ข่าว:

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - support-1

#1
สวิง High และสวิง Low สารพัดเทคนิคการเทรด จำนวนมาก ล้วนเกี่ยวข้องกับการค้นหาราคา ที่ดีที่สุดในการเข้าเทรด รวมไปถึงการหาจังหวะ การสวิงของกราฟราคาด้วย เพราะกราฟราคา จะไม่วิ่งเป็นเส้นตรง พวกเขาจะมีจังหวะการวิ่ง และหากเราไม่สามารถระบุ พื้นที่การสวิงย้อนกลับได้ แล้วมักจะพบว่า เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลา แห่งการเทรดผิดที่ผิดทาง

เพื่อช่วยให้เรา ค้นหาพื้นที่ที่มีมูลค่า เพื่อค้นหาการเทรดที่มีศักยภาพ เราต้องมองหาการสวิงของกราฟราคา บทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการหาสวิง High และสวิง Low ว่าเป็นอย่างไร หาได้อย่างไร เพราะถ้าคุณสามารถระบุได้ คุณก็สามารถใช้ เพื่อค้นหาจังหวะการเทรดได้ เช่นกัน

สวิง High คืออะไร?

สวิง High คือ กราฟราคาที่เคลื่อนที่สูงสุด ภายหลังจากการเคลื่อนไหว ที่สูงแล้วก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะตกลงไป ต่ำกว่าเดิ ม การย้ายที่สูงขึ้นไปสู่ การสวิงสูงนั้น มักจะเป็นระดับที่สำคัญ และเทรดเดอร์ ที่เทรดด้วยการสวิง มักใช้ในการตามล่า หาการกลับตัวของกราฟราคา

ด้านล่างเป็นตัวอย่างของ สวิง High



ในภาพตัวอย่าง ให้สังเกตจะเห็นว่า กราฟราคาได้ทำการสวิงสูงขึ้นไป ภายหลังการตกลงมา เหมือนขั้นบันได จุดสวิงสามารถเกิดขึ้นได้ บนชาร์ตราคาทุกกรอบเวลา ทั้งหมดจากช่วงเวลาที่เล็กที่สุด ไปจนถึงช่วงเวลาสูงสุด สิ่งนี้ทำให้ พวกเขามีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อ เมื่อมองหาการเทรดตามแนวโน้ม

สวิง Low คืออะไร?

สวิง Low มีแง่มุมเดียวกันกับการสวิง High แต่สลับด้านกัน ด้วยความที่กราฟราคาที่สวิง Low จะมีตำแหน่งการสวิงที่ต่ำกว่า สวิง Low ก่อนหน้า โดยจะการมีสวิงที่สูงขึ้น (ไม่สูงกว่าสวิงต่ำแรก) มาขั้นช่วงกลาง ก่อนสวิงต่ำกว่าอีกครั้ง เรียกว่า สวิง Low

ด้านล่างเป็นตัวอย่างของ สวิง Low ในแนวโน้มขาขึ้น



หมายเหตุ: ไม่มีจำนวนขั้นต่ำ ของแท่งเทียน ในการสร้างสวิงในแต่ละรอบ อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงว่า หากจะทำการเทรด ที่จุดสวิงนั้นจริงๆ นั้น บริเวณนั้น มีพื้นที่เท่าไหร่ และพอที่จะให้รางวัล ต่อความเสี่ยง เหมาะสมจากการเทรดหรือไม่

สวิง High และ สวิง Low ทำไมจุดในการสวิงจึงสำคัญ?

หากคุณเป็นเทรดเดอร์ ที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหว ของกราฟแท่งเทียน ด้วยการเทรดตามแนวโน้ม หรือกรอบช่วงเทรดนั้น การเข้าใจจุดสวิง เป็นสิ่งสำคัญ

ตัวอย่างเช่น หากคุณมองหาการเทรด Buy คุณจะมองหาพื้นที่ ของการสวิง Low เพื่อให้คุณสามารถ กระโดดขึ้นขบวนรถได้ หรือทำการเริ่มเทรดจาก Level ต่ำ เพื่อให้การเทรด Buy ของคุณ มีกำไรเพิ่มมากขึ้น

การเทรดกับสวิง Low ทำอย่างไร?

เมื่อคุณต้องการเทรด กับสวิง Low เหมือนคุณต้องการซื้อ ในราคาต่ำ ไปขายในราคาสูง   ด้านล่างเป็นตัวอย่าง ของการเคลื่อนไหวของราคา ที่ลดลงภายใต้แนวโน้มขาขึ้น สู่การสวิง Low  มาที่แนวรับ และเป็นจุดที่มีการก่อตัวขึ้น มาก่อนที่จะมีแนวโน้มสูงขึ้น



การเทรดกับสวิง High ทำอย่างไร?

เมื่อเทรดจากการสวิง High คือ คุณต้องเทรด Sell และสร้างรายได้ เมื่อราคากลับต่ำลง โดยเมื่อราคา มีการเคลื่อนไหว ในแนวโน้มขาลง ให้มองหาการย้อนกลับ ที่สูงขึ้น ไปสู่การสวิง High แล้วไปกับแนวโน้ม หรือตามในภาพตัวอย่างด้านล่าง คือ เมื่อราคาเคลื่อนไหวสูงขึ้น ในตลาดที่มีขอบเขต ไปสู่แนวต้าน ก่อนจะมีการเทรด Sell กลับต่ำลงมา



การรวมจุด สวิง High และสวิง Low กับ Level แนวรับ แนวต้านหลัก

ในขณะที่การสวิง High และสวิง Low มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อ ในการค้นหาจังหวะ การเข้าเทรด หากต้องการเพิ่มโอกาส ในการหาจังหวะเพิ่มขึ้น ให้หา Level แนวรับ แนวต้านมาร่วมด้วย ภาพตัวอย่างด้านล่าง ตรงข้ามกับภาพด้านบน (หลักการเหมือนกัน ต่างกันที่ ฝั่งการทำงาน) ด้วยการเคลื่อนไหว ของราคาที่ต่ำลง และเข้าสู่แนวรับที่ต่ำ ก่อนที่จะปฏิเสธ และย้อนกลับสูงขึ้น



การเทรดไปกับแนวโน้ม

การใช้จุดสวิง กับแนวโน้ม สำหรับการเทรดนั้น มีประสิทธิภาพอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อทำอย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้องระลึกไว้ เสมอว่า การเทรดจะไม่ใช่ที่โซนแนวรับ แนวต้านที่มีอยู่ทั้งหมด  เช่นเดียวกับแนวโน้ม ที่อาจจะไม่ดำเนินตลอดไป

การทำสวิง Lower Highs และ Lower Lows กับการทำสวิง Higher Highs และ Higher Lows

การเทรดด้วยสวิง ในตลาดที่มีแนวโน้ม คือ เมื่อตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือลดลง และเราสามารถระบุแนวโน้มได้ จะหมายถึง เราสามารถเห็นความน่าจะเป็นสูง ที่เราคิดว่า ราคาอาจสวิงสูงขึ้น หรือต่ำลง โดยจะยิ่งดี ถ้าสามารถมองเห็นแนวรับ แนวต้านเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างด้านล่าง จะสังเกตเห็นว่า ราคากราฟรายวัน ทำแนวโน้มที่ลดลง แต่นี่คือ กราฟรายวัน ให้เราไปมองหาจังหวะการสวิง ในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง เราจะมองเห็นทั้งการสวิง ที่โซนแนวต้าน และยังสามามรถมองเห็น การย้อนกลับของ Pin Bar อีกด้วย





การเทรดด้วย สวิง High และสวิง Low ที่ชัดเจน

ในขณะที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ ใช้จุดสวิงตามแนวโน้ม แต่จุดสวิงเหล่านี้ ยังมีประสิทธิภาพอย่างไม่น่าเชื่อ ในตลาดที่หลากหลายอีกด้วย เช่น ตลาดที่มีช่วงขอบเขต อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลง ได้เร็วมากขึ้น การใช้สวิง High หรือสวิง Low ที่ชัดเจน สามารถช่วยคุณค้นหาการค้า ที่มีศักยภาพได้มากขึ้น

ด้านล่างเป็นตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่า คุณสามารถค้นหาการเข้าเทรดใน Level ของแนวรับ แนวต้าน ที่มีช่วงช่องสำหรับเทรด (ตลาด Sideway ได้)



สรุป สวิง High และสวิง Low

ความสามารถ ในการระบุสวิง High และสวิง Low ได้อย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญในการตั้งค่าเทรด Forex ที่มีความน่าจะเป็นสูง เพราะหากคุณ กำลังเข้าสู่การตั้งค่าเทรด ในพื้นที่ ที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นการเสี่ยง ต่อการเข้าเทรด เมื่อมีเงินจำนวนมากขึ้น

ลองใช้จุดสวิง กับเบาะแสราคา (หรือสิ่งใดๆ ที่ช่วยให้คุณมองหา จุดเข้าเทรดได้) ด้านอื่นๆ เช่น แนวรับ แนวต้าน สำคัญของคุณ
#2
  GIMMEE BAR เป็นรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน แบบคลาสสิก สำหรับการเข้าทำการซื้อขายในช่วง ตลาดไม่มีเทรน หรือช่วง SIDE WAY TREND น่ะเอง ผู้ที่แนะนำวิธีนี้ คือ JOE ROSS ผู้ซึ่งถูกทั้ง เทรดเดอร์และนักการศึกษาที่มีประสบการณ์ ร่วมกันกล่าว ว่าเขาเป็นนักเขียนหนังสือเกี่ยวกับการค้าที่มีชื่อเสียง

   กลยุทธ์การซื้อขายนี้ คือการมองหาการกลับตัวลงจากด้านบนสุดของขอบช่วงกราฟราคาแท่งเทียน หรือการกลับตัวขึ้นจากด้านล่างของช่วงกราฟราคาแท่งเทียนเช่นกัน

   ในบทความนี้ จะใช้เครื่องบ่งชี้ BOLLINGER BAND เพื่อช่วยในการมองหาแท่ง GIMMEE BAR แน่นอนว่า เทรดเดอร์อาจใช้เครื่องบ่งชี้ตัวอื่นๆ ได้ ให้เทรดเดอร์หมั่นฝึกฝนและค้นหาเครื่องบ่งชี้ตัวที่ เทรดเดอร์ถนัด หรือถ้าเทรเดอร์ฝึกฝนมากพอ อาจไม่ต้องใช้เครื่องบ่งชี้ตัวไหนเข้าช่วยก็เป็นได้



  กฎ - ของการเข้าทำการซื้อกับ GIMMEE BAR
 
กลยุทธ์การเข้าทำการเปิดคำสั่ง ซื้อ

•   กราฟราคาแท่งเทียนต้องมีขอบเขตช่วงราคา

•   กราฟราคาจะต้องอยู่ในช่วงด้านล่างของ เครื่องบ่งชี้ BOLLINGER BAND

•   ให้รอกราฟราคาแท่งเทียน แท่งที่เป็นขาขึ้น (นี่คือ แท่งเทียน GIMMEE BAR)

•   เข้าทำการเปิดคำสั่งซื้อ ที่ด้านบนของแท่งเทียน GEMMEE

  กลยุทธ์การเข้าทำการเปิดคำสั่ง ขาย

•   กราฟราคาแท่งเทียนต้องมีขอบเขตช่วงราคา

•   กราฟราคาจะต้องอยู่ในช่วงด้านบนของ เครื่องบ่งชี้ BOLLINGER BAND

•   ให้รอกราฟราคาแท่งเทียน แท่งที่เป็นขาลง (นี่คือ แท่งเทียน GIMMEE BAR)

•   เข้าทำการเปิดคำสั่งขาย ที่ ด้านล่างของแท่งเทียน GEMMEE

   ข้อยกเว้นสำคัญของการเข้าทำการซื้อขาย

   JOE ROSS ได้มีการเตือนกับการเข้าทำการซื้อขายด้วย GIMMEE BAR ไว้ว่าให้ระวังการซื้อขายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้:

•   แท่งเทียนแท่ง GIMMEE ทับซ้อนกันหรือใกล้เคียงกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

•   แท่งเทียนแท่ง GIMMEE มีช่วงเนื้อเทียนกว้างเมื่อเทียบกับแท่งก่อนหน้า

•   กราฟราคาแท่งเทียน แท่งหลังจากแท่ง GIMMEE มีช่วงว่างกระโดด และมีการเปิดแท่งราคากราฟมากกว่าขอบเขตของ แท่ง GIMMEE BAR

                                                 ตัวอย่าง - สำหรับการเข้าทำการซื้อขายกับ GIMMEE BAR



•   กราฟราคาแท่งเทียน วิ่งอยู่ในกรอบช่วงราคา มีการแตะเส้น  BOLLINGER BANDS ด้านบนเพื่อทดสอบแล้วย้อนกลับเข้ามาใน BOLLINGER BAND อีก โดยไม่สามารถ เบรกราคาทะลุออกไปด้านนอกของเส้น BOLLINGER BAND ได้ เป็นการยืนยันว่า เป็นช่วง ตลาดวิ่งแบบไม่มีแนวโน้ม SIDEWAYS MARKET

•   กราฟราคาแท่งเทียน เริ่มมีการแตะเส้น BOLLINGER ด้านล่าง และมี สัญญาณการกลับตัวของแท่งเทียน ถึงสองครั้ง  ทั้งสองเป็น GIMMEE BARS แต่ตลาดมีเพียงการเรียกตัวที่สองเท่านั้น

•   กราฟราคาเคลื่อนตัวลงมาต่ำกว่าในการเคลื่อนลงมาของรอบแรก ในแนว BOLLINGER BAND ด้านล่าง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับกรอบช่วงเวลาของ  GIMMEE ให้เทรดเดอร์สามารถออกคำสั่ง ซื้อได้



•   กราฟราคาแท่งเทียน วิ่งอยู่ในกรอบช่วงราคา มีการแตะเส้น  BOLLINGER BANDS ด้านล่าง โดยไม่สามารถ เบรกราคาทะลุออกไปด้านนอกของเส้น BOLLINGER BAND ได้ เป็นการยืนยันว่า เป็นช่วง ตลาดวิ่งแบบไม่มีแนวโน้ม SIDEWAYS MARKET

•   กราฟราคาแท่งเทียน เริ่มมีการแตะเส้น BOLLINGER ด้านบน มีการไต่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ไม่มี สัญญาณการกลับตัวของแท่งเทียนใดๆ  กราฟราคาลงมาทดสอบ เส้นแนวกลางของ BOLLINGER BAND และขึ้นไปแตะเส้นด้านบนอีกครั้ง

•   จะสังเกตเห็นว่า การไปแตะในครั้งแรก กราฟแท่งเทียนยังไม่มีการส่งสัญญาณใดๆ ว่าจะมีการกลับตัว และมีการแตะรอบสอง ในสังเกตช่วง ช่องของตลาดที่ไม่มีแนวโน้มด้วย เพื่อมองภาพให้กว้าง ว่าตลาดยังเป็นช่วง SIDEWAY MARKET หรือไม่

•   กราฟราคาเคลื่อนตัวขึ้นมาอีกครั้งที่ เส้น BOLLINGER BAND โดยคราวนี้เป็น แท่งสัญญาณการกลับตัว ในแนว BOLLINGER BAND ด้านบน ให้เทรดเดอร์ออกคำสั่งขาย

   ทบทวน - กลยุทธ์การเข้าทำการซื้อขาย แบบคลาสิก -  GIMMEE BAR STYLE

   กลยุทธ์การซื้อขายแบบนี้ คือการรวมระหว่าง BOLLINGER BANDS กับ พฤติกรรมราคา ทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่

•   CONTINUATION – แบบกราฟราคาต่อเนื่อง

•   REVERSAL –  แบบกราฟราคาย้อนกลับ

•   RANGE-BOUND – แบบกราฟราคาอยู่ในกราอบวิ่งแตะไป แตะมา

•   BREAK-OUT – แบบวิ่งทะลุออกไป

   เป็นกลยุทธ์ที่ง่าย เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถพัฒนาวิธีการเข้าทำการซื้อขายได้ มากขึ้น คล่องขึ้น  เทรดเดอร์สามารถออกแบบกลยุทธ์ ได้อย่างมากมาย

   ส่วนที่ยาก ที่สุดของการตั้งค่าการซื้อขายแบบนี้ ก็คือการรอการยืนยันว่า ตลาดกำลังไม่มีแนวโน้ม หรือกำลังทำ SIDEWAY TREND นั่นเอง

   หากตลาดอยู่ในช่วงการซื้อขาย ช่วงที่มีแนวโน้ม ไม่ว่าจะเป็นตลาดฝั่งขาขึ้น หรือ ขาลง เทรดเดอร์สามารถใช้รูปแบบการเข้าทำการซื้อขายแบบ GIMMER BAR เพื่อมุ่งหวังผลกำไรเล็ก ๆ ที่อย่างสม่ำเสมอ หรือรูปแบบการกลับตัวของกราฟราคาแท่งเทียนก็สามารถทำงานสร้างผลกำไรได้ดีเช่นเดียวกัน

   การเข้าทำการซื้อขายในเรื่องของการมีระยะขอบนั้น  มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อผลกำไรที่เล็ก แต่มีความสม่ำเสมอมากๆ  อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ควรคำนึงถึงอัตราส่วนระหว่างเงินลงทุนกับรางวัลต่อความเสี่ยงด้วย

   อย่างไรก็ตามสำหรับตลาดที่ไม่มีแนวโน้มแล้ว การปะทะกันของราคาในช่วงกรอบระยะจะปรับตัวลงตามเครื่องบ่งชี้  BOLLINGER BANDS โดยไม่ต้องผลักดันมากเกินกว่าที่ควร กล่าวคือเมื่อกราฟราคาแตะเส้น UPPER BAND ก็มักจะเด้งลงมาที่ LOWER BAND และก็จะเด้งขึ้นไปที่ UPPER BAND อีก วนอยู่แบบนี้ จนกว่าจะมีการ

เคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น จึงจะสามารถดันให้ เครื่องบ่งชี้ BOLLINGER BAND เปิดกว้างออกไปได้  ดังนั้นการหยุดให้เทรเดอร์เข้มงวดมาก ๆ เกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงต่อผลตอบแทนให้ได้

   เทรดเดอร์อย่าลืมที่จะหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีความผันผวนสูง เพราะการเข้าทำการซื้อขาย ใน กลยุทธ์นี้ เหมาะสมกับ ตลาดที่ไม่มีแนวโน้ม
#3
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Price Action : Engulfing
กันยายน 20, 2023, 12:50:01 หลังเที่ยง
Price Action : Engulfing เรียกเป็นภาษาไทยว่ารูปแบบ "กลืนกิน" เป็นหนึ่งรูปแบบที่ให้สัญญาณการกลับตัวเปลี่ยนแนวโน้มที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยลักษณะการเกิดคือ

1 รูปแบบตลาดจะต้องมีแนวโน้ม (Trend) ก่อนหน้าที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มขาขึ้น (Up trend) หรือ แนวโน้มขาลง (Down trend)

2 ตัวแท่งเทียน แท่งที่ 2 จะต้องครอบคลุม แท่งเทียนก่อนหน้าทั้งหมด ยิ่งคลุมมากสัญญาณก็ยิ่งชัดเจน (ไม่จําเป็นต้องคลุม ไส้เทียนทั้งหมดก็ได้)

3 แท่งเทียน แท่งที่ 2 จะต้องมีรูปแบบการปิดตรงกันข้ามกับแท่งก่อนหน้า

รูปแบบของ Engulfing จะมี 2 ลักษณะตามรูปด้านล่าง คือ "Bullish Engulfing" และ "Bearish Engulfing"



รูปแบบ Bullish Engulfing ก่อนหน้าที่รูปแบบนี้จะเกิดขึ้น ตลาดมีแนวโน้มเป็นขาลง หรือ Down trend มาก่อน จากนั้นก็มีแท่ง เทียนขาขึ้นแบบกลืนกิน บ่งบอกว่ามีแรงซื้อเข้ามาและเหนือกว่าแรงขายมาก ทําให้กราฟแท่งเทียนพุ่งขึ้นอย่างโดดเด่น แรงซื้อเข้า คลุมราคาแท่งก่อนหน้าแทน ทําให้ราคามีโอกาสกลับตัวขึ้นต่อได้อีก

ส่วน Bearish Engulfing ก่อนหน้าที่รูปแบบจะเกิดขึ้น ตลาดมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น หรือ Up trend มาก่อน จากนั้นก็มีแท่งเทียนขาลง แบบกลืนกิน บ่งบอกว่ามีแรงเทขายออกมาและมากกว่าแรงซื่อเป็นจํานวนมาก แรงขายสามารถเอาชนะแรงซื้อได้ ทําให้ราคามีโอกาสกลับตัวลงต่อไปได้อีก

ข้อแนะนําในการนํา Engulfing มาใช้ในการเทรด คือ

• หากสัญญาณจาก Engulfing เกิดขึ้นบริเวณแนวรับ (Support) แนวต้าน (Resistance) สําคัญๆ สัญญาณนั้นจะมีน้ําหนัก และความแม่นยํามากขึ้น รูปแบบ Bullish Engulfing ถ้าเกิดขึ้นบริเวณแนวรับ (Support) สําคัญ การกลับตัวขึ้นจะมีความ แม่นยําามากขึ้น ส่วนรูปแบบ Bearish Engulfing ถ้าเกิดขึ้นบริเวณแนวต้าน (Resistance) สําคัญ การกลับตัวลงจะมีความ แม่นย่ามากขึ้น

• การเทรดด้วย "Price Action" หรือ "Price Pattern" ให้แม่นยําควรใช้กับ Time Frame ใหญ่ อย่าง D1 เล็กสุดไม่ควรต่า กว่า H4 เพราะ Time Frame ยิ่งเล็กลงเท่าไหร่ เราจะยิ่งเจอสัญญาณหลอกได้บ่อยมากขึ้นเท่านั้น

• จุดเปิดออเดอร์ที่เราจะใช้เป็น Trade Setup เราสามารถเข้าได้ 3 วิธี

• วิธีที่ 1 เข้าที่ราคาเปิดของแท่งที่ 3 เลย (เมื่อจบแท่งที่ 2 )

• วิธีที่ 2 ใช้การวาง Pending Order ไว้บริเวณ High ของแท่งที่ 2 สําหรับ Bullish Reversal และวาง Pending Order ไว้บริเวณ Low ของแท่งที่ 2 สําหรับ Bearish Reversal โดยการวาง Pending Order วิธีนี้ควรเผื่อ Buffer ด้วย

• วิธีที่ 3 เข้าที่ราคาเปิดของแท่งที่ 4 (เมื่อจบแท่งที่ 3) เพื่อรอการ Confirm อีก 1 แท่งหลังเกิดสัญญาณ Engulfing

• จุดวาง Stop Loss ให้วางที่ตําแหน่ง High หรือ Low ของแท่งที่เกิด Engulfing และเผื่อ Buffer ด้วย โดยออเดอร์ Buy วาง Stop Loss ไว้ใต้ Low ของแท่งที่เกิด Engulfing ส่วนออเดอร์ Sell วาง Stop Loss ไว้เหนือ High ของแท่งที่เกิด Engulfing สามารถดูภาพด้านล่างประกอบได้เลย



เมื่อเราได้ทราบว่า Engulfing เป็นสัญญาณการกลับตัว หลายคนอาจคิดว่าจะต้องนํามาใช้ในการเทรดสวนเทรนเท่านั้นจึงจะได้จุด เข้าออเดอร์ที่ดี แต่จริงๆแล้วเราสามารถนํามาใช้เทรดในทิศทางเดียวกันกับเทรนใหญ่ได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้การเทรดด้วย Engulfing มีประสิทภาพมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะนําไปใช้หาจังหวะเทรดสวนเทรนหรือตามเทรนก็ตาม ไม่มีผิดไม่มีถูกขึ้นอยู่กับระบบที่เราเลือกใช้ในการเทรดเป็นสําคัญ
#4
ก่อนจะเทรด Forex ที่ KILL ZONE คำถามแรก คุณเป็นเทรดเดอร์แบบใด จากสองคนนี้ คือ เทรดเดอร์ที่ รอให้กราฟราคา เข้ามาในกรอบของคุณ และเมื่อมันเข้ามาแล้ว คุณก็เข้าทำการเทรด ด้วยเทคนิค เฉพาะตัวของคุณ หรือเป็นเทรดเดอร์ ที่มีการเทรด ไปทั่วตลาด เจอตรงไหนที่คิดว่า เทรดได้ ก็เทรดไป

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ เป็นเทรดเดอร์ แบบที่สอง เพราะพวกเขา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมักทำการเทรด ในกรอบเวลา 5 – 15 นาที พวกเขามักจะไม่มี แผนการเทรดใดๆ แต่นั่นไม่สำคัญ เพราะสำหรับพวกเขา ตราบใดที่อยู่ในตลาด พวกเขาคิดว่า การทำเช่นนี้ได้กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว

KILL ZONE คืออะไร?

ฟังดูอาจจะเหมือนโหดร้าย ไปสักนิด แต่ KILL ZONE คือ โซนที่มี ความน่าจะเป็นสูง สำหรับการตามล่า หาการเคลื่อนไหว ของแท่งเทียน ในทิศทางที่แน่นอน โซนนี้ มีคุณสมบัติที่สำคัญ สามประการ คือ

- เป็นระดับที่ระบุ โดยใช้กรอบเวลารายวัน
- มีแนวโน้ม ที่ชัดเจนอยู่เสมอ
- อยู่ที่บริเวณการย้อนกลับ หรือการกลับตัว ของราคา


การพลิกกลับ ของราคา คืออะไร?

การพลิกกลับของราคา เป็นจุดที่ กราฟแท่งเทียน ทำรูปแบบย้อนกลับ จากโซนแนวรับเก่า ไปสู่แนวต้านใหม่ หรือแนวต้านเก่า ไปสู่แนวรับใหม่ ตรงตำแหน่งพื้นที่นี้ มีความน่าจะเป็นสูงสำหรับการเทรด

ลองดูที่ภาพตัวอย่าง ด้านล่างนี้ เป็นการเคลื่อนไหวของราคา ที่สามารถทะลุ แนวรับ ลงไปได้แล้วย้อนกลับมา ทดสอบแนวรับเก่า ที่กลายเป็นแนวต้าน ไปแล้วอีกครั้ง พร้อมกับรูปแบบแท่งเทียน มันคือ จุดพลิกกลับของราคา



ภาพตัวอย่างถัดมา เราจะเห็นแนวต้านเก่า ที่ราคาทะลุขึ้นไปได้แล้ว จึงย้อนกลับมาทดสอบ เกิดเป็นการพลิกกลับไป ของราคา ที่ระดับแนวรับใหม่นี้



รูปแบบในภาพตัวอย่างนี้ เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป และทรงพลังที่สุด ในตลาด FOREX และมันจะจ่ายเงินให้กับเทรดเดอร์ ที่สามารถมองออก เข้าเทรดได้ถูกจังหวะ หรือเทรดเดอร์ที่ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด พร้อมกับเรียนรู้รูปแบบ ของเหล่านี้อย่างจริงจัง เทรดเดอร์จะเห็นการทำรูปแบบเหล่านี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในกรอบเวลาทั้งหมด เทรดเดอร์ที่เป็นงาน จะเริ่มมองหาการเทรดทันที ที่แนวรับหรือแนวต้านแรกถูกทำลาย พวกเขาจะสามารถมองเห็นการพลิกกลับของราคา ได้อย่างทันที และเริ่มถือเป็นแนวรับใหม่ หรือแนวต้านใหม่

ภาพตัวอย่างถัดมา เป็นการแสดงให้เห็นว่า การพลิกกลับของราคา ทำงานซ้ำแล้วซ้ำอีก และวิธีการนี้ทำงาน ครั้งแล้วครั้งเล่าในตลาด



วิธีการหา KILL ZONE

กฎสำคัญแรก ในการค้นหาโซนฆ่า ที่ต้องปฏิบัติตาม คือ การมองหาในกรอบรายวัน ในขณะที่คุณทำเครื่องหมาย ในโซนหลักทั้งหมดของคุณ โดยใช้ชาร์ตกรอบรายวัน ช่วงตลาดนิวยอร์กปิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การเทรดทั้งหมดของคุณ จะทำโดยใช้ชาร์ตกรอบรายวัน หากคุณสามารถระบุ KILL ZONEได้ในกรอบเวลา 4HR หรือ 1HR คุณก็สามารถเข้าทำการเทรดใน KILL ZONEของคุณได้

สิ่งสำคัญต่อมา คือ การระบุแนวโน้มให้ได้ หากไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน อาจจะทำให้มองไม่เห็น KILL ZONEได้ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูง ในการเทรดจากโซนแนวรับ แนวต้านแต่มันไม่ใช่ KILLZONE

เมื่อมีการระบุแนวโน้มที่สำคัญ มันคือทั้งหมด ที่เกี่ยวกับการค้นหา พื้นที่ความน่าจะเป็นสูงเป็นพิเศษ ในการทำการค้าภายในแนวโน้มนั้นๆ และนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด มันไม่ได้เกี่ยวกับรูปแบบแท่งเทียน แต่มันคือเรื่องราวของการเคลื่อนไหวของราคา และการเทรดกำลังจะเริ่มขึ้น คุณสามารถมีสัญญาณการเคลื่อนไหว ของราคาที่ดี แต่ถ้ามันอยู่ในพื้นที่ๆ ไม่ถูกต้อง มันจะเป็นการเทรด ที่มีโอกาสน้อยในการชนะ

ภาพตัวอย่างด้านล่าง แสดงชาร์ตกรอบรายวัน ที่มีแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน และการพลิกราคาที่ชัดเจน พร้อมเครื่องหมาย KILL ZONEตรงนี้เป็นพื้นที่ๆ มีความน่าจะเป็นสูง ที่จะทำการเทรดในระยะสั้นได้ จากทุกกรอบเวลา



การแอบส่อง หรือคอยติดตาม

เทรดเดอร์ที่ดี ไม่เพียงแต่มองหาการเทรดแบบเดิมๆ ที่มองเห็นได้ง่าย พวกเขาไล่ตามหาการเทรดของพวกเขา เหมือนเสือที่คอยซุ่มดูเหยื่ออยู่

ความแตกต่าง ระหว่างเทรดเดอร์ที่ดี กับมือสมัครเล่น คือ เทรดเดอร์ที่ดี จะรู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา และพวกเขาปล่อยให้ตลาดทำงาน พวกเขาไม่ได้บังคับตลาด พวกเขาอดทนรอ ให้ตลาดมาหาพวกเขา มือสมัครเล่น จะไปอีกทางหนึ่ง พวกเขาจะเข้าตลาด ด้วยความตื่นตระหนก และไม่มีความคิด ในสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา มันค่อนข้างต่างกันมาก เทรดเดอร์ที่ดีจะรอให้ตลาดเข้ามาหา แต่เทรดเดอร์มือสมัครเล่น จะเข้าไปหาตลาด

การเข้าเทรดระยะหวังผล KILL ZONE

เทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญ จะทำเงินของพวกเขา จากแนวโน้มของกราฟราคาเป็นหลัก และแม้ว่า KILL ZONEโดยปรกติจะถูกตั้งค่า ในกรอบรายวัน แต่สามารถทำการเทรด ในกรอบเวลาที่เล็กกว่านั้นได้ หลังจากตั้งค่าชาร์ตของคุณแล้ว ให้มองหาแนวรับ แนวต้าน ที่ซึ่งตลาดกำลังวิ่งไป ในทิศทางของแนวโน้ม นี่คือส่วนที่ง่ายที่สุด เทรดเดอร์ทุกคนกำลังมองหา ความน่าจะเป็นสูง ของการเคลื่อนไหว ของแท่งเทียน พวกเขาจะรอการยืนยันในสิ่งที่คิด ก่อนการลงมือ

ภาพตัวอย่างด้านล่าง แสดง KILLZONE จากการมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน และภายใน KILLZONE นี้ มีเรื่องราวการ RETRACE มีแนวต้านที่เฝ้ารออยู่ สุดท้ายมีรูปแบบ BEARISH ENGULFING นี่ก็เพียงพอแล้ว สำหรับการเทรดในระยะสั้น ที่มีโอกาสสูงในการชนะ



ข้อสรุป

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ และสร้างผลกำไรระยะยาว คือ เทรดเดอร์ที่เลือกการเทรด ของเขาเอง และรู้ว่าเมื่อใด ที่จะมีโอกาสเหล่านั้น เกิดขึ้น พวกเขาจะมอง และทำการเทรดทุกครั้ง ที่ตลาดมีสัญญาณที่โดดเด่น ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็นั่งรอซ่อนตัว อยู่ในพุ่มไม้ เพื่อรอจังหวะ ที่ตลาดเข้ามาในเขต KILLZONE ด้วย หลังจากนั้น พวกเขาจะกระโจนเข้าโจมตี ด้วยเทคนิคพิเศษอีกชั้นหนึ่ง

แทนที่จะเข้าสู่ตลาด และบังคับให้ตลาด ทำในสิ่งที่คุณต้องการ ให้คุณเริ่มทำเครื่องหมาย KILLZONE และปล่อยให้ตลาดเข้ามา เตรียมพร้อม ตรวจสอบให้แน่ใจ และเข้าทำการเทรดทันที
#5
Volatility ในตลาดเป็นการบอกถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างมากและรวดเร็ว หรือการขึ้นหรือลงของราคาในช่วงเวลานั้นๆ ก็จะทำให้เกิดการเสี่ยงสูงในเวลาอันสั้นถ้าเปิดเทรดแล้วราคาวิ่งสวน หรือก็จะกำไรในเวลาอันสั้นเพราะความเป็นไปได้สูงเกิดขึ้นเมื่อเทรดถูกทาง โดยเฉพาะช่วงตลาดที่มีข่าวเศรษฐกิจสำคัญๆ อย่างเช่น ข่าว Non-Farm เป็นต้น ดังนั้นเมื่อตลาดมี volatility มาก สิ่งที่จะเห็นการเคลื่อนไหวราคาอย่างรวดเร็วกว่าช่วงอื่นๆ เพราะสะท้อนความกลัว ความโลภจากเทรดเดอร์เพราะความไม่แน่นอน

ใช้ Bollinger Band บอก volaitlity



ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Bollinger Band เป็นอินดิเคเตอร์ให้ข้อมูลอะไร อย่างแรกเลย เนื่องจากเป็นอินดิเคเตอร์ เป็นการอ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วจากราคาที่ผ่านมา สิ่งแรกเลยเป็นการยืนยันหรือรายงานว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดเป็นอย่างไร หลักการใช้ทูลตัวนี้ก็ให้มองสามเส้น ที่ประกอบด้วย Upper Band, Middle band และ Lower band เพื่อดูเทรนหรือดูว่าตลาด sideway/consolidation ด้วยการดูการถ่างหรือระยะห่าง 3 เส้นประกอบกัน ถ้าเส้น upper band และ lower band ถ่างออกมา บอกถึงเทรนหรือ volatility ที่เกิดขึ้น ถ้าระยะห่าง upper band และ lower band ไม่ห่างจาก middle band เป็นช่วงตลาด consolidation หรือไม่ค่อยมี volatility ลองมองดูระยะห่าง upper band หรือ lower band แล้วดูแท่งเทียนที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าแท่งเทียนยาวๆ ราคาก็จะวิ่งไปทางใดทางหนึ่ง เพราะการขึ้นหรือลงและการเปลี่ยนแปลงราคาเกิดขึ้นเร็วและมาก เลยทำให้เห็นแท่งเทียนยาวๆ เกิดขึ้น เทรดเดอร์ที่เทรดแบบ sideway ก็จะไม่ชอบเพราะราคาจะชน stop loss เร็ว แต่ถ้าเทรดเดอร์ที่เทรดตามขาใหญ่ ก็จะชอบเพราะออเดอร์ที่เกิดจากการเข้าเทรดและจัดการการเทรดของขาใหญ่ และกระตุ้นให้เกิดความกลัวและความโลภแก่รายย่อยเลยทำให้ราคาวิ่งเยอะ

ช่วงตลาดกับ Volatility



อีกวิธีการในการดู volatility ที่เกิดแต่ละวันคือเข้าใจช่วงตลาด แม้ว่าตลาดฟอเรกจะเปิดให้เทรด 24 ชั่วโมง 5 วันก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า volatility ที่มากพอที่จะเทรดมีตลอด ด้วยการดูช่วงตลาดการเงินหลักๆ ของโลก ก็จะมีช่วง Sydney (เวลา 04.00-14.00) Tokey (เวลา 07.00-16.00) London (เวลา 15.00-24.00) และ New York (เวลา 20.00-04.00) เมื่อเทียบกับเวลาประเทศไทย ก็จะดูทำให้รู้ว่าช่วงตลาดการเงินหลักๆ ของโลกเปิดทำการแต่ละช่วงไหนบ้างของแต่ละวัน  แล้วมาดูที่ชาร์ตเปล่าหรือ price chart ก็จะเป็นช่วงที่เห็นแท่งเทียนยาวๆ เกิดขึ้น หลักๆ เห็นแท่งเทียนยาวๆ ก็จะเป็นช่วงตลาด London และ New York ก็เลยบอกได้ว่า volatility ว่าเกิดขึ้นแต่ละวันช่วงไหนบ้างเมื่อตลาดเปิดทำงานของแต่ละช่วง

อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อเรื่องของ volaitlity คือเรื่องข่าวที่มีเลขทางเศรษฐกิจแรงๆ ทำให้เกิด high volatility ขึ้นมากเป็นพิเศษ เช่นตัวเลขจากข่าว Non-Farm หรือ CPI เป็นต้น ข่าวพวกนี้สามารถดูได้จาก forexfactory หรือจากเว็บไชต์อื่นๆ แบบเดียวกัน  เพราะต้องไม่ลืมว่าแม้ market orders ที่เป็นตัวขับเคลื่อนราคาตลาดขึ้นหรือลงเพราะความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วง ต้องไม่ลืมว่า maket orders มาจากการออกจากการเทรดด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกจากการเทรดแบบ take profit หรือ stop loss หรือปิดเอง เท่ากับว่าท่านเปิดเทรดด้วย market order ทางตรงกันข้ามกับ position ที่ท่านถืออยู่ในตลาดเช่น ถ้าท่านเปิดเทรด sell ก็เป็น short position ในตลาด ถ้าท่านออกจากตลาด กำไรหรือสูญเสีย การทำงานของออเดอร์ไม่ต่างกัน เท่ากันกับท่านเปิด market order ฝั่งตรงข้ามคือเปิด buy market order ณ เวลาและราคาที่ท่านออก เพราะเมื่อมีข่าวแรงๆ เทรดเดอร์ที่เดือดร้อนมากกว่าเทรดเดอร์ที่รอหาจังหวะเข้าเทรดคือเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด จำนวนมากหรือน้อยดูพื้นที่การเปิดเทรดด้วยแท่งเทียนได้ เพราะแท่งเทียนบอกถึงการเปิดเทรดหรือ trading transactions ที่เกิดขึ้นว่าอยู่ตรงไหน  ถ้าเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดมากและถ้าราคาตลาดวิ่งสวนทางที่พวกเขาเปิดเทรดด้วย พวกเขาก็จะเดือดร้อน พอตอน volatility เกิดขึ้นมากตอนข่าวแรงๆ เทรดเดอร์พวกนี้เลยจะต้องออกด้วย

ทำไม Volatility สำคัญต่อการเทรด



เมื่อมองจากชาร์ตเปล่า สิ่งที่เห็นจากผลของ volatility คือ imbalance หรือความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายและเร็ว เลยทำให้เกิดแท่งเทียนยาวๆ หรือราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งบ่อยเป็นทาง ดูช่วงที่ตลาด London เปิดจะเห็นชัด เพราะยุโรปเป็นตลาดการเงินโลกที่ใหญ่กว่าช่วง Sydney และ Tokyo ที่ตรงกับช่วงเช้าของเวลาประเทศไทย  ถือว่าเป็นตลาดเล็กเมื่อเทียบกัน ยิ่งผ่านไปหลังจากช่วงตลาดยุโรปเปิดมา แล้วมาเปิดตลาดช่วง New York อีก ตลาดหลักและใหญ่ 2 แหล่งเปิดพร้อมๆ กันยิ่งทำให้มีขาใหญ่เข้ามาเทรดมากขึ้น ตัวอย่างการอ่านช่วง volatility ด้วย Bolllinger Band และช่วง Market sesssions พร้อมทั้งเข้าใจว่าขาใหญ่ก็จะเปิดเทรดช่วงไหนเป็นหลัก และขาใหญ่เทรดอย่างไร ดูที่เลข 1 ราคาเบรค supply ที่เกิดช่วง London ของวันก่อน ราคาเบรดช่วง London เป็นช่วงตลาดการเงินหลักของโลกเปิด เป็นตลาดที่มีขาใหญ่เป็นเทรดเดอร์ ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะและสามารถปั่นราคาได้ การเปิดเทรดเมื่อพวกเขาเข้าเทรดได้ตามที่ต้องการ  ก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างชาร์ตให้เห็น พื้นที่พวกแนวรับ-แนวต้านหรือ demand/supply ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็จะมีความแข็งเยอะ เลยมักจะทำให้เกิดโอกาสการเทรดตลอด ดูตอนที่ราคากลับมาหา demand ที่เลข 1 และ supply ที่เลข 2 และ 3

อีกอย่างที่ต้องไม่ลืมแม้ว่าตลาดการเงินแต่ละช่วงเปิดขึ้นมา โดยเฉพาะทางยุโรปและอเมริกาเปิด ไม่ได้บอกว่า volatility จะมากเหมือนกันทุกวัน เพราะแต่ละวันก็จะต่างกันออกไป ให้ดู Bollinger Band หรือ price structure ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงตลาดประกอบ
#6
การลากกรอบช่องเส้นแนวโน้ม  (Trend line channel) – เป็นเครื่องมือง่าย ๆ ที่อิงตามการกระทำของราคา โดยทั่วไปจะเป็นเส้นแนวโน้มสองเส้นที่ลากคู่ขนานกันให้เป็นช่อง หรือที่เรียกว่า Channel โดยดูตามแนวโน้มของตลาด, สามารถเป็นจุดเข้าเปิดออร์เดอร์ และ จุดปิดออร์เดอร์ ในการเข้าเทรดได้

ก่อนที่เทรดเดอร์จะสามารถ ใช้งานหรือเข้าเปิดออร์เดอร์กับ ช่องเส้นแนวโน้ม (Trend line channel) ได้ ตัวเทรดเดอร์เอง จำเป็นต้องทราบว่ามีอะไรบ้างและทำอย่างไรจึงจะลากเส้นแนวโน้ม ออกมาตั้งแต่ต้นได้

กรอบช่องเส้นแนวโน้ม  (Trend line channel) คืออะไร?
สำหรับเทรดเดอร์ที่จะดูพฤติกรรมของราคาแท่งเทียน (Price action trader) ในขั้นตอนแรก เทรดเดอร์ต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงในช่วงการแกว่งตัวของราคาของตลาดก่อน  การแกว่งตัวของราคาของตลาด จะช่วยให้เทรดเดอร์ สามารถมองเห็นหรือเข้ากระทำการใด ๆ ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดได้ในขณะนั้นได้



เทรดเดอร์มือใหม่ อาจใช้เครื่องมือใน MT4 ที่มีชื่อว่า ZigZag ได้ เพราะเครื่องมือดังกล่าว จะทำให้เทรดเดอร์รู้ในเบื้องต้นว่า ตอนนี้ เทรนของกราฟราคากำลังขึ้น หรือ ลง



หลังจาก เทรดเดอร์มองรอบจังหวะการแกว่งตัวของราคาแท่งเทียนได้แล้ว ก็ให้ เทรดเดอร์ลากเส้นแนวโน้ม (Trend line) โดยให้เส้นเชื่อมต่อกัน อย่างน้อย สองตำแหน่ง เส้นแนวโน้มเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจถึงแนวโน้มในอดีตที่ผ่านมาได้



และหลังจากลากเส้นแนวโน้ม เส้นแรกได้แล้ว ให้เทรดเดอร์ทำการคัดลอก (Copy) เส้นแนวโน้มเส้นแรกและนำไปไว้ในตำแหน่งที่ด้านบนหรือด้านล่างของกราฟราคาแท่งเทียน เพื่อสร้างกรอบช่องทางของราคา (Trend line channel) เพื่อคาดการณ์ขอบเขตของการดำเนินการด้านราคาในอนาคตต่อไป



สรุปได้ว่า กรอบช่องเส้นแนวโน้ม  (Trend line channel) มักมีมุมมองของพฤติกรรมราคา (Price action) ในตลาดเสมอ

มีเทรดเดอร์หลายรายไม่ไว้วางใจเส้นแนวโน้มและกรอบช่องเส้นแนวโน้ม  เนื่องจากเห็นเทรดเดอร์รายอื่น ๆ โพสต์กรอบช่องเส้นแนวโน้มที่สำเร็จแล้วไว้ แทนที่จะโพสต์กรอบช่องเส้นแนวโน้มแบบที่รอ การดำเนินไปของพฤติกรรมราคาก่อน ปัญหาคือการมองย้อนกลับไปในอดีต ทำให้เทรดเดอร์ทุกคนสามารถวาดหรือลาก ช่องสัญญาณเส้นแนวโน้มที่ทำงานเสร็จแล้ว ได้เสมอในรูปแบบที่สมบูรณ์แบบแทบจะทุกครั้ง



แต่ในการเข้าเปิดออเดอร์ซื้อหรือขายจริง เทรดเดอร์มักจะพยายามที่จะทำการเทรดให้สมบูรณ์แบบ ซึ่งในบางครั้งก็มีขัดข้องหรือความเลื่อมล้ำทางด้านราคาบ้าง  เทรดเดอร์รายใหญ่ จะไม่ต้องการความสมบูรณ์แบบในการมองหรือการวาดช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม (Trend line channel) เลย

อะไรบ้าง? ที่เทรดเดอร์จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมราคา (Price Action) :

-   การเกิดพฤติกรรมราคา สอดคล้องกับกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

-   พฤติกรรมราคาเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สมบูรณ์แบบ

-   ให้ต้องลากเส้นแนวโน้ม ในเวลาจริง

-   มีหลายวิธีในการลากเส้นแนวโน้ม ในช่วงเวลาการแกว่งตัวของราคา, ของเส้นแนวโน้มและของ ช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม แต่ที่สำคัญคือ ต้องให้สอดคล้องกัน

การเปิดออเดอร์ซื้อ ในช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม ช่วงกราฟย้อนกลับ (Pull back)

-   ช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม จะต้องลาดชันขึ้น

-   ราคาย้อนกลับลงมาเพื่อทดสอบเส้นแนวโน้มของ ตลาดขาขึ้น

-   ปล่อยให้ การขึ้นของราคากราฟเป็นไปในระยะยาวกับ ตลาดขาขึ้น (ในเชิงรุก: เปิดคำสั่งซื้อด้วย คำสั่งซื้อล่วงหน้าในลักษณะจำกัด โดยวางคำสั่งซื้อไว้เหนือเส้นแนวโน้ม)

-   วางคำสั่งซื้อ ในช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม  (ปรับตามความจำเป็น)



การเปิดออเดอร์ขาย ในช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม ช่วงกราฟย้อนกลับ (Pull back)

-   ช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม จะต้องลาดชันลง

-   ราคาย้อนกลับขึ้นมาเพื่อทดสอบเส้นแนวโน้มของ ตลาดขาลง

-   ปล่อยให้ การลงของราคากราฟเป็นไปในระยะยาวกับ ตลาดขาลง (ในเชิงรุก: เปิดคำสั่งขายด้วย คำสั่งขายล่วงหน้าในลักษณะจำกัด โดยวางคำสั่งขายไว้ใต้เส้นแนวโน้ม)

-   วางคำสั่งขายในช่องสัญญาณเส้นแนวโน้ม  (ปรับตามความจำเป็น)

#7
ภาพรวมเกี่ยวกับ Price Action Charts

ถ้าคุณเปิดเว็บ บางครั้งมันอาจจะยากในการตัดสินใจเพื่อมองหากราฟในการเทรด คุณจะเห็นกราฟพร้อมกับ Indicator มากมาย และ เทรนด์ไลน์ มันอาจจะดูเหมือนว่าเทรดเดอร์พยายามที่จะเอาชนะความไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ผมได้คุยกับเทรดเดอร์ที่มีภาพหน้าจอเวลาเทรด อะไรคล้าย ๆ กับภาพข้างล่างนี้


Too Many Indicators

เคยเห็นเทรดเดอร์บางคนที่มี indicator อย่างน้อย 4 หรือมากกว่านั้นบนจอ เมื่อคุณเห็นกราฟเหล่านี้ คุณอาจจะหวังว่าเทรดเดอร์จะสามารถปลดปล่อยตัวเองจากจุดนี้

ถ้าเราอาศัยอยู่ในโลกที่เทรดโดยใช้ Price Action เท่านั้นหล่ะ? โลกที่เทรดเดอร์เลือกความง่ายในการดูกราฟ มากกว่าการเลือก Indicator ที่มีความซับซ้อน

ถ้าคุณเอาเครื่องมือรกหูรกตาพวกนั้นออก ที่เหลือมีเพียงราคา คุณจะเห็นรูปแบบต่อไปนี้


Price Action Chart

ตอนแรกมันอาจจะดูไม่ค่อยคุ้นถ้าไม่มีเครื่องมือ เหมือนกับชีวิต เราสร้างเครื่องมือช่วยเหลือบนความกังขาของตัวเอง เช่น เทรดกับเครื่องมือตัวโปรดมาหลายปีแล้ว ต่อมามาเทรดด้วยกราฟที่ไม่มีอะไรเลย อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณได้

ในบทความนี้ เราจะดูว่า กลยุทธ์ Price Action 6 แบบที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง หมายความว่าต่อไปเราจะดูแค่ราคา ดูการก่อตัวของรูปแบบต่าง ๆ

#1 - Outside Bar ณ จุดแนวรับแนวต้าน

สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคยกับ Outside bar ตัวอย่างของ Outside Bar ของตลาดกระทิงจะอยู่ต่ำสุดของวันก่อนหน้า แต่ว่าราคาหุ้นสามารถ เคลื่อนไหวและปิดสูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อนหน้าได้ ในภาพข้างล่างเป็นตัวอย่างของ Outside Bar สาหรับขาลง ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมากับกรณีแรก


outside down day

ดังนั้น ไม่ใช่แค่เพียงหา outside candlestick แล้วส่งออเดอร์เท่านั้น ที่คุณเห็นข้างบน คือกราฟ Cambrex (CBM) มันสามารถหา Outside Bar หลังจากเกิดการทะลุเทรนด์ได้ ในกราฟ CBM มีเทรนด์ขาขึ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในกราฟ 5 นาที ก่อนที่จะมีการเกิดทะลุเทรนด์ลง

หลังจากการเบรค CBM จะมี outside down day ซึ่งนาไปสู่การ Sell ในช่วงตอนบ่าย.

#2 – การดีดกลับที่แนวรับ

การดีดกลับเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นทดสอบกรอบราคาต่ำสุดและดีดกลับมาในโซนเทรดอย่างรวดเร็ว และเกิดเทรนด์ใหม่ ฉันชอบใช้ปริมาณในการยืนยันการเกิดเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะดูแค่ Price Action อย่างเดียวไม่ใช้ปริมาณ ซึ่งเราจะดูแค่กราฟแท่งเทียนเท่านั้น

การตีความผิดของกราฟดีดกลับ คือเทรดเดอร์รอสาหรับการสวิงครั้งสุดท้าย แต่ว่า การดีดกลับสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหุ้นขึ้นมาภายใน 1 – 2 % ของการแกว่งตัวจุดต่ำสุด

รูปแบบการเกิดนั้นค่อนข้างหายากว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร เพื่อแสดงให้เห็นภาพ เรามองตัวอย่างข้างล่างกัน


Spring Example

จะเห็นว่าราคา Low ก่อนไม่สามารถไปถึงได้ แต่ว่าคุณสามารถบอกได้จากพฤติกรรมราคาว่าหุ้นจะกลับตัวและ ราคาจะดีดกลับเป็นขาขึ้น ในลูกศร

#3 - Inside Bars ที่เกิดขึ้นหลังจาก Breakout

Inside bars เกิดขึ้นเมื่อแท่งเทียนกระจุกตัว แล้วราคาเริ่มสร้างแนวรับแนวต้าน แท่งเทียนจะเกิดการแกว่งตัวสวิงจุดสูงต่ำของแท่งก่อนหน้าทำให้ราคาบีบเรื่อย ๆ เพื่อสะสมปริมาณหุ้น

คุณสามารถดูได้จากชุดกราฟซึ่งหลักจากนี้จะเกิดเบรคเอาท์ในกราฟต่อไปนี้


Inside Bars

กราฟนี้เป็นกราฟหุ้น Neonode ซึ่งค่อนข้างมีเอกลักษณ์ เพราะว่าราคาหุ้นเกิดเบรคเอาท์หลังจากที่พยายามมา 4 ครั้งและทะลุราคาสูงสุดไป ต่อมามี Inside Bar เกิดขึ้นหลังจากนั้น NEON ก็เคลื่อนไหว 20 % ของการฟ Day Trade

โปรดทราบว่า Inside bars สามารถเกิดขึ้นก่อนเบรคเอาท์ ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแกร่งและความได้เปรียบแม้ว่าจะทะลุแนวต้านไปแล้ว

#4 – ไส้เทียนยาว (Long Wick Candles)


Long Wick 1


Long Wick 2

คุณจะสามารถเห็นพฤติกรรมแบบ Price Action อย่างต่อเนื่องนี้กราฟนี้ ซึ่งถ้าคุณไม่เห็นคุณจะไม่เห็นรูปแบบการก่อตัวของการเคลื่อนไหวในกราฟ

เรามาดูอะไรสนุก ๆ กัน

ไส้เทียนยาวเป็นหนึ่งในรูปแบบโปรดปรานที่สุดของฉัน การเกิดรูปแบบประกอบด้วยการเกิด Gap ขึ้นหรือลง ในตอนเช้า ตามมาด้วย แรงผลักของตลาด เมื่อเกิดรูปแบบนี้จะมีไส้เทียนยาวสำหรับเทรดเดอร์เล่นรอบ เราจะรู้ว่านี้คือรูปแบบที่ทำให้เกิดรูปแบบ Price Action

เหตุผลหลายประการท่าให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเข้าช้า ทำให้ราคามันดีดขึ้น ซึ่งนำไปสู่การทดสอบราคาสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบนี้มีให้เห็นไม่บ่อย แต่ว่าเรามาดูในกราฟกันดีกว่า


Long Wick 3

จะเห็นว่าหลังจากที่มีไส้เทียนยาว CDEP มี Inside bar เกิดขึ้นมาก ก่อนที่จะเกิดราคาต่ำสุดใหม่ หลังจากเกิดเบรค ราคาหุ้นเคลื่อนไหวลงต่ำที่สุดต่อ

#5 – การวัดระยะของการสวิงครั้งก่อน

เคยได้ยินคำกล่าวว่า อดีตมักซ้ำรอยหรือไม่? ในการเทรดก็เช่นกัน

ในฐานะเทรดเดอร์ คุณสามารถเจอกับภาวะอารมณ์บ่อยมาก จนมันครอบงำเหนือเหตุผล คุณจะดูกราฟแล้วดูว่ามันจะถูกต้อง ต้องใช่อย่างที่คุณคิด

จริง ๆ แล้วนั่นไม่ใช่ความจริง คุณรู้หรือไม่ว่าในหุ้น มีหลายคนที่คอยควบคุมตลาดมีอิทธิพลเหนือตลาดอยู่?

เทรดเดอร์เหล่านี้อาศัยด้วยหุ้นของเขา มีเงินมาก ซึ่งจะควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์

สิ่งที่คุณทำได้คือ ทำความเข้าใจกับ Price Action ในการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ก่อนหน้า เมื่อคุณทำการวิเคราะห์ราคาคุณจะสังเกตุเห็นการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 5 % ถึง 6 %

ถ้าคุณเทรดสวิง คุณอาจจะเห็นกรอบการแกว่งตัว 18 % - 20 % แต่ว่าคุณไม่ควรจะคิดว่าราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวกว้างกว่าการเคลื่อนไหวก่อนหน้า

ผมเข้าใจดีเลยว่าตลาดนั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ว่าเราควรเล่นกับโอกาสที่มีโอกาสสำเร็จสูง คนที่สามารถทำกำไรอย่างต่อเนื่องคุณย่อมชนะได้ในระยะยาว

เพื่อที่จะได้เห็นภาพมาดูกราฟกัน


Measure the Swings

จะเห็นว่าหุ้น FTR ตลอดระยะเวลา 10 เดือนเจอการแกว่งตัวบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม แต่ละครั้งมีระยะราว 60 – 80 เซน ขณะที่มุมมองกราฟ FTR รายวันเราจะเห็นความสัมพันธ์เดียวกันบน Time Frame ใดก็ได้

ในฐานะเทรดเดอร์ คุณคิดว่ามันจะดูสมเหตุสมผลหรือไม่ในการทำกำไร 2 – 4 เหรียญจากการเทรดสวิง? บางครั้งกราฟอาจจะวิ่งได้ แต่ว่าในกราฟนี้อย่างน้อยก็มี 6 – 7 ครั้งที่มันเคลื่อนไหว 60 – 80 เซน ถ้าคุณสามารถเทรดแต่ละการแกว่งตัวได้สำเร็จทุกครั้ง หมายความว่าคุณตีโฮมรันทุกครั้งได้ แต่ถ้าไม่หล่ะ

#6 – การพักฐานที่น้อย

อย่าพึ่งเอาไปปนกับ Fibonacci เพราะว่าผมรู้ว่าบางคนอาจจะคิดว่านี่เป็นโซนที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การพักฐานที่น้อยนั้นสะท้อนให้ถึงความแรงของเทรนด์และเทรนด์นั้นจะเคลื่อนไหวต่อไป นี่ก็เป็นสัญญาณง่าย ๆ


little retracement

บางครั้งคุณอาจจะให้มันพักฐานจนถึงระดับน้อยกว่า 38.2% ถ้าเป็นอย่างนั้นเมื่อราคาหุ้นได้ทดสอบ swing high หรือ low ก่อนหน้า จะมีโอกาสมากที่เบรคเอาท์จะเกิดขึ้นและเทรนด์จะเคลื่อนไปต่อ

สรุป

การเทรดด้วย Price Action อาจจะง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับคุณเลือกอย่างไร 6 รูปแบบที่เขียนไปมีอยู่ในตลาดเกิดขึ้นบ่อย คุณต้องดูการวิเคราะห์ของคุณว่า คุณคิดอย่างไร




#8
มีวิธีการหนึ่งที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันคือการดูความสัมพันธ์ค่าเงินที่ตัวเองเทรด เปรียบเทียบกันกับ Dollar Index เช่นการเทรด EURUSD ประกอบด้วย 2 ค่าเงินคือ EUR ของยุโรป และ USD ของดอลลาร์อเมริกา เปรียบเทียบกับคู่เงินอื่นเช่น AUDUSD GBPUSD NZDUSD ที่มี USD อยู่ด้านหลังของคู่เงิน  วิธีการเทรดด้วยหลักการ correlation อาจบอกได้ว่าเป็นวิธีการ technical alanlysis ที่ง่ายและทำงานได้ดีด้วยเมื่อเข้าใจหลักการใช้ชาร์ตยืนยัน trade setup กันเองเท่านั้น

Correlation เรื่องของ sentiment หรือ price level



เช่นการเทรด EURUSD ด้วยการใช้ correlation ระหว่าง EURUSD และ Dollar Index ที่นิยมกัน (การใช้ Dollar Index ท่านสามารถใช้กับคู่เงินอื่นได้เช่น USDJPY GBPUSD AUDUSD ที่สัมพันธ์กับ USD เป็นต้น)  เมื่อมองดูที่ชาร์ตเปล่า การที่จะบอกได้ว่า sentiment เป็นอย่างไรเกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ เช่นบอกว่า ค่าเงินนั้นๆ แข็งหรืออ่อน สำหรับช่วยกำหนด trade setup ก็จะเห็นราคาได้ทำเทรนไปสักระยะแล้ว มีแต่เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดทางนั้นๆ ที่กำลังถือ positions อยู่ในตลาด ข้อดีของ sentiment คือเมื่อมองแท่งเทียนก็จะเห็นบาร์ยาวๆ หรือเทรนได้เริ่มไปนานแล้ว sentiment ว่าค่าเงินนั้นๆ แข็งหรืออ่อนค่อยเปิดเผยขึ้นมาเพราะ positions ที่ยังถืออยู่ในตลาด ดังนั้น sentiment เหมาะสำหรับปล่อยให้กำไรมากขึ้นเมื่อท่านเข้าเทรดตอนต้นเทรนได้ ถ้าท่านเปิดเทรดเมื่อ sentiment ชัดเจน ท่านจะพบว่าท่านเทรดตอนที่เทรนอ่อนแล้ว โอกาสที่ราคาจะวิ่งสวนก็มีสูงแต่ทางกลับกัน การดู correlation เพื่อดูต้นตอการเข้าเทรดของขาใหญ่จริงหรือเปล่า แล้วรอโอกาสถ้าราคากลับมาทดสอบ เพราะถ้ามองออกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่เมื่อราคากลับมา พวกเขาจะพยายามรักษาจุดที่พวกเขาเข้าเทรดและมีการเพิ่มการเทรดด้วย ลองเปรียบเทียบกันดู

ที่เลข 1 ของ EURUSD ราคาวิ่งขึ้นด้วย momentum บาร์ จึงไม่แปลกที่จะมีการเปิด buy ตามต่อมาหลายแท่งเทียน แต่ราคากลับไม่ไปไหน เพราะการเปิดเทรดหลังจากที่ sentiment ชัดเจน ราคาวิ่งไปมากแล้ว เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตามแบบนี้ ก็จะกลายเป็นเป้าออเดอร์ตรงข้ามที่ขาใหญ่เปิดเทรดตอนทำให้เกิด Momentum เพื่อพวกเขาจะได้ปิดทำกำไรได้ง่ายและตามพื้นที่ๆ พวกเขาต้องการด้วย เพราะ liquidity ที่มาจาก buy market orders ที่เปิดเทรดหลัง momentum นั่นเอง นี้คือข้อที่ต้องระวังเมื่อท่านจะใช้ sentiment ในการ correlation เพื่อกำหนด trade setup แต่พอมาดูที่เลข 2 ดูที่ราคาเริ่มเด้งขึ้นเลยดู EURUSD และ Dollar Index เทียบกัน เพราะเป็นการ correlation เรื่องของ price level ดูเรื่องเวลาที่เกิดของ impulsive move พร้อมกัน แล้วท่านดูเรื่ององค์ประกอบของ Impulsive move ประกอบ ถ้าทั้ง 2 ต่างยืนยันกันแล้วให้ท่านหาจุดที่ราคาเอาชนะพื้นที่ที่มี trapped traders ประกอบเพราะมีออเดอร์ที่จะมาจากเทรดเดอร์ที่ถือ positions ที่ผิดทางตอนที่เปิด impulsive move ขึ้น และเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรด เมื่อเห็นตรงนี้ก็จะเห็นพื้นที่ว่าจะเข้าเทรดตรงไหน ส่วนการเปิดเทรดแล้วแต่ประสบการณ์ เช่นการเปิดเทรดที่เลข 2 ถ้าท่านมั่นใจความรู้ในการวิเคราะห์ ก็จะกล้าเทรดตอนที่ราคาลงมา หรืออาจเป็น buy limit ที่ EURUSD หรือถ้าต้องการเห็น price action ยืนยันก่อนทั้ง EURUSD และ Dollar Index ก็ได้ ส่วนการกำหนด stop loss ก็เป็นตรงต้นตอที่ทำให้ราคาขึ้นไป แต่ถ้าท่านเทรดแบบหลังคือรอ price action ยืนยัน การกำหนด stop loss ก็จะแคบลง take profit เบื้องต้นก็ตรงที่ราคา EURUSD ได้ทำ High ไว้ก่อนราคาลงมา



อีกตัวอย่าง เป็นการ correlation เพิ่มสำหรับเทรด EURUD และ USDCHF ด้วยการใช้ Dollar Index เป็นตัวช่วยกำหนด price level สิ่งสำคัญต้องอ่านความหมายให้ออกว่า level ที่เกิดขึ้น เวลา และรูปแบบเดียวกันเพราะบอกถึงความพยายามและผลที่ตามมา ต้องเป็นแบบเดียวกัน เพราะ impulsive move ที่เกิดขึ้นบอกถึงว่าขาใหญ่มีส่วนร่วมในการดันราคาไปทางนั้นๆ นั่นคือพวกเขาต้องการเข้าเทรดและดันราคาไปทางนั้นๆ

สิ่งที่ต้องระวัง correlation



แม้ว่าเรื่องการใช้ correlation คู่เงินที่เทรดกับ Dollar Index เป็นวิธีการที่ง่ายสุดในการกำหนด trade setup คู่เงินที่เกี่ยวกับ USD (EURUSD, USDJPY, AUDUSD, USDCAD, USDCHF )  ท่านต้องเห็นว่า price level ที่ Dollar Index ต้องชัดเจนเพราะเราเน้น correlation เป็นหลักไม่ใช่ sentiment เงื่อนไขที่ทำให้เกิด impulsive move ที่ dollar index ต้องได้เช่น ราคาดันไปทางใดทางหนึ่ง สามารถทำ new high หรือ new low ได้ เกิด engulfing พื้นที่ตรงข้าม เพราะเราต้องการเห็นออเดอร์ที่จะมาจากการออกจากเทรดที่อยู่ในตลาดด้วย และข้อมูลใหม่ที่ส่งออกไป เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะได้เห็นชัดเจนด้วย เทรดเดอร์ที่ถือ positoins อยู่ในตลาด ถ้าราคาวิ่งสวนพวกเขา พวกเขาต้องเดือดร้อนด้วย นี่คือความจำเป็นของ price level ที่ต้องชัดเจน เป็นผลจากการเข้าเทรด

ในส่วนของค่าเงินที่จะเทรด อย่างภาพประกอบมี EURUSD GBPUSD AUDUSD USDCHF และ USDCAD เงื่อนไขของ price level ที่สัมพันธ์กับ Dollar Index ต้องชัดเจนลักษณะเดียวกัน  อย่าง EURUSD และ USDCHF แทบจะเป็นแบบเดียวกันกับ Dollar Index เลย แต่เมื่อมอง GBPUSD จะไม่เห็น price level ชัดเจน คู่แบบนี้ก็ไม่ต้องเทรด ส่วน USDCAD จะเห็นว่าชัดเจนที่จุดที่ 2 เท่านั้น สำหรับคู่นี้ท่านก็เปิดเทรดเฉพาะตรงที่พื้นที่เลข 2 เท่านั้น เพราะ Dollar Index ยืนยัน price level ที่เกิดขึ้นเหมือนกัน ส่วน AUDUSD ก็ไม่เห็น price level ที่ยืนยันกันเอง

เรื่องของการใช้ Dollar Index เพื่อจุดประสงค์ correlation สำหรับการเทรด ทำให้เห็น trade setup ง่าย และมีความเป็นไปได้สูง ที่สำคัญต้องตีความให้ออกว่า price level ที่เกิดที่ Dollar Index เป็นผลจากการเข้าเทรดจริง และถ้าสะท้อนมาที่คู่เงินที่เปิดเทียบ เป็นแบบลักษณะเดียวกัน ก็จะเปิดโอกาสให้ท่านเทรดแบบง่าย และมีความเป็นไปได้สูงเพราะชาร์ตยืนยันชาร์ตด้วยตัวมันเอง

#9
หัวใจหลักของการซื้อขายแบบ ราคาแกว่งตัว หรือ SWING TRADE คือการค้นหา การยืนยันในรูปแบบการเข้าเทรด เพราะประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์ทางเทคนิค การเข้าเทรดที่มีประสิทธิภาพสูง จะต้องได้รับการยืนยันจากวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลายวิธีการ  นอกเหนือจากการใช้วิธีการที่ต่างกันแล้ว ตัวเทรดเดอร์ยังสามารถมองหาการยืนยันจากกรอบเวลาที่สูงขึ้นได้อีก และนี่คือเหตุผลที่การวิเคราะห์หลายช่วงเวลา (TIME FRAME) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในหมู่เทรดเดอร์ต่าง ๆ มาก  มีวิธีง่าย ๆในการปรับตัวให้เข้ากับภาพขนาดใหญ่.

เทรดเดอร์ในตลาด FOREX ส่วนมากจะเป็นเทรดเดอร์ ประเภท SWING TRADING สืบเนื่องจากว่าราคาในตลาด FOREX นั้นมีความผันผวนสูง จึงอาจทำให้เทรดเดอร์ทั่วไปค่อนข้างกังวลใจ  เพราะความผันผวนจริง ๆ แล้วก็ถือเป็นความเสี่ยง ให้เทรดเดอร์ลองมองมุมกลับว่าจะหาประโยชน์จากการผันผวนดังกล่าวนี้ได้อย่างไร?

ในบทความนี้ จะดูที่กลยุทธ์การซื้อขาย แบบราคาแกว่งตัวโดยใช้สองกรอบเวลาแบบง่าย และจะใช้ค่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคากราฟแท่งเทียน ในทั้งสองช่วงเวลา ในที่นี้ ใช้ กรอบเวลา D1 และ W1



กฎของการซื้อขายแบบราคาแกว่งตัว ด้วยการสังเกตจากหลายช่วงเวลา

การเทรดในลักษณะการซื้อขายแบบราคาแกว่งตัว (SWING) มักมีเป้าหมายในช่วงสองถึงสามวันเป็นต้นไป กระทั้งสองถึงสามสัปดาห์ ดังนั้นกรอบเวลารายวันจึงเป็นกรอบเวลาหลักในการวิเคราะห์ ส่วนกรอบเวลารายสัปดาห์จะเป็นการสร้างกรอบเวลาที่สูงขึ้น เพื่อการมองไว้ก่อน

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ อีกด้วย โดยกำหนดที่เส้นค่าเฉลี่ย 20 เป็นเส้นแบบ ปรกติ (SIMPLE MOVING AVERAGE - SMA) ให้เทรดเดอร์สังเกตความลาดชันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่กำหนดนี้ด้วย ทั้งในสองช่วงกรอบเวลา



กฎของการเทรดในช่วงตลาดขาขึ้น (BULLISH TREND) มี 4 ข้อหลักๆ ดังนี้

1. เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20  ลาดขึ้นในช่วงกรอบเวลารายสัปดาห์

2. เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20  หันเส้นลง (คล้ายหักหัวลง) ในกรอบเวลารายวัน (มีโอกาสที่กราฟราคาจะย้อนกลับหรือย่อตัวได้)

3. ให้เทรดเดอร์วางคำสั่งซื้อล่วงหน้า (คำสั่งซื้อล่วงหน้าแบบทะลุขึ้นไป แล้วให้ระบบเปิดคำสั่งออเดอร์ทันที – BUY STOP) วางที่ด้านบนสุดของกราฟราคาแท่งเทียน แท่งที่แกว่งตัวสูงสุด โดยที่กราฟยังอยู่ด้านบนของเส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 อีกด้วย

4. ให้เทรดเดอร์ยกเลิกคำสั่งซื้อล่วงหน้า ถ้าเส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE รายสัปดาห์เริ่มลาดลง


กฎของการเทรดในช่วงตลาดขาลง (BEARISH TREND) มี 4 ข้อหลักๆ ดังนี้

1. เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20  ลาดลงในช่วงกรอบเวลารายสัปดาห์

2. เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20  หันเส้นขี้น (คล้ายหักหัวขึ้น) ในกรอบเวลารายวัน (มีโอกาสที่กราฟราคาจะย้อนกลับหรือย่อตัวได้)

3. ให้เทรดเดอร์วางคำสั่งขายล่วงหน้า (คำสั่งขายล่วงหน้าแบบทะลุลงไป แล้วให้ระบบเปิดคำสั่งออเดอร์ทันที – SELL STOP) วางที่ด้านล่างสุดของกราฟราคาแท่งเทียน แท่งที่แกว่งตัวต่ำสุด โดยที่กราฟยังอยู่ด้านล่างของเส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 อีกด้วย

4. ให้เทรดเดอร์ยกเลิกคำสั่งขายล่วงหน้า ถ้าเส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE รายสัปดาห์เริ่มลาดขึ้น

ถ้าเทรดเดอร์สังเกตจะเห็นว่า กฎระหว่าง กฎของการเทรดในช่วงตลาดขาขึ้น (BULLISH TREND) กับ กฎของการเทรดในช่วงตลาดขาลง (BEARISH TREND) จะตรงข้ามกัน ดังนั้นอย่าสับสนระหว่าง เทรนขาขึ้น กับ เทรนขาลง       
                         
ตัวอย่าง - การซื้อขายการซื้อขายแบบราคาแกว่งตัว ด้วยการสังเกตจากหลายช่วงเวลา

                                                                        TIME FRAME D1



                                                                                                 TIME FRAME W1



1.   เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 ในช่วงเวลารายสัปดาห์ ที่ลาดชันขึ้น เป็นสัญญาณของราคากราฟแท่งเทียนในขาขึ้น

2.   ให้เทรดเดอร์ ดูที่เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 ที่ช่วงเวลารายวัน เมื่อมีการลาดชันลง นั่นหมายความถึงว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเป็นสัญญาณขาขึ้นของตลาด และให้เทรดเดอร์สังเกต อาจเป็นลักษณะกราฟแท่งเทียนแบบ ย้อนกลับได้ นั่นเอง

3.   ให้เทรดเดอร์วางคำสั่งซื้อล่วงหน้า (BUY STOP) ที่ด้านบนของกราฟแท่งเทียนที่แกว่งตัวลง โดยต้องอยู่บนเส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 คำสั่งซื้อจะทำงานในจุดนี้ ก็ต่อเมื่อมีการแกว่งตัวสูงขึ้นสำหรับกราฟราคา  เทรดเดอร์ทั้งหลายอย่าลืมกำหนดจุดขาดทุนไว้ด้วย โดยมากมักจะกำหนดไว้ที่ การแกว่งตัวที่ต่ำสุดของกราฟแท่งเทียนก่อนหน้า

4.   หลังจากที่ เทรดเดอร์กำหนดจุดที่จะเข้าทำรายการการซื้อขายได้แล้ว แม้ว่ากรอบช่วงเวลากราฟรายวันจะมีการเคลื่อนไหวเหมือนจะปรับตัวลง แต่อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ย SIMPLE MOVEING AVERAGE 20 ในช่วงเวลารายสัปดาห์ก็ยังคงมีมุมมองและแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่ ถึงแม้จะมีการปรับตัวลงในช่วงกรอบเวลารายวัน จากข้อสังเกตนี้เป็นสนับสนุนหรือทำให้ เหล่าเทรดเดอร์ปล่อยให้ผลกำไรของดำเนินไปได้

ทบทวน - การซื้อขายแบบราคาแกว่งตัว ด้วยการสังเกตจากหลายช่วงเวลา

กลยุทธ์การซื้อขายแบบสังเกต สองกรอบเวลานี้ เป็นรูปแบบพื้นฐานของมองกราฟแบบใช้กรอบเวลาเลยทีเดียว ประโยชน์ของการมองกราฟแบบสองกรอบเวลานี้ จะทำให้ตัวเทรดเดอร์มั่นใจได้ว่า การกระทำของกราฟแท่งเทียนเป็นไปตามที่เทรดเดอร์คิดไว้ เรียกได้ว่าเป็นการยืนยันทิศทางในรอบใหญ่ได้

แน่นอนเทรดเดอร์สามารถปรับปรุงกลยุทธ์นี้ได้โดยการเพิ่มกรอบเวลาหรือตัวชี้วัดอื่น ๆ เพิ่มเติม การตั้งค่าการซื้อขายในช่วงเวลาอื่น ๆ ใช้กรอบเวลาได้สูงสุดถึงสามชุด พร้อมตัวบ่งชี้ทางเทคนิคที่แตกต่างกัน เช่น เส้นแนวโน้ม หรือเส้นค่าเฉลี่ย

หากเทรดเดอร์ต้องการเพิ่มกรอบเวลาอื่นในกลยุทธ์การมองสองกรอบเวลานี้ เทรดเดอร์สามารถพิจารณา แล้วใช้กรอบเวลารายเดือนเพื่อตรวจสอบภาวะตลาดได้ นอกจากนี้เทรดเดอร์ยังสามารถเจาะลึกลงไปถึงกรอบเวลาที่ต่ำกว่า เช่นกรอบเวลารายชั่วโมง  เพื่อเป็นการปรับแต่งเวลาของเทรดเดอร์ วิธีการนี้เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการลดความเสี่ยงในการเข้าเทรดของตัวเทรดเดอร์เองได้
#10
ในบรรดาคู่เงินที่เทรดเดอร์ชอบเทรด น่าจะมีคู่เงินที่เกี่ยวกับค่าเงินอังกฤษหรือ GBP มีวิธีการที่จะเทรดค่าเงินนั้นๆ ที่เทรดเดอร์นิยมกันคือ Correlation หรือสัมพันธ์ค่าเงินกับคู่เงินต่างๆ เพื่อดูความแข็งหรืออ่อนของค่าเงินนั้นๆ เพื่อเป็นตัวกำหนดเทรนหรือเทรดตามไปเลย มักจะได้ยินคำว่า Currency Strength แต่ปัญหาคือแม้รู้ว่าค่าเงินนั้นๆ แข็งหรืออ่อนเมื่อเทียบกับค่าเงินที่จับคู่ ไม่ได้หมายความว่าเปิดเทรดได้เลย เพราะการเปิดเทรดสิ่งสำคัญต้องดู Risk:Reward และจังหวะการเปิดเทรดต้องได้ ส่วนมากถ้าค่าเงินนั้นๆ บอกว่าแข็งหรืออ่อนก็ได้มีการเคลื่อนไหวของราคาไปเยอะแล้ว เลยทำให้การเปิดเทรดเกิดขึ้นหลังจากราคาเคลื่อนไปเยอะแล้ว เพราะการคำนวณความแข็งของค่าเงินต้องอ่านข้อมูลจากที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต่างจากหลักการอินดิเคเตอร์ทั่วๆ ไปที่ข้อมูลก็จะออกเป็นช้าไปหรือ lagging เสมอ ดังน้นต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ให้เป็น

ทำไมการสัมพันธ์ค่าเงินหรือ Correlation สำคัญ



ข้อดีของการ Correlation คือชาร์ตยืนยันชาร์ต  หรือราคายืนยันกันเองให้เห็น สิ่งที่เกิดขึ้นยืนยันกันเอง ทุกอย่างเห็นหมดเป็น objective ไม่ได้จินตนาการหรือตรรกะเอาเองแบบ subjective เป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์อยากทำกันคือ เทรดสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่คิด ที่ยกตัวอย่างเอาค่าเงินที่เกี่ยวกับ GBP เพราะมีให้คู่เงินที่เกี่ยวข้องให้เลือกเทรดได้หลายคู่คือ GBPUSD, EURGBP, GBPJPY, GBPCHF, GBPCAD, GBPAUD, GBPNZD เป็นต้น แม้คู่เงินอื่นก็ทำได้เช่นกันเช่นเดียวกับ JPY มี USDJPY, EURJPY, CADJPY, GBPJPY เป็นต้น หลักการของ Correlation คือใช้ชาร์ตยืนยันชาร์ตเอง ในที่นี้เราใช้เพื่อหา Trade setup การที่ค่าเงินนั้นๆ เป็นตัวหนุนว่าเราควรจะหา Trade setup ไปทางไหน เลยบอกว่าจะดูเรื่องของ Currency Strength มันไม่พอ ยิ่งเราสามารถดูหลายคู่เงินทียบกันยิ่งดี และข้อดีอีกอย่างของค่าเงิน GBP คือเรื่องของ Volatility จะมีมากเกี่ยวทุกคู่ pips ต่อการเคลื่อนไหวมากกว่าคู่เงินอื่นๆ เมื่อเปิดเทรดไม่ต้องรอนานเกิน profit หรือ loss เกิดในเวลาอันสั้น และตลาดก็จะวิ่งช่วงตลาดยุโรป และอเมริกา ยิ่งเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันด้วยยิ่งทำให้มี Volatility มากยิ่งขึ้น ดังนั้นกรอบหรือช่วงเวลาที่จะเทียบ Correlation ไม่มากเกิดแต่ละวัน แต่ได้ Volatility ที่มากพอที่จะทำกำไรในเวลาอันสั้นด้วย

Correlation คู่เงิน GBP ด้วย Impulsive move



หลักการเทรดทั่วๆไปคือ เปิดเทรดเมื่อเห็นว่าขาใหญ่เข้าเทรดหรือเทรดตามขาใหญ่ Technical analysis ส่วนมากก็จะโฟกัสมาที่ประเด็นนี้ อาจเป็นเปิดเทรดตอนพวกเขาเปิดเพิ่มการเทรดอีกรอบ หรือตอนที่ราคากลับมาเทส หรือตอนที่ราคาย่อตัวมาทำ Pullback แล้วไปต่อ หรือเทรดสวนที่เป็นช่วงที่พวกเขาปิดทำกำไรก็ได้ แต่วิธีการที่ชัดเจนและง่ายสุดคือหาโอกาสเทรดตามกับพวกเขา หลังที่เห็นพวกเขาเทรดหรือ Impulsive move หรืออาจมองที่ชาร์ตเป็น Momentum  แล้วก็ใช้ Correlation เพื่อใช้ชาร์ตยืนยันชาร์ตอีกทีเป็นตัวช่วยกรอง ก็จะทำให้กำหนดหรือหาพื้นที่ที่จะเทรดตามขาใหญ่ได้ง่าย สิ่งสำคัญต้องมองให้ออกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่จริงหรือเปล่า หลักการเคลื่อนไหวของราคาที่มาจากความไม่สมดุลย์ของออเดอร์บอกว่า ถ้า trading pressure ทางใดทางหนึ่งมากพอ ก็จะเอาชนะและเอาชนะด้วย Momentum ยิ่งดี บอกถึงไม่สมดุลย์มาก Momentum เมื่อมองแท่งเทียนจะเห็นแท่งเทียนยาวๆ และไปทางเดียวกัน และสามารถเอาชนะ High/Low ตรงข้ามได้ด้วยเวลาอันสั้น และต้องสามารถปิดทางที่เกิดด้วย ค่อยจะบอกนัยสำคัญว่าขาใหญ่มีส่วนร่วมในการทำให้เกิด ดูที่เลข 1 ของคู่เงินที่ยกมาประกอบ GBPUSD GBPJPY และ GBPCHF จะเห็นว่ามี price structure อย่างที่บอกหมด และเกิดพร้อมกันทั้ง 3 คู่เงินและเวลาเดียวกันด้วย ดูที่ GBPUSD จะเห็นว่าราคาได้ลงมา ตรงพื้นที่กรอบที่จะทำให้เกิดโอกาสการเปิดเทรดที่วงกลม เมื่อมองการวิเคราะห์แบบ chart pattern จะเห็นว่าเป็นแบบ Head and Shoulders ด้วยเพราะก่อนที่ราคาจะลงมาได้เบรคขึ้นไปทำ Higher High ก่อนแล้วย่อตัวลงมาทำ Higher Low ตรงนี้โอกาสการเปิดเทรดเกิดขึ้น รูปแบบก็เกิดที่ GBPJPY และ GBPCHF เช่นกัน

Correlation ด้วย price structure ยังทำให้เข้าเทรดได้ถูกจุดและมีความเป็นไปได้สูงด้วย

สิ่งที่ตามมาเมื่อท่าน Correlate เรื่องของ price structure เป็น เช่นอย่างที่ยกตัวอย่างเรื่องของ Impulsive move ท่านสามารถหาที่เข้าเทรดได้ง่ายด้วยการสัมพันธ์กับค่าเงินอื่นด้วยว่า timing ในการเข้าเทรดจะเป็นช่วงไหน เพราะแม้ว่าเกิด impulsive move แต่การเกิดการล่า Liquidity หรือ stop hunt ก็เกิดขึ้นประจำ เพราะถ้าไม่ได้ใช้เรื่องของ Correlaton ช่วยที่เปิดเทรด ราคาอาจดันลงไปต่อได้ แต่พอ Correlation ท่านจะเห็นว่าราคาเคลื่อนไหวทางที่จะเปิดเทรดจริงหรือเปล่าแล้วค่อยเปิดเทรดก็ได้ จะทำให้ท่านเข้าเทรดถูกที่และถูกเวลาตามกรอบ Trade setup และยังมีความเป็นไปได้สูงด้วย เพราะ ชาร์ตจาก 3 คู่เงินยืนยันการเคลื่อนไหวกันเอง



ต่อมา หลังจากที่ราคาดันมา มาถึงที่เลข 2 มองดูทั้ง 3 คู่เงินจะเห็น price structure แบบเดียวกันหมด  ไม่ว่าจะเป็นการเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามที่สร้างให้เกิด trapped traders และทำให้เกิดการเบรคขึ้นไปเป็นตัวสร้าง impulsive move ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าเห็นว่าจะเข้าเทรดตรงไหนด้วย ทำให้เรารู้ว่าจะกำหนด trade setup ได้ที่ไหนได้ง่าย เพราะชาร์ตยืนยันชาร์ต แล้วเวลาเข้าชัดเจนจนกว่าบาร์ที่ลูกศรชี้ที่ลงมา และบาร์ต่อมาไม่ไปต่อ พร้อมกันนั้นแทงหางขึ้นพื้นที่ทั้งหมดของบาร์ที่ลงไป บอกว่าเป็นการล่า stop เพื่อเข้าเทรด และที่สำคัญเกิดขึ้นทั้ง 3 ชาร์ตเหมือนกันหมด ทำให้รู้ว่าขาใหญ่ได้เข้าเทรดเมื่อจบบาร์นี้เลยทำให้เราได้ ว่าจะเทรดที่ไหนและเมื่อไร ตามขาใหญ่
นี่คือหลักการเทรดคู่เงินที่เกี่ยวกับ GBP แบบง่าย และได้ผลดีไม่ต้องใช้ความรู้มากแค่หา impulsive move เป็น แล้วหาคู่เงินอื่นมายืนยันว่ามี price structure แบบเดียวกันหรือเปล่า เพราะการ Correlation แบบนี้ทำให้เรารู้ว่าจะเข้าเทรดที่ไหนและเมื่อไร ง่ายและชัดเจน การเทรดแบบนี้ใช้ได้ทั้งเทรดตามเทรนและสวนเทรน ดูสัดส่วนและ price structrue ประกอบว่าท่านกำหนดจาก timeframe ไหนและมี risk:reward มากพอพร้อมทั้งเห็นว่าราคาวิ่งไปได้ง่ายด้วย
#11
คู่เงิน USDJPY เป็นอีกคู่เงินที่เทรดเดอร์นิยมเทรดกัน วิธีการเทรดทั้งแบบ technical analysis หรือข้อมูลพื้นฐาน แต่การ correlation หรือการสัมพันธ์กับสินค้าตัวอื่น โดยเฉพาะกับ Dollar Index ก็นิยมกันเช่นกัน ด้วยการดู price structuer หรือความแข็งและอ่อนของตัวที่มาเปรียบเทียบ เช่น ดูดรรชนีนิเคอิของญี่ปุ่น ในส่วนของ Indices ที่หลายๆ โบรกเปิดให้เทรด  หรือดูค่าเงินด้วยกัน เช่น ค่าเงินที่เกี่ยวกัน JPY อย่างน้อย 2-3 คู่เงิน แล้วดูฝ่ายทาง USD ด้วย Dollar Index และตอนนี้มีสินค้าอีกตัวคือ ดรรชนีค่าเงินหรือ Currency Index ที่ทำงานงานแบบเดียวกับ Dollar Index เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ  ทำให้การ correlation ง่ายขึ้นไปอีกระดับ เลยทำให้การหาการจังหวะการเข้าเทรดได้ง่ายขึ้น  ข้อดีของการใช้ Correlaton คือช่วยกำหนดความเป็นไปได้ในการเทรดได้ง่ายด้วยการเปรียบเทียบ แต่ต้องรู้จักวิธีการ Correlation เท่านั้นเอง

Correlation เพื่อเทรด USDJPY



คู่เงิน USDJPY ประกอบด้วย 2 ค่าเงินคือ USD สำหรับฝ่ายทางดอลลาร์ และ JPY ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น โบรกเกอร์ส่วนมากเดี๋ยวนี้ที่ให้เทรดก็จะมี Dollar Index หรือท่านหาดูผ่านทางเว็บได้ เช่นทาง Tradingview.com หรือ Investing.com (ถ้าเป็นเวอร์ชั่นออนไลน์แนะให้ดูที่ Investing.com)  ดังนั้นส่วนของ USD เพื่อหาข้อมูลมา Correlation กับชาร์ตที่เราต้องการเทรด เช่น EURUSD, USDJPY, GBPUSD, AUDUSD เป็นต้น เช่นอย่างภาพประกอบเพื่อจะหาโอกาสเทรด USDJPY ด้วยการเปิดชาร์ต USDJPY, USDX สำหรับ Correlation ค่าเงิน USD, และ AUDJPY และ GBPJPY เพื่อช่วยการสัมพันธ์การเคลื่อนไหวค่าเงิน JPY หรืออาจเปิดหลายค่าเงินที่เกี่ยวกับ JPY ขึ้นมาประกอบอีกยิ่งดี เพื่อการันตีว่าความแข็งหรืออื่นๆ เกี่ยวกับค่าเงิน USD และ JPY เป็นอย่างไร เพื่อกำหนด Trade setup สำหรับคู่เงิน USDJPY  ด้วยการสัมพันธ์เรื่องของ price structure ประกอบ แต่จากตัวอย่างที่ยกมา นอกจาก USDX ที่ชัดเจน ตัวอื่นก็ไม่ชัดเจนเท่าไร



หรืออีกวิธีการเป็นการใช้ชาร์ตของดรรชนี นิเคอิ (JPN225 ในที่นี้) เข้ามาประกอบ ดูจาก price structure ประกอบกัน ทั้ง JPN225 USDX และ USDJPY ท่านจะพบว่าชาร์ต JPN225  ไม่ได้เปิดเผย price structure ชัดเจนแบบกรณีแรกที่ใช้คู่เงินที่เกี่ยวกับ JPY มาประกอบ และ USDX จะชัดเจนมากกว่า ดังนั้นเมื่อเทรดค่าเงินที่เกี่ยวกับ USD เทรดเดอร์ส่วนมากถ้าเทรดแนว Correlation ก็จะขาด Dollar Index ไม่ได้

แม้ว่าท่านจะเห็นว่า USDX ช่วยในการ Correlation สำหรบเทรด USDJPY ได้มากเมื่อท่านดูประกอบกับ price structure โดยเฉพาะการเทรด Impulsive move ที่เกิดจาก USD ท่านอาจใช้ค่าเงินตัวอื่นช่วยนอกจาก USDX ก็ได้ เช่น AUDUSD, GBPUSD, USDCHF, NZDUSD เป็นตัน เพื่อยืนยันฝ่ายทาง USDX อีกที แต่สิ่งที่ยังถือว่าหาข้อมูลยาก คือการCorrelation ฝ่ายทาง JPY ที่บอก price structure ชัดเจนแบบ USDX แม้ว่าท่านอาจดูตัวที่เป็นดรรชนี JPY ได้จากโบรกเกอร์ที่ให้เทรดพวก Currency Futures แต่ส่วนมากก็มีแต่โบรกเกอร์ที่เปิดให้เทรด Futures ที่เงื่อนไขการเทรดยุ่งยากกว่าการเทรดฟอเรก แต่ตอนนี้เริ่มมีหลายๆ โบรกเกอร์ที่ให้เทรดฟอเรกได้เริ่มเสนอ Currency Index มาให้ลูกค้าที่เทรดฟอเรกได้เทรดกัน Pepperstone เป็นอีกโบรกหนึ่งที่ได้เสนอดรรชนีค่าเงิน มี USDX, EURX และ JPYX เลยเปิดโอกาสให้ได้ใช้ประโยชน์ Correlation ระหว่าง JPYX และ USDX เพื่อเทรด USDJPY

ทั้ง USDX และ JPYX ช่วยให้เห็น price structure ชัดเจนสำหรับเทรด USDJPY

USDX เป็นตัวบอกว่าค่าเงิน Dollar เป็นอย่างไรและ price structure เป็นอย่างไร ส่วน JPYX ก็เป็นตัวให้ข้อมูล และ price structure ที่เกิดขึ้นกับค่าเงิน JPY เป็นอย่างไร ถ้าไม่มี JPYX ท่านอาจใช้วิธีการดูหลายคู่เงินที่เกี่ยวกับ JPY เพื่อเป็นตัวช่วยยืนยันค่าเงิน JPY ในการกำหนด trade setup สำหรับ USDJPY แต่พอมี JPYX เรื่องของ Correlation ระหว่าง JPY กับ USD เลยง่ายขึ้น และที่สำคัญช่วยให้ท่านหาพื้นที่ที่จะกำหนด trade setup ได้ง่ายด้วยการอ่าน price structure ที่บอกการเข้าเทรดหรือการออกเทรด เพราะท่านสามารถ Correlation ทั้ง 2 ข้างได้ ถ้าทั้ง 2 ข้างเปิดเผยชัดเจนก็จะทำให้ USDJPY วิ่งมาก ถ้าข้างใดข้างหนึ่ง แต่อีกข้างไม่เคลื่อนไหวมากหรือไม่สวน ก็พอเปิดโอกาสการเทรดได้เช่นกัน



ชาร์ต USDJPY อยู่ตรงกลางด้านช้ายเป็น Dollar Index หรือ USDX ด้านขวาเป็น JPYX หรือ Yen Currency Index การ Correlation จะเน้นแบบ price structure เป็นหลักเพื่อหาโอกาสการเทรดหลังจากที่เห็นขาใหญ่เข้าเทรดด้วย Impulsive move เปิดเผย หรืออาจดูเรื่องของ strenght หรือ weakness ของ ค่า USDX และ JPYX ก็ได้ แต่การสัมพันธ์ด้วย price structure จะทำให้ท่านหาพื้นที่ trade setup ได้ว่า จุดเข้า จุด stop loss และ take profit จะอิงข้อมูลที่ได้จาก USDJPY ที่มี USDX และ JPYX เป็นตัวยืนยัน

ที่เน้นการ Correlation แบบ price structure ที่ให้ดู Impulsive move เพราะว่าเป็นข้อมูลที่เปิดเผยออกมาว่าเป็นการเข้าเทรด ไม่ใช่การออกเทรดของขาใหญ่ เพราะขาใหญ่เมื่อพวกเขาเข้าเทรดได้ พวกเขาจะไม่ยอมให้ราคาวิ่งสวน เลยทำให้โอกาสที่ราคาจะเด้งมาแตะ Stop loss ได้ยาก และราคาก็จะดันไปทางที่พวกเขาเปิดเทรด พวกขาใหญ่ไม่ต้องการจะเสียเช่นกัน การเทรด Impulsive move เป็นการเทรดการย่อตัว หรือตอนที่ราคาทำ Corrective move จบ การเข้าใจ Impulsive move ช่วยให้ท่านเทรดได้หลายๆ อย่าง เช่นการเทรดแนว supply/demand สิ่งที่ยืนยัน supply/demand ก็เป็น impuslive move นั่นเอง หรือการเทรดด้วยหลักการ Momentum พอราคาย่อตัวกลับมา ส่วนที่เป็น Momentum ก็มีส่วนของ Impulsive move อีกนั่นเอง

เช่น Impulsive move ที่ USDJPY แนวตั้งคือเส้นที่เราต้องการจะเปิดเทรด มองมาทางช้ายมือ Dollar Index ก็เกิด Impulsive move เช่นกัน มองทางขวา JPYX ก็มีเช่นกัน ท่านไม่ต้องเปิดชาร์ต JPY หลายๆ ชาร์ตเช่น EURJPY, GBPJPY, AUDJPY, NZDJPY เป็นต้นเพื่อมาช่วยยืนยัน Impulsive move นี้ แค่เปิด JPYX พอ  ดังนั้นการเทรด USDJPY ด้วยชาร์ตเปล่า และยิ่งมี USDX และ JPYX  จะทำให้ท่านหาโอกาสการเทรดคู่เงินนี้ได้ง่ายและเร็วขึ้น


#12
เทรดเดอร์ที่เริ่มเทรดใหม่ๆ ก็จะสงสัยเสมอว่า ควรจะเลือกเทรดหรือกำหนด trade setup จาก timeframe ไหนดี สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าจะเทรดช่วงเวลาไหนหรือ timeframe ไหนดี ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเทรดของท่านเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นการเทรดตั้งแต่แบบ Scalping จนไปถึงการเทรดแบบถือ Position ดังนั้นในฐานะที่เป็นเทรดเดอร์ สิ่งแรกเลยต้องเลือก Timeframe ให้เหมาะกับรูปแบบและสิ่งแวดล้อมการเทรด

เข้าใจ Timeframe กับแท่งเทียนก่อน



รูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เทรดเดอร์นิยมมากสุดน่าจะเป็นแท่งเทียนหรือ Candlestick ก่อนอื่นต้องมาดูว่า แท่งเทียนนำเสนอเรื่องของ Timeframe อย่างไร แต่ละแท่งเทียนถือว่าเป็นการบอก trading transactions ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแท่งเทียน เช่นอย่างใน Metatrader 4 มีให้ท่านเลือกถึง 9 timeframes คือ M1, M5, M15, M30, H1, H4, D1, W1 และ MN ส่วนประกอบของแท่งเทียนมีดังนี้ ช่วงเวลาหรือแท่งเทียนแต่ละ timeframe, ราคาเปิด, ราคาสูง, ราคาต่ำ และราคาปิด
โดยที่ราคาเปิดก็จะอ่านต่อเริ่มจากราคาปิดของแท่งเทียนก่อน แล้วก็เริ่มว่ามี trading transactions เกิดที่ช่วงราคาไหน ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ไหน และจบด้วยราคาปิดเมื่อหมดเวลาช่วงแท่งเทียน จะเห็นว่าตัวแปรสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องการคือดูว่า trading transactions ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาเกิดที่ไหน และเกิดอย่างไร เช่น ถ้าเป็นเทรดเดอร์แบบ Scalping ก็จะมองหา trading transactions ที่เกิดขึ้นมากในเวลาอันสั้น เลยจะมองแท่งเทียนที่มี timeframe น้อยลง เช่น M5 หรือ M15 แล้วก็ดูว่าช่วงเวลาไหนมี transactions เกิดขึ้นมาก พร้อมกับการตีความของแท่งเทียน จากส่วนประกอบของแท่งเทียนจากราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิด ก็จะมองเป็นขนาดแท่งเทียน พร้อมทั้งเรื่องของส่วนที่เป็น Body หรือ Real Body ที่บอกราคาเปิดและราคาปิดอยู่ช่วงไหน ส่วนที่เป็นหางแท่งเทียนหรือ wick ยังบอกถึง trading pressure ที่เกิดแต่ละด้านด้วย เทรดเดอร์ก็จะใช้ข้อมูลของ trading transactions และความหมายของแท่งเทียนเพื่อช่วยในการวิเคราะห์การเทรด

Timeframe เล็กและใหญ่



เมื่อพิจารณจากส่วนประกอบของแท่งเทียน ตั้งแต่ช่วงเวลาแต่ละแท่งเทียน พร้อมด้วยราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำและราคาปิด เมื่อมองต่าง timeframe เป็นอันเดียวกัน แต่ที่ต่างคือ ช่วงราคาที่เกิดการเทรดหรือ trading transactions ที่เกิดขึ้น เมื่อมองแท่งเทียนจาก timeframe เล็ก ก็จะเห็นรายละเอียดด้าน trading transactions มากขึ้น ว่า trading pressure หรือมองหา imbalance ระหว่างออเดอร์เกิดที่ช่วงไหนได้ง่ายและชัดเจน แต่ทางกลับกันเนื่องจากช่วงเวลาอันสั้นของแท่งเทียนใน timeframe เล็ก การเทรดที่เกิดขึ้นไม่มากพอ ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญว่าราคาจะดันไปทางไหนจริงหรือเปล่า ความไม่สมดุลย์อาจเกิดจากการปิด positions เพื่อออกจากตลาดก็ได้ ต่างจากเมื่อมองจาก timeframe ใหญ่ขึ้น รายละเอียดที่ได้จาก trading transactions ก็มากขึ้น การที่ความไม่สมดุลย์หรือ trading pressure ที่เห็นใน timframe ใหญ่ขึ้นเลยเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่า จะเห็นว่าเทรดเดอร์เลยนิยมกำหนด trade setup หรือ trend จากข้อมูลมาจาก timeframe ใหญ่แล้วหาจุดเข้าเทรดที่ timeframe ย่อยหรือเล็กลงมาเพื่อเข้าและออกเทรดได้ถูกพื้นที่กว่า

ข้อเสียของการเทรด timeframe เล็กและใหญ่

เช่น การเทรดด้วยการอ่านแท่งเทียน อย่างรูปแบบการเทรด แนวรับ แนวต้าน หรือ supply/demand หรืออื่นๆ เงื่อนไขการเทรดก็จะเกิดขึ้นบ่อย ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของ Impulsive move และการมองต่าง timeframe  ข้อเสียข้อแรก ก็จะทำให้โอกาสเกิดการสูญเสียได้มากเพราะเข้าเทรดบ่อย เพราะ trade setup ก็จะเกิดขึ้นบ่อย ข้อสอง ผลกระทบต่อจิตใจหรือสภาพจิตเยอะ เพราะเมื่อมองแท่งเทียนใน timeframe เล็กมีออเดอร์ที่เปิดอยู่ และเยอะด้วย ถ้าไม่มีประสบการณ์มากพอก็จะถูกกระตุ้น ความเร็วของ price structure และ price action ที่เกิดใน timeframe เล็กกระตุ้นให้อยากเทรด หรือเกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใน timeframe ย่อย ยิ่งการเปิดเทรดด้วยล็อตที่มากก็จะกระทบมากขึ้นด้วย ราคาจะกระตุ้นให้เกิดความกลัวและโลภขึ้นมา หรืออีกข้อเช่น เป็นวันที่มีข่าวแรงๆ เช่น Non-Farm ที่มีเรื่องของ volatility มาก ก็จะทำให้เกิดการเสี่ยงมากเพราะความเร็วที่ราคาขึ้นหรือลงไม่กี่นาที ก่อนที่ราคาจะดันไปทางใดทางหนึ่งอย่างจริงจัง

ส่วนข้อเสียของการเทรด timeframe ใหญ่ สิ่งที่เห็นชัดคือการเคลื่อนไหวราคาช้าเมื่อเทียบกับแท่งเทียนใน timeframe เล็ก เช่นกว่า trade setup จะเกิดขึ้นได้ของ H1 หรือ H4 ชาร์ตก็ต้องใช้เวลานาน แต่ข้อดีมีเยอะเช่น แม้ว่า Trade setup ใช้เวลานาน แต่ถ้าเกิดขึ้นความเป็นไปได้สูงก็จะเกิดขึ้นด้วย เพราะ price structure ที่เกิดขึ้นใน timeframe ที่ใหญ่กว่าก็จะให้ข้อมูลที่น่าเชือถือกว่า เรื่องของ Risk:Reward แต่ละ trade setup ก็จะดีด้วย เรื่องของจุดเข้าและจุดออกก็จะชัดเจนกว่า เพราะเห็นจุดอ้างอิงได้ชัดเจน เรื่องของอารมณ์จัดการได้ดีกว่า ไม่โดนกระทบจากการเคลื่อนไหวเร็วของราคาเมื่อเทียบกับ trade setup ใน timeframe เล็ก  แต่ก็ต้องใช้เวลาและความอดทนมาก กว่าที่ราคาจะวิ่งไปตามคาดการณ์ตามความเป็นไปได้

เทรดด้วย multi-timeframe ใช้เล็กและใหญ่ช่วยกัน



จะเห็นว่าการเทรดใน timeframe เล็กและใหญ่ก็จะมีข้อดีและเสียต่างกัน ส่วนมากการเทรด timeframe ใหญ่ ก็จะได้เปรียบกว่า แต่เสียคือเรื่องของความอดทนและเวลา ใช้เวลานานกว่า trade setup ที่เกิดผลออกมาอย่างไร ต่างจากการเทรดใน timeframe เล็ก อย่างเช่นการเทรดแบบ scalping ใน timeframe M15 หรือ M5 ที่ต้องคอยเฝ้าจอตลอด เพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดขึ้นเร็วและการเทรด Risk:Reward ในระยะไม่กี่ pips และอารมณ์มักจะถูกกระทบต่อเรื่องความโลภและกลัวได้ง่าย วิธีการที่เทรดเดอร์มีประสบการณ์นิยมคือใช้ทั้งจุดแข็งของ timeframe ใหญ่และเล็กช่วยกัน คือใช้ timeframe ใหญ่เพื่อกำหนด trade setup และ risk:reward และ timeframe ย่อยเพื่อจุดเข้าและออกเทรด ตาม trade setup ที่เห็นใน timeframe ใหญ่ และที่สำคัญการจัดการอารมณ์ก็จะได้ดีกว่า ถ้าอดทนเป็นและปล่อยให้เวลาสำหรับแต่ละ trade setup ทำงานออกมาเป็นผลอย่างไร

ดังนั้นการเลือก timeframe เล็กหรือใหญ่ต่างมีข้อดีและเสียต่างกัน แล้วแต่รูปแบบการเทรด ขึ้นอยู่กับความชำนาญและวิธีการเทรดของแต่ละเทรดเดอร์ด้วย แต่เนื่องจากข้อมูลที่มาจาก timeframe เล็กน้อยไปเมื่อเทียบกับ timefrmae ใหญ่กว่า การเปิดเทรดหรือการกำหนด trade setup ควรจะให้สัมพันธ์กับ timeframe ใหญ่ขึ้นจะดีที่สุด และใช้ timeframe เล็กลงไปเพื่อหาโอกาสการเทรดที่บ่อยขึ้น
#13
หลายๆ เทรดเดอร์เมื่อเปิดเทรดแล้วมีการกำหนด Take Profit น่าจะเจอเมื่อราคาไปทางที่ท่านเปิดเทรดแล้ว Position ที่ถืออยู่กำไร แต่ราคากลับไปไม่ถึงจุดที่กำหนดไว้และลงมาก่อน นานกว่าจะกลับไปชนทีพีที่กำหนด หรือกลับวิ่งสวนเลยก็มีบ่อย การกำหนดจุด TP แม้ว่าจะเป็นเรื่องแล้วแต่ความพอใจกำไรที่เกิดขึ้น แต่ราคาเมื่อวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรดไม่ได้รู้ว่าท่านได้กำไรที่พอใจหรือเปล่า เพราะราคาหยุดเนื่องจากมีออเดอร์ตรงข้ามมาก ณ ราคานั้นๆ การที่เราเข้าใจตลาดและรู้ว่าทางที่ราคาจะวิ่งไปสามารถทำกำไรได้มากกว่า หรือหยุดตรงไหน ก็จะเปิดโอกาสให้เราทำกำไรได้มากกว่า และยังเป็นการเทรดด้วยการจัดการอารมณ์ได้ด้วย

ราคาวิ่งไปทางที่ง่าย หรือมีตัวต้านทานน้อยเสมอ



เมื่อท่านกำหนด trade setup เป็น 2 สิ่งที่ท่านต้องเห็นชัดเจนก่อนที่จะเปิดเทรดแต่ละออเดอร์ คือว่าจะกำหนด Stop loss และจะกำหนด Take profit ตรงไหน ถ้าเราเปิดเทรดทางไหนก็ต้องการให้ราคาวิ่งสวนได้ยากวิ่งไปทางที่เปิดเทรดได้ง่าย สิ่งที่ทำให้ราคาวิ่งไปทางไหนได้ยากหรือง่าย ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือออเดอร์ทางที่ราคาปัจจุบันวิ่งไป และออเดอร์ตรงข้ามที่อยู่แต่ละราคา ถ้าราคาตลาดที่มี market orders มากกว่า ออเดอร์ตรงข้าม (limit orders) ราคาก็จะวิ่งต่อไป การที่จะกำหนด Take profit ได้อย่างถูกต้อง ต้องคาดการณ์หรือเห็นความเป็นไปได้ว่าออเดอร์ตรงข้ามเมื่อ position ที่เราเปิดกำไร ทางที่ราคาตลาดวิ่งไปจะมีออเดอร์อื่นเข้ามาต่อเนื่อง และมากพอที่จะเกิดออเดอร์ตรงข้ามที่แต่ละราคาไปได้ง่าย นั่นหมายความว่า ถ้าออเดอร์ทางที่ตลาดวิ่งไปเยอะมากกว่า ออเดอร์ตรงข้ามมากก็จะทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่ายและเร็ว หรือถ้าออเดอร์ทางที่ราคาวิ่งไปมากพอที่จะเกิดออเดอร์ตรงข้ามแต่ละจุด หรือเพราะมีออเดอร์ตรงข้ามแต่ละจุดน้อยลงหรือไม่มี ก็จะทำให้ราคาวิ่งผ่านไปง่ายเช่นกัน ทางที่ราคาวิ่งไปถ้ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอหรือเกินออเดอร์ทางที่ตลาดวิ่งไป ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีตัวต้านทาน (resistance) มากพอหรือเปล่า ถ้าราคาเทรดทางไหนคาดหวัง TP ให้ชนเราก็ต้องมั่นใจว่าทางที่ราคาวิ่งไปจนถึง จุดกำหนด TP มีตัวต้านทานน้อยกว่าออเดอร์ที่จะเขามาทางที่เราเปิดเทรด

อะไรทำให้ทางที่ราคาจะวิ่งไปง่าย หรือเรียกว่า path of least resistance



ดูสิ่งที่ชาร์ตเปล่าบอกเราอย่างไรกับเรื่องของทางไปที่ง่ายหรือ path of resistance หลังจากที่ราคาขึ้นมาก็ได้ทำ Higher High ใหม่ และราคามีการย่อตัวลงมาทำให้เรารู้ว่า Supply เกิดที่นี่เมื่อราคากลับมา เพราะราคาดันลงไปได้ เพราะว่ามี Sell orders มากกว่า หลักการทำงานของออเดอร์บอกราคาลงมาหยุดที่ Higher Low มองมาทางช้ายจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ราคาเบรคขึ้นไปพอดี ราคาดันกลับขึ้นไปได้อีก บอกว่ามี Buy orders กลับมาเกิน Sell orders อีกรอบ เกิดมี demand ขึ้น เทรดเดอร์ที่รออยู่ด้านบนคิดว่าราคาจะลงอีก ก็มีการเพิ่ม sell limit orders พื้นที่ Higher High เลยทำให้คาดว่าน่าจะกลายมาเป็น Resistance การเพิ่ม sell limit orders เป็นการเพิ่มตัวต้านทานที่พื้นที่ตรงนั้น พอราคาตลาดขึ้นไปถึงออเดอร์ไม่มากพอ จำนวน sell limit orders ที่อยู่ตรงนั้น เลยยืนยันว่าเป็น resistance แต่สิ่งสำคัญไม่ได้แค่ยืนยัน resistance เท่านั้น แต่ sell limit orders ที่เป็นตัวต้านทานใช้ไปด้วย เลยทำให้จำนวนลดลงไป ราคาดันลงมาด้านล่างมาเจอ Demand เทรดเดอร์ที่รอเทรดตามเทรนก็จะหาโอกาสเทรดอีกรอบ ก็จะกำหนด buy limit orders ไว้พื้นที่ตรงนั้นเลยทำให้พื้นที่ตรงนั้นมีตัวต้านทาน ออเดอร์ที่มาจากฝั่งราคาตลาดที่ลงมาไม่มากพอ ก็จะทำให้ราคาตลาดหยุดตรงนั้น ก็จะยืนยันว่าเป็น support ไปในตัวด้วย ขณะเดียวกันราคาเด้งกลับขึ้นไปหาที่เลข 2 สังเกตดูก่อนที่ราคาจะไปถึงเลข 2 ราคาได้ทำ Higher Low ขึ้นไปอีกด้วย หรือแม้กระทั่งไปถึงครั้งที่ 3 ราคาเด้งลงมาก็ทำ Higher Low ขึ้นมาให้อีก ยิ่งถึงรอบที่ 4 จะเห็นว่า Higher Low ขึ้นมาเรื่อยๆ มองกลับไปที่เรื่องออเดอร์ สิ่งที่เป็นตัวต้านทานคือ sell limit orders ยังพอที่จะเป็น resistance ได้ แต่พอมองที่ราคาเด้งออกไม่มี sell market orders มากพอที่จะดันราคาลงไปต่อ (sell limit orders เป็นการเปิดเทรด sell ณ ราคาที่กำหนด ส่วน sell market orders เป็นการเปิดเทรดที่ราคาตลาด ตัวที่ทำให้ราคาหยุดคือ limit order ตัวที่ทำให้ราคาวิ่งคือ market orders) เพราะราคาสามารถทำ Higher Low ขึ้นมาได้เรื่อยๆ ดังนั้น ส่วนแรกที่ทำให้ตัวต้านทานลดลงไปคือ การที่ราคากลับมาพื้นที่นั้นๆ หรือ retracement ก่อนที่ราคาจะไปทางนั้นจริงๆ พอเมื่อราคาวิ่งผ่าน ถ้าตอนที่ออเดอร์ตรงข้ามไม่พอก็จะวิ่งผ่านได้ง่าย เลยเกิด path of least resistance เพราะจำนวน limit orders มีการใช้ไป

มาดูส่วนที่ 2 พอราคาเบรคอะไรเกิดขึ้น มองช่วงที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ ถือว่าเป็นช่วงสะสมออเดอร์หรือ consolidation ต่างฝ่ายทั้ง sellers และ buyers ก็ได้เข้าตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ positions ที่อยู่ในตลาดทั้ง Long และ Short เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด positions พวกนี้ก็จะกำหนด stop loss เข้าประกอบ เช่นถ้าเป็นเทรด Resistance ก็จะกำหนดไว้ด้านบน Resistance หรือถ้าเป็นเทรด Support ก็จะกำหนดไว้ด้านล่าง Support ไม่ห่างมาก หลักการออเดอร์บอกว่า การออกจากตลาดก็เป็น market order ประเภทหนึ่ง และตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ในตลาด เมื่อราคาเบรคเลข 4 ขึ้นไป ราคาจึงไม่ลงมาอีกเลย ดันขึ้นเป็นหลัก เพราะออเดอร์ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ มาจากการออกที่ออกจากตลาดด้วย และยังมี breakout traders ที่เปิดเทรดตามทางนี้ด้วย

การกำหนด TP ด้วย path of least resistance



จากที่อธิบายมา ราคาก็จะวิ่งไปทางที่ไปง่ายเสมอ หรือมีตัวต้านทานน้อย (least resistance) เลยทำให้ออเดอร์ทาง market price วิ่งไปทางนั้นๆ ด้วยง่ายเพราะโอกาสที่จะเกิดความไม่สมดุลย์ก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าราคาไปถึงพื้นที่ที่มีตัวต้านทานมาก เราก็จะกำหนด TP ด้วยการเข้าใจหลักการทำงานออเดอร์แบบนี้ ก็จะกำหนดไว้ก่อนที่พื้นที่มีตัวต้านทานมาก  ข้อดีคือ ความเป็นไปได้สูงที่จะชนทีพี ราคาวิ่งไปทางที่มีตัวต้านทานน้อยเสมอได้ง่าย

#14
การอ่าน market structure หรือ price structrue ได้ช่วยให้เรารู้ว่าตลาดกำลังบอกอะไรโดยที่ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเพื่อเรียนรู้ เมื่อเข้าใจสิ่งที่ราคาบอกผ่านชาร์ตแล้วเทรดนั่นเป็นเรื่องของ objective เพราะเราเห็นข้อมูล ต่างจากที่เราเอาแค่หลักการแล้วมาหาความเป็นไปได้เอง ดังนั้นการเข้าใจและอ่าน structure ออกจึงจำเป็นมากในการเทรด

High/Low จุดแรกที่ต้องมองเพราะเป็นแนวรับ-แนวต้านแบบอัตโนมัติ



เช่นการอ่านแนวรับ-แนวต้านที่เป็นไดนามิค จากการพัฒนาการ high/low ที่เกิดขึ้นตอนราคาทำเทรน ก่อนที่ราคาจะลงมาเลข 1 ที่บอกว่า Low มองย้อนขึ้นไป เริ่มที่ High ท่านจะเห็นราคาสามารถทำ Lower High ลงมาต่ำได้กว่าเดิมถึง 2 ครั้ง นั่นบอกว่าพื้นที่ตรง Highs พวกนี้เป็นแนวต้านหรือ resistance แบบอัตโนมัติเมื่อราคาเคลื่อนไป สิ่งที่ต้องดูต่อมาคือเรื่องของการเด้งจากพื้นที่หรือ rejection และเบรคหรือ Break ประกอบจุดพวกไดนามิคแนวรับ-แนวต้านพวกนี้ และต้องดูผลที่ตามมาด้วยว่า การเด้งหรือการเบรคเป็นอย่างไร ดูเรื่องของลักษณะการเบรคด้วย เบรคด้วย momentum bar หรือเปล่า และยังต้องให้ความสำคัญของราคาปิดที่บาร์นั้นๆ ด้วย และต้องเข้าใจเรื่องการล่า liquidity ที่มาจากการกำหนด stop orders ประกอบด้วยว่าจำเป็นอย่างไร

สิ่งที่ท่านเห็นตอนนี้คือราคากำลังสร้าง structure แบบกรอบแนวรับ-แนวต้าน ก่อนที่ราคาจะลงมาทำ Low แต่ที่เห็นคือราคาสามารถทำ Lower High ได้บอกถึงความกดดันมาจากฝ่าย sellers มากกว่า สุดท้ายราคาเบรคและปิดล่างด้วย momentum bar ได้ด้วย ฝ่าย sellers เป็นฝ่ายชนะ เทรดเดอร์ก็คาดหวังว่าราคาจะลงไปต่อ แต่สิ่งที่เห็นคือ แม้ราคากลับมาตรงที่ราคาเบรค หลายบาร์ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถทำ low ใหม่ต่อลงไปอีกได้ และยิ่งกว่านั้นราคาสามารถสร้าง consolidation แคบๆ ที่จุดเบรคได้ สุดท้ายราคาเบรคขึ้นมาได้ด้วย Momenum bar ที่ลูกศรเลข 2 และปิดบนได้ด้วย แล้วราคามาเทสหรือ rejection ตรงที่ lower high ที่กลายเป็น resistance อัตโนมัติ เราจะดูว่าราคาสามารถเบรคตรงที่ราคาเบรคขึ้นมาได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ เราจะถือว่าตรงนี้กลายมาเป็น Higher Low เป็นการยืนยันการเปลี่ยนเทรน ราคาไม่สามารถเบรคพื้นที่เลข 2 ได้ เลยกลายมาเป็น Higher Low ทันที  พอถึงจุดนี้เราก็ตีความสิ่งที่ structure บอกอีกรอบถึงจุดนี้ แสดงว่า ตอนที่ราคาลงไปทำ Low ที่เลข 1 มีจุดประสงค์เพื่อเข้าเทรด ดันราคาเบรคลงไปเพื่อล่า liquidity ให้ได้จุดเข้าเทรดราคาที่ดีกว่า และมี liquidity ที่มากพอ และเทรดเดอร์ที่ทำอย่างนี้มีแต่ขาใหญ่ทำ เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ เมื่อจะเปิดเทรดที่ไหน หรือจะออกเทรด พวกเขาต้องการออเดอร์ตรงข้ามพื้นที่ที่พวกเขาต้องการเทรดหรือจัดการการเทรด

ดูภาพก่อนที่จะเกิดการ Break ที่เลข 3 จะเห็น consolidation พื้นที่แคบๆ แบบเดียวกันกับก่อนการเบรคที่เลข 2  จะเกิดขึ้น เมื่อสังเกตอีกอย่าง ท่านจะเห็นว่าพื้นที่ High, Lower High และ Lower Higher ทั้ง 3 พื้นที่ด้านบน อยู่พื้นที่เดียวกันหมด ดังนั้น การที่ราคากลับมาแลัวทำ Lower High ทั้ง 2 จุดไป ก็มีการใช้ sell limit orders ตรงพื้นที่นั้นไปในตัวด้วย และเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดทางลงด้วยการอิง Highs พวกนี้ก็จะกำหนด stop loss เหนือจุด Highs พวกนี้ ถ้าราคาไปแตะ ก็จะกลายเป็น buy market ordes ทันที ขาใหญ่ที่เปิดเทรดด้านล่าง ก็จะมีออเดอร์ที่ช่วยเร่งราคาให้ได้กำไรมากขึ้นทันที สุดท้ายเลข 3 เกิดขึ้น ราคาเบรคด้วย Momentum Bar ตามคาด และทำ New High ใหม่ด้วย



สิ่งที่เกิดขึ้นคือราคาได้เบรค High ขึ้นมาที่เลข 3 ด้วย momentum เทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนหรือ trend traders ก็จะหาโอกาสเทรดตอนที่ราคากลับมา ขณะที่เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด short ก่อนที่ราคาเบรคตรงที่พื้นที่ High หรือ resistance ถ้ากลุ่มที่ไม่ได้กำหนด stop loss เหนือพื้นที่ highs ก็จะติดลบทั้งหมด ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังเลข 3 หรือราคาเบรคขึ้นสำคัญมาก มีผลต่อเทรดเดอร์ที่เทรดขาลงทั้งหมด เพราะรู้ว่าตัวเองกลายเป็น trapped traders เพราะ breakout ตรงนี้ยืนยันสิ่งที่ขาใหญ่ทำตอนดันราคาขึ้นมา และยังเป็นข้อมูลสำหรับเทรดเดอร์ที่รอเข้า โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรน เช่นเทรดเดอร์ที่เทรดแนวรับ-แนวต้าน ก็มองหาราคาเบรค Resistance และได้กลายมาเป็น Support พื้นที่ตรงนั้น เทรดเดอร์ที่เทรดแนว demand/supply ก็มองพื้นที่ highs เป็น supply พอราคาเบรคก็กลายมาเป็น Demand ก็จะรอหาโอกาสเปิดเทรดเมื่อราคากลับมา

ส่วนกรอบด้านบน หลังจากที่ราคาได้สร้าง High ใหม่อีกชุด สิ่งสำคัญที่ราคาไม่สามารถเบรค swap level ที่เพิ่งเบรคขึ้นไปได้ด้วย ท่านจะเห็นว่าพัฒนาการคล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นตอนที่ราคาทำหลังจากที่ทำ Low ที่เลข 1 ดังนั้น สิ่งที่ต้องใส่ใจคือการเด้ง (rejection) และการเบรค (break) อย่างที่บอก จากจุดพวกนี้ที่ตอนราคาทำ high/low ที่กลายเป็นแนวรัน-แนวต้านแบบอัตโนมัติ สัมพันธ์กับสิ่งที่พัฒนาการขึ้นมาอย่างไหน เพราะลักษณะการเด้งหรือการเบรคบอกถึงความสมดุลย์และไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่มาจาก sellers และ buyers เป็นอย่างไร เมื่อมองจากแต่ละจุดต่อเนื่องกัน แล้วกลายมาเป็น market structure
ดั้งนั้น การที่จะมอง market structure เป็น ท่านสามารถเริ่มได้ง่ายๆ ที่การมองที่ high หรือ low เพราะเป็นแนวรับ-แนวต้านแบบอัตโนมัติ แล้วดูการกลับมาหรือ retracement ดูอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นเด้งหรือเบรค แล้วดูลักษณะที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นจุดๆ มองเป็นปริบทต่อเนื่องจนมาเป็น market structure ที่สามารถมองแบบง่ายๆ ได้ ให้ความสำคัญกับ momentum ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน และราคาปิดด้วย เพราะบอกผลของความพยายามที่เปิดเผยตอนนั้นว่าเป็นอย่างไร
#15
สิ่งสำคัญของการเทรดและเป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้สูงคือ แต่ละการเปิดเทรดที่ trade setup ตามที่ท่านกำหนดเพื่อเข้าเทรด ต้องมั่นใจว่าเป็นการเทรดที่สัมพันธ์กับขาใหญ่ แม้ว่าเราไม่อาจรู้ว่าขาใหญ่จะเทรดตรงบริเวณพื้นที่ที่เรากำหนด trade setup หรือเปล่า เพราะการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ เมื่อเปิดเทรดอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่แต่ละแนวทาง technical analysis คือหาวิธีการกำหนดว่าบริเวณที่ต้องจะเปิดเทรดมีความเป็นไปได้สูงว่าราคาจะวิ่งไปทางที่เราเปิดเทรดมากพอหรือคุ้มค่าพอที่จะเปิดเทรดหรือเปล่า

ทำไม Momentum จึงสำคัญต่อการเทรด



แม้ว่าการเทรดจะมีหลายๆ กลยุทธ์ เช่นเลือกเทรดตอนที่ราคาอยู่ในกรอบแนวรับ-แนวต้านเพราะทำให้เห็น support/resistance ชัดเจน ง่ายต่อการจัดการความเสี่ยงและ take profit /stop loss แต่ข้อเสียการเปิดเทรดแบบนี้คือท่านต้องรอนาน ปล่อยให้ออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาดนานไป เพราะการเทรดช่วงนี้เป็นช่วงที่ขาใหญ่สะสม positions ก่อนที่จะเปิดเผยออกมาว่าพวกเขาเทรดทางไหน อีกกลยุทธ์เป็นการเทรดเมื่อเห็นราคาวิ่งแรงๆ หรือเห็นแท่งเทียนยาวๆ และราคาปิดทางที่วิ่งไป วิ่งไปทางใดทางไหนทำให้เกิด breakout เกิดขึ้น ลักษณะของ breakout จะให้ความสำคัญที่ Momentum เพราะบอกว่ามีการเข้าเทรดจากขาใหญ่ เพราะเมื่อมองไปที่มุมมองการทำงานของตลาดและออเดอร์ ราคาวิ่งขึ้นหรือลงเพราะความไม่สมดุลย์ ถ้าความไม่สมดุลย์มาก เช่นบาร์ยาวๆ และเคลื่อนไหวเร็วๆ หรืออาจใช้ volume ประกอบ จะเห็นจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นตัวข้อมูลสำคัญว่ามีการเข้าเทรดจากขาใหญ่ตรงนั้นๆ เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนมาก และมากพอที่จะดันราคาไปทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อพวกเขาเปิดเทรดเลยไม่สามารถปกปิดร่องรอยได้ ต่างจากตอนที่พวกเขาสะสม positions ตอนที่ราคายังวิ่งอยู่ในกรอบหรือ consolidation/sideway

ดูชาร์ตเปล่าอย่างไรว่าการเทรดนั้นๆ มี Momentum



เมื่อทำความเข้าใจหลักการทำงานออเดอร์และการเทรดจากเทรดเดอร์ โดยเฉพาะจากขาใหญ่ที่เทรดด้วยจำนวนออเดอร์ที่มาก และในการเทรดหรือการจัดการการเทรด ต้องการเงื่อนไขเดียวกันคือต้องการออเดอร์ฝั่งตรงข้ามเสมอ ถ้าการเทรดตรงนั้นเป็นการเทรดด้วย Momentum นั่นหมายความว่าเป็นต้นตอ ก็จะมีกลุ่มออเดอร์ตรงข้ามที่ขาใหญ่เทรดด้วย ขาใหญ่ต้องการเอาชนะและต้องการให้ฝั่งตรงข้ามติดลบถึงจะสร้างกำไรให้กับพวกเขา การดู momentum ก็คือการหาพื้นที่ที่เกิด impulsive move นั่นเอง หลักการกำหนด impulsive move หรือ momentum มี 1. ขนาดแท่งเทียนต้องยาว โดยเฉพาะส่วนของ Body เพราะบอกว่ามีแต่ความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นมากและเกิดทางใดทางหนึ่งด้วย 2. แท่งเทียนต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็น Bearish หรือ Bullish แล้วแต่ทิศทาง และ 3. สุดท้ายราคาปิดของแต่ละแท่งเทียนควรปิดทางที่เกิดการเคลื่อนไหวแรงๆ หรือทาง momentum นั้นๆ นอกจากนี้ยังมีอีก 2 สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเมื่อ momentum เกิดขึ้นคือ momenum นั้นๆ มีการเบรค high หรือ low หรือเปล่า และถ้าเห็นว่ามี trapped traders ที่ขาใหญ่ต้องการเอาชนะ เทรดเดอร์พวกนี้จะเป็นกลุ่มเทรดเดอร์ที่ขาใหญ่ใช้ประโยชน์เพื่อบังคับให้ออกจากตลาด และออเดอร์ที่มาจากการออกจากตลาดก็จะเห็นตัวเร่งราคาทางที่ขาใหญ่เปิดเทรดไปในตัวด้วย

ปริบทที่ช่วยหนุน Momentum

การจะกำหนด trade setup หรือแม้กระทั่งการอ่าน price action แต่ละแท่งเทียนหรือบาร์ต่อบาร์ สิ่งจำเป็นของการอ่านข้อมูลที่ price chart กำลังบอกคือ ปริบท หรือข้อมูลต่อเนื่อง หรือเกี่ยวเนื่องกับปัจจุบัน และจุดที่เราสนใจในการกำหนด trade setup ต่างกันออกไปตามแต่ละวิธี technical analysis เช่นการเทรดแบบ supply/demand, support/resistance, pivots, trendline, Fibonacci Retracements หรือ key levels แล้วแต่ การเห็นว่ามี momenum เกิดขึ้นจะช่วยให้ท่านเทรดกลยุทธ์พวกนี้ได้ดี เพราะขาใหญ่มีส่วนร่วมในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้น ถ้าท่านอ่านเป็นและเข้าใจว่าเป็น momentum จริงหรือเปล่า ก็จะทำให้ท่านรู้ว่าท่านจะเข้าเทรดตรงไหน ปริบทบอกภาพรวมและต่อเนื่อง ส่วน momentum เป็นตัวชี้เป้าให้ท่านว่าท่านควรตีกรอบลงไปเทรดตรงแถวนั้น



ดูปริบทที่นำไปสู่การเกิด Momenum และมี volume เป็นตัวยืนยันด้วย เริ่มอ่านปริบทเพื่อดูว่า Momenum ทำไมเกิดขึ้น และเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่หรือเปล่า เริ่มที่เลข 1 ท่านจะเห็นว่าราคาได้เบรคลงมาเพื่อหา liquidity ที่เกิดจาก stop loss จากเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดอยู่ในกรอบด้านบน ขาใหญ่ใช้เพื่อทำกำไรและเพื่อเข้าเทรด พอต่อมาจะเห็นว่ามีการ buy กลับไป และราคาลงมาอีก และกลับขึ้นไปกลายเป็น Head and Shoulders พอดีที่ทำให้ momentum เกิดตรงที่เราโฟกัส ยิ่ง Momentum เกิดพร้อมมี volumne ยืนยันอีก ผลที่ตามมาคือได้เอาชนะ high และทำให้เทรดเดอร์ที่เปิด short positions ตรงพื้นที่นั้นกลายเป็นติดลบทันทีอีก พอราคาย่อตัวกลับมาที่ต้นตอตรงที่วงกลม เลยทำให้เกิด trade setp ที่มีความเป็นไปได้สูงขึ้นมาทันที เพราะ

1. ขาใหญ่เข้าเทรดจริง พวกเขาย่อมไม่ยอมให้ราคาลงไปต่ำกว่าที่พวกเขาเข้าเทรด รู้เพราะ momentum และปริบทประกอบที่อธิบายมา และพวกเขาก็จะเปิดเทรดเพิ่มอีก

2. เทรดเดอร์ที่รอเข้าเห็นข้อมูลใหม่ก็จะหาโอกาสเทรดตามข้อมูลนี้

3. เทรดเดอร์ที่ติดลบตอน momentum เกิดถ้าราคากลับมา และพวกเขาเห็นว่าราคาไม่ลงไปต่อเช่นเห็น price action ที่เด้งชัดเจนที่จุดเปลี่ยนตอนเกิด momentum ก็จะหันมาออกจากตลาด

ดังนั้น การกำหนด trade setup ที่มี momentum ประกอบเป็นส่วนสำคัญในการให้ข้อมูล และถ้าท่านเปิดเทรดตรงวงกลมตอนที่ราคาย่อตัวลงมา ก็จะมีความเป็นไปได้ในการเทรดสูงขึ้นมาทันที เพราะเงื่อนไขต่างๆ ตามที่อธิบายมา อีกทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาดก็จะหันมาเปิดเทรดทางเดียวกับ Momentum และเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดทิศทางตรงกันข้ามก่อนเกิด Momentum เมื่อราคากลับมาจุดที่กลายเป็นความไม่สมดุลย์ ถ้าพวกเขาเห็นอะไรหรือมั่นใจว่าราคาไม่ลงมาทางพวกเขาต่อไปอีก พวกเขาก็จะออกจากตลาดเป็นหลัก เงื่อนไขพวกนี้ล้วนทำให้เกิด market orders ในทางที่เกิด momentum เลยทำให้มีโอกาสสูงที่จะเกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่มาจาก sellers และ buyers ได้ง่าย เลยทำให้การเทรดเมื่อเห็น Momentum มีความเป็นไปได้สูง