ข่าว:

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - support-1

#16
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / ระบบเทรด Bill Combo
เมษายน 08, 2024, 02:07:20 หลังเที่ยง
ข้อมูลเบื้องต้น

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Bill William เขาเป็นเทรดเดอร์ชาวอเมริกัน เป็นคนเขียนหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการเทรด ชื่อว่า technical analysis และ chaos theory ซึ่งเขาเป็นคนคิดค้นเครื่องมือหลายตัว ได้แก่ Accelerator/Decelerator Oscillator, Alligator, Awesome Oscillator, Fractals, รวมทั้ง Market Facilitation Index ซึ่งได้รับความนิยมสูงในตลาด Forex  เครื่องมือของเขาบรรจุอยู่ในโปรแกรม MT4 เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวิเคราะห์ ซึ่งระบบที่ออกแบบเป็นระบบ Trend Following โดยจากเครื่องมือของ Bill William เป็นหลักนั่นก็คือ Awesome Oscillator โดยใช้ indicator MACD เป็นตัวยืนยันสัญญาณร่วมกับ Alligator Oscillator ซึ่งทั้งหมดเป็นเครื่องมือระบุเทรนด์ทั้งสิ้น

ระบบนี้เหมาะกับใคร
สำหรับระบบนี้เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ชอบใช้เวลากับการเทรดน้อย เข้ามาดูเป็นครั้งคราว เป็น position Trader ที่ถือระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ การใช้ Time Frame ที่ใช้คือ 4H ทำให้กรอบการวิ่งของเทรนด์อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามจะมีช่วงหนึ่งที่ไม่สามารถเทรดได้เพรราะว่าเงื่อนไขของการเทรดไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเทรดเดอร์จะต้องมีความอดทนพอสมควร รู้จักจังหวะ บริหารจังหวะ รู้จักการบริหารความตึงเครียดในการเฝ้าหน้าจอ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าได้อย่างถูกจังหวะ

เครื่องมือที่ใช้ในการเทรด
สำหรับเครื่องมือที่ใช้เทรดในระบบนี้อย่างที่ได้เรียนกันไปแล้ว ว่ามี 3 ตัวเท่านั้น โดยเป็นเครื่องมือของ Bill William เป็นหลัก ประกอบด้วย indicator 3 ตัวที่มีติดตั้งอยู่แล้วในโปรแกรม MT4 ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

indicator 3 ตัวของBill William

1.Awesome Oscillator – ไม่มีการตั้งค่าอยู่แล้ว
2.MACD ใช้ค่า 20,40,5 เพื่อยืนยันสัญญาณเทรด
3.Gator Oscillator เพื่อยืนยันสัญญาณเทรด โดยใช้ค่าเดิม

สำหรับ Time Frame ที่ใช้ในการเทรดได้ต่ำสุดคือ 4H หรืออาจจะใช้ 1D ก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้การใช้ให้ต่ำกว่า 1H เพราะว่ากราฟจะแกว่งตัวสูงจนจับเทรนด์ไม่ได้

เงื่อนไขการเข้าเทรด
ในระบบนี้เป็นระบบเทรดแบบ Trend Following ดังนั้นการเทรดจึงเป็นการเทรดแบบ 2 เงื่อนไขคือเงื่อนไขช่วงที่มีเทรนด์และเงื่อนไขช่วงไม่มีเทรนด์ การอยู่ในช่วงไม่มีเทรนด์ควรจะออกจากตลาด โดยเราจะใช้ MACD ในการระบบตามเงื่อนไข โดยมีเงื่อนไปสำรหับออเดอร์ Buy และ Sell ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการ Buy และ Sell

เงื่อนไขการ Buy
1.Awesome Oscillator อยู่ด้านล่างและกลับตัวจากสีแดงเป็นสีเขียว
2.MACD ยืนยันสัญญาณโดย historgram สูงกว่า แท่งก่อนหน้า
3.Gator สีเขียวอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
4.ขนาดของแท่ง histogram จะต้องเป็นแท่งภูเขากลับด้านที่ยาวด้านล่างเท่านั้น

เงื่อนไขการ Sell
1.Awesome Oscillator อยู่ด้านบนมากกว่าเส้นศูนย์ และกลับตัวจากสีเขียวเป็นสีแดง
2.MACD ยืนยันสัญญาณโดย Histogram ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า
3.Gator สีเขียวอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน
4.ขนาดของแท่ง Histogram จะต้องเป็นผู้เขาที่สูงด้านบนเท่านั้น

เงื่อนไขทั้ง 2 สำหรับการ Buy และ Sell จะมีการใช้ histogram ของ MACD ที่เป็นรูปลักษณะภูเขาเพื่อยืนยันสัญญาณเทรนด์ โดยในช่วงไม่มีเทรนด์ MACD แท่งจะไม่สูงมากนัก ซึ่งช่วงนั้นเราไม่ควรที่จะเทรด

โดยตัวอย่างการซื้อขายในภาพ สีเหลืองคือสัญญาณ Buy และวงกลมสีแดง คือ สัญญาณ SELL โดยวงกลมสีฟ้าคือตัวอย่างสัญญาณ Take Profit อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์สามารถ Modify สัญญาณเข้าออกเหล่านี้ได้ตามต้องการเพื่อความเหมาะสม แต่เราคิดว่าระบบที่ออกแบบมามีความสมบูรณ์แบบพอสมควร

เงื่อนไขการออกออเดอร์
สำหรับเงื่อนไขการออกจากการเทรด มี 2 แบบคือ การตัดขาดทุน และการทำกำไร การตัดขาดทุนสามารถทำได้โดยการตั้ง Stop loss เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากระบบเทรนด์ Following เราจะไม่ทำการตั้ง Take Profit เพราะว่า เราต้องการให้ราคาเคลื่อนไหวได้เต็มที่ ให้กำไรวิ่งได้เต็มที่ตามหลักการ Let Profit Run ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเทรดใน Time Frame ใหญ่ โดยจุดทำกำไรมีเพียงรูปแบบเดียวก็คือ การเปลี่ยนสีของ Awesome Oscillator สำหรับขาขึ้นเป็นสีแดง ให้ออกจากการเทรด และการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีเขียวของ Awesome Oscillator ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสัญญาณ โดยไม่ต้องสนใจหรือรอสัญญาณยืนยันจาก indicator ตัวอื่น

จุดแข็งของระบบ
ข้อดีของระบบนี้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ไม่มีเรื่องของสภาพจิตใจที่จะเสพติดการเทรดเพราะเป็นการเทรดในเทรนด์ระยะยาวทำให้การนั่งเฝ้ากราฟ ก็ไม่ได้เกิดผลใด ๆ ต่อการเทรด เพราะว่าเป็นกราฟใน Time Frame ที่ยาวเกินไป ดังนั้นปัญหาต่อสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นจึงไม่มีผลต่อเทรดเดอร์ นอกจากนี้เทรดเดอร์ยังไม่ต้องดูกราฟบ่อย

จุดอ่อนของระบบ
สำหรับระบบเทรดเดอร์เป็นการถือ position ข้ามคืนสิ่งที่ต้องเผชิญเพิ่มเติมสำหรับการเทรดคือ ต้นทุน Swap ที่เกิดขึ้นเพราะถือว่าสูงกว่าต้นทุนการเทรดแบบอื่น ที่ไม่ต้องมี Swap มากวนใจ อย่างไรก็ตามถ้าหากเลือก Broker ที่ Swap ไม่แพงมากนักก็จะไม่มีปัญหา และสามารถถือได้อย่างสบายใจ  แต่การเลือก Broker ก็ต้องมีมาตรฐานในการเลือกเพราะว่าเกี่ยวข้องกับเงินที่เราต้องให้ความเชื่อมั่น Broker สูง
#17
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / แนวคิด Forex Pullback Strategy
เมษายน 04, 2024, 01:44:43 หลังเที่ยง
แม้ตลาดการเงินจะมีการเคลื่อนไหวเป็นทิศทางต่อเนื่อง หรือที่เราเรียกว่า "แนวโน้ม" แต่แน่นอนว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เฉกเช่นสัจธรรมแห่งชีวิต "มีขึ้น ก็ต้องมีลง" โดยกระแสคลื่นของราคาที่สวนกลับทิศทางนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า Pullback และ Throwback

Pullback คืออะไร?
Pullback คือ ชุดคลื่นของราคาที่วิ่งสวนแนวโน้มหลักกลับมา สะท้อนถึงสถานการณ์ที่นักลงทุนถอนสถานะตัวเองออกบางส่วนเพื่อทำกำไร โดยทั่วไป เทรดเดอร์จะเรียกทุก ๆ การกลับตัวที่สร้างแนวโน้มรองว่า "Pullback" แต่ในทางตำราจริง ๆ การ Pullback เกิดขึ้นในตลาดขาลง หรือเป็นแนวโน้มรองที่ "ดีด" กลับขึ้นมาในตลาดขาลง

ในเชิงกลยุทธ์ เราจะรู้ว่ามันเป็น Pullback ก็ต่อเมื่อ มันไม่สามารถทะลุแนวต้านเดิมขึ้นไปได้ และในจังหวะนี้เอง จะเปิดโอกาสให้ Seller กลับเข้ามาทำเกมในแนวโน้มหลักอีกครั้ง ลองดูภาพตัวอย่างด้านล่างจะเข้าใจมากขึ้น

You cannot view this attachment.

เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบสวิง หรือ Swing Trading จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมของราคาที่เกิด Pullback เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่า โอกาสในการเทรด

ซึ่งในกรณีของ Forex Pullback Strategy จะเป็นโอกาสในการเข้า Sell อีกครั้ง กำลังมาถึง สามารถศึกษาเรื่องสวิงเทรดเพิ่มเติมได้ที่บทความ - "Swing Trade คืออะไร : รวมแนวคิดและตัวอย่างระบบสวิงเทรดที่ใช้จริง" อย่างไรก็ตาม เราแนะนำว่า หากคุณยังไม่มีประสบการณ์การเทรดที่มากพอ ควรฝึกฝนในบัญชีทดลองให้คล่องก่อน

ความแตกต่างระหว่าง Pullback และ Throwback
Throwback ความจริงแล้ว ก็เหมือนกับ Pullback ทุกประการ เพียงแต่เป็นคนละทิศทาง และความจริง มันก็เป็นเพียงชื่อเรียกตามตำราเพื่อแยกระหว่างแนวโน้มย่อย ๆ ของตลาดขาขึ้นและขาลง ที่เคลื่อนไหวสวนทิศทางหลักขึ้นมา โดยกรณีของ Throwback เป็นการตีกลับลงมาในตลาดขึ้น

ความเข้าใจเรื่อง Pullback และ Throwback จะทำให้เราสามารถหาจังหวะการเข้าเทรดในจังหวะที่ 2 เมื่อพลาดโอกาสในการเข้า ณ จุดต่ำสุดหรือสูงสุดของราคา ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เรื่อง แนวรับ-แนวต้าน เข้ามาช่วย

ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง เราสามารถดูปริมาณการซื้อขายหรือ Volume เข้ามาประกอบได้ด้วย โดยในช่วงที่เกิด Pullback หรือ Throwback ตัวของ Volume ควรจะลดลง จนกว่าจะเจอแนวรับ-แนวต้านอีกครั้ง ตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าในตลาดหุ้น แต่ในกรณีของตลาดค่าเงิน Forex ต้องพิจารณาว่า ความผันผวนน้อยลงหรือไม่

พื้นฐานเกี่ยวกับ Forex Pullback Strategy
ต่อให้เราจะพยายามแยกองค์ประกอบของการพักตัวและเคลื่อนสวนทิศทางของราคากลับมา

ตัวอย่าง Pullback

ให้สังเกตก่อนว่า จากจุดเริ่มต้นของขาลงหรือฝั่ง Bearish เราควรพิจารณาจุดที่เคยเป็น "แนวรับ" มาก่อน ซึ่งก็คือเส้นสีเขียวด้านบน ที่เคย 'รับอยู่' ได้ถึง 3 ครั้ง ก่อนที่ครั้งที่ 4 จะ Breakout ลงมา หลังจากนั้น ราคาเกิด Pullback กลับขึ้นมาบริเวณจุดที่เคยเป็นรับเก่า ซึ่งปัจจุบัน มันได้เปลี่ยนตัวเองจาก "แนวรับ กลายเป็นแนวต้าน"

You cannot view this attachment.


ตัวอย่าง Throwback

แน่นอนว่า คงไม่ต้องอธิบายกันมากแล้ว กรณีของ Throwback จะตรงกันข้าม แต่หลักการยังเหมือนเดิมทุกอย่าง โดย Throwback เกิดขึ้นในตลาดขาขึ้น

แต่หลักการเดิม คือเราควรพิจารณาจุดที่เคยเป็น "แนวต้านเก่าๆ" ซึ่งในภาพมีแนวต้าน (สีแดง) ที่เคยต้านอยู่ไว้ 1 ครั้ง ก่อนจะโดน Breakout ขึ้นไป และสุดท้าย และราคาก็วงกลับมา หรือเป็นสิ่งที่เรียกว่า Throwback นั่นเอง และมันก็ได้ Throwback กลับมาที่แนวรับ ซึ่งเคยเป็นแนวต้านเก่า

You cannot view this attachment.

แนวคิดหลัก ๆ คือ การรอให้ราคากลับตัวในช่วงแนวโน้ม ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง และเราสามารถยืนยันความถูกต้องของการกลับตัวดังกล่าวด้วย Volume การซื้อขายและความผันผวนที่ลดลงในขณะที่ราคาเคลื่อนสวนแนวโน้มกลับมา

- โดยสรุปแล้ว Pullback ในการซื้อขายคือการย้อนกลับไปยังแนวต้านหน้านี้ (จากเคยเป็นแนวรับ เปลี่ยนเป็นแนวต้าน) = เกิดในขาลง
- Throwback คือการย้อนกลับมาที่แนวรับ = เกิดในขาขึ้น
- แนวรับ-แนวต้านที่ใช้ประกอบ อาจใช้เทคนิคอื่น ๆ แทนการดูแนวราคาได้ เช่น Fibonacci, Moving Average หรือ Pivot Point เป็นต้น
- ซึ่งทำลายแนวโน้มขาลงชั่วคราว และเราสามารถตรวจจับได้อย่างชัดเจนด้วยเส้นแนวรับและแนวต้านที่เราวาดบนแผนภูมิ และสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เส้นแนวนอนหรือเส้นแนวโน้ม หรือผ่านตัวเลข (สามเหลี่ยม ธง ช่อง ฯลฯ)
#18
คำสั่ง Buy Stop คือการตั้งค่าให้ทยอยซื้อสินทรัพย์เข้ามาเรื่อย ๆ โดยอัตโนัมติจนกว่าราคาจะพุ่งไปถึงจุดที่กำหนดแล้วหยุดซื้อ การจะเลือกใช้คำสั่ง Buy Stop ต้องดูที่เป้าหมายการเทรดและเงื่อนไขของตลาดประกอบด้วย

การเทรดในสินทรัพย์การลงทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น FOREX หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์สามารถเป็นกิจกรรมที่ทำกำไรได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการให้ดี วิธีหนึ่งในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นคือการทำความเข้าใจปัจจัยที่กระทบต่อราคาของสินค้าเหล่านั้น และใช้ออเดอร์ที่เหมาะสมในการซื้อหรือขาย ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การซื้อขายที่น่าสนใจที่วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันก็คือ การตั้งค่าการซื้อแบบ Buy Stop

ออเดอร์หรือคำสั่งซื้อ Buy Stop คือคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ ในการเทรด ในบทความนี้ เราจะพูดถึงว่าคำสั่ง Buy Stop ทำงานอย่างไร และเหตุใดคำสั่งเหล่านี้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อนักเทรด นอกจากนี้ เราจะอธิบายวิธีการวางคำสั่ง Buy Stop และให้คำแนะนำบางประการเพื่อช่วยให้คุณเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น มาเรียนรู้เกี่ยวกับคำสั่ง Buy Stop ไปพร้อม ๆ กัน!

คำสั่ง Buy Stop คืออะไร

คำสั่ง Buy Stop คือคำสั่งซื้อสินทรัพย์ในราคาที่จะสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยมีการเพิ่มขีดจำกัดว่าราคาสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าใด คำสั่ง Buy Stop นี้ใช้เพื่อจำกัดการขาดทุนในกรณีที่ราคาตลาดเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น หากเทรดเดอร์ต้องการซื้อคู่ EUR/USD ที่ 1.2000 แล้วละก็ ด้วยคำสั่ง Buy Stop พวกเขาจะตั้งราคาหยุดที่ 1.2050 และราคาจำกัดที่ 1.2100 ซึ่งหมายความว่าเมื่อ EUR/USD ไปถึงราคา 1.2050 หรือสูงกว่า คำสั่งซื้อจะดำเนินการที่ไม่เกิน 1.2100

วิธีวางคำสั่ง Buy Stop

เมื่อคุณวางคำสั่ง Buy Stop คุณกำลังบอกโบรกเกอร์ให้ซื้อคู่สกุลเงินที่ราคาตลาดปัจจุบันหากถึงราคาหยุด และจากนั้นให้ซื้อต่อไปที่ราคาจำกัดหรือดีกว่า คำสั่งประเภทนี้จะใช้เมื่อคุณคาดว่าคู่สกุลเงินจะทะลุขึ้นไปด้านบนจากช่วงของการรวมฐานหรือช่วงการเทรด

ต่อไปนี้คือวิธีการวางคำสั่ง Buy Stop:

1.กำหนดราคาที่จะหยุดซื้อที่ระดับที่คุณต้องการเข้าสู่ตลาด โดยปกติจะทำได้โดยการดูรูปแบบกราฟการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือระดับฟีโบนัชชี

2.กำหนดลิมิตของราคาในระดับที่คุณต้องการทำกำไร อาจเป็นได้ทั้งเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าจุดเข้า หรือราคาเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้

3.ป้อนคำสั่งซื้อ อย่าลืมระบุว่าเป็นคำสั่ง Buy Stop เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

4.ตรวจสอบการเทรดเมื่อมีการป้อน หากราคาเคลื่อนที่ไปถึงราคาที่กำหนด Buy Stop คำสั่งจะถูกดำเนินการและคุณจะเข้าสู่การเทรด จากจุดนั้น จับตาดูสิ่งต่างๆ และออกเมื่อบรรลุเป้าหมายกำไรหรือหากสิ่งต่างๆ เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านคุณมากเกินไป และอาจต้องตัดขาดทุน (Cut Loss)

เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะวางคำสั่ง Buy Stop และใช้ประโยชน์จากการทะลุที่อาจเกิดขึ้นในตลาดได้ เพียงให้แน่ใจว่าได้ใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงที่ดีและเข้าสู่การเทรดเฉพาะเมื่อโปรไฟล์ความเสี่ยง/ผลตอบแทนเอื้ออำนวยต่อคุณ

เมื่อใดควรใช้คำสั่ง Buy Stop
คำสั่ง Buy Stop คือคำสั่งซื้อคู่สกุลเงินที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยมีขีดจำกัดเพื่อให้แน่ใจว่าราคาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก คำสั่งประเภทนี้มักใช้โดยเทรดเดอร์ที่เชื่อว่าตลาดกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง

ในการส่งคำสั่ง Buy Stop จะต้องระบุราคา Stop และลิมิตราคา ราคาที่จะ Stop คือราคาที่จะทริกเกอร์คำสั่ง เช่น หกากำหนด Buy Stop ไว้ที่ 150USD เมื่อกราฟราคาเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งราคานั้นแล้ว ทริกเกอร์จะทำการซื้อตามที่คุณตั้งค่าไว้ ส่วนลิมิตราคาราคาสูงสุดที่คุณยินดีจ่ายเพื่อซื้อเข้ามา คำสั่งซื้อจะถูกเติมเต็มก็ต่อเมื่อราคาตลาดถึงราคาหยุด และจะถูกเติมเต็มที่หรือต่ำกว่าราคาจำกัดเท่านั้น

สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับคำสั่ง Buy Stop คือ คำสั่งเหล่านี้อาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้ออาจไม่ได้รับการเติมเต็มที่ราคาหยุดหรือราคาจำกัดที่คุณระบุ แต่จะยังคงได้รับการเติมเต็มภายในพารามิเตอร์เหล่านั้น Slippage มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีความผันผวนสูง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ในกลยุทธ์การเทรด

โดยรวมแล้ว คำสั่ง Buy Stop มีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าสู่ตำแหน่งในเวลาที่เหมาะสม และต้องการป้องกันการเคลื่อนไหวกลับหัวในตลาด การตั้งราคาจำกัดไว้ล่วงหน้า คุณจะมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่ต้องจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับคู่สกุลเงิน

ออเดอร์แบบมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ใช้บ่อยในการเทรด
คำสั่งประเภทอื่นๆ ในการเทรด ได้แก่ คำสั่ง Sell Stop คำสั่ง Buy Limit และคำสั่ง Sell Limit

คำสั่ง Sell Stop

คือคำสั่งขายที่ราคาเฉพาะหรือต่ำกว่า คำสั่งประเภทนี้มักใช้เพื่อป้องกันการขาดทุนในกรณีที่ราคาตลาดตกลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด

คำสั่ง Buy Limit

คำสั่งซื้อที่ราคาเฉพาะหรือสูงกว่า คำสั่งประเภทนี้มักใช้เพื่อใช้ประโยชน์จากสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย หรือเพื่อป้องกันการสูญเสียในกรณีที่ราคาตลาดสูงขึ้นเกินระดับที่กำหนด

คำสั่ง Sell Limit
คำสั่งขายในราคาที่กำหนดหรือสูงกว่า โดยทั่วไปคำสั่งประเภทนี้จะใช้เพื่อทำกำไรเมื่อราคาตลาดถึงระดับหนึ่ง

นอกจากคำสั่งประเภทข้างต้นแล้ว ยังมีคำสั่งประเภทอื่น ๆ เช่น คำสั่งตลาด คำสั่งหยุดการขาดทุน และคำสั่งหยุดการต่อท้าย คำสั่งทั้งหมดนี้สามารถใช้ในการเทรด FOREX เพื่อให้ได้กลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกัน

บทส่งท้าย
คำสั่ง Buy Stop จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเพิ่มผลกำไรสูงสุดในตลาดการลงทุนด้วยการรวมคำสั่งหยุดและคำสั่งจำกัดสองประเภทเข้าด้วยกันเป็นคำสั่งเดียว คุณจะสามารถควบคุมการซื้อขายได้มากขึ้นโดยการตั้งค่าทั้งราคาเปิดใช้และระดับกำไรเป้าหมาย ด้วยความยืดหยุ่นประเภทนี้ คำสั่ง Buy Stop จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน
#19
กลยุทธ์การเทรดอีกอย่างที่ถือว่าเรียนรู้และง่ายต่อการนำไปเทรด เพราะเป็นแค่การอ่านและทำความเข้าใจเรื่องของ วอลลูมที่เพิ่มขึ้นในช่วงตอนเปิดตลาดลอนดอนเป็นหลักคือ London Breakout ด้วยการดูว่าเมื่อเปิดตลาดช่วงลอนดอนมา 1-3 ชั่วโมงแรกเกิดการ Breakout ของช่วงตลาดที่เปิดมาแต่เช้าก่อนหรือเปล่า ถ้าเกิดก็ให้เทรดทางนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลมาถึงช่วงตลาดอเมริกาเปิดด้วย

เข้าใจช่วงตลาดก่อน

You cannot view this attachment.

ตลาดประกอบด้วย 4 ช่วงหลัก คือ Sydney, Tokyo, London และ New York หรืออาจเรียกช่วงรวมกันระหว่าง Sydne และ Tokyo เป็นช่วง Asia ก็ได้ ก็จะเหลือแค่ 3 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงเอเชีย (Sydney + Tokyo) ช่วงยุโรป (London) และช่วงอเมริกา (New York) เมื่อดูชาร์ตที่ประกอบด้วยช่วงตลาด ท่านจะเห็นว่าแต่ละวันส่วนมากช่วงตลาดเอเชียราคาจะ sideway เป็นหลัก ยกเว้นมีข่าวเป็นบางวัน เพราะตลาดการเงินหลักของโลกอยู่ที่ยุโรปและอเมริกา ดังนั้นเมื่อช่วงตลาด London หรือช่วงตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา มักจะมี volatility เพิ่มขึ้นทันที ทำให้ volume เริ่มเพิ่มขึ้น ก็เลยเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์เห็นความเพิ่มขึ้นของ volatility ที่เริ่มเกิดขึ้น ถ้าเป็น Breakout ช่วงก่อนหรือช่วง Asia มักจะเปิดโอกาสให้เทรดตาม Breakout ทางที่เกิดขึ้นนั้นๆ เป็นการเทรดแบบง่าย ด้วยการดู 1-3 ชั่วโมงแรกของช่วงตลาดลอนดอนว่าได้มี Breakout เกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนมากก็จะเทรดคู่พวก GBP เช่น GBPUSD GBPJPY GBPAUD EURGBP เป็นต้น แต่คู่อื่นๆ เช่น EURUSD ก็เทรดได้เช่นกัน

Timeframe ไหนเหมาะสำหรับเทรด London Breakout

รอให้ช่วงตลาด Asia ปิดก่อน เมื่อตลาดลอนดอนเปิด ดูว่า 1-3 ชั่วโมงแรก แค่ดูเรื่องของ price action และเข้าใจเรื่องของ Breakout ว่าราคาเบรคกรอบช่วงแรกของวันหรือช่วงตลาด Asia ไปทางไหน อาจมองได้ว่าช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านก็ว่าได้ เมื่อราคาเบรคทางไหนก็หาโอกาสเทรดตาม เทรดไปทางนั้นๆ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของ timeframe ที่ใช้ในการกำหนด Breakout แนะนำให้ใช้ H1 เป็นหลัก เพราะถ้าเป็น H4 หรือ D1 ก็จะใหญ่เกินสำหรับการหารายละเอียด แต่ก็ควรจะใช้เพื่อกำหนดกรอบเทรนระยะยาวด้วย  แต่ถ้าเป็น M15 หรือ M30 ข้อมูลอาจน้อยไปสำหรับการกำหนดเทรน เลยแนะนำให้ใช้ชาร์ต H1 เป็นหลัก แต่ท่านอาจใช้ multi-timeframe analysis ประกอบเพื่อมองภาพรวมและจุดที่เข้าได้อย่างชัดเจน

เทรด London Breakout อย่างไร

You cannot view this attachment.

วิธีการหลักสำหรับเทรด London Breakout คือการเทรด Breakout นั่นเอง ใช้ช่วงเวลาตลาดเข้ามาเป็นตัวกำหนดว่าเกิด Breakout ทางไหนในช่วง 1-3 ชั่วโมงแรกหรือไม่ เมื่อตลาดลอนดอนเปิดมา ดังนั้นอาจบอกว่า กรอบราคาที่เกิดก่อนช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านไปในตัวก็ว่าได้ ดังนั้นการเปิดเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคกรอบแนวรับ-แนวต้านหลักๆ ที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจเพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา โดยการเทรดสามารถใช้ได้กับหลายคู่เงินไม่ใช่แค่ GBP เท่านั้น อาจเป็น EURUSD หรือ USDJPY ได้ด้วย โดยให้เปิดชาร์ต H1 ขึ้นมาเป็นหลัก เพราะโอกาสเทรดสำหรับเทรดเดอร์ คือ 1-3 ชั่วโมงแรก ก็จะดูได้ง่ายและเห็นเทรนชัดเจนพอ  เช่นตัวอย่างภาพด้านบนเป็นคู่เงิน EURUSD เมื่อเราเปิดด้วยชาร์ต H1 ก็จะเห็นชัดว่า 1-3 ชั่วโมงแรกที่ต้องการโฟกัส และอาจมีการวิเคราะห์ต่าง timeframe ประกอบเพื่อภาพรวม เมื่อราคาเบรคไปทางไหน อย่างในภาพเป็นการเบรคลงมา จากนั้นเมื่อมอง price action ท่านจะเห็นว่าจะทำเทรนไปทางนั้นทั้งวัน แม้ช่วงตลาดอเมริกาหรือ New York เปิดมา หลักการในการเปิดเทรดคือเมื่อเห็นราคาเบรคก็เปิดเทรดได้เลย หรือบางทีอาจมีการกลับมาเทสอย่างรวดเร็วก็เปิดโอกาสให้เทรดได้ เนื่องจากการเทรดอิง Breakout ที่คาดว่าจะเกิดแต่ละวัน ดังนั้นกลยุทธ์การเทรดจะเน้นปิด position ที่เปิดภาพวันนั้นๆ เป็นหลัก

การเปิดเทรดก็เหมือนหลักการเทรด Breakout ทั่วๆ ไปคือการใช้ stop orders เช่น ถ้าราคาเบรคขึ้นบนก็เป็น buy stop orders ถ้าราคาเบรคลงล่างก็ใช้ sell stop orders และยังจะได้พวก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดช่วงก่อนหรือช่วง Asia มาเป็นตัวเร่งด้วย หรืออาจใช้เรื่องของ trailing stop มาช่วยก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนด pips ขั้นต่ำ แต่ต้องระวังเพราะอาจโดนล่า stop ก่อนก็ได้ เพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นก่อนที่ราคาจะไปทาง Breakout จริงๆ ส่วนเรื่องของการปิดหรือทำกำไร หลักการเบื้องต้นคือปิดเมื่อช่วงตลาด London ปิด แต่ถ้าท่านเข้าใจหลักการ การส่งต่อออเดอร์ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด แนะนำให้ใช้ price level ที่เคยเกิดเป็นตัวกำหนดแทน

การส่งต่อออเดอร์ของแต่ละวัน

You cannot view this attachment.

การที่จะเทรดเรื่องของ London breakout ได้ดี ท่านต้องเข้าใจความต่อเนื่องของออเดอร์ที่ส่งต่อกันระหว่างวัน เพราะว่าในการเปิดเทรดนั้น ขาใหญ่ไม่ได้เปิดเทรดทางเดียวแล้วดันราคาไปต่อเลยจนจบ มีการปิดกำไรเพื่อสะสม หรือมีการปั่นราคาเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดอีกรอบ นี่เป็นเรื่องที่พวกเขาชำนาญ เราต้องดู price structure ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน โดยเฉพาะที่เกิดช่วง London และ New York เป็นช่วงตลาดการเงินหลักของโลก ดูว่าช่วง Asia โต้ตอบกับ price level ที่เกิด 2 ช่วงนั้นในวันก่อนอย่างไรต่อเนื่องกัน ก็จะมองออกง่ายว่าท่านจะเทรด London Breakout ทางไหนดี ด้วยการมองย้อนกลับมา เช่นการมอง ให้มองวันที่ 3 ก่อน ดูการ rejection ที่เกิดระหว่างช่วง London และ New York โดยเฉพาะที่ 2 ช่วงยังเปิดอยู่ สัมพันธ์กับวันที่ 2 อย่างไร วันที่ 2 สัมพันธ์กับวันที่ 1 อย่างไร จะเห็นว่าช่วง Asia ของวันที่กำหนดเทรด London Breakout เป็นแค่ช่วงพักหรือ sideway แต่ยังอยู่ในอิทธพลของวันที่ 3 อย่างชัดเจน และวันที่ 3 ที่ราคาลงมาเทส support ของวันที่ 2 ราคาก็ไม่สามารถเอาชนะ swap level หรือ resistance ที่เปิดเผยวันที่ 2 และมีการเทสอีกรอบวันที่ 3 ได้ เมื่ออ่านความต่อเนื่องพวกนี้เป็น แล้วมี London Breakout เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน ท่านจะกล้าปล่อยกำไรให้ยาวด้วยความมั่นใจได้ เพราะความเป็นไปได้สูงอยู่ข้างที่ท่านเปิดเทรด
#20
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่เป็นที่นิยมอย่างมากในวงการการเทรด ทั้งหุ้น Crypto หรือแม้แต่ Forex ก็ล้วนใช้ Moving Average ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ดูแนวรับ-แนวต้าน รวมไปถึงการหาจุดเข้า เนื่องจากว่า MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูง โดยในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับ Moving Average ว่าคืออะไร มีลักษณะการใช้งาน และข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

Moving Average คืออะไร?
Moving Average (MA) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ใช้ข้อมูลราคาย้อนหลังมาคำนวณ เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการบ่งบอกแนวโน้มของตลาดว่า จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลง ซึ่ง MA สามารถใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน และ MA จะใช้ไม่ได้ในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway เนื่องจากว่าเส้น MA ที่ใช้บ่งบอกแนวโน้มจะพันกันไปมา จนไม่สามารถบอกแนวโน้มได้ โดยในปัจจุบัน Moving Average ได้ถูกพัฒนา และแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA) และ Weighted Moving Average (WMA) เป็นต้น

 

รูปแบบที่สำคัญของ Moving Average
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Moving Average ได้มีการพัฒนาต่อยอดมาจนมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เทรดเดอร์นิยมใช้ และเห็นกันได้ทั่วไปจะมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

 

1. Simple Moving Average (SMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรเท่ากันทั้งหมด ส่งผลให้ความไวต่อการตอบสนองการเคลื่อนไหวของราคาค่อนข้างที่จะช้า และห่างจากราคา

 

2. Weighted Moving Average (WMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่ต่อยอดมาจาก SMA จากการนำวิธีการทางสถิติมาปรับใช้ เพื่อให้ WMA มีการตอบสนองต่อราคาที่ไวมากขึ้น โดยจะให้เน้นน้ำหนักไปที่ข้อมูลล่าสุด ทำให้เส้นมีการขยับเข้าใกล้ราคามากกว่า SMA

 

3. Exponential Moving Average (EMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรตัวสุดท้าย ส่งผลให้เส้นค่าเฉลี่ย EMA นี้ มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ค่อนมาก โดย EMA เป็นฉบับปรับปรุงต่อจาก SMA อีกอัน ที่พยายามแก้ไขจุดบกพร่องที่ให้ความสำคัญของข้อมูลที่เท่ากัน

 

หากสงสัยว่า MA ประเภทไหนดีที่สุด คำตอบคือ ไม่มีตัวไหนดีที่สุด แต่หากจะให้จัดลำดับความนิยมก็คงให้ EMA เป็นที่หนึ่ง เนื่องจากว่าเป็นเส้นที่มีความไวต่อการเคลื่อนของราคามากที่สุด และยังเป็นที่นิยมมากที่สุดใน 3 ประเภทอีกด้วย ส่วน SMA จะรองลงมา และ MA ที่คนใช้น้อยที่สุด คือ WMA แต่อย่างไรก็ดี บางประเภทก็อาจจะดีกว่ากันในบางสถานการณ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ

 

วิธีการอ่านแนวโน้มของ Moving Average
สัญญาณฝั่งขาขึ้น (Buy Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่ใต้ราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวรับ ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวรับลงมาได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

สัญญาณฝั่งขาลง (Sell Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่เหนือราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Down Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวต้าน ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

กลยุทธ์การเทรด Moving Average
การใช้งาน Moving Average มีอยู่หลายวิธีการ ซึ่งการเทรดด้วย MA นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายอินดิเคเตอร์ แต่วิธีที่จะนำมาบอกนั้น ถือเป็นวิธีที่ใช้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูง โดยจะมี 2 วิธี ดังนี้

 

1. MA Crossover

You cannot view this attachment.

เป็นการนำเส้น MA 2 เส้นมาใช้ในการวิเคราะห์รวมกัน ระหว่างเส้น MA ที่มี Length ขนาด 9 กับ 21 มารวมกัน โดยกลยุทธ์นี้มีธีการใช้ คือ หากเส้น MA มีการตัดกันจะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา ซึ่งหากเส้น MA 9 (เส้นสีเหลือง) ตัดกันกับเส้น MA 21 (เส้นสีฟ้า) โดยทั้ง 2 เส้นอยู่ใต้กราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่ถ้าหากทั้ง 2 เส้น ตัดกันแล้วไปอยู่เหนือกราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และถ้าหากทั้ง 2 เส้นตัดกันไปมาอยู่ตรงกลางของราคา แสดงว่า ราคาอยู่ในช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway นั่นเอง โดยทั้ง 2 เส้น สามารถที่จะเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ สังเกตจากการที่ราคาวิ่งไปแตะที่เส้นใดเส้นหนึ่งแล้วมีการดีดตัวกลับ

 

2. EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

กลยุทธ์นี้จะคล้ายกับ MA Crossover เนื่องจากว่ามีพื้นฐานเดียวกัน แต่เป็นนำเส้น EMA มาใช้ทั้งหมด 3 เส้น เพื่อวิเคราะห์แนวรับ แนวต้าน และจุดกลับตัว โดยจะประกอบไปด้วย EMA 20 / 50 / 100 โดยเส้น 20 กับ 50 จะใช้ในการดูการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา และแนวรับ-แนวต้านย่อย ส่วนเส้น EMA 100 ใช้ยืนยันการกลับตัวของแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านหลัก โดยจะมีวิธีการสังเกต ดังนี้

 

การสังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของ EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

ที่ผ่านมาราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง สังเกตได้จากที่เส้น EMA ทั้ง 3 เส้น เรียงกันอยู่ข้างบนราคา แต่เมื่อถึงช่วงราคาปัจจุบัน เส้น EMA 20 และ 50 ได้มีการตัดกัน ถือเป็นสัญญาณแรกของการเปลี่ยนแนวโน้ม แต่ยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้ 100% ว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เนื่องจากสัญญาณยังไม่เพียงพอ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้

You cannot view this attachment.

ในภาพนี้ คือ สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มที่สมบูรณ์ สังเกตจากการที่เส้น EMA ทั้ง 3 ได้เรียงตัวกันอยู่ใต้ราคา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า เป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยเทรดเดอร์จะสามารถหาจุดเข้าได้จากการย่อตัวของราคาลงมาบริเวณเส้น EMA 20 หรือ 50 แต่หากว่าราคาสามารถที่จะทะลุเส้น EMA 50 ไปได้ แนะนำให้รอการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคาที่แน่นอนก่อน

 
ข้อดี-ข้อเสียของ Moving Average
ข้อดีของ Moving Average
- เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ดี
- สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ และสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของ Moving Average
- ไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาดที่เป็น Sideway
 
สรุป
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูแนวโน้ม และแนวรับ-แนวต้านที่ง่ายที่สุด ซึ่งเหมาะสำหรับมือใหม่หัดเทรดเป็นอย่างมาก สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และมีประสิทธิภาพ แต่จะมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ มันไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาด Sideway หรือช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม โดย Moving Average มีอยู่ 3 ประเภท คือ EMA SMA และ WMA ซึ่ง EMA จะเป็นประเภทที่นิยมที่สุด เนื่องจากว่ามีความไวต่อการเคลื่อนที่ของราคามากที่สุด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ชอบ เนื่องจากว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนดีที่สุดหรือแม่นยำที่สุด แต่อยู่ที่เทคนิคของแต่ละบุคคล
#21
วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

การวิเคราะห์แบบ multi-timeframe ประกอบกันช่วยกรองหลายๆ อย่างก่อนที่ท่านจะเปิดเทรด และยังเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยเมื่อท่านเปิดเทรดอิง timeframe ใหญ่ขึ้นเป็นหลัก วิธีการที่นิยมกันสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่า คือ กำหนด timeframe สำหรับกรอบ key level และ Trend พร้อม Momentum และเปิด timeframe ย่อยลงมาเพื่อหา trade setup ที่ชัดเจน และเปิดหรือออกเทรดด้วย timeframe ที่ย่อยลงมาอีก เช่น D1/H4 -> H1/M30 -> M15/M5 เป็นต้นสำหรับ Day trading หลักสำคัญของการวิเคราะห์ตลาดแบบนี้คือท่านเห็นภาพรวมของการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร ท่านเปิดเทรด อยู่ที่ตรงไหนของภาพรวม

เช่น เมื่อไม่คุ้นเคยการเทรดแบบวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกัน อาจเจอหุตการณ์ที่เห็น เมื่อเห็น key level และ trade setup ตามด้วย price action ที่บอกสัญญาณการเปิดเทรด แต่พอราคาวิ่งมาทางที่เราวิเคราะห์ไม่กี่ pips แล้วสุดท้ายราคากลับวิ่งสวนทางและไปนานด้วย นั่นเพราะว่าลืมการวิเคราะห์ market structure สำหรับภาพรวมจาก timeframe ที่ใหญ่กว่าเราเปิดเทรด

Key levels มองต่าง timeframe ให้ความสำคัญอย่างไร

You cannot view this attachment.

อธิบายคำว่า Key levels ก่อน เป็นพื้นที่ราคาโต้ตอบ เช่นอาจเป็น rejection หลายๆ รอบหรือ Break ก็ได้ เลยอาจมองมาจาก Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots เป็นต้น ให้ความสำคัญพื้นที่ราคาเดียวกัน หรือที่เรียกว่า clustering พื้นที่เดียวกัน ไม่ใช่ที่ราคาเดียวกัน อาจบอกง่ายๆ ว่าเป็นกรอบราคาที่เห็นราคาเปิดเผยแนวรับ-แนวต้าน สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ market structure ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะพื้นที่กรอบราคาพวกนี้ และราคาเปิดเผยอย่างไร

ส่วนประกอบในการพิจารณาไม่ต่างกัน แต่จะให้ความสำคัญกับ Key level จาก timeframe ที่ใหญ่กว่า เช่นจะเปิดเทรดจากชาร์ต H1 เราก็จะให้ความสำคัญ Key level จากชาร์ต H4 และ D1 มากกว่า

You cannot view this attachment.

ภาพประกอบอีก จะเห็นว่าเมื่อเรามองเรื่องของราคาเด้งออกมี wick หรือเปล่า ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่นั้นๆ แล้วราคาเด้งเปลี่ยนทางอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเห็นความพยายามเกิดขึ้นแบบเดียวกัน หลายรอบพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาบอกเราว่า เกิด แนวรับ-แนวต้านที่ไหน การมองพื้นที่พวกนี้ว่ามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรตามมาหรือเปล่า ให้ท่านดู market structure ที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการโต้ตอบเป็นหลัก

ดู D1 ภาพรวม ส่วนด้านขวาเป็น H1 สำหรับกำหนด trade setup และดูรายละเอียดการพัฒนา market structure สัมพันธ์กับ D1 อย่างไร ดูกรอบที่บอกว่าดูแท่งเทียนนี้สำคัญเพราะถือว่าเป็น Key change ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น เวลามอง key level เราก็มองย้อนกลับมาทางขวา จะเห็นกรอบที่บอกว่า Resistance สัมพันธ์กับดูแท่งเทียนอย่างไร ราคาพยายามหลายรอบ แต่ไม่สามารถเบรคได้ หลักการคือเห็นราคาเด้งที่เดียวกัน ก็มองเป็นพื้นที่ แนวรับ-แนวต้าน แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีกที่ต้องไม่ลืมว่า เวลาวิเคราะห์ต้องมองปริบทต่อเนื่องกัน ว่าพื้นที่แนวต้านเกิดขึ้นเพราะอะไร และผลจากความพยายามพื้นที่แนวต้านเป็นอย่างไร [ของจากความพยายามในที่นี้คือ เห็นราคาเด้งลง หรือมี Sell trading pressure เข้ามาพื้นที่เดียวกัน หลายแท่งเทียน D1 ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถเปลี่ยน market structure ราคาได้เบรคขึ้นมา ดูตรงที่ลูกศรชึ้ จะเห็น]

สิ่งสำคัญของการมอง Key level ว่าจะเทรดทางไหน นอกจากท่านแยกแยะด้วยราคาเปิดเผยออกมา ด้วย rejection หรือ breakout และต้องดูว่า market structure ของความพยายามแต่ละครั้งเป็นอย่างไร หลักการมอง แต่ละ key levels ต่าง timeframe ไม่แตกต่างกัน แต่ต้องให้ความสำคัญ timeframe ใหญ่กว่าที่เราวิเคราะห์หรือหาพื้นที่ trade setup

ทำไม Levels จาก timeframe ใหญ่กว่าสำคัญ

You cannot view this attachment.

อย่างแรกเลย แบบง่ายๆ คือ level ที่มาจาก timeframe ใหญ่เห็นชัดเจน เลยมีผลเชิงจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วยการมองหา level ที่ราคาโต้ตอบ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดเมื่อ market structure เปลี่ยนไปก็จะออกด้วย เพราะการที่ราคาเคลื่อนไหวเพราะออเดอร์ที่เกินกัน หรือที่เรียกว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก Sellers หรือทาง supply และออเดอร์จากทาง Buyers หรือทาง Demand  และแท่งเทียนที่เราเห็นเกิดขึ้นคือบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นพื้นที่ที่ราคาไหนบ้าง สังเกตดูกรอบสีเขียวอ่อน และชมพูอ่อนที่บอกว่าเทรดเดอร์ที่ถือ long positions และ short positions ที่ต้องการให้ใส่ใจเพราะว่า  trading transactions ที่เกิดขึ้นเพราะการจับคู่กันระหว่างออเดอร์ Sell และ Buy  ณ ราคาเดียวกัน volume เทรดเท่ากัน ราคาขึ้นหรือลงดูจากแท่งเทียน เพราะออเดอร์อีกข้างไม่พอ  การถือออเดอร์ที่เปิดเทรด ยังไม่ปิด สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรด Buy เรียกว่าถือ Long position สำหรับเปิดเทรด Sell และถือรอเรียกว่า Short position ดังนั้นสำหรับ positions ที่ถืออยู่ ข้างไหน กำไร ราคาวิ่งไปทางนั้น ราคาวิ่งสวน ทางนั้นติดลบ การที่เทรดเดอร์ถือ positions ต่อเนื่องกันแบบนี้ ก็จะได้ยินเรียกว่าเป็นช่วงขาใหญ่สะสม positions หรือ Accumulation  ยิ่งเกิดจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมีการสะสม positions เยอะ

ความจริงอีกอย่างที่ต้องรู้ และเป็นตัวเพิ่มความสำคัญของ key level จาก timeframe ใหญ่ได้อย่างดี คือการออกจากตลาด ของเทรดเดอร์ที่ถือ long positions หรือ short positions ช่วง Accumulation เท่ากับการเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ เช่น ถ้า ถือ long positions เมื่อออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเอง หรือ take profit หรือ stop loss เท่ากับการเปิด sell market order ณ จุดที่ออก

ดังนั้น key level ที่มาจาก timeframe ใหญ่จึงสำคัญ เพราะเป็นที่เห็นง่าย เพราะ market structure เห็นแนวรับ-แนวต้านชัดเจน เลยเป็น level ที่ดึงเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาด และรอเข้าเทรดสนใจเลยทำให้เกิดออเดอร์เยอะ ทั้งจากการเข้าเทรดและการออกเทรด และเมื่อเห็นมีการสะสม positions ประกอบด้วย พอราคาเบรค มีฝ่ายกำไรมากและติดลบมากเกิดขึ้น เลย ทำให้ฝ่ายที่ติดลบเริ่มออกจากตลาด เลยทำให้เกิดออเดอร์ตรงข้ามต่อเนื่องด้วย เลยยิ่งทำให้ level จาก timeframe มีผลต่อเนื่อง

จากภาพประกอบด้านบน Long positions เดือดร้อนเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า แต่ต้องให้มั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และ stop loss ด้านล่างของพื้นที่ นั่นเป็นพื้นที่ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย ส่วนต่อมาที่บอกว่า เทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็หลักการเช่นเดียวกัน พอขาใหญ่เข้าเทรดได้ ค่อยดันราคาเบรคหลังจากสะสม positions พอ market structure เปลี่ยนเทรดเดอร์กลุ่มนี้เดือดร้อน ต้องค่อยๆ ออก เลยทำให้ buy market orders เกิน sell orders ได้ง่าย และยังมีเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอีกด้วย

#22
ในการเล่นสั้น forex เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับช้อน  ซึ่งอินดี้สามตัวดังกล่าวมีแถมมาในทุกแพลตฟอร์มของ MT4 ตามมาตรฐานอยู่แล้ว

You cannot view this attachment.

การใช้งานเหมาะสมกับทุกคู่สกุลเงินหลักเช่น EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, CAD/USD, NZD/USD, และ USD/JPY

กรอบเวลาที่เหมาะสม แนะนำที่ 15 นาที (M15)

การตั้งค่า

การเช็ทค่า 3 ตัวชี้วัดคือ

- Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2) 
- Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)
- MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Buy
1. เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านล่างข้ามขึ้นไปข้างบน
2. เส้น MACD อยู่ต่ำกว่า หรืออยู่ด้านล่าง histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Buy

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Sell

1.เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านบนข้ามลงไปด้านล่าง
2.เส้น MACD อยู่สูงกว่า หรืออยู่ด้านบน histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Sell

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขการออกจากออเดอร์ SL/TP

Stop Loss ที่ระยะ 12-16 จุด (ขึ้นอยู่กับชนิดของคู่เงิน)
Take Profit ที่ระดับใกล้ๆกับ pivot points ตามปกติจะอยู่ที่ระยะ 10-15 จุดจากระดับที่เปิด

Credit:http://analytics.roboforex.com/education/trading-strategies/
#23
ในฐานะเทรดเดอร์ ถือเป็นกฎทั่วไปที่เราควรมองหาเพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้สูงสุด (ต่อหน่วยความเสี่ยง) ในแต่ละธุรกรรม เราควรมองหาทางที่จะบีบออกจากตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

มีหลายครั้งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปล่อยให้การค้าดำเนินไป อย่างไรก็ตาม บางครั้งสภาวะตลาดก็สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้เทรดเดอร์ผู้รอบรู้สามารถ "กดดันการซื้อขาย" หรือ พีระมิด เข้าสู่การซื้อขายได้

อย่ากดดันโชคของคุณ กดการค้าแทน!
การพยายามเข้าหลายรายการในทิศทางของแนวโน้มเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เทรดเดอร์ผู้รอบรู้ใช้ในการพยายามเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด (หรือที่เรียกว่า Pyramiding) ปัญหาของกลยุทธ์นี้คือ แม้ว่ามันอาจจะเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้ แต่การมีตำแหน่งที่ใหญ่กว่าในตลาดก็ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน ในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องค้นหาจุดสมดุลที่สมบูรณ์แบบของการกดดันการซื้อขายโดยไม่กดดันโชคของคุณ

You cannot view this attachment.

มีหลายวิธีในการบรรลุเป้าหมายนี้:

- If the market is moving at a snail's pace, and not much movement has been made from the initial entry, any additional entry should be minor. If, however, a decent distance has been travelled, a trailing stop will secure more profit, and any additional entry can be larger. In essence, any additional position sizes are partly dependent on the distance between the initial entry position to stop loss.

- Ensure you have a strong driver that pushes prices along. Simply pressing trades at random is not good risk management.

- Reduce risk on entry by only adding additional positions when the stop loss on the first position can be trailed.
 
เลือกการต่อสู้ของคุณอย่างระมัดระวังเมื่อพีระมิด

คุณอาจพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเหลือส่วนแบ่งจำนวนมาก (> 2% ของทุนทั้งหมด) ในการซื้อขายครั้งเดียว กลยุทธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงโดยทั่วไปจะทำให้เป็นปิรามิด "สั้น" ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เติบโตเกิน 2.5% ของมูลค่าหุ้นโดยรวม กลยุทธ์แบบพีระมิดนี้ช่วยให้แน่ใจว่าคุณจะต้องเผชิญกับข้อดีเพิ่มเติมในขณะที่ลดข้อเสียให้เหลือน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่คุณสบายใจ

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรระวัง:

- Keep an eye out for drivers that influence market psychology: This is when momentum and volatility will be high, allowing you to pyramid into a move more easily. For the technical traders, you may prefer to avoid day-to-day shifts by taking in a broader market view.

- Diversify: as with any investment, don't place all your eggs in one basket. Diversification is key to keeping overall risk low.

- Have strict risk limits in place: With 2.5% in one pyramid, another 2.5% in another – next thing you know, your overall portfolio heat is close to 10%. That's a high amount of risk to carry around with you. Consider minimising position sizes of certain trades to reduce overall risk.

- Consistency is key with position sizes: If your initial entry is $100k and your second is $300k, you're off to a lousy start in building your pyramid.

ความคิดสุดท้ายเกี่ยวกับปิระมิด
อย่าลืมเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ และช้าๆ เสมอ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเข้าไป ทดลองพีระมิดจนกว่าคุณจะพอใจกับแนวทางของตัวเอง โปรดจำไว้เสมอว่าองค์ประกอบสำคัญสองประการที่ต้องพิจารณา:

1.Resist the temptation to take profit early when the opportunity arises. Sometimes it's best to sit on an existing trade.

2.Be wary of adding to your trade at "worse" levels. Trends will always end at a certain point, so you don't want to be pyramiding into an extended, ongoing trend. Look for new trends to pyramid in, which will reduce your overall risk.
#24
 การซื้อขายซ้ำอีกครั้ง เป็นแนวคิดการซื้อขายที่มีความเป็นไปได้สูง เป็นแนวคิดที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำงานได้ดีในทุกสภาพตลาด เทรดเดอร์หลายๆ คนมองข้ามเรื่องพื้นฐานที่สร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยมนี้ไป

  ประสบการณ์ของกราฟตัวอย่างด้านล่าง เทรดเดอร์คุ้นเคยหรือไม่?

1.   หลังจากศึกษากราฟถึงความผิดพลาดของตลาดอย่างรอบคอบแล้ว เทรดเดอร์เข้าเปิดคำสั่งซื้อที่ รูปแบบกราฟแท่งเทียนตะปู  (PIN BAR - รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนแบบกลับตัว)

2.   ตอนที่เทรดเดอร์เปิดคำสั่งซื้อ ให้เทรดเดอร์วางจุดป้องกันการขาดทุน ไว้ที่ใต้แท่งเทียน PIN BAR

3.   หลังจากนั้นไม่นาน กราฟราคาแท่งเทียนในตลาดลดลงและได้รับคำสั่งหยุดขาดทุนของเทรดเดอร์ (STOPPED OUT)

4.   เกือบจะในทันทีหลังจากที่เทรดเดอร์ถูกหยุดคำสั่งซื้อ ด้วยจุดหยุดการขาดทุนแล้วกราฟราคาแท่งเทียนในตลาดก็ทำรูปแบบกราฟแท่งเทียนตะปู อีกครั้ง

5.   ให้เทรดเดอร์ เปิดคำสั่งซื้ออีกครั้ง (RE-ENTRY TRADING) ที่กราฟรูปแบบตะปูที่เกิดขึ้นอีกรอบ


You cannot view this attachment.

   หากเทรดเดอร์เป็นคนว่องไวและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ตัวเทรดเดอร์เองอาจกลับเข้ามาในตลาดเพื่อทำการซื้อขายใหม่ ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เทรดเดอร์อาจถูกทิ้งไว้ที่เดิมในขณะที่ตลาดยังคงเดินหน้าต่อไปข้างหน้า

   ในกรณีอื่นๆ เทรดเดอร์อาจจะผิดหวังและได้รับความเดือดร้อนจากการสูญเสีย คำสั่งซื้อขายในรอบแรก (รอบกราฟราคาแท่งเทียน PIN BAR)

   ดังนั้นในกลยุทธ์การซื้อขายซ้ำ จึงเป็นคำสั่งซื้อรอบใหม่ ให้เทรดเดอร์มุ่งมั่นที่จะข้ามผ่านความผิดพลาดในครั้งแรกและเข้าสู่ตลาดเพื่อซื้อขายซ้ำอีกครั้งให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาส "RE-ENTRY" เท่านั้น โอกาสในการกลับเข้ามาใหม่มักจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ

กฎของการเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

You cannot view this attachment.

   ในที่นี้ ให้เทรดเดอร์ใช้รูปแบบกราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ซึ่งเป็นรูปแบบกราฟราคาที่เป็นที่นิยมในการเข้าทำการซื้อขาย ให้ใช้ไว้เป็นพื้นฐานก่อน แล้วให้เทรดเดอร์หาข้อมูลรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนแบบอื่นๆ เพิ่มเติม เทรดเดอร์จะสามารถทำการซื้อขายด้วยรูปแบบแท่งเทียนแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

กฎการเข้าเปิดคำสั่งซื้อ ซ้ำ

1.   ให้เทรดเดอร์มองหา กราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ขาขึ้น

2.   ที่แท่งเทียนแท่งถัดไปจะต้องเคลื่อนไหวหรือเปิดราคาที่สูงกว่า กราฟแท่งเทียนตะปูแรก (PIN BAR)

3.   ราคาในตลาดจะต้องไต่ลง ระดับต่ำกว่าแท่งเทียนตะปู (PIN BAR)

4.   มองหาตำแหน่งที่จะเข้าทำการซื้อเมื่อราคาทะลุด้านบนของแท่งเทียนขาขึ้นนั้น

กฎการเข้าเปิดคำสั่งขาย ซ้ำ

1.   ให้เทรดเดอร์มองหา กราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ขาลง

2.   ที่แท่งเทียนแท่งถัดไปจะต้องเคลื่อนไหวหรือเปิดราคาที่ต่ำกว่า กราฟแท่งเทียนตะปูแรก (PIN BAR)

3.   ราคาในตลาดจะต้องไต่ขึ้น ระดับสูงกว่าแท่งเทียนตะปู (PIN BAR)

4.   มองหาตำแหน่งที่จะเข้าทำการซื้อเมื่อราคาทะลุด้านล่างของแท่งเทียนขาลงนั้น

   ตัวอย่าง - ของการเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

ในตัวอย่างนี้ จะใช้เส้นค่าเฉลี่ย 20 EMA กับกราฟราคาแท่งเทียนรูปตะปู (PIN BAR)

You cannot view this attachment.

                                                                               วิธี เอาเครื่องมือ เส้นค่าเฉลี่ยออกมาใช้

You cannot view this attachment.

                                                                                               SAMPLE - FOREX PRICE ACTION RE-ENTRY               

1.   กราฟราคาแท่งเทียนตะปู (PIN BAR) เด้งขึ้นมาจากเส้น EMA แต่ในกลยุทธ์การซื้อขายนี้ จะไม่ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้

2.   ในขณะที่กราฟราคาแท่งเทียนพุ่งขึ้นเหนือ (PIN BAR) เทรดเดอร์บางราย เปิดคำสั่งซื้อที่ตำแหน่งดังกล่าว

3.   แท่งเทียนต่อมาอีกสองแท่ง ราคาลดต่ำลงและหยุดการขาดทุนที่วางอยู่รอบๆ Pin Bar ต่ำ (ระดับหยุดแบบทั่วไป)

4.   กราฟราคาแท่งเทียนวิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นั่นทำให้เหล่าเทรดเดอร์ที่นิยมการซื้อซ้ำได้มองเห็นโอกาสในการกลับเข้ามามีคำสั่งซื้อใหม่อีกครั้ง After our entry, the market rose with a strong thrust.

ทบทวน - การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

   กลยุทธ์การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน เป็นวิธีง่ายๆ ให้มองหาความเป็นไปได้ของรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน โดยทั่วไปหากมีการผิดพลาดทำให้การเข้าซื้อขายในครั้งแรกผิดพลาด มักจะเกิดรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนที่ดีเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งในไม่ช้า

   กลยุทธ์การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ใช้งานได้หลากหลายตามที่เทรดเดอร์จะมีความสามารถใช้ โดยมีรูปแบบกราฟราคาเป็นพื้นฐาน ดังนั้นจึงง่ายต่อการค้นหาการตำแหน่งในการเข้าซื้อขายอีกครั้งโดยใช้รูปแบบการทำงานของกราฟราคาที่ตัวเทรดเดอร์คุ้นเคย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือความอดทนเพื่อก้าวข้ามการผิดพลาดในครั้งแรก และรอจังหวะการเข้าซื้อขายอีกครั้งให้ได้

   เฉกเช่นเดียวกับวิธีการเข้าซื้อขายอื่นๆ อีกมากมาย กลยุทธ์นี้ไม่ใช่กลไกที่ซับซ้อนมากมายนัก แต่เป็นแนวทางในการเข้าซื้อขายที่คำนึงถึงความรอบคอบและอดทน ให้เทรดเดอร์ฝึกฝนให้มากพอ เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าทำกำไรของตัวเทรดเดอร์เอง
#25
You cannot view this attachment.

Average Directional Index (ADX)
ADX เป็น Indicator ที่ถูกพัฒนาโดย Welles Wilder (ผู้คิดค้น ATR , RSI , Parabolic SAR) ซึ่งจะประกอบด้วย 3 เส้น คือ

1.Plus Directional Indicator (+DI) ... บ่งชี้ถึงทิศทางฝั่ง + ของราคา
2.Minus Directional Indicator (-DI) ... บ่งชี้ถึงทิศทางฝั่ง – ของราคา
3.Average Directional Index (ADX) ... เฉลี่ยส่วนต่างของ +DI และ -DI

ซึ่ง +DI และ -DI จะเป็นตัวที่ไว้บอกถึง "แนวโน้ม" ราคา ว่าในช่วงนั้นมีทิศทางเป็นอย่างไร (เป็น + หรือ -) ส่วน ADX จะเป็นตัวที่คอยตอกย้ำถึงแนวโน้มช่วงนั้นว่า "แข็งแกร่ง" จริงหรือไม่ (ADX ไม่ได้บอกทิศทาง บอกแค่ว่า แข็งแกร่ง หรือ ไม่แข็งแกร่ง)

เจ้า +DI และ -DI สองตัวนี้ เมื่อรวมกันปกติจะเรียกกันว่า
"Directional Movement Indicator (DMI)"

ดังนั้นถ้าเรานำ 3 ตัวเหล่านี้มารวมกัน ก็จะสามารถอธิบายถึง ทิศทางของแนวโน้ม และ ความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้

สูตรการคำนวณ
... อาจจะค่อนข้างซับซ้อน แต่ถ้าเจาะลึกทีละตัวจะเข้าใจได้ง่าย

วิธีการคำนวณจะเริ่มจาก

1.คำนวณ True Range , +DM และ -DM ... วิธีการคำนวณอยู่ด้านล่าง
2.คำนวณผลรวมของ True Range , +DM และ -DM ... ค่ามาตรฐานในการรวมอยู่ที่ 14 วัน
จะได้ TR14 , +DM14 และ -DM14
3.หาค่า +DI และ -DI
.... โดย +DI = +DM14 / TR14
.... และ -DI = -DM14 / TR14
4.ส่วนค่า ADX เป็นค่าเฉลี่ย 14 วันของ DX
โดยที่ DX มาจาก
DI 14 Diff / DI 14 SUm
หรือ
(ส่วนต่างของ +DI และ -DI) หารด้วย (ผลรวมของ +DI และ -DI)

การคำนวณ DMI (+DM และ -DM)
+DM (Plus Directional Movement) จะคำนวณเมื่อ ราคา High ปัจจุบัน (Current High) ลบ High ของวันก่อนหน้า (Prior High) มีค่ามากกว่า ราคา Low วันก่อนหน้า (Prior Low) ลบ Low ปัจจุบัน (Current Low) ... โดยเมื่อ High ปัจจุบัน ลบ High ก่อนหน้า มีค่าเป็น บวก จะถูกมาคำนวณ แต่ถ้าหากเป็น ลบ จะให้ค่าเป็น 0

-DM (Minus Directional Movement) จะคำนวณเมื่อ Low ก่อนหน้า (Prior Low) ลบ Low ปัจจุบัน มีค่ามากกว่า High ปัจจุบัน (Current High) ลบ High วันก่อนหน้า (Prior High) ... โดยเมื่อ Low ก่อนหน้า ลบ Low ปัจจุบัน มีค่าเป็น บวก จะถูกมาคำนวณ แต่ถ้าหากเป็น ลบ จะให้ค่าเป็น 0

... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ได้เป็นบวกทั้งคู่ จะเลือกคำนวณเฉพาะค่ามากกว่า และให้ค่าเป็นฝั่งนึงเป็น 0
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ให้ค่าเป็นลบทั้งคู่ จะตีค่าเป็น 0 ทั้งคู่

การคำนวณอาจจะค่อนข้างซับซ้อน แต่ลองมาดูตัวอย่างจริง จะเห็นภาพมากขึ้น

ตัวอย่างการคำนวณจริงของ +DM และ -DM

You cannot view this attachment.

เป็นตัวอย่างการคำนวณ +DM และ -DM ใน 4 รูปแบบ

1.ซ้ายมือสุด ... กระโดดเปิด Gap
2.ถัดมา ... แท่งเทียนลักษณะ Outside bar
3.ถัดมาลำดับที่ 3 ... เกิดลบรุนแรง
4.ขวามือสุด ... แท่งเทียนลักษณะ Inside bar
ย้ำ
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ได้เป็นบวกทั้งคู่ จะเลือกคำนวณเฉพาะค่ามากกว่า และให้ค่าเป็นฝั่งนึงเป็น 0
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ให้ค่าเป็นลบทั้งคู่ จะตีค่าเป็น 0 ทั้งคู่

ตารางการคำนวณ

You cannot view this attachment.

Excel การคำนวณ

ลองพยายามเข้าไปดูสูตรในแต่ละช่องในตาราง Excel ก็จะเข้าใจถึงที่มาของการคำนวณทั้งหมด

การตีความหมาย
อย่างที่กลางไว้ตอนต้น +DI และ -DI ไว้ดูทิศทางของราคา ส่วน ADX จะเป็นตัวยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้น

ต้องบอกก่อนว่า คุณ Wilder ในตอนแรกที่คิดเครื่องมือนี้ เขาได้คิดไว้เพื่อการเทรดพวกสินค้า Commodity และ Currency แต่ในปัจจุบันเทรดเดอร์ส่วนมากนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดหุ้น เนื่องจากเห็นว่าหุ้นบางตัวก็มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบสินค้าพวก Commodity และ Currency

การดูความแข็งแกร่งของแนวโน้ม : ADX
ADX จะคอยบอกเราว่าทิศทางในช่วงนั้นเป็นแนวโน้ม (strong trend) หรือ ไม่เป็นแนวโน้ม (no trend)

การที่ราคาเคลื่อนไหวเป็นอย่างมีแนวโน้มจะทำให้เวลาเราเทรดสามารถรันเทรนและเก็บกำไรได้ดีกว่าช่วงที่ราคาไม่เป็นแนวโน้ม

Wilder แนะนำว่าในช่วง Strong trend คือช่วงที่ค่า ADX > 25
ส่วนช่วงที่ no trend คือช่วงที่ ADX < 20

เนื่องจากคำแนะนำนี้มีช่วง Wilder ไม่ได้ให้ความหมาย (20-25) หรือที่เรียกกันว่า Grey Zone ดังนั้น นักเทคนิคส่วนมากจึงปรับมาใช้ระดับที่ 20 เป็น Key level แทน

You cannot view this attachment.

ดูทิศทางของราคา : +DI / -DI (DMI)
Buy Signal จะเกิดเมื่อ +DI ตัด -DI ขึ้น
ส่วน Sell Signal จะเกิดขึ้นเมื่อ -DI ตัด +DI ลง
... และขณะเดียวกัน ADX ต้องอยู่เหนือระดับ 25 (ตามคำแนะนำของ Wilder)
... Stop loss ที่ระดับ Low ของ Signal Day (กรณี Buy ส่วน Sell ก็ใช้ระดับ High แทน)

You cannot view this attachment.
You cannot view this attachment.

เครื่องมือ ADX และ DMI เป็น Indicator ที่ครบเครื่องเลยทีเดียว สามารถวัดได้ทั้งทิศทาง และ ความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ภายในเครื่องมือเดียว ซึ่งมีน้อย Indicator นักที่สามารถทำได้ จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในหมู่นักเทคนิค
#26
จับจังหวะทำกำไรแบบเซียนด้วยการอ่านค่าแนวโน้มของ Spinning Top จากกราฟแท่งเทียน รูปแบบของแท่งเทียน จะบอกแนวโน้มของตลาดจากแรงกระเพื่อขอหมีและกระทิงในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ

แท่งเทียนแบบ Spinning Top คืออะไร
แท่งเทียนแบบ Spinning Top (Spinning Top Candlestick) เป็นรูปแบบหนึ่งของกราฟแท่งเทียนซึ่งเป็นกราฟเทคนิค ลักษณะคือตัวแท่งจะสั้นมีหางทั้งบนและล่าง หางจะสั้นหรือยาวก็ได้ขนาดความยาวหางทั้งบนและล่างควรจะไล่ ๆ กัน



แท่งเทียนแบบนี้จะบอกใบ้ทิศทางของราคาหลักทรัพย์ในอนาคต เป็นสัญญาณการเปิดสัญญาหรือซื้อขายสำหรับนักลงทุน



แท่งเทียนแบบ Spinning Top เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายสร้างสมดุลในอำนาจ ราคาปิดและเปิดเท่ากันในแต่ละช่วงเวลาอาจจะหนึ่งนาที ห้านาที สิบห้านาที หนึ่งชั่วโมงหรือช่วงเวลาใดก็แล้วแต่ที่นักลงทุนตั้งค่า Timeframe ไว้เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของคนในตลาดที่สะท้อนออกมาผ่านราคา  แท่งเทียนรูปแบบนี้จะปรากฏเป็นแท่งสีเขียวราคาเปิดอยู่ต่ำกว่าราคาปิด สะท้อนตลาดกำลังจะมีแนวโน้มขาขึ้น และสีแดงราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด สะท้อนตลาดกำลังจะมีแนวโน้มขาลง

แท่งเทียนแบบ Spinning Top เกิดได้ยังไงบ้าง
พฤติกรรมของนักเทรดกำหนดรูปแบบของกราฟแท่งเทียน นักเทรดแบ่งออกเป็นกลุ่มกระทิงที่จะผลักแท่งเทียนให้เลื่อนสูงขึ้น และกลุ่มหมีที่ดึงให้แท่งเทียนลดระดับต่ำลง นักลงทุนคนหนึ่งจะเป็นกระทิงหรือหมีขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในตลาดราคาจะมีแนวโน้มขาลงหรือขาขึ้นชัดเจนขึ้นอยู่กับอำนาจการซื้อขายของกลุ่มกระทิงหรือกลุ่มหมีที่มีมากกว่ากัน

ในช่วงตลาดขาขึ้นนักเทรดกระทิงมักส่งราคาสูงกว่าราคาเปิดในช่วงเวลาก่อนหน้าซึ่งเป็นไปได้ว่านักเทรดหมีอาจจะดึงราคาลงมาในเวลาเดียวกันพอดี และในช่วงตลาดขาลงนักเทรดหมีมักส่งราคาต่ำกว่าราคาเปิด ซึ่งนักเทรดกระทิงก็อาจจะพยายามดึงราคาขึ้นไปอย่างได้จังหวะพอดีเช่นกัน ราคาที่มาจากนักเทรดกระทิงและนักเทรดหมีต่างกันบ้างแต่น้อยมากจึงทำให้แท่งเทียนออกมาเป็นรูปแบบ Spinning Top

เรารู้อะไรจากแท่งเทียนแบบ Spinning Top
แท่งเทียนแบบ Spinning Top สื่อถึงการชะลอการตัดสินใจที่ส่งผลต่อการซื้อขายอย่างมีนัยยะสำคัญของนักลงทุน หรือการตัดสินใจที่จะไม่กำหนดราคาให้สูงหรือต่ำอย่างเด็ดขาด ถ้าสถานการณ์ความไม่แน่ใจยังดำเนินต่อไป กราฟแท่งต่อ ๆ ไปก็จะปรากฏขึ้นด้านข้างโดยไม่แสดงแนวโน้ม (Sideway) อย่างไรก็ตามสีและตำแหน่งของแท่งเทียนก็ให้สัญญาณว่าในอนาคตอันใกล้ แนวโน้มขาขึ้นหรือลงกำลังจะปรากฏให้เห็น



ในขาขึ้นที่จุดสูงสุด มักพบแท่งเทียนแบบ Spinning Top ซึ่งเป็นสีแดงแสดงว่านักเทรดกระทิง (Bull Trader) กำลังจะสูญเสียการควบคุมเพื่อกำหนดราคา แนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาลง และในทางกลับกัน ถ้าหากเจอแท่งเทียนแบบ Spinning Top ในกราฟขาลงซึ่งเป็นสีเขียวก็แสดงว่านักเทรดหมีกำลังสูญเสียอำนาจการกำหนดราคาไปอยู่ทางฝั่งกระทิงซึ่งจะทำให้ราคาพุ่งทะยานขึ้น



การดูสัญญาณจากแท่งเทียนเพียงแท่งเดียว หรือดูจาก Spinning Top เพียงรูปแบบเดียว เป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป ในเบื้องต้น ถ้าพบกับแท่งเทียนแบบ Spinning Top แล้ว ไม่ควรบุ่มบ่ามแต่ควรรอสัญญาณยืนยันอื่น เช่น แท่งเทียนที่ปรากฏขึ้นตามมา 2-3 แท่งควรเป็นไปในทิศทางที่คาดไว้ เช่น Spinning Top เป็นสีแดงก็รอเห็นกราฟแท่งเทียนปรากฏตามมาเป็นสีแดงติด ๆ กัน 2-3 แท่ง และไม่ได้อยู่ในช่วงแคบก็ค่อยเชื่อว่าตลาดเป็นขาลง และตัดสินใจลงทุนในช่วงขาลง หรือถ้า Spinning Top เป็นสีเขียว ก็รอจนเห็นแท่งเทียนสีเขียวอื่น ๆ ตามมาพร้อมกับระคาที่ดันตัวสูงขึ้นไปอีก ค่อยสรุปว่ากำลังเจอกับขาขึ้น

จะเทรดเมื่อเป็น แท่งเทียนแบบ Spinning Top ได้ยังไง
มีหลายวิธีในการเทรดเมื่อเห็นแท่งเทียนแบบ Spinning Top สิ่งแรกที่ต้องทำเน้นอีกครั้งว่าคือการยืนยันว่ากำลังเห็นสัญญาณอยู่ ไม่ใช่แค่แท่งเทียนบังเอิญแสดงรูปแบบ Spinning Top และหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าราคาปรับเป็นขาขึ้นหรือขาลงหรือเป็นไปในทิศทางที่ไม่ได้คาดซึ่งจะทำให้ขาดทุนได้



นักเทรดจำนวนมากใช้ตัววัดทางเทคนิคเข้ามายืนยันประกอบการเทรด เพราะว่าตัววัดทางเทคนิคจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าแค่ข้อมูลราคาที่เปลี่ยนไป เช่น

1.Moving Average Convergence-Divergence (MACD) คือ ตัวชี้วัดที่บอกทิศทางแนวโน้มของหุ้น เป็นเครื่องมีที่มีแนวคิดจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นที่มีค่าแตกต่างกัน คำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง

2.Relative Strength Index (RSI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาว่ามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือการขายมากเกินไป (Oversold) มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 หากมีการซื้อมากไป เมื่อราคาพุ่งไปสูงแล้ว อาจจะไม่เพิ่มสูงต่อ ปริมาณการซื้อลดลง ราคาเริ่มลดลง หรือเมื่อราคาลดลงต่ำแล้ว อาจจะไม่ลดต่อ ปริมาณการซื้อกลับมาเพิ่มขึ้น เราสามารถดูที่เส้น RSI ประกอบกราฟแท่งเทียนเพื่อหาสัญญาณราคากลับตัวเป็นขาขึ้นหรือขาลง

3.Stochastic Oscillator เน้นเปรียบเทียบราคาปิดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 เช่นเดียวกับ RSI แต่ประกอบด้วยเส้น 2 เส้น เส้นหนึ่งคือ %K ซึ่งเป็นสัดส่วนระหว่างราคาปิดกับราคาต่ำสุด กับส่วนต่างระหว่างราคาสูงสุดกับราคาต่ำสุด ส่วน %D คือเส้นค่าเฉลี่ยของ %K อีกที เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) และเกิดขึ้นที่ค่าชี้วัดมากกว่า 80 จะเป็นสัญญาณซื้อ และในทางตรงกันข้ามเมื่อ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) และเกิดขึ้นที่ค่าชี้วัดต่ำกว่า 20 เป็นสัญญาณขาย

ตัวอย่างกราฟแท่งเทียนแบบ Spinning Top

You cannot view this attachment.

จากภาพกราฟตัวอย่าง กราฟแท่งเทียน Spinning Top ขาลงสีแดงปรากฎขึ้นด้านซ้ายก่อนที่ราคาของคู่เงิน EURUSD หรือ ยูโรกับดอลลาห์สหรัฐ จะปรับเป็นขาลง โดยในช่วงที่สังเกตเห็น Spinning Top ถ้าไม่ได้ดูร่วมกับเครื่องมืออื่นว่าจะเป็นขาลง จะต้องรอให้แน่ใจก่อน เพราะหลังจากนั้นมี Sideway อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนที่ราคาจะปรับลดลงจริง ๆ



เมื่อดูต่อไป สิ้นสุดขาลง ก่อนที่ราคาในขาลงจะกลับตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ปรากฎกราฟแท่งเทียน Spinning Top ขาขึ้นสีเขียวซึ่งจริง ๆ แล้วยังเป็น Spinning Top ที่ไม่สมบูรณ์แบบเพราะหางด้านบนและด้านล่างสั้นยาวไล่ ๆ แต่ไม่เท่ากัน แต่ถัดจากนั้นไม่นานเราสามารถเห็น Spinning Top ขาลงสีแดงได้อีกครั้ง โดยตลาดในเวลาถัดไปยังไม่ปรับตัวลงทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เป็นขาลงดังในรูปต่อไป

You cannot view this attachment.

จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วการใช้ Spinning Top เพียงอย่างเดียวค่อนข้างจะคาดเดาแนวโน้มในอนาคตให้แน่นอนได้ยาก เพราะอาจจะมี Sideway เข้ามาแทรก หรือการปรับตัวสวนทางระยะสั้น ๆ ซึ่งสำหรับมือใหม่อาจทำให้ตกใจและชิงขาดขาดทุนเป็นการ Cut Loss ได้ ดังนั้นหากใช้เครื่องมือทางเทคนิคประกอบจะทำให้ตัดสินใจได้ดีกว่า ดังในภาพต่อมา

You cannot view this attachment.

เลือกใช้ Stochastic Oscillator เข้ามาประกอบ และอ่านค่าดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้ว เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) ที่ค่าชี้วัดมากกว่า 80 จะเป็นสัญญาณขาขึ้น หรือการเปิดสัญญาซื้อ และในทางตรงกันข้ามเมื่อ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) ที่ค่าชี้วัดต่ำกว่า 20 เป็นสัญญาณขาย



TOP1 Markets มีบทวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางเทคนิค ซึ่งช่วยให้คุณได้เรียนรู้ไปพร้อมกับทดลองใช้งาน สนใจเปิดบัญชีซื้อขายได้ทันที ที่ 

Doji กับ Spinning Top ต่างกันตรงไหน

You cannot view this attachment.

กราฟแท่งเทียนแบบ Spinning Top มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับแบบ Doji แต่สิ่งที่ต้องพึงใส่ใจคือขนาดแท่ง กราฟแบบ Doji จะมีขนาดแท่งที่เล็กกว่า แสดงถึงความเป็นกลางในด้านราคาซื้อขายหรือความกดดันระหว่างผู้ซื้อสองฝั่งใกล้เคียงกัน แท่งเทียนแบบ Spinning Top จะพบมากกว่าที่จุดสูงหรือต่ำสุดเมื่อแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลง ในขณะที่แบบ Doji มักจะตามมาหลัง Spinning Top อีกที หรือขณะที่กราฟดำเนินไปในลักษณะ Sideway

ข้อจำกัดของการใช้แท่งเทียนแบบ Spinning Top
หลาย ๆ ครั้งจะพบแท่งเทียนแบบ Spinning Top เมื่อราคากำลังจะเข้าสู่ Sideway (ราคาปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบ ๆ ไม่แสดงแนวโน้ม) หรืออยู่ในช่วง Sideway  แล้ว การนำ Spinning Top มาใช้เพื่อคะเนแนวโน้มจึงเกิดปัญหาขึ้นได้ว่าบางครั้งถึงจะเห็นกราฟแบบ Spinning Top แต่ราคากลับไม่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงดังที่คาดไว้



สายเก็งกำไรระยะสั้นหลายท่านเน้นการเห็นกำไรในทันทีหลังเปิดสัญญาหรือซื้อขาย โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่เน้นกินส่วนต่างขนาดเล็ก ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผิดพลาดหรือรอนาน เมื่อจะตัดสินใจลงทุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ตลาดคอนเฟิร์มด้วยการเห็นการปรับทิศทางกับตาตัวเองไปสักระยะหนึ่งหรือมีสัญญาณจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ



นอกจากนี้ แท่งเทียน Spinning Top ยังไม่ได้ทำให้กำหนดราคาเป้าหมายหรือว่าช่วยหาทางออกเหมือนกับแนวรับหรือแนวต้าน  นักเทรดต้องมีเทคนิควิธีการอื่น ๆ เสริม อย่างรูปแบบกราฟแท่งเทียนแบบอื่น หรือตัววัดอื่นเพื่อให้รู้จุดที่จะปิดสัญญาณหรือทำการขายเพื่อทำกำไร

บทส่งท้าย
กราฟแท่งเทียนมีหลายรูปแบบ ไม่สามารถพึ่งพารูปแบบเดียวมาเป็นกลยุทธ์ทำกำไรได้ดีหรือสมบูรณ์ Spinning Top เป็นหนึ่งในรูปแบบที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย จริง ๆ แล้วมันเป็นเหมือนสัญญาณให้ตรวจสอบหาจังหวะเข้าซื้อหรือขายด้วยเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ



นอกจากเทคนิคและกลยุทธ์ ในการลงทุน การเทรดกับโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้เป็นเรื่องสำคัญมาก TOP1 Markets โบรกเกอร์ CFDs ให้บริการเทรดออนไลน์ทั้ง Forex, สินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น, ดัชนี และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ แม้ในยามตลาดผันผวนก็สามารถทำกำไรได้ ให้บริการมากกว่า 10 ประเทศ ไม่คิดค่าคอมมิชชั่น ด้วยรางวัลบริการทางการเงินคุณภาพเยี่ยม มีแพลทฟอร์ตการเทรดที่ดีที่สุดในปี 2021 ปัจจุบันมีนักเทรดกว่า 1.35 ล้านคนทั่วโลกกำลังใช้บริการอยู่ เริ่มต้นเทรดเพียงใช้เงินฝากขั้นต่ำ 50 USD  มีโบนัสสูงสุดสำหรับการเทรด 4,000 USD และ รับ Leverage เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อขายสูงสุดที่ 1,000 เท่า

#27
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Fibonacci
มีนาคม 21, 2024, 04:01:54 ก่อนเที่ยง
Fibonacci คืออะไร ตัวเลขทองคำที่ Trader สายลงทุนชื่นชอบและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาจุดกลับตัว จัดว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมและเป็นลำดับเลขที่พบเจอได้ตามทั่วไป เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเทียบเป็นสัดส่วนของการเคลื่อนที่จนถูกเรียกว่าเป็นสัดส่วนทองคำ

มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
Fibonacci คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Fibonacci มาแล้วบ้าง เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเชื่อมเข้ากับ Number ที่มีความเชื่อมโยงเข้ากันและมีความหมายในแต่ละสัดส่วน เช่น 0, 1, 2, 3, 5, 8, 13 ...จะเห็นได้ว่าสัดส่วนตัวเลขที่พบเป็นสัดส่วนทองคำ ในแวดวงการลงทุนจะใช้เป็นกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวของราคที่ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน ทำให้การหาตัวเลขทองคำเหล่านี้มีผลต่อการซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

You cannot view this attachment.

Table of Contents
มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
ประเภททั้งหมดของ Fibonacci คืออะไร แล้วมันมีกี่แบบ?
Fibonacci Retracement
Fibonacci Extension
Fibonacci Projection
เทคนิคการตี Fibonacci คืออะไร
Fibonacci คืออะไร ตัวเลขทองคำที่ Trader สายลงทุนชื่นชอบและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาจุดกลับตัว จัดว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมและเป็นลำดับเลขที่พบเจอได้ตามทั่วไป เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเทียบเป็นสัดส่วนของการเคลื่อนที่จนถูกเรียกว่าเป็นสัดส่วนทองคำ

มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
Fibonacci คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Fibonacci มาแล้วบ้าง เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเชื่อมเข้ากับ Number ที่มีความเชื่อมโยงเข้ากันและมีความหมายในแต่ละสัดส่วน เช่น 0, 1, 2, 3, 5, 8, 13 ...จะเห็นได้ว่าสัดส่วนตัวเลขที่พบเป็นสัดส่วนทองคำ ในแวดวงการลงทุนจะใช้เป็นกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวของราคที่ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน ทำให้การหาตัวเลขทองคำเหล่านี้มีผลต่อการซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Fibonacci
ความเป็นมาของตัวเลขฟีโบนัชชี เกิดขึ้นในช่วงสมัยกลางยุโรป เชื่อกันว่าการเกิดขึ้นของฟีโบนัชชีถูกคิดค้นด้วยนักคณิตศาสตร์ตั้งแต่ 400-200 ปีก่อนคริสตกาล และถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ความ Amazing ของอนุกรมตัวเลขไที่นำมาใช้ในการเทรดซึ่งเป็นสัดส่วนของกฎธรรมชาติเพื่อนำมาคาดการณ์หาแนวรับ แนวต้าน เป้าหมายราคา เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเข้าถึงจุดซื้อ จุดขาย ได้ดีรวมถึงการใช้ร่วมกับเครื่องมือที่หลากหลาย

ประเภททั้งหมดของ Fibonacci คืออะไร แล้วมันมีกี่แบบ?
เมื่อต้องการ Trade ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรทำความเข้าใจ Fibonacci คืออะไร มีกี่ประเภท เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งได้ ดังนี้

You cannot view this attachment.

Fibonacci Retracement
ใช้ในการวัดกะระยะการย่อหรือการเด้งของ Graph เพื่อต้องการหาโอกาสที่เส้นกราฟจะเดินไปถึงจุดไหน หากกราฟเป็นเทรนขาขึ้นจะใช้ในการย่อลงมาของกราฟ แต่ในทางกลับกันหากเป็นราคาขาลงมาก็ใช้ในการวัดการเด้งของกราฟ สัดส่วนจะเริ่มจาก 0% -100% ความสำคัญของการดูกราฟที่มีโอกาสซื้อขายจับจังหวะได้แม่นยำขึ้น

Fibonacci Extension
รูปแบบนี้คือการใช้วัดราคาสามารถยืดออกไปได้ไกลแค่ไหน โดยแสดงค่าตั้งแต่ 100% ขึ้นไป เลือกการเทรดได้ตามประสบการณ์ ซึ่งเป็นช่วงกว้างอาจต้องเป็น Professional

Fibonacci Projection
เหมาะสำหรับการใช้ดูการเคลื่อนไหวของราคา หลังจากที่มีการย่อหรือการเด้งใน Trend ทั้งนี้เพื่อต้องการดูว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนว่าจะถึงตามเป้า หรือดูแนวต้าน แนวรับ สำหรับราคาที่มักจะใช้งานบ่อย ๆ คือ 100, 161.8

You cannot view this attachment.

เทคนิคการตี Fibonacci คืออะไร
การเรียนรู้ใช้งานเทคนิค Fibonacci คืออะไร จัดว่าเป็น Great Tools อีกหนึ่งประเภทที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ให้ความสนใจและนำมาใช้งานกันมาก หากต้องการสัดส่วนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

- ควรศึกษา Market Trends ต้องมีความชัดเจนจึงจะใช้งานเครื่องมือได้ดี แนวโน้มของตลาดต้องชัดเจน จึงจะสามารถค้นหาจุดสูงสุด จุดต่ำสุดได้
- คาดการณ์ความเคลื่อนไหว Asset Price ได้ชัวร์มากขึ้น ความสำคัญของการเลือกตลาดที่ให้สัญญาณที่น่าเชื่อถือโดยเฉพาะตลาดใหญ่ย่อมดีกว่าตลาดขนาดเล็กอย่างแน่นอน
- ความแน่นอนและความแม่นยำในการ Confirm Signal ควรเลือกใช้เครื่องมือควบคู่กันหลายตัว ช่วยให้การวิเคราะห์เกิดความแม่นยำและสามารถจับทิศทางได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญช่วยให้การคาดการณ์ได้ดีกว่าการใช้เพียงเครื่องมือชนิดเดียว แนะนำควรเลือกใช้ Ichimoku Cloud , Bollinger Bands
#28
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / On Balance Volume (OBV) คืออะไร?
มีนาคม 20, 2024, 01:35:43 ก่อนเที่ยง
You cannot view this attachment.

On Balance Volume หรือ OBV คือเครื่องมือที่วัดปริมาณการซื้อขายสะสม เพื่อวัดแรงซื้อแรงขาย ใช้ในการยืนยันทิศทางแนวโน้ม และหาจุดกลับตัวของราคา ถูกพัฒนาโดย Joe Granville โดยทฤษฎีของ Granville นั้นเชื่อว่า Volume นำราคา ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลปริมาณการซื้อขายสามารถบ่งชี้ถึงทิศทางราคาในอนาคตได้
 
OBV จะปรับตัวขึ้นก็ต่อเมื่อ Volume ของวันที่หุ้นขึ้น มากกว่า Volume ของวันที่หุ้นลง ในทางตรงกันข้าม OBV จะปรับตัวลงก็ต่อเมื่อ Volume ของวันที่หุ้นลง มากกว่า Volume ของวันที่หุ้นขึ้น

- การปรับตัวขึ้นของ OBV บ่งชี้ให้เห็นว่า ราคามีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต
- การปรับตัวลงของ OBV บ่งชี้ให้เห็นว่า ราคามีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต

ทั้งนี้ ค่าของ OBV ไม่ค่อยมีนัยสำคัญ เราจะโฟกัสที่ทิศทางการขึ้นลงของ OBV มากกว่า
 
การยืนยันแนวโน้ม

OBV สามารถใช้ยืนยันทิศทางของแนวโน้มการแกว่งตัวของราคา โดยหาก OBV เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคา แปลว่า ทั้ง Volume และ ราคา สอดคล้องกัน เป็นการยืนยันทิศทางของแนวโน้มนั้น หรือจังหวะที่ OBV เปลี่ยนทิศทาง และราคาก็เปลี่ยนทิศทางเช่นเดียวกัน เป็นการยืนยันสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างเช่น กราฟ หุ้น DTAC ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น ราคาและ OBV ยืนยันทิศทางฝั่งขาขึ้นด้วยการขึ้นทำ Higher High (ทำ High ใหม่) พร้อมกัน ซึ่งเป็นการ Comfirm ซึ่งกันและกัน และในขณะที่ทางขวามือ เป็นการยืนยันว่า แนวโน้มขาขึ้นได้จบลง ด้วยการที่ราคาหลุดเส้น Uptrend Line และทำ Lower Low เช่นเดียวกับ OBV ก็ทำภาพลักษณะคล้ายกัน

การสังเกต Divergence

การเกิดสัญญาณ Divergence สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา โดย

- Bullish Divergence : ราคาทำ Lower Low แต่ OBV ทำ Higher Low
- Bearish Divergence : ราคาทำ Higher High แต่ OBV ทำ Lower High

You cannot view this attachment.

  ตัวอย่างการเกิดสัญญาณ Divergence ระหว่างราคา กับ OBV

Bullish Divergence : ราคาทำ Low ใหม่ แต่ OBV กลับยก Low สูงขึ้น เป็นสัญญาณ Bullish Divergence บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวขึ้นในอนาคต

Bearish Divergence : ราคาขึ้นแตะ High เดิม แต่ OBV กลับทำ High ที่ต่ำกว่า เป็นสัญญาณ Bearish Divergence บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวลงในอนาคต

สรุป
On Balance Volume (OBV) เป็นเครื่องมือชี้วัดที่ค่อนข้างใช้ง่าย ทรงประสิทธิภาพ และยังสามารถวัดแรงซื้อแรงขาย จากปริมาณการซื้อขาย (Volume) ซึ่งนักลงทุนสามารถนำ OBV ไปใช้ในการยืนยันทิศทางของแนวโน้ม และยังสามารถหาจุดกลับตัวของราคาจากการดู Divergence ได้อีกด้วย อีกทั้งเมื่อนำไปประกอบเครื่องมืออื่นใน Technical analysis ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เพิ่มโอกาสการชนะ และสร้างกำไรในการเทรดได้เป็นอย่างดี
#29
เทคนิคหรือกลยุทธ์ต่างๆในการเทรด หรือเก็งกำไรในตลาดค่าเงิน รวมทั้งหุ้น หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในวงการตลาด Forex ค่อนข้างจะมีหลากหลายวิธี คงต้องค่อยๆ ทยอยเขียนไปเรื่อยๆ เอาครับ

สำหรับวันนี้จะขอกล่าวถึงเทคนิคเก็งกำไรระยะสั้นๆ กับตลาดที่ไม่มีความหวือหวา ที่เรียกว่า ตลาด ไซด์เวย์ Sideway  ถึงมันจะเงียบๆ สงบๆ แต่เราก็สามารถหากิน(เทรดทำกำไร) กับมันได้เหมือนกัน เอาล่ะ! ไม่พร่ำเพรื่ออะไรให้มันมากมาย ไปลุยกันเลยดีกว่าครับ

กลยุทธ์ที่ว่านี่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Scalping By "Cutting Points" ควรเล่นกับคู่สกุลที่มีสเปรด่ตำ หรือคู่สกุลเงินหลัก เช่น EURUSD, GBPUSD, AUDUSD, USDCAD, กรอบเวลาแนะนำ(Time frame)คือ 5 นาที (M5)

เครื่องมือที่ใช้เทรดในช่วงตลาด Sideway

ประกอบด้วยอินดิเคเตอร์ 3 ตัวคือ

Bollinger Bands = 20, 2

ADX = 14 period

RSI = 7 period

 

กรณีซื้อ (Buy or Long)

1. ราคาลงอยู่ต่ำกว่า หรือลงมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านล่าง

2. RSI ต่ำกว่าระดับ 30

3. ADX ต่ำกว่าระดับ 30

4. เปิดออเดอร์ซื้อ เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่า หรือลงมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านล่างแล้ว ราคาย้อนกลับทะลุเส้นดังกล่าวขึ้นไปข้างบน

 

ตัวอย่างกรณีซื้อ (Buy or Long)

You cannot view this attachment.

กรณีขาย (Sell or Short)

1.  ราคาอยู่สูงกว่า หรือขึ้นมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านบน

2. RSI อยู่เหนือระดับ 70

3. ADX อยู่ต่ำกว่าระดับ 30

4. เปิดออเดอร์ขาย เมื่อราคาอยู่สูงกว่า หรือขึ้นมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านบนแล้ว ราคาย้อนกลับทะลุเส้นดังกล่าวลงมาข้างล่าง

 

ตัวอย่างกรณีซื้อ (Sell or Short)


You cannot view this attachment.

กรณี Take Profit และ Stop loss

TP เลือกตามความเหมาะสม หรืออาจใช้เส้นกลางของ Bollinger Bands เป็นตัวกำหนด

TP ระยะสั้น อาจเลือกห่างจากระดับเปิด  3-5 จุดขึ้นไป

SL อาจเลือกห่างจากเส้น Bollinger Bands บนหรือล่าง 3 จุด หรือตามความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
#30
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / MACD คืออะไร?
มีนาคม 18, 2024, 01:59:09 ก่อนเที่ยง
โดย Indicator MACD ถือเป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นีกเทรดไทย และเป็นที่นิยมของนักเทรดทั่วโลกผ่านกาลเวลาอันยาวนาน Indicator MACD เป็น Indicator ในกลุ่ม Oscillator แต่บทบาทของ MACD เป็น Indicator มีบทบาทในการบอกเทรนด์ของราคาสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงเป็นส่วนมาก และด้วยรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้เลยทันทีทำให้มันเป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ สูตรการคำนวณ ลักษณะและวิธีการใช้งานของ MACD

 

MACD คืออะไร?

MACD หรือ Moving Average Divergence Convergence ที่แสดงความสัมพันธ์ของเทรนด์ผ่าน Moving Average 2 ตัวของราคาสินทรัพย์ที่ใช้คำนวณ ตัวอย่างเช่น ค่าเงิน หรือ หุ้น หรือ Cryptocurrency เป็นต้น การคำนวณสามารถทำได้จากการ นำ เส้น Moving Average แบบ Exponential หรือ EMA ลบออกโดย Moving Average 12 Period  ผลที่ได้จากการกระทำดังกล่าวจะทำให้เราได้เส้น MACD Line โดยที่ 9 MACD เป็นเส้นให้สัญญาณ หรือ Signal Line ซึ่งจะพล็อตด้านบนของเส้น MACD ที่จะเป็นตัวให้สัญญาณซื้อขาย ว่าจะส่ง Buy หรือ Sell

อย่างไรก็ตาม MACD สามารถใช้ตีความได้หลายรูปแบบในการอ่านกราฟ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดคือ การใช้มันตัดกัน โดยสูตรของเส้น MACD สามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้

MACD = 12 Period EMA –  26 Period EMA

 

ซึ่งรูปร่างของ MACD นั้นสามารถตีความได้ง่าย ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

การใช้งาน MACD

จากรูปร่างตามที่แสดงในรูปที่ 1 มันมีองค์ประกอบ อยู่  3 อย่างคือ เส้น สีแดง  แท่ง Histogram และ เส้น 0 ดังนี้มันทำให้มีการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบ ที่เป็นที่นิยม

 

การใช้ แท่ง Histogram เป็นเกณฑ์

การใช้แท่ง Histogram เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเทรนด์หลักการใช้นั้นไม่ยากและตรงไปตรงมา นั่นคือ เมื่อแท่ง Histogram สูงกว่าเส้น 0 ให้ทำการ Buy ณ เวลานั้น ขณะเดียวกันถ้าหากต้องการที่จะทำการส่ง ออเดอร์ Sell ก็สามารถทำได้โดยการส่งคำสั่ง Sell เมื่อ MACD มีค่าต่ำกว่าแกนกลางของ MACD การทำแบบนี้จะเกิดเมื่อเทรนด์ที่มีความชัดเจนมากเท่านั้น

ความชัดเจนของเทรนด์ของราคาสินทรัพย์ที่เราใช้ในการคำนวณ จะสามารถดูได้จากความสูงของเส้น MACD ที่เป็นส่วนของ Histogram ที่ดีดออกมาจากฐาน 0 นั่นคือเทรนด์ที่มีความชัดเจนมาก ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ แม้ว่าเราจะหาจุดเข้าเทรดได้แต่เราไม่สามารถหาจุดออกจากการเทรดได้ เพราะว่า การใช้ MACD ตัดลงแล้วค่อย Sell นั้นจะทำให้การออกจากออเดอร์นั่นล่าช้ามาก ๆ การแก้ไขสามารถทำได้โดยการใช้ Indicator ประเภทอืน ๆ เป็ฯตัวกำหนดระยะทางในการออกจากออเดอร์ ตัวอย่างเช่น Stochastic หรือ Horizontal line ที่ทำเป็นแนวรับแนวต้าน

 

การใช้ MACD จากเส้น Signal Line

การให้สัญญาณการเทรด ที่ช้าเมื่อเราใช้ค่า Histogram ตัดค่า 0 ขึ้นไปนั้นแม้จะให้สัญญาณการเทรดที่ช้า แต่ไม่ได้หมายความว่า MACD นั้นจะเป็น Indicator ที่ให้การเคลื่อนไหวช้ากว่า Indicator ตัวอื่น ๆ ถ้าเราสังเกตุ เราจะพบว่า เส้น Signal Line หรือเส้น สีแดงนั้นจะมีช่วงที่ตัดขึ้นตัดลงกันไปมากระหว่างเส้น Signal Line กับ แท่ง Histogram นั่นแหละครับคือสัญญาณการเข้าซื้อเข้าขายที่เร็วมากอันหนึ่ง

เราจะส่ง buy เมื่อ Signal Line อยู่ต่ำกว่าแท่ง Histogram และต้องมีเงื่อนไขว่า ต้องตัดกันตอนที่ signal line และ Histogram อยู่ต่ำกว่าค่า 0 ด้วยเท่านั้น ถึงจะส่งสัญญาณ Buy ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าจะส่งสัญญาณ Sell ก็ต้องทำในด้านตรงข้ามกัน คือ Signal Line ตัดกันลงมาโดยแท่ง Histogram ต่อต่ำกว่า Signal Line อยู่สูงกว่าค่า 0 ดังแสดงในรูปต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

จากรูปที่ 2 จะมีสัญญาณ 2 แบบ คือ วงกลมสีเขียว กับ วงกลมสีแดง ในวงกลมสีเขียว คือการให้สัญญาณ Buy ของ Indicator ยิ่งการตัดกันเกิดลึกมากเท่าใด ความน่าจะเป็นว่า ราคาจะมีการกลับตัวขึ้นที่จุดนั้นย่อมมีสูง ในขณะเดียวกัน กรณีที่จะส่งออเดอร์ Sell การตัดกันของ เส้น Signal Line และ Histogram ก็ให้สัญญาณ Sell

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ MACD คือ การตั้งค่า แม้ว่าค่า Default คือ 9 12 26 นั้นจะเป็นค่าที่ตั้งค่ามาดีพอสมควร แต่เพื่อให้เหมาะสมจริง ๆ กับราคา สิ่งที่เราต้องทำคือการปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของราคา โดยปรับค่าเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจ และทำการ Back Test ข้อสำคัญที่ไม่ควรลืม คือ การใช้ Indicator ประเภทอื่น ๆ ให้สอดรับกันด้วย