียญสกุลเงินใดบ้าง โดยระบบ Blockchain สามารถส่งสัญญาณแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้ได้  ระบบ Blockchain ช่วยให้การชำระเงินออนไลน์ รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ระหว่างบุคคล เป็นไปอย่างน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และรับรองความถูกต้องได้ ไม่จำเป็นต้องมีคนกลางมีดำเนินการก็ได้

สกุลเงิน Cryptocurrency มีอะไรบ้าง?
สกุลเงินคริปโตที่รู้จักกันดีที่สุดคือ "Bitcoin" (บิตคอยน์) เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกของโลก จึงถือว่าเก่าแก่ที่สุด ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา Bitcoin เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ระหว่างบุคคล สามารถตรวจสอบได้ จึงทำให้นักลงทุนรุ่นใหม่หันมาสนใจลงทุนกับบิตคอยน์มากขึ้น

นอกจาก Bitcoin แล้ว จริงๆ แล้วยังมีคริปโตอีกหลายสกุลเงินที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะสกุลเงินที่ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. ของประเทศไทย เช่น Ethereum, Litecoin, Bitcoin Cash, Ripple, Binance Coin, Cardano, Ripple (XRP) และ Dogecoin เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านั้น เริ่มมีผู้ประกอบการธุรกิจในไทยที่เปิดรับชำระค่าสินค้าและบริการเป็นสกุลเงินดิจิทัล ทำให้คนไทยสามารถนำ Bitcoin มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Cryptocurrency จะได้รับการยอมรับในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัล และสกุลเงินสำหรับซื้อขาย-แลกเปลี่ยนในอนาคต แต่ทุกการลงทุนก็มีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ที่สนใจอยากจะเข้าสู่วงการคริปโต ก็ควรศึกษาข้อมูลที่จำเป็นก่อนการลงทุนเสมอ