ข่าว:

กระทู้ล่าสุด

#71
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / เทคนิค การเทรด Forex ทำกำไรด้ว...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - เมษายน 02, 2024, 01:14:06 หลังเที่ยง
กลยุทธ์การเทรดอีกอย่างที่ถือว่าเรียนรู้และง่ายต่อการนำไปเทรด เพราะเป็นแค่การอ่านและทำความเข้าใจเรื่องของ วอลลูมที่เพิ่มขึ้นในช่วงตอนเปิดตลาดลอนดอนเป็นหลักคือ London Breakout ด้วยการดูว่าเมื่อเปิดตลาดช่วงลอนดอนมา 1-3 ชั่วโมงแรกเกิดการ Breakout ของช่วงตลาดที่เปิดมาแต่เช้าก่อนหรือเปล่า ถ้าเกิดก็ให้เทรดทางนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลมาถึงช่วงตลาดอเมริกาเปิดด้วย

เข้าใจช่วงตลาดก่อน

You cannot view this attachment.

ตลาดประกอบด้วย 4 ช่วงหลัก คือ Sydney, Tokyo, London และ New York หรืออาจเรียกช่วงรวมกันระหว่าง Sydne และ Tokyo เป็นช่วง Asia ก็ได้ ก็จะเหลือแค่ 3 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงเอเชีย (Sydney + Tokyo) ช่วงยุโรป (London) และช่วงอเมริกา (New York) เมื่อดูชาร์ตที่ประกอบด้วยช่วงตลาด ท่านจะเห็นว่าแต่ละวันส่วนมากช่วงตลาดเอเชียราคาจะ sideway เป็นหลัก ยกเว้นมีข่าวเป็นบางวัน เพราะตลาดการเงินหลักของโลกอยู่ที่ยุโรปและอเมริกา ดังนั้นเมื่อช่วงตลาด London หรือช่วงตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา มักจะมี volatility เพิ่มขึ้นทันที ทำให้ volume เริ่มเพิ่มขึ้น ก็เลยเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์เห็นความเพิ่มขึ้นของ volatility ที่เริ่มเกิดขึ้น ถ้าเป็น Breakout ช่วงก่อนหรือช่วง Asia มักจะเปิดโอกาสให้เทรดตาม Breakout ทางที่เกิดขึ้นนั้นๆ เป็นการเทรดแบบง่าย ด้วยการดู 1-3 ชั่วโมงแรกของช่วงตลาดลอนดอนว่าได้มี Breakout เกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนมากก็จะเทรดคู่พวก GBP เช่น GBPUSD GBPJPY GBPAUD EURGBP เป็นต้น แต่คู่อื่นๆ เช่น EURUSD ก็เทรดได้เช่นกัน

Timeframe ไหนเหมาะสำหรับเทรด London Breakout

รอให้ช่วงตลาด Asia ปิดก่อน เมื่อตลาดลอนดอนเปิด ดูว่า 1-3 ชั่วโมงแรก แค่ดูเรื่องของ price action และเข้าใจเรื่องของ Breakout ว่าราคาเบรคกรอบช่วงแรกของวันหรือช่วงตลาด Asia ไปทางไหน อาจมองได้ว่าช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านก็ว่าได้ เมื่อราคาเบรคทางไหนก็หาโอกาสเทรดตาม เทรดไปทางนั้นๆ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของ timeframe ที่ใช้ในการกำหนด Breakout แนะนำให้ใช้ H1 เป็นหลัก เพราะถ้าเป็น H4 หรือ D1 ก็จะใหญ่เกินสำหรับการหารายละเอียด แต่ก็ควรจะใช้เพื่อกำหนดกรอบเทรนระยะยาวด้วย  แต่ถ้าเป็น M15 หรือ M30 ข้อมูลอาจน้อยไปสำหรับการกำหนดเทรน เลยแนะนำให้ใช้ชาร์ต H1 เป็นหลัก แต่ท่านอาจใช้ multi-timeframe analysis ประกอบเพื่อมองภาพรวมและจุดที่เข้าได้อย่างชัดเจน

เทรด London Breakout อย่างไร

You cannot view this attachment.

วิธีการหลักสำหรับเทรด London Breakout คือการเทรด Breakout นั่นเอง ใช้ช่วงเวลาตลาดเข้ามาเป็นตัวกำหนดว่าเกิด Breakout ทางไหนในช่วง 1-3 ชั่วโมงแรกหรือไม่ เมื่อตลาดลอนดอนเปิดมา ดังนั้นอาจบอกว่า กรอบราคาที่เกิดก่อนช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านไปในตัวก็ว่าได้ ดังนั้นการเปิดเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคกรอบแนวรับ-แนวต้านหลักๆ ที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจเพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา โดยการเทรดสามารถใช้ได้กับหลายคู่เงินไม่ใช่แค่ GBP เท่านั้น อาจเป็น EURUSD หรือ USDJPY ได้ด้วย โดยให้เปิดชาร์ต H1 ขึ้นมาเป็นหลัก เพราะโอกาสเทรดสำหรับเทรดเดอร์ คือ 1-3 ชั่วโมงแรก ก็จะดูได้ง่ายและเห็นเทรนชัดเจนพอ  เช่นตัวอย่างภาพด้านบนเป็นคู่เงิน EURUSD เมื่อเราเปิดด้วยชาร์ต H1 ก็จะเห็นชัดว่า 1-3 ชั่วโมงแรกที่ต้องการโฟกัส และอาจมีการวิเคราะห์ต่าง timeframe ประกอบเพื่อภาพรวม เมื่อราคาเบรคไปทางไหน อย่างในภาพเป็นการเบรคลงมา จากนั้นเมื่อมอง price action ท่านจะเห็นว่าจะทำเทรนไปทางนั้นทั้งวัน แม้ช่วงตลาดอเมริกาหรือ New York เปิดมา หลักการในการเปิดเทรดคือเมื่อเห็นราคาเบรคก็เปิดเทรดได้เลย หรือบางทีอาจมีการกลับมาเทสอย่างรวดเร็วก็เปิดโอกาสให้เทรดได้ เนื่องจากการเทรดอิง Breakout ที่คาดว่าจะเกิดแต่ละวัน ดังนั้นกลยุทธ์การเทรดจะเน้นปิด position ที่เปิดภาพวันนั้นๆ เป็นหลัก

การเปิดเทรดก็เหมือนหลักการเทรด Breakout ทั่วๆ ไปคือการใช้ stop orders เช่น ถ้าราคาเบรคขึ้นบนก็เป็น buy stop orders ถ้าราคาเบรคลงล่างก็ใช้ sell stop orders และยังจะได้พวก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดช่วงก่อนหรือช่วง Asia มาเป็นตัวเร่งด้วย หรืออาจใช้เรื่องของ trailing stop มาช่วยก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนด pips ขั้นต่ำ แต่ต้องระวังเพราะอาจโดนล่า stop ก่อนก็ได้ เพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นก่อนที่ราคาจะไปทาง Breakout จริงๆ ส่วนเรื่องของการปิดหรือทำกำไร หลักการเบื้องต้นคือปิดเมื่อช่วงตลาด London ปิด แต่ถ้าท่านเข้าใจหลักการ การส่งต่อออเดอร์ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด แนะนำให้ใช้ price level ที่เคยเกิดเป็นตัวกำหนดแทน

การส่งต่อออเดอร์ของแต่ละวัน

You cannot view this attachment.

การที่จะเทรดเรื่องของ London breakout ได้ดี ท่านต้องเข้าใจความต่อเนื่องของออเดอร์ที่ส่งต่อกันระหว่างวัน เพราะว่าในการเปิดเทรดนั้น ขาใหญ่ไม่ได้เปิดเทรดทางเดียวแล้วดันราคาไปต่อเลยจนจบ มีการปิดกำไรเพื่อสะสม หรือมีการปั่นราคาเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดอีกรอบ นี่เป็นเรื่องที่พวกเขาชำนาญ เราต้องดู price structure ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน โดยเฉพาะที่เกิดช่วง London และ New York เป็นช่วงตลาดการเงินหลักของโลก ดูว่าช่วง Asia โต้ตอบกับ price level ที่เกิด 2 ช่วงนั้นในวันก่อนอย่างไรต่อเนื่องกัน ก็จะมองออกง่ายว่าท่านจะเทรด London Breakout ทางไหนดี ด้วยการมองย้อนกลับมา เช่นการมอง ให้มองวันที่ 3 ก่อน ดูการ rejection ที่เกิดระหว่างช่วง London และ New York โดยเฉพาะที่ 2 ช่วงยังเปิดอยู่ สัมพันธ์กับวันที่ 2 อย่างไร วันที่ 2 สัมพันธ์กับวันที่ 1 อย่างไร จะเห็นว่าช่วง Asia ของวันที่กำหนดเทรด London Breakout เป็นแค่ช่วงพักหรือ sideway แต่ยังอยู่ในอิทธพลของวันที่ 3 อย่างชัดเจน และวันที่ 3 ที่ราคาลงมาเทส support ของวันที่ 2 ราคาก็ไม่สามารถเอาชนะ swap level หรือ resistance ที่เปิดเผยวันที่ 2 และมีการเทสอีกรอบวันที่ 3 ได้ เมื่ออ่านความต่อเนื่องพวกนี้เป็น แล้วมี London Breakout เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน ท่านจะกล้าปล่อยกำไรให้ยาวด้วยความมั่นใจได้ เพราะความเป็นไปได้สูงอยู่ข้างที่ท่านเปิดเทรด
#72
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - เมษายน 02, 2024, 12:01:12 ก่อนเที่ยง
EURGBP
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคาร่วงลงมาหยุดที่ Major Support แล้วจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้เปลี่ยนจากขาลงมาอยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement Zone แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามา จากภาพดังกล่าวทำให้มองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นจากบริเวณนี้ มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDCHF
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยม Descending Triangle จากนั้นราคาได้ทะลุขึ้นมาปิดอยู่ด้านบนของกรอบสามเหลี่ยม รวมไปถึง Resistance จากสวิงไฮก่อนหน้า เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารูปแบบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาจะขึ้น มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

EURNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Major Support แล้วราคามีการทดสอบอยู่ 2 ครั้ง จากนั้นมีแรงซื้อกลับเข้ามาจนเกิดเป็นรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นอย่าง Double Bottom
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาเพิ่งจะทะลุขึ้นมาทำสวิงไฮใหม่ยกตัวสูงขึ้นอยู่เหนือ Resistance ถือเป็นสัญญาณยืนยันการไปต่อของรูปแบบกลับตัวที่เกิด มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#73
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / SIMPLE MOVING AVERAGE 50 อินดิ...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - เมษายน 01, 2024, 12:32:33 หลังเที่ยง
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่เป็นที่นิยมอย่างมากในวงการการเทรด ทั้งหุ้น Crypto หรือแม้แต่ Forex ก็ล้วนใช้ Moving Average ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ดูแนวรับ-แนวต้าน รวมไปถึงการหาจุดเข้า เนื่องจากว่า MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูง โดยในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับ Moving Average ว่าคืออะไร มีลักษณะการใช้งาน และข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

Moving Average คืออะไร?
Moving Average (MA) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ใช้ข้อมูลราคาย้อนหลังมาคำนวณ เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการบ่งบอกแนวโน้มของตลาดว่า จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลง ซึ่ง MA สามารถใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน และ MA จะใช้ไม่ได้ในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway เนื่องจากว่าเส้น MA ที่ใช้บ่งบอกแนวโน้มจะพันกันไปมา จนไม่สามารถบอกแนวโน้มได้ โดยในปัจจุบัน Moving Average ได้ถูกพัฒนา และแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA) และ Weighted Moving Average (WMA) เป็นต้น

 

รูปแบบที่สำคัญของ Moving Average
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Moving Average ได้มีการพัฒนาต่อยอดมาจนมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เทรดเดอร์นิยมใช้ และเห็นกันได้ทั่วไปจะมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

 

1. Simple Moving Average (SMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรเท่ากันทั้งหมด ส่งผลให้ความไวต่อการตอบสนองการเคลื่อนไหวของราคาค่อนข้างที่จะช้า และห่างจากราคา

 

2. Weighted Moving Average (WMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่ต่อยอดมาจาก SMA จากการนำวิธีการทางสถิติมาปรับใช้ เพื่อให้ WMA มีการตอบสนองต่อราคาที่ไวมากขึ้น โดยจะให้เน้นน้ำหนักไปที่ข้อมูลล่าสุด ทำให้เส้นมีการขยับเข้าใกล้ราคามากกว่า SMA

 

3. Exponential Moving Average (EMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรตัวสุดท้าย ส่งผลให้เส้นค่าเฉลี่ย EMA นี้ มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ค่อนมาก โดย EMA เป็นฉบับปรับปรุงต่อจาก SMA อีกอัน ที่พยายามแก้ไขจุดบกพร่องที่ให้ความสำคัญของข้อมูลที่เท่ากัน

 

หากสงสัยว่า MA ประเภทไหนดีที่สุด คำตอบคือ ไม่มีตัวไหนดีที่สุด แต่หากจะให้จัดลำดับความนิยมก็คงให้ EMA เป็นที่หนึ่ง เนื่องจากว่าเป็นเส้นที่มีความไวต่อการเคลื่อนของราคามากที่สุด และยังเป็นที่นิยมมากที่สุดใน 3 ประเภทอีกด้วย ส่วน SMA จะรองลงมา และ MA ที่คนใช้น้อยที่สุด คือ WMA แต่อย่างไรก็ดี บางประเภทก็อาจจะดีกว่ากันในบางสถานการณ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ

 

วิธีการอ่านแนวโน้มของ Moving Average
สัญญาณฝั่งขาขึ้น (Buy Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่ใต้ราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวรับ ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวรับลงมาได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

สัญญาณฝั่งขาลง (Sell Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่เหนือราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Down Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวต้าน ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

กลยุทธ์การเทรด Moving Average
การใช้งาน Moving Average มีอยู่หลายวิธีการ ซึ่งการเทรดด้วย MA นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายอินดิเคเตอร์ แต่วิธีที่จะนำมาบอกนั้น ถือเป็นวิธีที่ใช้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูง โดยจะมี 2 วิธี ดังนี้

 

1. MA Crossover

You cannot view this attachment.

เป็นการนำเส้น MA 2 เส้นมาใช้ในการวิเคราะห์รวมกัน ระหว่างเส้น MA ที่มี Length ขนาด 9 กับ 21 มารวมกัน โดยกลยุทธ์นี้มีธีการใช้ คือ หากเส้น MA มีการตัดกันจะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา ซึ่งหากเส้น MA 9 (เส้นสีเหลือง) ตัดกันกับเส้น MA 21 (เส้นสีฟ้า) โดยทั้ง 2 เส้นอยู่ใต้กราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่ถ้าหากทั้ง 2 เส้น ตัดกันแล้วไปอยู่เหนือกราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และถ้าหากทั้ง 2 เส้นตัดกันไปมาอยู่ตรงกลางของราคา แสดงว่า ราคาอยู่ในช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway นั่นเอง โดยทั้ง 2 เส้น สามารถที่จะเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ สังเกตจากการที่ราคาวิ่งไปแตะที่เส้นใดเส้นหนึ่งแล้วมีการดีดตัวกลับ

 

2. EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

กลยุทธ์นี้จะคล้ายกับ MA Crossover เนื่องจากว่ามีพื้นฐานเดียวกัน แต่เป็นนำเส้น EMA มาใช้ทั้งหมด 3 เส้น เพื่อวิเคราะห์แนวรับ แนวต้าน และจุดกลับตัว โดยจะประกอบไปด้วย EMA 20 / 50 / 100 โดยเส้น 20 กับ 50 จะใช้ในการดูการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา และแนวรับ-แนวต้านย่อย ส่วนเส้น EMA 100 ใช้ยืนยันการกลับตัวของแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านหลัก โดยจะมีวิธีการสังเกต ดังนี้

 

การสังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของ EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

ที่ผ่านมาราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง สังเกตได้จากที่เส้น EMA ทั้ง 3 เส้น เรียงกันอยู่ข้างบนราคา แต่เมื่อถึงช่วงราคาปัจจุบัน เส้น EMA 20 และ 50 ได้มีการตัดกัน ถือเป็นสัญญาณแรกของการเปลี่ยนแนวโน้ม แต่ยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้ 100% ว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เนื่องจากสัญญาณยังไม่เพียงพอ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้

You cannot view this attachment.

ในภาพนี้ คือ สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มที่สมบูรณ์ สังเกตจากการที่เส้น EMA ทั้ง 3 ได้เรียงตัวกันอยู่ใต้ราคา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า เป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยเทรดเดอร์จะสามารถหาจุดเข้าได้จากการย่อตัวของราคาลงมาบริเวณเส้น EMA 20 หรือ 50 แต่หากว่าราคาสามารถที่จะทะลุเส้น EMA 50 ไปได้ แนะนำให้รอการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคาที่แน่นอนก่อน

 
ข้อดี-ข้อเสียของ Moving Average
ข้อดีของ Moving Average
- เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ดี
- สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ และสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของ Moving Average
- ไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาดที่เป็น Sideway
 
สรุป
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูแนวโน้ม และแนวรับ-แนวต้านที่ง่ายที่สุด ซึ่งเหมาะสำหรับมือใหม่หัดเทรดเป็นอย่างมาก สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และมีประสิทธิภาพ แต่จะมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ มันไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาด Sideway หรือช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม โดย Moving Average มีอยู่ 3 ประเภท คือ EMA SMA และ WMA ซึ่ง EMA จะเป็นประเภทที่นิยมที่สุด เนื่องจากว่ามีความไวต่อการเคลื่อนที่ของราคามากที่สุด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ชอบ เนื่องจากว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนดีที่สุดหรือแม่นยำที่สุด แต่อยู่ที่เทคนิคของแต่ละบุคคล
#74
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมษายน 01, 2024, 03:44:21 ก่อนเที่ยง
#75
Poker World / 6-max NLH เดือนมีนาคม
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เมษายน 01, 2024, 03:25:26 ก่อนเที่ยง
6-max NLH เดือนมีนาคม
เห็นกำไร แต่จริง ๆ แล้ว เสมอตัวครับ บวกไปแล้ว ลงมาเหลือ 0 ที่เห็นบวก คือ ยังไม่ได้หัก rack ครับ T________T
#76
Poker World / Rush & Cash เดือนมีนาคม
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เมษายน 01, 2024, 03:24:32 ก่อนเที่ยง
Rush & Cash เดือนมีนาคม
เห็นกำไร แต่จริง ๆ แล้ว เสมอตัวครับ บวกไปแล้ว ลงมาเหลือ 0 ที่เห็นบวก คือ ยังไม่ได้หัก rack ครับ T________T
#77
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมษายน 01, 2024, 03:22:03 ก่อนเที่ยง
XAUUSD SELL now at 2213.55
SL 2232
TP 2160
#78
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - เมษายน 01, 2024, 12:06:24 ก่อนเที่ยง
AUDCAD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดต่ำลงเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบ Downtrend Channel จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาลง
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาดีดตัวกลับขึ้นมาที่ Fibonacci Retracement Zone แล้วสร้างรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่จะกลับตัวลงอย่าง Head and Shoulder จากนั้นราคาได้ร่วงลงมาปิดอยู่ใต้เส้น Neckline เป็นสัญญาณยืนยันว่ารูปแบบกลับตัวที่เกิดขึ้นสมบูรณ์ จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงตาม Chart Pattern ที่เกิด มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDUSD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดต่ำลงเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า อีกทั้งราคายังเคลื่อนที่อยู่ใต้ Resistance Trendline จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาลง
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาดีดตัวกลับขึ้นมาที่ Fibonacci Retracement 50% แล้วมีแรงขายกลับลงมาจนราคาหลุดลงมาอยู่ใต้ Support Trendline เรามองว่านี่เป็นสัญญาณการไปต่อในแนวโน้มขาลง มองหาจังหวะเข้า Sell โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

GBPNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาเพิ่งจะทะลุขึ้นมาทำสวิงไฮใหม่ยกตัวสูงขึ้นอยู่เหนือแนวต้าน ถือเป็นสัญญาณยืนยันการไปต่อในแนวโน้มขาขึ้น รอให้ราคาย่อตัวกลับลงมาแล้วมองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#79
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - มีนาคม 29, 2024, 12:38:34 หลังเที่ยง
#80
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / วิธีการตีความ Key Levels ต่าง ...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - มีนาคม 29, 2024, 12:37:42 หลังเที่ยง
วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

การวิเคราะห์แบบ multi-timeframe ประกอบกันช่วยกรองหลายๆ อย่างก่อนที่ท่านจะเปิดเทรด และยังเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยเมื่อท่านเปิดเทรดอิง timeframe ใหญ่ขึ้นเป็นหลัก วิธีการที่นิยมกันสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่า คือ กำหนด timeframe สำหรับกรอบ key level และ Trend พร้อม Momentum และเปิด timeframe ย่อยลงมาเพื่อหา trade setup ที่ชัดเจน และเปิดหรือออกเทรดด้วย timeframe ที่ย่อยลงมาอีก เช่น D1/H4 -> H1/M30 -> M15/M5 เป็นต้นสำหรับ Day trading หลักสำคัญของการวิเคราะห์ตลาดแบบนี้คือท่านเห็นภาพรวมของการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร ท่านเปิดเทรด อยู่ที่ตรงไหนของภาพรวม

เช่น เมื่อไม่คุ้นเคยการเทรดแบบวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกัน อาจเจอหุตการณ์ที่เห็น เมื่อเห็น key level และ trade setup ตามด้วย price action ที่บอกสัญญาณการเปิดเทรด แต่พอราคาวิ่งมาทางที่เราวิเคราะห์ไม่กี่ pips แล้วสุดท้ายราคากลับวิ่งสวนทางและไปนานด้วย นั่นเพราะว่าลืมการวิเคราะห์ market structure สำหรับภาพรวมจาก timeframe ที่ใหญ่กว่าเราเปิดเทรด

Key levels มองต่าง timeframe ให้ความสำคัญอย่างไร

You cannot view this attachment.

อธิบายคำว่า Key levels ก่อน เป็นพื้นที่ราคาโต้ตอบ เช่นอาจเป็น rejection หลายๆ รอบหรือ Break ก็ได้ เลยอาจมองมาจาก Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots เป็นต้น ให้ความสำคัญพื้นที่ราคาเดียวกัน หรือที่เรียกว่า clustering พื้นที่เดียวกัน ไม่ใช่ที่ราคาเดียวกัน อาจบอกง่ายๆ ว่าเป็นกรอบราคาที่เห็นราคาเปิดเผยแนวรับ-แนวต้าน สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ market structure ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะพื้นที่กรอบราคาพวกนี้ และราคาเปิดเผยอย่างไร

ส่วนประกอบในการพิจารณาไม่ต่างกัน แต่จะให้ความสำคัญกับ Key level จาก timeframe ที่ใหญ่กว่า เช่นจะเปิดเทรดจากชาร์ต H1 เราก็จะให้ความสำคัญ Key level จากชาร์ต H4 และ D1 มากกว่า

You cannot view this attachment.

ภาพประกอบอีก จะเห็นว่าเมื่อเรามองเรื่องของราคาเด้งออกมี wick หรือเปล่า ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่นั้นๆ แล้วราคาเด้งเปลี่ยนทางอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเห็นความพยายามเกิดขึ้นแบบเดียวกัน หลายรอบพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาบอกเราว่า เกิด แนวรับ-แนวต้านที่ไหน การมองพื้นที่พวกนี้ว่ามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรตามมาหรือเปล่า ให้ท่านดู market structure ที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการโต้ตอบเป็นหลัก

ดู D1 ภาพรวม ส่วนด้านขวาเป็น H1 สำหรับกำหนด trade setup และดูรายละเอียดการพัฒนา market structure สัมพันธ์กับ D1 อย่างไร ดูกรอบที่บอกว่าดูแท่งเทียนนี้สำคัญเพราะถือว่าเป็น Key change ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น เวลามอง key level เราก็มองย้อนกลับมาทางขวา จะเห็นกรอบที่บอกว่า Resistance สัมพันธ์กับดูแท่งเทียนอย่างไร ราคาพยายามหลายรอบ แต่ไม่สามารถเบรคได้ หลักการคือเห็นราคาเด้งที่เดียวกัน ก็มองเป็นพื้นที่ แนวรับ-แนวต้าน แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีกที่ต้องไม่ลืมว่า เวลาวิเคราะห์ต้องมองปริบทต่อเนื่องกัน ว่าพื้นที่แนวต้านเกิดขึ้นเพราะอะไร และผลจากความพยายามพื้นที่แนวต้านเป็นอย่างไร [ของจากความพยายามในที่นี้คือ เห็นราคาเด้งลง หรือมี Sell trading pressure เข้ามาพื้นที่เดียวกัน หลายแท่งเทียน D1 ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถเปลี่ยน market structure ราคาได้เบรคขึ้นมา ดูตรงที่ลูกศรชึ้ จะเห็น]

สิ่งสำคัญของการมอง Key level ว่าจะเทรดทางไหน นอกจากท่านแยกแยะด้วยราคาเปิดเผยออกมา ด้วย rejection หรือ breakout และต้องดูว่า market structure ของความพยายามแต่ละครั้งเป็นอย่างไร หลักการมอง แต่ละ key levels ต่าง timeframe ไม่แตกต่างกัน แต่ต้องให้ความสำคัญ timeframe ใหญ่กว่าที่เราวิเคราะห์หรือหาพื้นที่ trade setup

ทำไม Levels จาก timeframe ใหญ่กว่าสำคัญ

You cannot view this attachment.

อย่างแรกเลย แบบง่ายๆ คือ level ที่มาจาก timeframe ใหญ่เห็นชัดเจน เลยมีผลเชิงจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วยการมองหา level ที่ราคาโต้ตอบ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดเมื่อ market structure เปลี่ยนไปก็จะออกด้วย เพราะการที่ราคาเคลื่อนไหวเพราะออเดอร์ที่เกินกัน หรือที่เรียกว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก Sellers หรือทาง supply และออเดอร์จากทาง Buyers หรือทาง Demand  และแท่งเทียนที่เราเห็นเกิดขึ้นคือบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นพื้นที่ที่ราคาไหนบ้าง สังเกตดูกรอบสีเขียวอ่อน และชมพูอ่อนที่บอกว่าเทรดเดอร์ที่ถือ long positions และ short positions ที่ต้องการให้ใส่ใจเพราะว่า  trading transactions ที่เกิดขึ้นเพราะการจับคู่กันระหว่างออเดอร์ Sell และ Buy  ณ ราคาเดียวกัน volume เทรดเท่ากัน ราคาขึ้นหรือลงดูจากแท่งเทียน เพราะออเดอร์อีกข้างไม่พอ  การถือออเดอร์ที่เปิดเทรด ยังไม่ปิด สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรด Buy เรียกว่าถือ Long position สำหรับเปิดเทรด Sell และถือรอเรียกว่า Short position ดังนั้นสำหรับ positions ที่ถืออยู่ ข้างไหน กำไร ราคาวิ่งไปทางนั้น ราคาวิ่งสวน ทางนั้นติดลบ การที่เทรดเดอร์ถือ positions ต่อเนื่องกันแบบนี้ ก็จะได้ยินเรียกว่าเป็นช่วงขาใหญ่สะสม positions หรือ Accumulation  ยิ่งเกิดจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมีการสะสม positions เยอะ

ความจริงอีกอย่างที่ต้องรู้ และเป็นตัวเพิ่มความสำคัญของ key level จาก timeframe ใหญ่ได้อย่างดี คือการออกจากตลาด ของเทรดเดอร์ที่ถือ long positions หรือ short positions ช่วง Accumulation เท่ากับการเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ เช่น ถ้า ถือ long positions เมื่อออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเอง หรือ take profit หรือ stop loss เท่ากับการเปิด sell market order ณ จุดที่ออก

ดังนั้น key level ที่มาจาก timeframe ใหญ่จึงสำคัญ เพราะเป็นที่เห็นง่าย เพราะ market structure เห็นแนวรับ-แนวต้านชัดเจน เลยเป็น level ที่ดึงเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาด และรอเข้าเทรดสนใจเลยทำให้เกิดออเดอร์เยอะ ทั้งจากการเข้าเทรดและการออกเทรด และเมื่อเห็นมีการสะสม positions ประกอบด้วย พอราคาเบรค มีฝ่ายกำไรมากและติดลบมากเกิดขึ้น เลย ทำให้ฝ่ายที่ติดลบเริ่มออกจากตลาด เลยทำให้เกิดออเดอร์ตรงข้ามต่อเนื่องด้วย เลยยิ่งทำให้ level จาก timeframe มีผลต่อเนื่อง

จากภาพประกอบด้านบน Long positions เดือดร้อนเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า แต่ต้องให้มั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และ stop loss ด้านล่างของพื้นที่ นั่นเป็นพื้นที่ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย ส่วนต่อมาที่บอกว่า เทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็หลักการเช่นเดียวกัน พอขาใหญ่เข้าเทรดได้ ค่อยดันราคาเบรคหลังจากสะสม positions พอ market structure เปลี่ยนเทรดเดอร์กลุ่มนี้เดือดร้อน ต้องค่อยๆ ออก เลยทำให้ buy market orders เกิน sell orders ได้ง่าย และยังมีเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอีกด้วย