ข่าว:

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - support-1

#1
เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

อินดิเคเตอร์อีกตัวที่เป็นที่นิยมกันในการกำหนดเทรนคือ Keltner Channel จะใช้ในการกำหนดและเทรดด้วยหลักการของเทรน เช่นดู Overbought/Oversold เพื่อหาเทรดจุดกลับตัว หรือว่าจะดูว่าเทรนหลักเป็นขาขึ้นหรือขาลงเพื่อเทรดตามเทรนเมื่อราคาลงมาทดสอบเทรน หลักการเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands คือเป็นกรอบเทรนหรือ Trend Channel ให้ดูเทียบกับราคาปัจจุบัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถ้าใช้กับ Market structure ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้เข้ามาอีกระดับหนึ่งสำหรับ Trade setup

Keltner Channel คืออะไร

You cannot view this attachment.

Keltner Channel เป็นอินดิเคเตอร์บอกเรื่องของเทรนหรือ Trend following เป็นหลัก รูปแบบการนำเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands แต่วิธีการในการหาค่าจะต่างกัน [ Keltner ใช้ ATR ในการหาค่า ส่วน Bollinger Bands ใช้ Standard Deviation ] ตัวอินดิเคเตอร์จะเสนอกรอบเทรนหรือ Channel ด้วย 3 เส้น เส้นกลางสำหรับกำหนดเทรนจากการหาค่าจาก EMA 20 ที่กำหนดใน Settings [สามารถเพิ่ม Moving Average กำหนดค่าวิธีการคำนวณเป็น Exponential เป็น 20 เปรียบเทียบได้] ส่วนเส้นด้านบนหาค่าจาก EMA +( 2 x ATR) และเส้นล่างหาค่าจาก EMA – (2 x ATR) เมื่อ 3 เส้นรวมกันก็จะได้กรอบเทรนสำหรับราคา

โดยการกำหนดเทรนจะอิงราคากับเส้นกลางหรือ EMA 20 ถ้าราคาเหนือกว่าเป็นเทรนขึ้น และถ้าราคาต่ำกว่าเป็นเทรนลง ถ้าราคาเริ่มออกจากเส้นกลางเป็นการเริ่มทำเทรนไปทางนั้นๆ ถ้าถึงเส้นบน ถือว่าเทรนไปมากหรือ Overbought ราคาอาจไปต่อแรงช่วงนี้ หรืออาจเด้งกลับมาหาเส้นกลางเพื่อทดสอบเทรนขึ้น การกลับมาเส้นกลางแล้วเด้งออกอีกรอบเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์จะได้เทรดตามเทรนขึ้นหรือหลักการเทรด Pullback นั่นเอง และถ้าราคาต่ำกว่าเส้นกลางเป็นเทรนลง หาโอกาส Sell เป็นหลัก ถ้าราคาไปถึงเส้นล่างพื้นที่ Oversold ราคาได้ลงไปเยอะ อาจไปต่อได้อีกอย่างรวดเร็วและอาจเด้งกลับมาทดสอบเทรนที่เส้นกลาง ถ้าราคาหักลงต่อก็จะเป็นโอกาสเปิดเทรดแบบ Pullback สำหรับตามเทรนลง

You cannot view this attachment.

อธิบายแบบง่ายๆ  การตีความเทรนก็จะเห็นได้ชัดเมื่อ Keltner Channel เอียงและการตีความความแคบระหว่างเส้นบนและเส้นล่าง ถ้าห่างน้อยบอกความผันผวนน้อย ถ้าห่างมากบอกความผันผวนมาก เช่นถ้าไม่เอียงไปทางไหน ราคาอยู่ในกรอบหรือ Consolidation ถ้าเอียงขึ้นเป็นเทรนขึ้น ถ้าเอียงลงเป็นเทรนลง  และเนื่องจากกรอบบนและล่างถือว่าเป็นพื้นที่ที่ราคาได้ดันไปเยอะหรือบอกถึง Overbought/Oversold ไปด้วยเลยทำให้เราสามารถเทรดจังหวะเทรนได้ดี และต้องระวังด้วยว่า อย่างกรณีที่เลข 1 และเลข 2 ราคาไปเกิดเส้นบน นอกจากบอก Overbought แล้วว่าราคาอาจเกิด Reversal ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เห็นอีกประจำคือ ก็จะเกิด Momentum ได้ดีด้วยเพราะเมื่อเกิด Overbought/Oversold ขึ้นหมายความว่าตอนนั้น Imbalance ออเดอร์อยู่ทางใดทางหนึ่งมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้ Keltner Channel เมื่อมองจากชาร์ตคือเห็นกรอบเทรนว่าตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร

Keltner Channel กับ Swing Highs/Lows

หลักการเทรด Keltner Channel คือดูราคาปัจจุบันสัมพันธ์กับ Trend channel อย่างไร แบบเดียวกันกับ Bollinger Bands คือค่าราคาเหนือเส้นกลางถือว่าเป็นเทรนขึ้น เทรดตามตอนราคาย่อตัวมาทดสอบหรือเริ่มออกจาก จนไปถึง เส้นบนให้หาจังหวะปิด พอราคาไปถึงเส้นบน ราคาวิ่งไปเยอะแล้ว Overbought โอกาสที่ราคาจะย่อกลับมาหาเทรนมีสูง ก็ให้ดู Price Action หรือสัญญาณที่บอกการ Rejection แล้วหาโอกาสเทรดสวนเทรนหรือ Reversal ในทางกลับกันสำหรับเทรนลงหรือราคาต่ำกว่าเส้นกลาง แต่ตรงที่เมื่อราคาไปเยอะแล้วถึงเกินพื้นที่ เส้นบนหรือเส้นล่างที่เป็น Overbought/Oversold ราคาอาจไปต่อก็ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร Keltner Channel เป็นการกำหนดเทรนด้วยการหาค่าจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่จะเกิดขึ้นแค่บอกความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างไร จากสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมา ถ้าเราสามารถหาจุดที่ราคาเคยเกิดร่องรอยอะไรบางอย่างไว้ แล้วใช้ข้อมูลจาก Keltner Channel ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือความสำคัญของ Swing highs/lows หรือตัวสร้าง Market structure

You cannot view this attachment.

มองดูชาร์ตอีกรอบด้วยการกำหนด Swing highs/lows คร่าวๆ เข้าไปพื้นที่เรากำหนด Keltner Channel ในการกำหนดกรอบเทรนหรือการเคลื่อนของราคา ดูเลข 1 ราคากลับขึ้นมาเบรคเส้นกลางแล้วดันขึ้นไป ดูจุด Swing high/low ที่ตีประกอบ ราคาโต้ตอบหลายรอบมาก พอราคาไปแตะเส้นบนได้ก็ดันลงมา บอกถึง Reversal สั้นๆ หรือเป็นการทดสอบตอนที่ราคาเบรคขึ้นมาก็ว่าได้  แล้วราคามาหยุดและเด้งอีกที่เส้นกลาง เกิดหางยาวๆ  ที่บอกถึง Buyers เข้ามาจะดันต่อเพราะ buying pressure ตรงเลข 1 มีข้อเสียอย่างเดียวคือ ราคายังไม่เบรคจุด Swing high ด้านบนเท่านั้นเอง แต่เราก็เห็น Build-up หรือกรอบ consolidation แคบๆ ตรงเส้นกลางพอดี บอกถึงแรงอ่อนจาก Sellers ดังนั้นโอกาสที่ราคาจะเบรคขึ้นก็มี

เลข 2 เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ Keltner Channel พร้อมทั้งหลักการ Swing Highs/Lows เพราะราคาลงมาอย่างแรกและเบรคจุด Swing low ก่อนที่เลข 1 ลงไปเกินเส้นล่างของ Keltner บอกถึง Oversold บอกถึงการเปลี่ยนข้างอย่างชัดเจน ราคากลับมาทดสอบ ก่อนที่จะไปที่เลข 2 แต่ราคาไม่ลงไปทำ New Low ใหม่ได้ ดันกลับมาเบรคเส้นกลาง เปลี่ยนจากมุมมองเทรนลงเป็นเทรนขึ้นถ้ามองจากมุม Keltner Channel แต่พอราคาดันมาถึงพื้นที่ Swing ก่อนที่ราคาจะเบรคลงไป เป็นราคาเด้งออกจากพื้นที่เส้นบนพอดี บอกถึง Overbought โอกาสที่จะเกิด Reversal เป็นไปได้ พอราคาต่ำกว่าเส้นกลางเปลี่ยนเทรนลงอีกรอบ ก็เป็นโอกาสเปิดเทรด Sell ตามเทรน แต่ถ้าท่านเห็นราคาเด้งหรือ Rejection ที่ตรง Swing ที่โดนเบรคไปและพื้นที่เส้นบนด้วย ท่านจะเปิดเทรดก่อนเมื่อเห็นราคายืนยันก่อนที่ราคาจะลงไปต่ำกว่าเส้น ที่พื้นที่เลข 4 5 และ 6 ก็เป็นหลักการเดียวกัน

You cannot view this attachment.

อีกวิธีการที่จะใช้ Keltner Channel เข้าเทรดด้วยหลักการของการใช้อินดิเคเตอร์คือ เป็นการวิเคราะห์หลาย timeframe ด้วยค่า Settings เดียวกัน เช่นอย่างภาพประกอบดูที่ H1 และ M15 แล้วดูจุด Swing high/low ประกอบก็จะช่วยในการหาจุดเข้าได้ดี
#2
ภาพรวมเกี่ยวกับ Price Action Charts

ถ้าคุณเปิดเว็บ บางครั้งมันอาจจะยากในการตัดสินใจเพื่อมองหากราฟในการเทรด คุณจะเห็นกราฟพร้อมกับ Indicator มากมาย และ เทรนด์ไลน์ มันอาจจะดูเหมือนว่าเทรดเดอร์พยายามที่จะเอาชนะความไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ผมได้คุยกับเทรดเดอร์ที่มีภาพหน้าจอเวลาเทรด อะไรคล้าย ๆ กับภาพข้างล่างนี้

You cannot view this attachment.

Too Many Indicators

ผมเคยเห็นเทรดเดอร์บางคนที่มี indicator อย่างน้อย 4 หรือมากกว่านั้นบนจอ เมื่อคุณเห็นกราฟเหล่านี้ คุณอาจจะหวังว่าเทรดเดอร์จะสามารถปลดปล่อยตัวเองจากจุดนี้

ถ้าเราอาศัยอยู่ในโลกที่เทรดโดยใช้ Price Action เท่านั้นหล่ะ? โลกที่เทรดเดอร์เลือกความง่ายในการดูกราฟ มากกว่าการเลือก Indicator ที่มีความซับซ้อน

ถ้าคุณเอาเครื่องมือรกหูรกตาพวกนั้นออก ที่เหลือมีเพียงราคา คุณจะเห็นรูปแบบต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

Price Action Chart

ตอนแรกมันอาจจะดูไม่ค่อยคุ้นถ้าไม่มีเครื่องมือ เหมือนกับชีวิต เราสร้างเครื่องมือช่วยเหลือบนความกังขาของตัวเอง เช่น เทรดกับเครื่องมือตัวโปรดมาหลายปีแล้ว ต่อมามาเทรดด้วยกราฟที่ไม่มีอะไรเลย อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณได้

ในบทความนี้ เราจะดูว่า กลยุทธ์ Price Action 6 แบบที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง หมายความว่าต่อไปเราจะดูแค่ราคา ดูการก่อตัวของรูปแบบต่าง ๆ

#1 - Outside Bar ณ จุดแนวรับแนวต้าน

สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคยกับ Outside bar ตัวอย่างของ Outside Bar ของตลาดกระทิงจะอยู่ต่ำสุดของวันก่อนหน้า แต่ว่าราคาหุ้นสามารถ เคลื่อนไหวและปิดสูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อนหน้าได้ ในภาพข้างล่างเป็นตัวอย่างของ Outside Bar สาหรับขาลง ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมากับกรณีแรก

You cannot view this attachment.

outside down day

ดังนั้น ไม่ใช่แค่เพียงหา outside candlestick แล้วส่งออเดอร์เท่านั้น ที่คุณเห็นข้างบน คือกราฟ Cambrex (CBM) มันสามารถหา Outside Bar หลังจากเกิดการทะลุเทรนด์ได้ ในกราฟ CBM มีเทรนด์ขาขึ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในกราฟ 5 นาที ก่อนที่จะมีการเกิดทะลุเทรนด์ลง

หลังจากการเบรค CBM จะมี outside down day ซึ่งนาไปสู่การ Sell ในช่วงตอนบ่าย.

#2 – การดีดกลับที่แนวรับ

Spring at Support

การดีดกลับเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นทดสอบกรอบราคาต่ำสุดและดีดกลับมาในโซนเทรดอย่างรวดเร็ว และเกิดเทรนด์ใหม่ ฉันชอบใช้ปริมาณในการยืนยันการเกิดเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะดูแค่ Price Action อย่างเดียวไม่ใช้ปริมาณ ซึ่งเราจะดูแค่กราฟแท่งเทียนเท่านั้น

การตีความผิดของกราฟดีดกลับ คือเทรดเดอร์รอสาหรับการสวิงครั้งสุดท้าย แต่ว่า การดีดกลับสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหุ้นขึ้นมาภายใน 1 – 2 % ของการแกว่งตัวจุดต่ำสุด

รูปแบบการเกิดนั้นค่อนข้างหายากว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร เพื่อแสดงให้เห็นภาพ เรามองตัวอย่างข้างล่างกัน

You cannot view this attachment.

Spring Example

จะเห็นว่าราคา Low ก่อนไม่สามารถไปถึงได้ แต่ว่าคุณสามารถบอกได้จากพฤติกรรมราคาว่าหุ้นจะกลับตัวและ ราคาจะดีดกลับเป็นขาขึ้น ในลูกศร

#3 - Inside Bars ที่เกิดขึ้นหลังจาก Breakout

Inside bars เกิดขึ้นเมื่อแท่งเทียนกระจุกตัว แล้วราคาเริ่มสร้างแนวรับแนวต้าน แท่งเทียนจะเกิดการแกว่งตัวสวิงจุดสูงต่ำของแท่งก่อนหน้าทำให้ราคาบีบเรื่อย ๆ เพื่อสะสมปริมาณหุ้น

คุณสามารถดูได้จากชุดกราฟซึ่งหลักจากนี้จะเกิดเบรคเอาท์ในกราฟต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

Inside Bars

กราฟนี้เป็นกราฟหุ้น Neonode ซึ่งค่อนข้างมีเอกลักษณ์ เพราะว่าราคาหุ้นเกิดเบรคเอาท์หลังจากที่พยายามมา 4 ครั้งและทะลุราคาสูงสุดไป ต่อมามี Inside Bar เกิดขึ้นหลังจากนั้น NEON ก็เคลื่อนไหว 20 % ของการฟ Day Trade

โปรดทราบว่า Inside bars สามารถเกิดขึ้นก่อนเบรคเอาท์ ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแกร่งและความได้เปรียบแม้ว่าจะทะลุแนวต้านไปแล้ว

#4 – ไส้เทียนยาว (Long Wick Candles)

You cannot view this attachment.

Long Wick 1

You cannot view this attachment.

Long Wick 2

คุณจะสามารถเห็นพฤติกรรมแบบ Price Action อย่างต่อเนื่องนี้กราฟนี้ ซึ่งถ้าคุณไม่เห็นคุณจะไม่เห็นรูปแบบการก่อตัวของการเคลื่อนไหวในกราฟ

เรามาดูอะไรสนุก ๆ กัน

ไส้เทียนยาวเป็นหนึ่งในรูปแบบโปรดปรานที่สุดของฉัน การเกิดรูปแบบประกอบด้วยการเกิด Gap ขึ้นหรือลง ในตอนเช้า ตามมาด้วย แรงผลักของตลาด เมื่อเกิดรูปแบบนี้จะมีไส้เทียนยาวสำหรับเทรดเดอร์เล่นรอบ เราจะรู้ว่านี้คือรูปแบบที่ทำให้เกิดรูปแบบ Price Action

เหตุผลหลายประการท่าให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเข้าช้า ทำให้ราคามันดีดขึ้น ซึ่งนำไปสู่การทดสอบราคาสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบนี้มีให้เห็นไม่บ่อย แต่ว่าเรามาดูในกราฟกันดีกว่า

You cannot view this attachment.

Long Wick 3

จะเห็นว่าหลังจากที่มีไส้เทียนยาว CDEP มี Inside bar เกิดขึ้นมาก ก่อนที่จะเกิดราคาต่ำสุดใหม่ หลังจากเกิดเบรค ราคาหุ้นเคลื่อนไหวลงต่ำที่สุดต่อ

#5 – การวัดระยะของการสวิงครั้งก่อน

Measure Previous Swings

เคยได้ยินคำกล่าวว่า อดีตมักซ้ำรอยหรือไม่? ในการเทรดก็เช่นกัน

ในฐานะเทรดเดอร์ คุณสามารถเจอกับภาวะอารมณ์บ่อยมาก จนมันครอบงำเหนือเหตุผล คุณจะดูกราฟแล้วดูว่ามันจะถูกต้อง ต้องใช่อย่างที่คุณคิด

จริง ๆ แล้วนั่นไม่ใช่ความจริง คุณรู้หรือไม่ว่าในหุ้น มีหลายคนที่คอยควบคุมตลาดมีอิทธิพลเหนือตลาดอยู่?

เทรดเดอร์เหล่านี้อาศัยด้วยหุ้นของเขา มีเงินมาก ซึ่งจะควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์

สิ่งที่คุณทำได้คือ ทำความเข้าใจกับ Price Action ในการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ก่อนหน้า เมื่อคุณทำการวิเคราะห์ราคาคุณจะสังเกตุเห็นการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 5 % ถึง 6 %

ถ้าคุณเทรดสวิง คุณอาจจะเห็นกรอบการแกว่งตัว 18 % - 20 % แต่ว่าคุณไม่ควรจะคิดว่าราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวกว้างกว่าการเคลื่อนไหวก่อนหน้า

ผมเข้าใจดีเลยว่าตลาดนั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ว่าเราควรเล่นกับโอกาสที่มีโอกาสสำเร็จสูง คนที่สามารถทำกำไรอย่างต่อเนื่องคุณย่อมชนะได้ในระยะยาว

เพื่อที่จะได้เห็นภาพมาดูกราฟกัน

You cannot view this attachment.

Measure the Swings

จะเห็นว่าหุ้น FTR ตลอดระยะเวลา 10 เดือนเจอการแกว่งตัวบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม แต่ละครั้งมีระยะราว 60 – 80 เซน ขณะที่มุมมองกราฟ FTR รายวันเราจะเห็นความสัมพันธ์เดียวกันบน Time Frame ใดก็ได้

ในฐานะเทรดเดอร์ คุณคิดว่ามันจะดูสมเหตุสมผลหรือไม่ในการทำกำไร 2 – 4 เหรียญจากการเทรดสวิง? บางครั้งกราฟอาจจะวิ่งได้ แต่ว่าในกราฟนี้อย่างน้อยก็มี 6 – 7 ครั้งที่มันเคลื่อนไหว 60 – 80 เซน ถ้าคุณสามารถเทรดแต่ละการแกว่งตัวได้สำเร็จทุกครั้ง หมายความว่าคุณตีโฮมรันทุกครั้งได้ แต่ถ้าไม่หล่ะ

#6 – การพักฐานที่น้อย

No Price Retracement

อย่าพึ่งเอาไปปนกับ Fibonacci เพราะว่าผมรู้ว่าบางคนอาจจะคิดว่านี่เป็นโซนที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การพักฐานที่น้อยนั้นสะท้อนให้ถึงความแรงของเทรนด์และเทรนด์นั้นจะเคลื่อนไหวต่อไป นี่ก็เป็นสัญญาณง่าย ๆ

You cannot view this attachment.

little retracement

บางครั้งคุณอาจจะให้มันพักฐานจนถึงระดับน้อยกว่า 38.2% ถ้าเป็นอย่างนั้นเมื่อราคาหุ้นได้ทดสอบ swing high หรือ low ก่อนหน้า จะมีโอกาสมากที่เบรคเอาท์จะเกิดขึ้นและเทรนด์จะเคลื่อนไปต่อ

สรุป

การเทรดด้วย Price Action อาจจะง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับคุณเลือกอย่างไร 6 รูปแบบที่เขียนไปมีอยู่ในตลาดเกิดขึ้นบ่อย คุณต้องดูการวิเคราะห์ของคุณว่า คุณคิดอย่างไร
#3
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / แรงส่งของราคา FOREX
เมษายน 16, 2024, 07:05:41 ก่อนเที่ยง
แรงส่งของราคา (Momentum) วัดอัตราความเปลี่ยนแปลงของราคาปิดของคู่สกุลเงิน หุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ มันมักจะใช้ตรวจหาความอ่อนแอหรือความแข็งแกร่งในคู่สกุลเงิน สิ่งสำคัญคือ แรงส่งของราคาให้สัญญาณจุดเปลี่ยนของแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเมื่อแนวโน้มกำลังจะเริ่มเกิด

นักเทรดมักจะมองหาแรงส่งของราคาและความเปลี่ยนแปลงของแรงส่งของราคา มันช่วยให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราได้ดียิ่งขึ้น

แนวโน้มจะแข็งแกร่งที่สุดเมื่อมีระดับแรงส่งของราคาที่สูงไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม เมื่อถึงจุดนั้น เราพบว่ามีสองอย่างที่จะเป็นจริง

- เราทราบว่า ผู้เล่นรายใหญ่เข้าร่วมในทิศทางนั้น
- เราทราบว่า นักเก็งกำไรไม่ลังเลว่าเป็นแนวโน้มจริงหรือไม่อีกต่อไป และพวกเขาทำการเทรดในตลาด

วิธีการอ่านแรงส่งของราคา
เรามักจะพบระดับแรงส่งของราคาที่ต่ำในตอนเริ่มต้นแนวโน้ม นั่นเป็นเพราะแนวโน้มยังไม่ได้สร้างแรงส่งของราคาจำนวนมากไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือมีการควบคุมแนวโน้มหรือความแข็งแกร่งของแนวโน้มใดแนวโน้มหนึ่งอยู่ นี่เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำความเข้าใจวิธีการอ่านแรงส่งของราคาในตลาด Forex ได้อย่างถูกต้อง เมื่อเราอยู่ในแนวโน้มที่แข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง แรงส่งของราคาจะเกิดขึ้นก่อนราคา นั่นจึงทำให้แรงส่งของราคาเป็นตัวชี้วัดที่เป็นเหตุ

โดยปรกติแล้ว คุณแค่ต้องการได้สัญญาณตัวชี้วัดแรงส่งของราคาเมื่อมันเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มหลัก หากแรงส่งของราคาไปในทิศทางตรงกันข้ามของแนวโน้ม ขอแนะนำไม่ให้ทำการเทรด มีหลายตัวชี้วัดที่ใช้วัดแรงส่งของราคา ประกอบด้วย Moving Average Convergence Divergence (MACD), Relative Strength Index (RSI), Stochastic และอื่นๆ

Relative Strength Index
สำหรับบทความนี้ เราจะใช้ตัวชี้วัด RSI เป็นเครื่องมือในการวัดแรงส่งของราคา

ตัวชี้วัด RSI เป็นหนึ่งใน Oscillator ที่ใช้มากที่สุดโดยบรรดานักเทรด FX มืออาชีพด้วยมีความแม่นยำสูง ตัวชี้วัด RSI มีตั้งแต่ 0 ถึง 100 มันมักไม่ค่อยวิ่งไปถึงระดับสุดของตัวชี้วัด และปรกติจะอยู่ในกรอบ 20-80

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเรามีระดับแรงส่งของราคาเหนือกว่า 80 นักเทรดจะตีว่าเป็น Overbought (ซื้อมากเกินไป) ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรามีระดับแรงส่งของราคาต่ำกว่า 20 นักเทรดจะตีว่าเป็น Oversold (ขายมากเกินไป)

You cannot view this attachment.
                                                           ภาพ 1: อินดิเคเตอร์ RSI

เพราะตลาดสามารถอยู่ในลักษณะนี้ได้เป็นเวลานานก่อนแนวโน้มจะเปลี่ยนทิศทาง เพราะแรงส่งของราคาเกิดขึ้นก่อนราคา เราสามารถถือระดับแรงส่งของราคาเฉกเช่นเดียวกับพฤติกรรมของราคา เมื่อเราเห็นการทะลุของเส้นแนวโน้มบนตัวชี้วัดแรงส่งของราคา พวกมันมักจะเกิดก่อนการทะลุในพฤติกรรมของราคา

แรงส่งของราคาก็เหมือนกับการปาลูกบอลขึ้นฟ้า เมื่อคุณปาลูกบอลขึ้นฟ้า มันจะเป็นแรงส่งขาขึ้น แต่เมื่อลูกหยุด แรงส่งได้กลับทิศทางเป็นขาลงเพราะความเร่งหยุดลง

ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่เกิดบนพฤติกรรมของราคาในตลาด Forex สำหรับคู่สกุลเงินที่ราคาตกลง หมายความว่า แรงส่งของราคาได้ตกลงก่อนหน้าราคาแล้ว

ตัวอย่างการเทรด

You cannot view this attachment.

                                                    ภาพ 2: กราฟราย 1 ชั่วโมง EUR/USD

ตัวอย่างข้างต้น เรามีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในตัวชี้วัดแรงส่งของราคาและการเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่งในพฤติกรรมของราคาเมื่อ Take profit นั้นบนตัวชี้วัด RSI ทะลุผ่านกรอบบน นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มใกล้จบลงแล้ว และจะเริ่มกลับทิศทางอย่างรุนแรง

เพราะแรงส่งของราคาเกิดขึ้นก่อนราคาเสมอ เมื่อเราเห็นการทะลุกรอบของแรงส่งของราคา นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า ตลาดสูญเสียแรงและแนวโน้มหลักกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง

สรุป
สรุปคือ ตัวชี้วัด RSI ที่บอกแรงส่งของราคาเป็นตัวชี้วัดที่ทำความเข้าใจได้ง่ายมาก เป็นตัวชี้วัดชั้นนำเพราะเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่เป็นเหตุไม่กี่ตัวที่มีความพิเศษในเรื่องความเรียบง่ายและทรงประสิทธิภาพ เพราะคุณสามารถใช้มันเหมือนพฤติกรรมของราคา ทำให้เป็นเรื่องง่ายมากในการแปลข้อมูลจากตัวชี้วัดแรงส่งของราคาเป็นพฤติกรรมของราคา RSI Oscillator เหมาะสำหรับการประเมินจุดกลับทิศทางและหาจังหวะเข้าและออกการเทรด
#4
ตลาด Forex (Foreign Exchange) เป็นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีปริมาณการซื้อขายต่อวันสูงที่สุดในตลาดเงินต่าง ๆ ทำให้เป็นที่ดึงดูดของเทรดเดอร์จำนวนมาก แต่ด้วยสาเหตุเหล่านี้ส่งผลให้การเทรด Forex มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ในทางตรงกันข้าม Forex ก็สามารถทำให้คุณมีเงินเพิ่มมากขึ้นเพียงข้ามคืนเช่นกัน ดังนั้น หากคุณคิดจะลงทุนในตลาดนี้จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาด Forex อย่างละเอียดและรอบคอบ โดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐาน, เทคนิคการเทรด, กลยุทธ์การเทรด รวมทั้งคำศัพท์ที่ใช้ในการเทรด

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเคล็ดลับการเทรด Forex ให้ได้กำไร และป้องกันการล้างพอร์ต โดยการใช้เครื่องมือพื้นฐานง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้นั่นคือ การตั้งค่า TP SL พร้อมอธิบายความหมาย TP (Take Profit) คือ อะไร และ SL (Stop Loss) คือ อะไร เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นและนำไปปรับใช้ในการเทรดของคุณ

TP คือ อะไร? Take Profit คือ อะไร?

TP ย่อมาจาก Take Profit คือ การกำหนด "จุดทำกำไร" ณ ราคาหนึ่ง หากราคามาวิ่งมาถึงจุดที่เรากำหนดไว้แล้ว ระบบจะทำการปิดออเดอร์โดยอัตโนมัติ ดังนั้น วิธีตั้งค่า TP จึงต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงเทคนิคมาอย่างรอบคอบแล้ว ถึงจะสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

SL คือ อะไร? Stop Loss คือ อะไร?

SL ย่อมาจาก Stop Loss คือ การกำหนด "จุดขาดทุน" ณ ราคาหนึ่ง หากราคาไม่ได้วิ่งสวนทางแนวโน้มที่คุณวิเคราะห์ไว้ และเมื่อมาถึงจุดที่ตั้งค่า SL ระบบจะทำการปิดออเดอร์โดยอัตโนมัติ มันเป็นเหมือนการกำหนดว่า คุณสามารถขาดทุนได้เพียงเท่านี้ ดังนั้น วิธีตั้งค่า SL จะช่วยป้องกันการล้างพอร์ตได้ และมีประโยชน์มากในกรณีที่คุณไม่ได้อยู่หน้าหน้าจอในการเทรด

ทำไมต้อง ตั้งค่า TP SL ทุกครั้ง

หากเราพึ่งเข้ามาเป็นเทรดเดอร์ในตลาดการลงทุนได้ไม่นาน คงจะมีคำถามว่า "ทำไมต้อง ตั้งค่า TP SL ด้วย โดยเฉพาะ TP ทำไมไม่ปล่อยให้มันวิ่งขึ้นและทำการขายทีเดียว" ขอบอกว่า คุณทำได้แบบนั้น ถ้าคุณอยู่ในตลาดการลงทุนที่ถูกจริตกับวิธีนั้น เพราะตลาดการลงทุนมีหลากหลายรูปแบบ หากเป็นตลาดหุ้นสามารถซื้อหุ้นในราคาถูกแล้วปล่อยเวลาผ่านไปเป็นเดือนเป็นปี แล้วมา Take Profit ทีเดียวเมื่อราคาหุ้นแพงขึ้น แต่ในตลาด Forex ไม่ควรทำเช่นนั้น

วิธีตั้งค่า TP SL สำคัญมากในตลาด Forex เนื่องจากเป็นการซื้อขายแบบ CFD (Contract for Difference) หรือเรียกว่า "การซื้อขายสัญญาส่วนต่าง" ซึ่งราคามีความผันผวนรุนแรง ทำให้การกำหนดจุด Take Profit และ Stop Loss สามารถรักษาพอร์ตการลงทุนของคุณได้

ตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดออเดอร์ Buy XAU และวิเคราะห์ว่า ราคาทองคำจะขึ้นแล้วทำการซื้อถูกไปขายแพง โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อทองคำ รวมทั้งดู Indicator อย่างถี่ถ้วนแล้วว่า ทองคำมีแนวโน้มที่จะราคาขึ้นแน่นอน และไม่ได้ ตั้งค่า TP SL ไว้ คือ การปล่อยกราฟให้พุ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ พอกราฟขึ้นสูงเท่าไร ยิ่งทำให้เราความรู้สึกภูมิใจในออเดอร์ตัวเองมากขึ้นเท่านั้น

หลักจากนั้นคุณได้ปิดหน้าจอ แล้วเอนตัวลงนอนแบบไม่ได้คิดอะไร เพราะมั่นใจ 100% ว่า ตนเองทำกำไรได้แน่ ๆ ในออเดอร์นี้ พอเช้าวันต่อมากลับเห็นว่า ออเดอร์ที่เปิดไว้เมื่อคืนราคาวิ่งลงมาอยู่ในแดนลบ มันเป็นความรู้สึกที่เสียดายกำไรเอามาก ๆ คุณคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้กับคุณใช่ไหมครับ และนี่จึงเป็นคำตอบว่าทำให้เราเห็นถึงให้ความสำคัญกับการ ตั้งค่า TP SL หรือ Take Profit และ Stop Loss เวลาเปิดออเดอร์ทุกครั้ง

วิธีตั้งค่า TP SL

วิธีตั้งค่า TP SL หรือกำหนดจุด Take Profit และ Stop Loss จะมีเทคนิคที่แตกต่างกันออกไปตามสไตล์ของแต่ละคนว่า คุณพึงพอใจในกำไรเท่าไร และยอมรับการขาดทุนได้มากน้อยเพียงใด แต่ควรมีการวิเคราะห์มาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ซึ่งปกติเทรดเดอร์จะมีวิธีตั้งค่า TP SL จากการคำนวณการเคลื่อนที่ของ Pips หรือคิดเป็น % ของจำนวนเงินทุนที่มีในพอร์ต หรือบางคนอาจดูข่าวเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ ประกอบด้วย เพื่อประมาณ % ว่ากราฟมีโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้มากน้อยแค่ไหน เมื่อกราฟวิ่งมาถึงจุด TP ที่เราตั้งไว้แล้ว ระบบจะทำการปิดออเดอร์ ทำให้เราได้รับกำไรนั่นเอง นอกจากนี้ คุณควรใช้ Indicator เพื่อช่วยในการวิเคราะห์จุด TP (Take Profit) และ SL (Stop Loss) ให้แม่นยำมากขึ้น เช่น

- การหาจุด Take Profit และ Stop loss โดยใช้ แนวรับ-แนวต้าน
- การหาจุด Take Profit และ Stop loss โดยใช้ Fibonacci
- การหาจุด Take profit และ Stop loss โดยใช้ Indicator ต่าง ๆ
- การหาจุด Take profit และ Stop loss โดยระบบ

ตัวอย่าง วิธีตั้งค่า Take Profit (TP)

วิธีตั้งค่า TP มีซับซ้อนมากกว่า SL ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แต่ต้องผ่านการวิเคราะห์มาอย่างถี่ถ้วนแล้วเท่านั้น

กำหนดกำไรเป็น % โดยปกติเทรดเดอร์ส่วนมากมักจะกำหนดกำไรไว้ที่ประมาณ 3-10% ต่อการเทรด 1 ครั้ง เพื่อลดโอกาสในการขาดทุน และการไม่โลภมากจนเกินไปก็ทำให้เงินทุนเราปลอดภัยตามไปด้วย
ไม่เปลี่ยนตำแหน่งจุด TP (Take Profit) เมื่อเราเริ่มมองเห็นกำไรในออเดอร์นั้น ๆ แล้วในขณะที่กราฟวิ่งมาใกล้จุดทำกำไรที่เราตั้งไว้ (Take Profit) แล้วบางทีเราจะมีความรู้สึกว่าอยากเลื่อนจุด Take Profit ออกไปอีก เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้ถือว่าไม่สิ่งไม่ควร เพราะเทรดเดอร์ที่มีแผนการเทรดจริง ๆ เขาจะวางจุดทำกำไร และจุดขาดทุนไว้ตั้งแต่ตอนแรก แล้วไม่มานั่งกังวลอยู่หน้าจอตลอดเวลา แต่ก่อนที่คุณจะสามารถทำแบบนี้ได้ คุณต้องมีการฝึกฝนในด้านจิตวิทยาการเทรด Forex ด้วย

ตัวอย่าง วิธีตั้งค่า Stop Loss (SL)

วิธีตั้งค่า SL อาจไม่มีซับซ้อนเท่าวิธีตั้งค่า TP แต่ความสำคัญอยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความพึงพอใจของแต่ละบุคคล ดังนี้

- ตั้งจุดตัดขาดทุนตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน
- ตั้งจุดตัดขาดทุนตามรูปแบบของกราฟ
- ตั้งจุดตัดขาดทุนตามความผันผวน
- ตั้งจุดตัดขาดทุนตามเวลา

รูปแบบ วิธีตั้งค่า Take Profit (TP)

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า วิธีตั้งค่า TP หรือ Take Profit นั้นมีความซับซ้อนกว่า SL หรือ Stop Loss ค่อนข้างมาก เราจึงได้แบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

วิธีตั้งค่า Take Profit (TP) ในเทรนขาขึ้น

วิธีตั้งค่า TP (Take Profit) ในเทรนขาขึ้น คือ การตั้งจุดทำกำไรในช่วงที่ราคาเป็นเทรนขาขึ้น หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าการที่เราซื้อของถูกเพื่อไปขายแพงในอนาคต

You cannot view this attachment.

วิธีตั้งค่า Take Profit (TP) ในเทรนขาลง

วิธีตั้งค่า Take Profit (TP) ในเทรนขาลง คือ การตั้งจุดทำกำไรในช่วงที่ราคาเป็นเทรนขาลง หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าการที่เราขายของแพงก่อน เพื่อไปซื้อคืนในราคาถูก (การวิเคราะห์ว่าราคาจะลงในอนาคต แต่เราขายก่อน)

You cannot view this attachment.

วิธีตั้งค่า Take Profit (TP) ในช่วงที่ราคาเป็นลักษณะ Sideways

You cannot view this attachment.

ประโยชน์ของ Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL)

- คุณไม่จำเป็นต้องเฝ้ากราฟตลอดทั้งวัน
- คุณสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนด้วยการตั้งจุด TP (Take Profit)
- มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้างพอร์ต
- คุณจะสามารถวางแผนการเงินเพื่อใช้เทรดได้ดียิ่งขึ้น
- การเทรดของคุณจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำถามที่พบบ่อย Take Profit (TP) คือ อะไร? Stop Loss (SL) คือ อะไร? และ วิธีตั้งค่า TP และ SL[/b

วิธี Stop Loss มีกี่แบบ
► Stop loss หรือการตัดขาดทุน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น Percentage Stop, Chart Stop, Volatility Stop และ Time Stop

Cut loss ต่างกับ Stop Loss ต่างกันยังไง
► Stop Loss คือ การขายสินทรัพย์เมื่อเห็นว่ากำไรลดลง ไม่จำเป็นต้องขาดทุน แต่ Cut Loss คือการขายสินทรัพย์หลังจากขาดทุนไปแล้ว เพื่อไม่ให้ขาดทุนหนักกว่าเดิม

Take Profit กับ Stop Loss ต่างกันอย่างไร
► Take Profit คือ Equity ที่เทรดเดอร์ปิดการลงทุนเพื่อรับผลกำไรจำนวนหนึ่ง แต่ Stop Loss คือ Equity ที่เทรดเดอร์ปิดการลงทุนเพื่อหยุดการขาดทุนที่จะเพิ่มขึ้น

สรุป

ในบทความนี้ เราได้อธิบายว่า Take Profit (TP) คือ อะไร? Stop Loss (SL) คือ อะไร? และ วิธีตั้งค่า TP และ SL ไปเรียบร้อยแล้ว คุณจะเห็นว่า การกำหนดจุดทั้งสองนี้มีประโยชน์มากสำหรับการเทรด นอกจากนั้น การกำหนดจุด Take Profit และ Stop Loss ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร และลดความเสี่ยงในการล้างพอร์ตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในการเทรด Forex ยังมีเทคนิคและกลยุทธ์อีกมากมายให้คุณต้องเรียนรู้ หากใครกำลังสนใจการลงทุนในตลาดนี้ จำเป็นต้องหมั่นศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม และอีกสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ การเลือกโบรกเกอร์ ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์นักลงทุน ซึ่งการเลือกโบรกเกอร์ที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการเทรดที่มีประสิทธิภาพ
#5
หลักสำคัญของการเทรดแนว Supply/Demand คือเข้าใจความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ผ่านทางชาร์ต ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังหรือการทำงานของออเดอร์ที่ทำให้ Supply/Demand เกิดขึ้น พร้อมทั้งรู้จักกรองสิ่งต่างๆ ที่ได้อธิบายมาเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ว่าราคาน่าจะไปทางนั้นๆ อีกรอบเมื่อเปิดเทรด แต่การเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ แม้ว่าความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ได้รับรองว่าจะเกิดขึ้นจริง มีสิ่งที่เทรดเดอร์ที่เทรดแนวนี้ควรใส่ใจเพื่อจะทำให้การเทรดปิดทำกำไรได้ง่าย

ข้อแรก พยายามเทรด Supply/Demand ที่เกิดในช่วงตลาดสำคัญ

You cannot view this attachment.

ให้หาว่า Demand/Supply ที่เกิดขึ้นนั้นๆ เกิดช่วงหลักๆ ของตลาดการเงินโลก หรือช่วงที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ ช่วงตลาดหลักก็จะแบ่งออกเป็นช่วงๆ เริ่มที่ Sydney, Tokyo, London และ New York อย่างภาพประกอบด้านบนเป็น GBPUSD ที่เป็นตลาดยุโรปเปิด และมาคาบเกี่ยวกับตลาดอเมริการอีก เทียบเวลาประเทศไทย เริ่มเวลา 15.00-24.00 และ ตลาด USD เริ่ม 19.00-04.00 ในภาพประกอบเป็นการใช้ Market session เข้ากับ Metatrader ชาร์ต GBPUSD เพื่อดูช่วงตลาด  ดู Supply ที่เลข 1 เกิดในช่วงของตลาด London – ของวันก่อน แล้ววันถัดมา ราคาย่อตัวมาตรงนั้นอีกรอบ เพราะ Demand/Supply ที่เกิดในช่วงตลาดหลักๆ มักจะเป็น Demand/Supply ที่เกิดจากขาใหญ่เข้าเทรดเป็นหลัก ที่เลข 2 เป็น Swap Supply ที่ราคาได้เบรค Demand ลงมา สังเกตุดู Demand ตรงนี้เป็นการทำ Lower Low ได้ และตอนราคากลับไป ราคาทำ Lower High ตรงจุดเข้าเทรด พอราคากลับมาอีกรอบราคาไม่ค่อยโต้ตอบ Demand ตัวนี้ เลยทำให้ราคาเบรคได้ง่ายกลายมาเป็น Supply ช่วงตลาด London โต้ตอบนิดหน่อย แต่ราคาเบรคช่วง New York โอกาสเทรดราคาย่อตัวกลับมาเกิด อีก 2 วันตามมา และ Demand ที่เลข 3 ก็เช่นกันเปิดช่วง London เปิดตลาด เป็นต้นตอที่ราคาเบรคขึ้นมาหลังจากที่ราคาทำเทรนลง นี่คือความสำคัญของช่วงตลาดกับ Demand/Supply ที่เกิดขึ้น

เทรด Supply/Demand ที่เห็นราคาทำ High/Low ใหม่ได้

You cannot view this attachment.

การอ่านราคาทำ High/Low ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญว่าตลาดบอกว่าเป็นอย่างไรในสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่คิดเอาเอง แม้ว่าการเทรดแนว Demand/Supply จะเห็นว่าเกิดขึ้นตลอด และยิ่งเป็นการหา Demand/Supply ใน timeframe ย่อยลงไป ก็จะเห็นรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย สำคัญคือต้องรู้จักเลือกและกรองว่าตรงไหนเทรดได้ ด้วยการใช้ตัวกรองที่อธิบายก่อนนี้ แต่ การที่ความไม่สมดุลย์เกิดเป็นตัวยืนยันว่า Demand/Supply เกิดขึ้น ถ้าเห็นว่าราคาสามารถทำ New High หรือ New Low ใหม่ได้ ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้สูงขึ้นมาอีก เพราะความไม่สมดุลย์ตัวนั้นบอกว่าเป็น Impulsive move เพราะทั้งเปลี่ยน price structure ที่เกิดขึ้น ยังเปลี่ยนข้อมูลสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดด้วย สร้างความกดดันให้เทรดเดอร์พวกที่ติดลบให้จำต้องออกจากตลาด อีกทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะเทรดทาง Impulsive move เกิด และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ถ้าราคาวิ่งสวนพวกเขายิ่งจำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง เลยเป็นที่มาของ market orders ที่คาดการณ์ได้ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความไม่สมดุลย์เมื่อเข้าเทรดตอนราคาย่อตัวกลับมา

ราคาต้องเบรค Supply/Demand อย่างไร

You cannot view this attachment.

การที่ราคาเบรค Supply/Demand เป็นเรื่องปกติ เพราะเรื่องออเดอร์ตรงข้ามไม่มากพอ แต่เมื่อเรามองที่ชาร์ต ก็มีบางอย่างพอจะดูได้ เช่นดูเรื่องของ Retracement ประกอบที่พื้นที่นั้นๆ ว่าราคามากี่ครั้งแล้ว และแต่ละครั้งราคาเด้งออกอย่างไร หรือเด้งมานิดหน่อย ราคาสามารถสร้าง consolidation ใกล้ๆ ได้ เพราะบอกถึงไม่มีเทรดเดอร์อยากเทรดทาง supply/demand นั้นๆ แล้ว ก็มักจะตามมาด้วยการเบรค หรือการเบรคด้วย Momentum สำคัญคือเมื่อเบรคให้เห็นต้องเบรคด้วย Momentum และรอให้แท่งเทียนปิดก่อนว่าเปิดทางนั้นได้จริงหรือเปล่า เพราะอาจกลายมาเป็น เบรคหลอกหรือ False Break/Stop Hunt ก็เกิดขึ้นประจำเมื่อราคาเปิดก็จะทำให้เกิด Swap level หรือจาก Supply กลายมาเป็น Demand หรือจาก Demand กลายมาเป็น Supply แล้วก็ใช้หลักการตัวกรองเข้าไปประกอบ และข้อมูลเรื่องของ trapped traders เข้าไป ก็จะทำให้เห็นโอกาสเทรดได้ตลอดไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง

ข้อดีของการเทรดราคาเบรค Level หรือ Supply/Demand คือโอกาสจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าราคาเปลี่ยนเทรน หรือการเทรดแบบ Reversal (Drop-Base-Rally สำหรับ Demand และ Rally-Base-Drop สำหรับ Supply) การเบรคจะเป็นการเทรดตามเทรนหรือ Continuation Supply/Demand มี Rally-Base-Rally สำหรับ Demand และ Drop-Base-Drop สำหรับ Supply  สิ่งสำคัญของการเทรดแล้วไปต่อของการเทรดแบบ Continuation เป็นเรื่องของการเห็นราคาสามารถ Engulf พื้นที่ตรงข้ามได้ หรือที่อธิบายหลักการ  ราคาทำ New High/New Low ด้านบนได้นั่นเอง


ระยะห่างจาก Base และ Retracement


You cannot view this attachment.

ส่วนสุดท้ายที่อยากให้ใส่ใจคือระยะห่างจากพื้นที่ Base และราคากลับมา ไม่ควรจะมากเกินไป หมายความว่า Demand/Supply ที่เกิดขึ้นกับจุดที่จะเทรดตอนราคากลับมา ไม่ควรจะห่างกันมากเกินเช่น  ถ้าท่านเป็น Day Trading พื้นที่ Supply/Demand ควรจะอยู่ใน 2-5 วัน เพราะหลักการเทรดความไม่สมดุลย์เป็นการหาพื้นที่ unfilled orders ที่เหลือจากความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น ที่ขาใหญ่มักจะเข้าเทรดอีกรอบ ถ้าพื้นที่ที่พวกเขาเข้าเทรดมีออเดอร์ตรงข้ามไม่เพียงพอ ถ้านานไปก็จะมีการออกไปแล้ว ท่านต้องรอให้ข้อมูลใหม่เข้ามาประกอบก่อน ดู price structure ที่เกิดขึ้นก่อน ต่างจากที่ห่างกันไม่กี่วัน ราคาจะโต้ตอบ พื้นที่ Supply/Demand ได้เร็วกว่า
และสุดท้ายต้องไม่ลืมเรื่องของ Liquidity hunt หรือ stop hunt ที่มักจะเกิดขึ้นประจำเพราะพื้นที่พวก Demand/Supply จะดึงดูดเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาดและรอเข้า เลยทำให้เกิด liquidity พื้นที่นั้นๆ มากขึ้นเป็นเรื่องปกติ

You cannot view this attachment.

เพราะ liquidity พวกนี้จะช่วยให้ขาใหญ่เทรดได้ราคาที่ดีกว่า และเทรดด้วยความมั่นใจว่ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอ ณ จุดที่พวกเขาต้องการจะเข้าตลาด
#6
สำหรับการเทรด Forex จะมีจุดที่ต้องทำกำไรหรือที่เรียกว่า Take Profit คือ การเก็บกำไร เป็นหนึ่งในสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องทำความเข้าใจ เพื่อคำนวณหาว่าจุดไหนคือจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด การตั้งค่า Take Profit จะช่วยปลูกฝังวินัยการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้อารมณ์ของเทรดเดอร์เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขายในแต่ละครั้ง

Take Profit คืออะไร?
Take Profit (TP) คือ ประเภทคำสั่งที่ใช้ในการเก็บกำไร โดยจะมีการระบุราคาที่แน่นอนเอาไว้ เมื่อราคาของสินทรัพย์ไปถึงจุดทำกำไรที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้า คำสั่ง Take Profit จะถูกเรียกใช้อัตโนมัติและสถานะจะถูกปิด หรือเรียกว่าการเก็บกำไร เป็นการปิดออเดอร์สถานะที่เป็นกำไร โดยวิธีการตั้ง TP จะคำนวณจากจำนวน pips หรืออาจจะคิดเป็น % ของจำนวนเงินทุนที่เรามีหรือตามแนวร้บแนวต้าน เทรดเดอร์มักใช้คำสั่งประเภทนี้เพื่อล็อคกำไรและป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น หากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับแผนการเทรดของพวกเขา

กลยุทธ์ในการหาจุด Take Profit คือ
โดยทั่วไปแล้วการตั้งค่า Take Profit ขึ้นอยู่กับความพอใจของนักเทรดเป็นส่วนใหญ่ ว่านักเทรดมีความหวังในผลกำไรอย่างไร จากนั้นเราก็ตั้งค่า Take Profit ลงไปในแต่ละออเดอร์ได้เลย โดยมีกลยุทธ์เทคนิคในการหาจุด Take Profit ง่าย ๆ ด้วยการวิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน ว่าราคาของสินทรัพย์จะเกิดการกลับตัวหรือจะทะลุผ่านแนวรับแนวต้าน เพื่อระบุโอกาสของราคาที่อาจเป็นไปได้ ดังนี้

1. ใช้แนวรับเป็นจุดทำกำไร เมื่อเราเปิดออเดอร์ Sell
ในช่วงที่ราคาสินทรัพย์กำลังลง หากราคาลงมาถึงเส้นแนวรับแล้วมีการเด้งขึ้นจากระดับนี้ แสดงว่าราคาสินทรัพย์หรือตลาดมีแนวโน้มที่จะหยุดลง เนื่องจากความต้องการในการซื้อมีมากพอ หรือมีแรงซื้อมากขึ้นทำให้ราคาไม่ลดลงอีก ระดับแนวรับอาจถูกมองว่าเป็นพื้นของราคาในโซนนั้น เนื่องจากราคามักจะเด้งขึ้นที่ระดับนี้นั่นเอง

You cannot view this attachment.

2. ใช้แนวต้านเป็นจุดทำกำไร เมื่อเราเปิดออเดอร์ Buy
ในช่วงที่ราคาสินทรัพย์กำลังขึ้น หากราคาขึ้นมาถึงเส้นแนวต้านแล้วมีการกลับตัวจากระดับนี้ แสดงว่าราคาสินทรัพย์หรือตลาดมีแนวโน้มที่จะหยุดขึ้น ระดับแนวต้านก็อาจถูกมองว่าเป็นเพดานของราคาในโซนนั้น เนื่องจากราคามักจะกลับตัวลงเมื่อชนเส้นแนวต้านนั่นเอง

You cannot view this attachment.

วิธีการตั้งค่า Take Profit
โดยปกติการตั้งค่า TP จะคำนวณจากจำนวน pips หรืออาจจะคิดเป็น % ของจำนวนเงินทุน ซึ่งวิธีการตั้งค่า TP สามารถตั้งค่าได้ทั้งตอนเปิดออเดอร์ และ หลังเปิดออเดอร์ ดังนี้

1.ตั้งตอนเปิดออเดอร์ คือ การใส่จุด TP ตอนก่อนยืนยันเปิดออเดอร์
2.ตั้งหลังเปิดออเดอร์ คือ การใส่จุด TP เมื่อปล่อยให้กราฟวิ่งไปสักระยะนึงก่อน แล้วค่อยหาจุดตั้ง TP ที่ต้องการ

ตัวอย่าง
คุณต้องการเปิดออเดอร์ Buy ของคู่สกุลเงิน EURUSD ที่ราคา 1.56780 และต้องการปิดออเดอร์ทำกำไรเมื่อกราฟวิ่งไปถูกทาง 1000 จุด ดังนั้น คุณต้องใส่ค่า TP ที่ราคา 1.57780 และเมื่อราคาวิ่งไปถึงจุด TP ที่ได้ตั้งไว้ ระบบจะทำการปิดออเดอร์ให้ทันที

ประโยชน์ของการใช้คำสั่ง Take Profit คือ
1.ไม่ต้องมานั่งเฝ้ากราฟทั้งวัน เอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้ เมื่อกราฟถึงจุด TP แล้วแสดงว่ามันทำกำไรตามที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้นั่นเอง
2.ทำให้เราไม่พลาดโอกาสปิดกำไรเมื่อกราฟวิ่งไปถึงจุด TP เพราะกราฟมีโอกาสวิ่งไปทางทางใดทางหนึ่งแล้วกลับตัวในระยะเวลาอันสั้น
3.เป็นเครื่องมือในการคำนวณความเสี่ยง R:R เพื่อให้แผนการเทรดเป็นไปอย่างมีระบบ ช่วยสร้างวินัยและลดระยะเวลาในการตัดสินใจ

สรุป ความสำคัญของคำสั่ง Take Profit คือ
การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญของการลงทุน เพราะหลายครั้งที่เทรดเดอร์เกิดการลังเลเมื่อถึงจุดที่จะต้องซื้อขายตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ คำสั่ง Take Profit คือหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยคุณบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่พลาดโอกาสในการทำกำไรหากตลาดมีความผันผวนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะเก็บกำไรตอนไหนดี ช่วยลดความเสี่ยงและยังลดความเครียดให้กับคุณได้อีกด้วย
#7
You cannot view this attachment.

กลยุทธ์ Alligator

ระยะกรอบเวลาที่เหมาะสม =  M15 ขึ้นไป
คู่สกุลเงินที่เหมาะสม =  ทุกคู่สกุลเงิน

อินดิเคเตอร์และการตั้งค่า

- Alligator (ตามต้นฉบบับ)
- Moving Average (SMA 144)

ตัวย่างการใส่อินดี้ Alligator (ตามต้นฉบับ) ลง MT4

You cannot view this attachment.

ตัวย่างการใส่ Moving Average (SMA 144)

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขพิจารณาจังหวะ Short/Long/SL/TP และ Close ออเดอร์

เงื่อนไขหาจังหวะเข้าออเดอร์ Long/SL/TP/Close Order

- ราคาตั้งอยู่เหนือ SMA (144) (บ่งบอกถึงแนวโน้มตลาดวัว)
- เส้นสีเขียวของอินดี้ Alligator ได้ข้ามเส้นสีแดงและสีฟ้าจากด้านล่างขึ้นบน
- เส้นสีแดงของอินดี้ Alligator ได้ข้ามเส้นสีฟ้าจากด้านล่างขึ้นบน
- Stop Loss อาจตั้งไว้ต่ำกว่า SMA 144 ที่ 1 จุด หรือตามความเสี่ยงที่สามารถรับได้
- Take Profit ใส่ตามที่ท่านพอใจหรือเห็นว่าสมควร
- Close ออเดอร์เมื่อเส้นสีเขียวของ Alligator ได้ข้ามเส้นสีแดงจากด้านบนลงล่าง

ตัวอย่างจังหวะเข้าและออกออเดอร์ กรณี long

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขหาจังหวะเข้าออเดอร์ Short/SL/TP/Close Order

- ราคาตั้งอยู่ด้านล่าง SMA (144) (บ่งบอกถึงแนวโน้มตลาดหมี)
- เส้นสีเขียวของอินดี้ Alligator ได้ข้ามเส้นสีแดงและสีฟ้าจากด้านบนลงล่าง
- เส้นสีแดงของอินดี้ Alligator ได้ข้ามเส้นสีฟ้าจากด้านบนลงล่าง
- Stop Loss จะถูกตั้งไว้สูงกว่า SMA 144 1 จุด
- Stop Loss อาจตั้งไว้สูงกว่า SMA 144 ที่ 1 จุด หรือตามความเสี่ยงที่สามารถรับได้
- Take Profit ใส่ตามที่ท่านพอใจหรือเห็นว่าสมควร
- Close ออเดอร์เมื่อเส้นสีเขียวของ Alligator ได้ข้ามเส้นสีแดงจากด้านล่างขึ้นบน

ตัวอย่างจังหวะเข้าและออกออเดอร์ กรณี Short

You cannot view this attachment.
#8
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / ระบบเทรด Bill Combo
เมษายน 08, 2024, 02:07:20 หลังเที่ยง
ข้อมูลเบื้องต้น

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Bill William เขาเป็นเทรดเดอร์ชาวอเมริกัน เป็นคนเขียนหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการเทรด ชื่อว่า technical analysis และ chaos theory ซึ่งเขาเป็นคนคิดค้นเครื่องมือหลายตัว ได้แก่ Accelerator/Decelerator Oscillator, Alligator, Awesome Oscillator, Fractals, รวมทั้ง Market Facilitation Index ซึ่งได้รับความนิยมสูงในตลาด Forex  เครื่องมือของเขาบรรจุอยู่ในโปรแกรม MT4 เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวิเคราะห์ ซึ่งระบบที่ออกแบบเป็นระบบ Trend Following โดยจากเครื่องมือของ Bill William เป็นหลักนั่นก็คือ Awesome Oscillator โดยใช้ indicator MACD เป็นตัวยืนยันสัญญาณร่วมกับ Alligator Oscillator ซึ่งทั้งหมดเป็นเครื่องมือระบุเทรนด์ทั้งสิ้น

ระบบนี้เหมาะกับใคร
สำหรับระบบนี้เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ชอบใช้เวลากับการเทรดน้อย เข้ามาดูเป็นครั้งคราว เป็น position Trader ที่ถือระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ การใช้ Time Frame ที่ใช้คือ 4H ทำให้กรอบการวิ่งของเทรนด์อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามจะมีช่วงหนึ่งที่ไม่สามารถเทรดได้เพรราะว่าเงื่อนไขของการเทรดไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเทรดเดอร์จะต้องมีความอดทนพอสมควร รู้จักจังหวะ บริหารจังหวะ รู้จักการบริหารความตึงเครียดในการเฝ้าหน้าจอ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าได้อย่างถูกจังหวะ

เครื่องมือที่ใช้ในการเทรด
สำหรับเครื่องมือที่ใช้เทรดในระบบนี้อย่างที่ได้เรียนกันไปแล้ว ว่ามี 3 ตัวเท่านั้น โดยเป็นเครื่องมือของ Bill William เป็นหลัก ประกอบด้วย indicator 3 ตัวที่มีติดตั้งอยู่แล้วในโปรแกรม MT4 ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

indicator 3 ตัวของBill William

1.Awesome Oscillator – ไม่มีการตั้งค่าอยู่แล้ว
2.MACD ใช้ค่า 20,40,5 เพื่อยืนยันสัญญาณเทรด
3.Gator Oscillator เพื่อยืนยันสัญญาณเทรด โดยใช้ค่าเดิม

สำหรับ Time Frame ที่ใช้ในการเทรดได้ต่ำสุดคือ 4H หรืออาจจะใช้ 1D ก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้การใช้ให้ต่ำกว่า 1H เพราะว่ากราฟจะแกว่งตัวสูงจนจับเทรนด์ไม่ได้

เงื่อนไขการเข้าเทรด
ในระบบนี้เป็นระบบเทรดแบบ Trend Following ดังนั้นการเทรดจึงเป็นการเทรดแบบ 2 เงื่อนไขคือเงื่อนไขช่วงที่มีเทรนด์และเงื่อนไขช่วงไม่มีเทรนด์ การอยู่ในช่วงไม่มีเทรนด์ควรจะออกจากตลาด โดยเราจะใช้ MACD ในการระบบตามเงื่อนไข โดยมีเงื่อนไปสำรหับออเดอร์ Buy และ Sell ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการ Buy และ Sell

เงื่อนไขการ Buy
1.Awesome Oscillator อยู่ด้านล่างและกลับตัวจากสีแดงเป็นสีเขียว
2.MACD ยืนยันสัญญาณโดย historgram สูงกว่า แท่งก่อนหน้า
3.Gator สีเขียวอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
4.ขนาดของแท่ง histogram จะต้องเป็นแท่งภูเขากลับด้านที่ยาวด้านล่างเท่านั้น

เงื่อนไขการ Sell
1.Awesome Oscillator อยู่ด้านบนมากกว่าเส้นศูนย์ และกลับตัวจากสีเขียวเป็นสีแดง
2.MACD ยืนยันสัญญาณโดย Histogram ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า
3.Gator สีเขียวอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน
4.ขนาดของแท่ง Histogram จะต้องเป็นผู้เขาที่สูงด้านบนเท่านั้น

เงื่อนไขทั้ง 2 สำหรับการ Buy และ Sell จะมีการใช้ histogram ของ MACD ที่เป็นรูปลักษณะภูเขาเพื่อยืนยันสัญญาณเทรนด์ โดยในช่วงไม่มีเทรนด์ MACD แท่งจะไม่สูงมากนัก ซึ่งช่วงนั้นเราไม่ควรที่จะเทรด

โดยตัวอย่างการซื้อขายในภาพ สีเหลืองคือสัญญาณ Buy และวงกลมสีแดง คือ สัญญาณ SELL โดยวงกลมสีฟ้าคือตัวอย่างสัญญาณ Take Profit อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์สามารถ Modify สัญญาณเข้าออกเหล่านี้ได้ตามต้องการเพื่อความเหมาะสม แต่เราคิดว่าระบบที่ออกแบบมามีความสมบูรณ์แบบพอสมควร

เงื่อนไขการออกออเดอร์
สำหรับเงื่อนไขการออกจากการเทรด มี 2 แบบคือ การตัดขาดทุน และการทำกำไร การตัดขาดทุนสามารถทำได้โดยการตั้ง Stop loss เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากระบบเทรนด์ Following เราจะไม่ทำการตั้ง Take Profit เพราะว่า เราต้องการให้ราคาเคลื่อนไหวได้เต็มที่ ให้กำไรวิ่งได้เต็มที่ตามหลักการ Let Profit Run ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเทรดใน Time Frame ใหญ่ โดยจุดทำกำไรมีเพียงรูปแบบเดียวก็คือ การเปลี่ยนสีของ Awesome Oscillator สำหรับขาขึ้นเป็นสีแดง ให้ออกจากการเทรด และการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีเขียวของ Awesome Oscillator ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสัญญาณ โดยไม่ต้องสนใจหรือรอสัญญาณยืนยันจาก indicator ตัวอื่น

จุดแข็งของระบบ
ข้อดีของระบบนี้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ไม่มีเรื่องของสภาพจิตใจที่จะเสพติดการเทรดเพราะเป็นการเทรดในเทรนด์ระยะยาวทำให้การนั่งเฝ้ากราฟ ก็ไม่ได้เกิดผลใด ๆ ต่อการเทรด เพราะว่าเป็นกราฟใน Time Frame ที่ยาวเกินไป ดังนั้นปัญหาต่อสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นจึงไม่มีผลต่อเทรดเดอร์ นอกจากนี้เทรดเดอร์ยังไม่ต้องดูกราฟบ่อย

จุดอ่อนของระบบ
สำหรับระบบเทรดเดอร์เป็นการถือ position ข้ามคืนสิ่งที่ต้องเผชิญเพิ่มเติมสำหรับการเทรดคือ ต้นทุน Swap ที่เกิดขึ้นเพราะถือว่าสูงกว่าต้นทุนการเทรดแบบอื่น ที่ไม่ต้องมี Swap มากวนใจ อย่างไรก็ตามถ้าหากเลือก Broker ที่ Swap ไม่แพงมากนักก็จะไม่มีปัญหา และสามารถถือได้อย่างสบายใจ  แต่การเลือก Broker ก็ต้องมีมาตรฐานในการเลือกเพราะว่าเกี่ยวข้องกับเงินที่เราต้องให้ความเชื่อมั่น Broker สูง
#9
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / แนวคิด Forex Pullback Strategy
เมษายน 04, 2024, 01:44:43 หลังเที่ยง
แม้ตลาดการเงินจะมีการเคลื่อนไหวเป็นทิศทางต่อเนื่อง หรือที่เราเรียกว่า "แนวโน้ม" แต่แน่นอนว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เฉกเช่นสัจธรรมแห่งชีวิต "มีขึ้น ก็ต้องมีลง" โดยกระแสคลื่นของราคาที่สวนกลับทิศทางนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า Pullback และ Throwback

Pullback คืออะไร?
Pullback คือ ชุดคลื่นของราคาที่วิ่งสวนแนวโน้มหลักกลับมา สะท้อนถึงสถานการณ์ที่นักลงทุนถอนสถานะตัวเองออกบางส่วนเพื่อทำกำไร โดยทั่วไป เทรดเดอร์จะเรียกทุก ๆ การกลับตัวที่สร้างแนวโน้มรองว่า "Pullback" แต่ในทางตำราจริง ๆ การ Pullback เกิดขึ้นในตลาดขาลง หรือเป็นแนวโน้มรองที่ "ดีด" กลับขึ้นมาในตลาดขาลง

ในเชิงกลยุทธ์ เราจะรู้ว่ามันเป็น Pullback ก็ต่อเมื่อ มันไม่สามารถทะลุแนวต้านเดิมขึ้นไปได้ และในจังหวะนี้เอง จะเปิดโอกาสให้ Seller กลับเข้ามาทำเกมในแนวโน้มหลักอีกครั้ง ลองดูภาพตัวอย่างด้านล่างจะเข้าใจมากขึ้น

You cannot view this attachment.

เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบสวิง หรือ Swing Trading จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมของราคาที่เกิด Pullback เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่า โอกาสในการเทรด

ซึ่งในกรณีของ Forex Pullback Strategy จะเป็นโอกาสในการเข้า Sell อีกครั้ง กำลังมาถึง สามารถศึกษาเรื่องสวิงเทรดเพิ่มเติมได้ที่บทความ - "Swing Trade คืออะไร : รวมแนวคิดและตัวอย่างระบบสวิงเทรดที่ใช้จริง" อย่างไรก็ตาม เราแนะนำว่า หากคุณยังไม่มีประสบการณ์การเทรดที่มากพอ ควรฝึกฝนในบัญชีทดลองให้คล่องก่อน

ความแตกต่างระหว่าง Pullback และ Throwback
Throwback ความจริงแล้ว ก็เหมือนกับ Pullback ทุกประการ เพียงแต่เป็นคนละทิศทาง และความจริง มันก็เป็นเพียงชื่อเรียกตามตำราเพื่อแยกระหว่างแนวโน้มย่อย ๆ ของตลาดขาขึ้นและขาลง ที่เคลื่อนไหวสวนทิศทางหลักขึ้นมา โดยกรณีของ Throwback เป็นการตีกลับลงมาในตลาดขึ้น

ความเข้าใจเรื่อง Pullback และ Throwback จะทำให้เราสามารถหาจังหวะการเข้าเทรดในจังหวะที่ 2 เมื่อพลาดโอกาสในการเข้า ณ จุดต่ำสุดหรือสูงสุดของราคา ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เรื่อง แนวรับ-แนวต้าน เข้ามาช่วย

ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง เราสามารถดูปริมาณการซื้อขายหรือ Volume เข้ามาประกอบได้ด้วย โดยในช่วงที่เกิด Pullback หรือ Throwback ตัวของ Volume ควรจะลดลง จนกว่าจะเจอแนวรับ-แนวต้านอีกครั้ง ตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าในตลาดหุ้น แต่ในกรณีของตลาดค่าเงิน Forex ต้องพิจารณาว่า ความผันผวนน้อยลงหรือไม่

พื้นฐานเกี่ยวกับ Forex Pullback Strategy
ต่อให้เราจะพยายามแยกองค์ประกอบของการพักตัวและเคลื่อนสวนทิศทางของราคากลับมา

ตัวอย่าง Pullback

ให้สังเกตก่อนว่า จากจุดเริ่มต้นของขาลงหรือฝั่ง Bearish เราควรพิจารณาจุดที่เคยเป็น "แนวรับ" มาก่อน ซึ่งก็คือเส้นสีเขียวด้านบน ที่เคย 'รับอยู่' ได้ถึง 3 ครั้ง ก่อนที่ครั้งที่ 4 จะ Breakout ลงมา หลังจากนั้น ราคาเกิด Pullback กลับขึ้นมาบริเวณจุดที่เคยเป็นรับเก่า ซึ่งปัจจุบัน มันได้เปลี่ยนตัวเองจาก "แนวรับ กลายเป็นแนวต้าน"

You cannot view this attachment.


ตัวอย่าง Throwback

แน่นอนว่า คงไม่ต้องอธิบายกันมากแล้ว กรณีของ Throwback จะตรงกันข้าม แต่หลักการยังเหมือนเดิมทุกอย่าง โดย Throwback เกิดขึ้นในตลาดขาขึ้น

แต่หลักการเดิม คือเราควรพิจารณาจุดที่เคยเป็น "แนวต้านเก่าๆ" ซึ่งในภาพมีแนวต้าน (สีแดง) ที่เคยต้านอยู่ไว้ 1 ครั้ง ก่อนจะโดน Breakout ขึ้นไป และสุดท้าย และราคาก็วงกลับมา หรือเป็นสิ่งที่เรียกว่า Throwback นั่นเอง และมันก็ได้ Throwback กลับมาที่แนวรับ ซึ่งเคยเป็นแนวต้านเก่า

You cannot view this attachment.

แนวคิดหลัก ๆ คือ การรอให้ราคากลับตัวในช่วงแนวโน้ม ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง และเราสามารถยืนยันความถูกต้องของการกลับตัวดังกล่าวด้วย Volume การซื้อขายและความผันผวนที่ลดลงในขณะที่ราคาเคลื่อนสวนแนวโน้มกลับมา

- โดยสรุปแล้ว Pullback ในการซื้อขายคือการย้อนกลับไปยังแนวต้านหน้านี้ (จากเคยเป็นแนวรับ เปลี่ยนเป็นแนวต้าน) = เกิดในขาลง
- Throwback คือการย้อนกลับมาที่แนวรับ = เกิดในขาขึ้น
- แนวรับ-แนวต้านที่ใช้ประกอบ อาจใช้เทคนิคอื่น ๆ แทนการดูแนวราคาได้ เช่น Fibonacci, Moving Average หรือ Pivot Point เป็นต้น
- ซึ่งทำลายแนวโน้มขาลงชั่วคราว และเราสามารถตรวจจับได้อย่างชัดเจนด้วยเส้นแนวรับและแนวต้านที่เราวาดบนแผนภูมิ และสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เส้นแนวนอนหรือเส้นแนวโน้ม หรือผ่านตัวเลข (สามเหลี่ยม ธง ช่อง ฯลฯ)
#10
คำสั่ง Buy Stop คือการตั้งค่าให้ทยอยซื้อสินทรัพย์เข้ามาเรื่อย ๆ โดยอัตโนัมติจนกว่าราคาจะพุ่งไปถึงจุดที่กำหนดแล้วหยุดซื้อ การจะเลือกใช้คำสั่ง Buy Stop ต้องดูที่เป้าหมายการเทรดและเงื่อนไขของตลาดประกอบด้วย

การเทรดในสินทรัพย์การลงทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น FOREX หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์สามารถเป็นกิจกรรมที่ทำกำไรได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการให้ดี วิธีหนึ่งในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นคือการทำความเข้าใจปัจจัยที่กระทบต่อราคาของสินค้าเหล่านั้น และใช้ออเดอร์ที่เหมาะสมในการซื้อหรือขาย ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การซื้อขายที่น่าสนใจที่วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันก็คือ การตั้งค่าการซื้อแบบ Buy Stop

ออเดอร์หรือคำสั่งซื้อ Buy Stop คือคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ ในการเทรด ในบทความนี้ เราจะพูดถึงว่าคำสั่ง Buy Stop ทำงานอย่างไร และเหตุใดคำสั่งเหล่านี้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อนักเทรด นอกจากนี้ เราจะอธิบายวิธีการวางคำสั่ง Buy Stop และให้คำแนะนำบางประการเพื่อช่วยให้คุณเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น มาเรียนรู้เกี่ยวกับคำสั่ง Buy Stop ไปพร้อม ๆ กัน!

คำสั่ง Buy Stop คืออะไร

คำสั่ง Buy Stop คือคำสั่งซื้อสินทรัพย์ในราคาที่จะสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยมีการเพิ่มขีดจำกัดว่าราคาสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าใด คำสั่ง Buy Stop นี้ใช้เพื่อจำกัดการขาดทุนในกรณีที่ราคาตลาดเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น หากเทรดเดอร์ต้องการซื้อคู่ EUR/USD ที่ 1.2000 แล้วละก็ ด้วยคำสั่ง Buy Stop พวกเขาจะตั้งราคาหยุดที่ 1.2050 และราคาจำกัดที่ 1.2100 ซึ่งหมายความว่าเมื่อ EUR/USD ไปถึงราคา 1.2050 หรือสูงกว่า คำสั่งซื้อจะดำเนินการที่ไม่เกิน 1.2100

วิธีวางคำสั่ง Buy Stop

เมื่อคุณวางคำสั่ง Buy Stop คุณกำลังบอกโบรกเกอร์ให้ซื้อคู่สกุลเงินที่ราคาตลาดปัจจุบันหากถึงราคาหยุด และจากนั้นให้ซื้อต่อไปที่ราคาจำกัดหรือดีกว่า คำสั่งประเภทนี้จะใช้เมื่อคุณคาดว่าคู่สกุลเงินจะทะลุขึ้นไปด้านบนจากช่วงของการรวมฐานหรือช่วงการเทรด

ต่อไปนี้คือวิธีการวางคำสั่ง Buy Stop:

1.กำหนดราคาที่จะหยุดซื้อที่ระดับที่คุณต้องการเข้าสู่ตลาด โดยปกติจะทำได้โดยการดูรูปแบบกราฟการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือระดับฟีโบนัชชี

2.กำหนดลิมิตของราคาในระดับที่คุณต้องการทำกำไร อาจเป็นได้ทั้งเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าจุดเข้า หรือราคาเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้

3.ป้อนคำสั่งซื้อ อย่าลืมระบุว่าเป็นคำสั่ง Buy Stop เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

4.ตรวจสอบการเทรดเมื่อมีการป้อน หากราคาเคลื่อนที่ไปถึงราคาที่กำหนด Buy Stop คำสั่งจะถูกดำเนินการและคุณจะเข้าสู่การเทรด จากจุดนั้น จับตาดูสิ่งต่างๆ และออกเมื่อบรรลุเป้าหมายกำไรหรือหากสิ่งต่างๆ เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านคุณมากเกินไป และอาจต้องตัดขาดทุน (Cut Loss)

เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะวางคำสั่ง Buy Stop และใช้ประโยชน์จากการทะลุที่อาจเกิดขึ้นในตลาดได้ เพียงให้แน่ใจว่าได้ใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงที่ดีและเข้าสู่การเทรดเฉพาะเมื่อโปรไฟล์ความเสี่ยง/ผลตอบแทนเอื้ออำนวยต่อคุณ

เมื่อใดควรใช้คำสั่ง Buy Stop
คำสั่ง Buy Stop คือคำสั่งซื้อคู่สกุลเงินที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยมีขีดจำกัดเพื่อให้แน่ใจว่าราคาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก คำสั่งประเภทนี้มักใช้โดยเทรดเดอร์ที่เชื่อว่าตลาดกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง

ในการส่งคำสั่ง Buy Stop จะต้องระบุราคา Stop และลิมิตราคา ราคาที่จะ Stop คือราคาที่จะทริกเกอร์คำสั่ง เช่น หกากำหนด Buy Stop ไว้ที่ 150USD เมื่อกราฟราคาเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งราคานั้นแล้ว ทริกเกอร์จะทำการซื้อตามที่คุณตั้งค่าไว้ ส่วนลิมิตราคาราคาสูงสุดที่คุณยินดีจ่ายเพื่อซื้อเข้ามา คำสั่งซื้อจะถูกเติมเต็มก็ต่อเมื่อราคาตลาดถึงราคาหยุด และจะถูกเติมเต็มที่หรือต่ำกว่าราคาจำกัดเท่านั้น

สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับคำสั่ง Buy Stop คือ คำสั่งเหล่านี้อาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้ออาจไม่ได้รับการเติมเต็มที่ราคาหยุดหรือราคาจำกัดที่คุณระบุ แต่จะยังคงได้รับการเติมเต็มภายในพารามิเตอร์เหล่านั้น Slippage มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีความผันผวนสูง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ในกลยุทธ์การเทรด

โดยรวมแล้ว คำสั่ง Buy Stop มีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าสู่ตำแหน่งในเวลาที่เหมาะสม และต้องการป้องกันการเคลื่อนไหวกลับหัวในตลาด การตั้งราคาจำกัดไว้ล่วงหน้า คุณจะมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่ต้องจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับคู่สกุลเงิน

ออเดอร์แบบมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ใช้บ่อยในการเทรด
คำสั่งประเภทอื่นๆ ในการเทรด ได้แก่ คำสั่ง Sell Stop คำสั่ง Buy Limit และคำสั่ง Sell Limit

คำสั่ง Sell Stop

คือคำสั่งขายที่ราคาเฉพาะหรือต่ำกว่า คำสั่งประเภทนี้มักใช้เพื่อป้องกันการขาดทุนในกรณีที่ราคาตลาดตกลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด

คำสั่ง Buy Limit

คำสั่งซื้อที่ราคาเฉพาะหรือสูงกว่า คำสั่งประเภทนี้มักใช้เพื่อใช้ประโยชน์จากสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย หรือเพื่อป้องกันการสูญเสียในกรณีที่ราคาตลาดสูงขึ้นเกินระดับที่กำหนด

คำสั่ง Sell Limit
คำสั่งขายในราคาที่กำหนดหรือสูงกว่า โดยทั่วไปคำสั่งประเภทนี้จะใช้เพื่อทำกำไรเมื่อราคาตลาดถึงระดับหนึ่ง

นอกจากคำสั่งประเภทข้างต้นแล้ว ยังมีคำสั่งประเภทอื่น ๆ เช่น คำสั่งตลาด คำสั่งหยุดการขาดทุน และคำสั่งหยุดการต่อท้าย คำสั่งทั้งหมดนี้สามารถใช้ในการเทรด FOREX เพื่อให้ได้กลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกัน

บทส่งท้าย
คำสั่ง Buy Stop จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเพิ่มผลกำไรสูงสุดในตลาดการลงทุนด้วยการรวมคำสั่งหยุดและคำสั่งจำกัดสองประเภทเข้าด้วยกันเป็นคำสั่งเดียว คุณจะสามารถควบคุมการซื้อขายได้มากขึ้นโดยการตั้งค่าทั้งราคาเปิดใช้และระดับกำไรเป้าหมาย ด้วยความยืดหยุ่นประเภทนี้ คำสั่ง Buy Stop จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน
#11
กลยุทธ์การเทรดอีกอย่างที่ถือว่าเรียนรู้และง่ายต่อการนำไปเทรด เพราะเป็นแค่การอ่านและทำความเข้าใจเรื่องของ วอลลูมที่เพิ่มขึ้นในช่วงตอนเปิดตลาดลอนดอนเป็นหลักคือ London Breakout ด้วยการดูว่าเมื่อเปิดตลาดช่วงลอนดอนมา 1-3 ชั่วโมงแรกเกิดการ Breakout ของช่วงตลาดที่เปิดมาแต่เช้าก่อนหรือเปล่า ถ้าเกิดก็ให้เทรดทางนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลมาถึงช่วงตลาดอเมริกาเปิดด้วย

เข้าใจช่วงตลาดก่อน

You cannot view this attachment.

ตลาดประกอบด้วย 4 ช่วงหลัก คือ Sydney, Tokyo, London และ New York หรืออาจเรียกช่วงรวมกันระหว่าง Sydne และ Tokyo เป็นช่วง Asia ก็ได้ ก็จะเหลือแค่ 3 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงเอเชีย (Sydney + Tokyo) ช่วงยุโรป (London) และช่วงอเมริกา (New York) เมื่อดูชาร์ตที่ประกอบด้วยช่วงตลาด ท่านจะเห็นว่าแต่ละวันส่วนมากช่วงตลาดเอเชียราคาจะ sideway เป็นหลัก ยกเว้นมีข่าวเป็นบางวัน เพราะตลาดการเงินหลักของโลกอยู่ที่ยุโรปและอเมริกา ดังนั้นเมื่อช่วงตลาด London หรือช่วงตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา มักจะมี volatility เพิ่มขึ้นทันที ทำให้ volume เริ่มเพิ่มขึ้น ก็เลยเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์เห็นความเพิ่มขึ้นของ volatility ที่เริ่มเกิดขึ้น ถ้าเป็น Breakout ช่วงก่อนหรือช่วง Asia มักจะเปิดโอกาสให้เทรดตาม Breakout ทางที่เกิดขึ้นนั้นๆ เป็นการเทรดแบบง่าย ด้วยการดู 1-3 ชั่วโมงแรกของช่วงตลาดลอนดอนว่าได้มี Breakout เกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนมากก็จะเทรดคู่พวก GBP เช่น GBPUSD GBPJPY GBPAUD EURGBP เป็นต้น แต่คู่อื่นๆ เช่น EURUSD ก็เทรดได้เช่นกัน

Timeframe ไหนเหมาะสำหรับเทรด London Breakout

รอให้ช่วงตลาด Asia ปิดก่อน เมื่อตลาดลอนดอนเปิด ดูว่า 1-3 ชั่วโมงแรก แค่ดูเรื่องของ price action และเข้าใจเรื่องของ Breakout ว่าราคาเบรคกรอบช่วงแรกของวันหรือช่วงตลาด Asia ไปทางไหน อาจมองได้ว่าช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านก็ว่าได้ เมื่อราคาเบรคทางไหนก็หาโอกาสเทรดตาม เทรดไปทางนั้นๆ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของ timeframe ที่ใช้ในการกำหนด Breakout แนะนำให้ใช้ H1 เป็นหลัก เพราะถ้าเป็น H4 หรือ D1 ก็จะใหญ่เกินสำหรับการหารายละเอียด แต่ก็ควรจะใช้เพื่อกำหนดกรอบเทรนระยะยาวด้วย  แต่ถ้าเป็น M15 หรือ M30 ข้อมูลอาจน้อยไปสำหรับการกำหนดเทรน เลยแนะนำให้ใช้ชาร์ต H1 เป็นหลัก แต่ท่านอาจใช้ multi-timeframe analysis ประกอบเพื่อมองภาพรวมและจุดที่เข้าได้อย่างชัดเจน

เทรด London Breakout อย่างไร

You cannot view this attachment.

วิธีการหลักสำหรับเทรด London Breakout คือการเทรด Breakout นั่นเอง ใช้ช่วงเวลาตลาดเข้ามาเป็นตัวกำหนดว่าเกิด Breakout ทางไหนในช่วง 1-3 ชั่วโมงแรกหรือไม่ เมื่อตลาดลอนดอนเปิดมา ดังนั้นอาจบอกว่า กรอบราคาที่เกิดก่อนช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านไปในตัวก็ว่าได้ ดังนั้นการเปิดเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคกรอบแนวรับ-แนวต้านหลักๆ ที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจเพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา โดยการเทรดสามารถใช้ได้กับหลายคู่เงินไม่ใช่แค่ GBP เท่านั้น อาจเป็น EURUSD หรือ USDJPY ได้ด้วย โดยให้เปิดชาร์ต H1 ขึ้นมาเป็นหลัก เพราะโอกาสเทรดสำหรับเทรดเดอร์ คือ 1-3 ชั่วโมงแรก ก็จะดูได้ง่ายและเห็นเทรนชัดเจนพอ  เช่นตัวอย่างภาพด้านบนเป็นคู่เงิน EURUSD เมื่อเราเปิดด้วยชาร์ต H1 ก็จะเห็นชัดว่า 1-3 ชั่วโมงแรกที่ต้องการโฟกัส และอาจมีการวิเคราะห์ต่าง timeframe ประกอบเพื่อภาพรวม เมื่อราคาเบรคไปทางไหน อย่างในภาพเป็นการเบรคลงมา จากนั้นเมื่อมอง price action ท่านจะเห็นว่าจะทำเทรนไปทางนั้นทั้งวัน แม้ช่วงตลาดอเมริกาหรือ New York เปิดมา หลักการในการเปิดเทรดคือเมื่อเห็นราคาเบรคก็เปิดเทรดได้เลย หรือบางทีอาจมีการกลับมาเทสอย่างรวดเร็วก็เปิดโอกาสให้เทรดได้ เนื่องจากการเทรดอิง Breakout ที่คาดว่าจะเกิดแต่ละวัน ดังนั้นกลยุทธ์การเทรดจะเน้นปิด position ที่เปิดภาพวันนั้นๆ เป็นหลัก

การเปิดเทรดก็เหมือนหลักการเทรด Breakout ทั่วๆ ไปคือการใช้ stop orders เช่น ถ้าราคาเบรคขึ้นบนก็เป็น buy stop orders ถ้าราคาเบรคลงล่างก็ใช้ sell stop orders และยังจะได้พวก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดช่วงก่อนหรือช่วง Asia มาเป็นตัวเร่งด้วย หรืออาจใช้เรื่องของ trailing stop มาช่วยก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนด pips ขั้นต่ำ แต่ต้องระวังเพราะอาจโดนล่า stop ก่อนก็ได้ เพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นก่อนที่ราคาจะไปทาง Breakout จริงๆ ส่วนเรื่องของการปิดหรือทำกำไร หลักการเบื้องต้นคือปิดเมื่อช่วงตลาด London ปิด แต่ถ้าท่านเข้าใจหลักการ การส่งต่อออเดอร์ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด แนะนำให้ใช้ price level ที่เคยเกิดเป็นตัวกำหนดแทน

การส่งต่อออเดอร์ของแต่ละวัน

You cannot view this attachment.

การที่จะเทรดเรื่องของ London breakout ได้ดี ท่านต้องเข้าใจความต่อเนื่องของออเดอร์ที่ส่งต่อกันระหว่างวัน เพราะว่าในการเปิดเทรดนั้น ขาใหญ่ไม่ได้เปิดเทรดทางเดียวแล้วดันราคาไปต่อเลยจนจบ มีการปิดกำไรเพื่อสะสม หรือมีการปั่นราคาเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดอีกรอบ นี่เป็นเรื่องที่พวกเขาชำนาญ เราต้องดู price structure ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน โดยเฉพาะที่เกิดช่วง London และ New York เป็นช่วงตลาดการเงินหลักของโลก ดูว่าช่วง Asia โต้ตอบกับ price level ที่เกิด 2 ช่วงนั้นในวันก่อนอย่างไรต่อเนื่องกัน ก็จะมองออกง่ายว่าท่านจะเทรด London Breakout ทางไหนดี ด้วยการมองย้อนกลับมา เช่นการมอง ให้มองวันที่ 3 ก่อน ดูการ rejection ที่เกิดระหว่างช่วง London และ New York โดยเฉพาะที่ 2 ช่วงยังเปิดอยู่ สัมพันธ์กับวันที่ 2 อย่างไร วันที่ 2 สัมพันธ์กับวันที่ 1 อย่างไร จะเห็นว่าช่วง Asia ของวันที่กำหนดเทรด London Breakout เป็นแค่ช่วงพักหรือ sideway แต่ยังอยู่ในอิทธพลของวันที่ 3 อย่างชัดเจน และวันที่ 3 ที่ราคาลงมาเทส support ของวันที่ 2 ราคาก็ไม่สามารถเอาชนะ swap level หรือ resistance ที่เปิดเผยวันที่ 2 และมีการเทสอีกรอบวันที่ 3 ได้ เมื่ออ่านความต่อเนื่องพวกนี้เป็น แล้วมี London Breakout เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน ท่านจะกล้าปล่อยกำไรให้ยาวด้วยความมั่นใจได้ เพราะความเป็นไปได้สูงอยู่ข้างที่ท่านเปิดเทรด
#12
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่เป็นที่นิยมอย่างมากในวงการการเทรด ทั้งหุ้น Crypto หรือแม้แต่ Forex ก็ล้วนใช้ Moving Average ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ดูแนวรับ-แนวต้าน รวมไปถึงการหาจุดเข้า เนื่องจากว่า MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูง โดยในบทความนี้ เราจะพามารู้จักกับ Moving Average ว่าคืออะไร มีลักษณะการใช้งาน และข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

Moving Average คืออะไร?
Moving Average (MA) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ใช้ข้อมูลราคาย้อนหลังมาคำนวณ เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการบ่งบอกแนวโน้มของตลาดว่า จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลง ซึ่ง MA สามารถใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน และ MA จะใช้ไม่ได้ในช่วงที่ตลาดเป็น Sideway เนื่องจากว่าเส้น MA ที่ใช้บ่งบอกแนวโน้มจะพันกันไปมา จนไม่สามารถบอกแนวโน้มได้ โดยในปัจจุบัน Moving Average ได้ถูกพัฒนา และแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA) และ Weighted Moving Average (WMA) เป็นต้น

 

รูปแบบที่สำคัญของ Moving Average
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Moving Average ได้มีการพัฒนาต่อยอดมาจนมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เทรดเดอร์นิยมใช้ และเห็นกันได้ทั่วไปจะมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

 

1. Simple Moving Average (SMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรเท่ากันทั้งหมด ส่งผลให้ความไวต่อการตอบสนองการเคลื่อนไหวของราคาค่อนข้างที่จะช้า และห่างจากราคา

 

2. Weighted Moving Average (WMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่ต่อยอดมาจาก SMA จากการนำวิธีการทางสถิติมาปรับใช้ เพื่อให้ WMA มีการตอบสนองต่อราคาที่ไวมากขึ้น โดยจะให้เน้นน้ำหนักไปที่ข้อมูลล่าสุด ทำให้เส้นมีการขยับเข้าใกล้ราคามากกว่า SMA

 

3. Exponential Moving Average (EMA)

You cannot view this attachment.

คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่มีการคำนวณในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับตัวแปรตัวสุดท้าย ส่งผลให้เส้นค่าเฉลี่ย EMA นี้ มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ค่อนมาก โดย EMA เป็นฉบับปรับปรุงต่อจาก SMA อีกอัน ที่พยายามแก้ไขจุดบกพร่องที่ให้ความสำคัญของข้อมูลที่เท่ากัน

 

หากสงสัยว่า MA ประเภทไหนดีที่สุด คำตอบคือ ไม่มีตัวไหนดีที่สุด แต่หากจะให้จัดลำดับความนิยมก็คงให้ EMA เป็นที่หนึ่ง เนื่องจากว่าเป็นเส้นที่มีความไวต่อการเคลื่อนของราคามากที่สุด และยังเป็นที่นิยมมากที่สุดใน 3 ประเภทอีกด้วย ส่วน SMA จะรองลงมา และ MA ที่คนใช้น้อยที่สุด คือ WMA แต่อย่างไรก็ดี บางประเภทก็อาจจะดีกว่ากันในบางสถานการณ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ

 

วิธีการอ่านแนวโน้มของ Moving Average
สัญญาณฝั่งขาขึ้น (Buy Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่ใต้ราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวรับ ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวรับลงมาได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

สัญญาณฝั่งขาลง (Sell Signal)

You cannot view this attachment.

หากเส้น Moving Average อยู่เหนือราคาตามรูปข้างต้น แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Down Trend) และเส้น Moving Average มีสถานะเป็นแนวต้าน ซึ่งหากราคามีการเบรกทะลุเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ แสดงว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

 

กลยุทธ์การเทรด Moving Average
การใช้งาน Moving Average มีอยู่หลายวิธีการ ซึ่งการเทรดด้วย MA นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายอินดิเคเตอร์ แต่วิธีที่จะนำมาบอกนั้น ถือเป็นวิธีที่ใช้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูง โดยจะมี 2 วิธี ดังนี้

 

1. MA Crossover

You cannot view this attachment.

เป็นการนำเส้น MA 2 เส้นมาใช้ในการวิเคราะห์รวมกัน ระหว่างเส้น MA ที่มี Length ขนาด 9 กับ 21 มารวมกัน โดยกลยุทธ์นี้มีธีการใช้ คือ หากเส้น MA มีการตัดกันจะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา ซึ่งหากเส้น MA 9 (เส้นสีเหลือง) ตัดกันกับเส้น MA 21 (เส้นสีฟ้า) โดยทั้ง 2 เส้นอยู่ใต้กราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่ถ้าหากทั้ง 2 เส้น ตัดกันแล้วไปอยู่เหนือกราฟ แสดงว่า ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และถ้าหากทั้ง 2 เส้นตัดกันไปมาอยู่ตรงกลางของราคา แสดงว่า ราคาอยู่ในช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway นั่นเอง โดยทั้ง 2 เส้น สามารถที่จะเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ สังเกตจากการที่ราคาวิ่งไปแตะที่เส้นใดเส้นหนึ่งแล้วมีการดีดตัวกลับ

 

2. EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

กลยุทธ์นี้จะคล้ายกับ MA Crossover เนื่องจากว่ามีพื้นฐานเดียวกัน แต่เป็นนำเส้น EMA มาใช้ทั้งหมด 3 เส้น เพื่อวิเคราะห์แนวรับ แนวต้าน และจุดกลับตัว โดยจะประกอบไปด้วย EMA 20 / 50 / 100 โดยเส้น 20 กับ 50 จะใช้ในการดูการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา และแนวรับ-แนวต้านย่อย ส่วนเส้น EMA 100 ใช้ยืนยันการกลับตัวของแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านหลัก โดยจะมีวิธีการสังเกต ดังนี้

 

การสังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของ EMA 20/50/100

You cannot view this attachment.

ที่ผ่านมาราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง สังเกตได้จากที่เส้น EMA ทั้ง 3 เส้น เรียงกันอยู่ข้างบนราคา แต่เมื่อถึงช่วงราคาปัจจุบัน เส้น EMA 20 และ 50 ได้มีการตัดกัน ถือเป็นสัญญาณแรกของการเปลี่ยนแนวโน้ม แต่ยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้ 100% ว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เนื่องจากสัญญาณยังไม่เพียงพอ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้

You cannot view this attachment.

ในภาพนี้ คือ สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มที่สมบูรณ์ สังเกตจากการที่เส้น EMA ทั้ง 3 ได้เรียงตัวกันอยู่ใต้ราคา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า เป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยเทรดเดอร์จะสามารถหาจุดเข้าได้จากการย่อตัวของราคาลงมาบริเวณเส้น EMA 20 หรือ 50 แต่หากว่าราคาสามารถที่จะทะลุเส้น EMA 50 ไปได้ แนะนำให้รอการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคาที่แน่นอนก่อน

 
ข้อดี-ข้อเสียของ Moving Average
ข้อดีของ Moving Average
- เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และเป็นแนวรับ-แนวต้านได้ดี
- สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ และสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของ Moving Average
- ไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาดที่เป็น Sideway
 
สรุป
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูแนวโน้ม และแนวรับ-แนวต้านที่ง่ายที่สุด ซึ่งเหมาะสำหรับมือใหม่หัดเทรดเป็นอย่างมาก สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และมีประสิทธิภาพ แต่จะมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ มันไม่สามารถใช้งานได้ในภาวะตลาด Sideway หรือช่วงที่ไม่มีแนวโน้ม โดย Moving Average มีอยู่ 3 ประเภท คือ EMA SMA และ WMA ซึ่ง EMA จะเป็นประเภทที่นิยมที่สุด เนื่องจากว่ามีความไวต่อการเคลื่อนที่ของราคามากที่สุด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ชอบ เนื่องจากว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนดีที่สุดหรือแม่นยำที่สุด แต่อยู่ที่เทคนิคของแต่ละบุคคล
#13
วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

การวิเคราะห์แบบ multi-timeframe ประกอบกันช่วยกรองหลายๆ อย่างก่อนที่ท่านจะเปิดเทรด และยังเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยเมื่อท่านเปิดเทรดอิง timeframe ใหญ่ขึ้นเป็นหลัก วิธีการที่นิยมกันสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่า คือ กำหนด timeframe สำหรับกรอบ key level และ Trend พร้อม Momentum และเปิด timeframe ย่อยลงมาเพื่อหา trade setup ที่ชัดเจน และเปิดหรือออกเทรดด้วย timeframe ที่ย่อยลงมาอีก เช่น D1/H4 -> H1/M30 -> M15/M5 เป็นต้นสำหรับ Day trading หลักสำคัญของการวิเคราะห์ตลาดแบบนี้คือท่านเห็นภาพรวมของการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร ท่านเปิดเทรด อยู่ที่ตรงไหนของภาพรวม

เช่น เมื่อไม่คุ้นเคยการเทรดแบบวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกัน อาจเจอหุตการณ์ที่เห็น เมื่อเห็น key level และ trade setup ตามด้วย price action ที่บอกสัญญาณการเปิดเทรด แต่พอราคาวิ่งมาทางที่เราวิเคราะห์ไม่กี่ pips แล้วสุดท้ายราคากลับวิ่งสวนทางและไปนานด้วย นั่นเพราะว่าลืมการวิเคราะห์ market structure สำหรับภาพรวมจาก timeframe ที่ใหญ่กว่าเราเปิดเทรด

Key levels มองต่าง timeframe ให้ความสำคัญอย่างไร

You cannot view this attachment.

อธิบายคำว่า Key levels ก่อน เป็นพื้นที่ราคาโต้ตอบ เช่นอาจเป็น rejection หลายๆ รอบหรือ Break ก็ได้ เลยอาจมองมาจาก Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots เป็นต้น ให้ความสำคัญพื้นที่ราคาเดียวกัน หรือที่เรียกว่า clustering พื้นที่เดียวกัน ไม่ใช่ที่ราคาเดียวกัน อาจบอกง่ายๆ ว่าเป็นกรอบราคาที่เห็นราคาเปิดเผยแนวรับ-แนวต้าน สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ market structure ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะพื้นที่กรอบราคาพวกนี้ และราคาเปิดเผยอย่างไร

ส่วนประกอบในการพิจารณาไม่ต่างกัน แต่จะให้ความสำคัญกับ Key level จาก timeframe ที่ใหญ่กว่า เช่นจะเปิดเทรดจากชาร์ต H1 เราก็จะให้ความสำคัญ Key level จากชาร์ต H4 และ D1 มากกว่า

You cannot view this attachment.

ภาพประกอบอีก จะเห็นว่าเมื่อเรามองเรื่องของราคาเด้งออกมี wick หรือเปล่า ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่นั้นๆ แล้วราคาเด้งเปลี่ยนทางอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเห็นความพยายามเกิดขึ้นแบบเดียวกัน หลายรอบพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาบอกเราว่า เกิด แนวรับ-แนวต้านที่ไหน การมองพื้นที่พวกนี้ว่ามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรตามมาหรือเปล่า ให้ท่านดู market structure ที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการโต้ตอบเป็นหลัก

ดู D1 ภาพรวม ส่วนด้านขวาเป็น H1 สำหรับกำหนด trade setup และดูรายละเอียดการพัฒนา market structure สัมพันธ์กับ D1 อย่างไร ดูกรอบที่บอกว่าดูแท่งเทียนนี้สำคัญเพราะถือว่าเป็น Key change ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น เวลามอง key level เราก็มองย้อนกลับมาทางขวา จะเห็นกรอบที่บอกว่า Resistance สัมพันธ์กับดูแท่งเทียนอย่างไร ราคาพยายามหลายรอบ แต่ไม่สามารถเบรคได้ หลักการคือเห็นราคาเด้งที่เดียวกัน ก็มองเป็นพื้นที่ แนวรับ-แนวต้าน แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีกที่ต้องไม่ลืมว่า เวลาวิเคราะห์ต้องมองปริบทต่อเนื่องกัน ว่าพื้นที่แนวต้านเกิดขึ้นเพราะอะไร และผลจากความพยายามพื้นที่แนวต้านเป็นอย่างไร [ของจากความพยายามในที่นี้คือ เห็นราคาเด้งลง หรือมี Sell trading pressure เข้ามาพื้นที่เดียวกัน หลายแท่งเทียน D1 ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถเปลี่ยน market structure ราคาได้เบรคขึ้นมา ดูตรงที่ลูกศรชึ้ จะเห็น]

สิ่งสำคัญของการมอง Key level ว่าจะเทรดทางไหน นอกจากท่านแยกแยะด้วยราคาเปิดเผยออกมา ด้วย rejection หรือ breakout และต้องดูว่า market structure ของความพยายามแต่ละครั้งเป็นอย่างไร หลักการมอง แต่ละ key levels ต่าง timeframe ไม่แตกต่างกัน แต่ต้องให้ความสำคัญ timeframe ใหญ่กว่าที่เราวิเคราะห์หรือหาพื้นที่ trade setup

ทำไม Levels จาก timeframe ใหญ่กว่าสำคัญ

You cannot view this attachment.

อย่างแรกเลย แบบง่ายๆ คือ level ที่มาจาก timeframe ใหญ่เห็นชัดเจน เลยมีผลเชิงจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วยการมองหา level ที่ราคาโต้ตอบ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดเมื่อ market structure เปลี่ยนไปก็จะออกด้วย เพราะการที่ราคาเคลื่อนไหวเพราะออเดอร์ที่เกินกัน หรือที่เรียกว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก Sellers หรือทาง supply และออเดอร์จากทาง Buyers หรือทาง Demand  และแท่งเทียนที่เราเห็นเกิดขึ้นคือบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นพื้นที่ที่ราคาไหนบ้าง สังเกตดูกรอบสีเขียวอ่อน และชมพูอ่อนที่บอกว่าเทรดเดอร์ที่ถือ long positions และ short positions ที่ต้องการให้ใส่ใจเพราะว่า  trading transactions ที่เกิดขึ้นเพราะการจับคู่กันระหว่างออเดอร์ Sell และ Buy  ณ ราคาเดียวกัน volume เทรดเท่ากัน ราคาขึ้นหรือลงดูจากแท่งเทียน เพราะออเดอร์อีกข้างไม่พอ  การถือออเดอร์ที่เปิดเทรด ยังไม่ปิด สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรด Buy เรียกว่าถือ Long position สำหรับเปิดเทรด Sell และถือรอเรียกว่า Short position ดังนั้นสำหรับ positions ที่ถืออยู่ ข้างไหน กำไร ราคาวิ่งไปทางนั้น ราคาวิ่งสวน ทางนั้นติดลบ การที่เทรดเดอร์ถือ positions ต่อเนื่องกันแบบนี้ ก็จะได้ยินเรียกว่าเป็นช่วงขาใหญ่สะสม positions หรือ Accumulation  ยิ่งเกิดจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมีการสะสม positions เยอะ

ความจริงอีกอย่างที่ต้องรู้ และเป็นตัวเพิ่มความสำคัญของ key level จาก timeframe ใหญ่ได้อย่างดี คือการออกจากตลาด ของเทรดเดอร์ที่ถือ long positions หรือ short positions ช่วง Accumulation เท่ากับการเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ เช่น ถ้า ถือ long positions เมื่อออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเอง หรือ take profit หรือ stop loss เท่ากับการเปิด sell market order ณ จุดที่ออก

ดังนั้น key level ที่มาจาก timeframe ใหญ่จึงสำคัญ เพราะเป็นที่เห็นง่าย เพราะ market structure เห็นแนวรับ-แนวต้านชัดเจน เลยเป็น level ที่ดึงเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาด และรอเข้าเทรดสนใจเลยทำให้เกิดออเดอร์เยอะ ทั้งจากการเข้าเทรดและการออกเทรด และเมื่อเห็นมีการสะสม positions ประกอบด้วย พอราคาเบรค มีฝ่ายกำไรมากและติดลบมากเกิดขึ้น เลย ทำให้ฝ่ายที่ติดลบเริ่มออกจากตลาด เลยทำให้เกิดออเดอร์ตรงข้ามต่อเนื่องด้วย เลยยิ่งทำให้ level จาก timeframe มีผลต่อเนื่อง

จากภาพประกอบด้านบน Long positions เดือดร้อนเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า แต่ต้องให้มั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และ stop loss ด้านล่างของพื้นที่ นั่นเป็นพื้นที่ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย ส่วนต่อมาที่บอกว่า เทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็หลักการเช่นเดียวกัน พอขาใหญ่เข้าเทรดได้ ค่อยดันราคาเบรคหลังจากสะสม positions พอ market structure เปลี่ยนเทรดเดอร์กลุ่มนี้เดือดร้อน ต้องค่อยๆ ออก เลยทำให้ buy market orders เกิน sell orders ได้ง่าย และยังมีเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอีกด้วย

#14
ในการเล่นสั้น forex เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับช้อน  ซึ่งอินดี้สามตัวดังกล่าวมีแถมมาในทุกแพลตฟอร์มของ MT4 ตามมาตรฐานอยู่แล้ว

You cannot view this attachment.

การใช้งานเหมาะสมกับทุกคู่สกุลเงินหลักเช่น EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, CAD/USD, NZD/USD, และ USD/JPY

กรอบเวลาที่เหมาะสม แนะนำที่ 15 นาที (M15)

การตั้งค่า

การเช็ทค่า 3 ตัวชี้วัดคือ

- Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2) 
- Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)
- MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Buy
1. เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านล่างข้ามขึ้นไปข้างบน
2. เส้น MACD อยู่ต่ำกว่า หรืออยู่ด้านล่าง histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Buy

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Sell

1.เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านบนข้ามลงไปด้านล่าง
2.เส้น MACD อยู่สูงกว่า หรืออยู่ด้านบน histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Sell

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขการออกจากออเดอร์ SL/TP

Stop Loss ที่ระยะ 12-16 จุด (ขึ้นอยู่กับชนิดของคู่เงิน)
Take Profit ที่ระดับใกล้ๆกับ pivot points ตามปกติจะอยู่ที่ระยะ 10-15 จุดจากระดับที่เปิด

Credit:http://analytics.roboforex.com/education/trading-strategies/
#15
ในฐานะเทรดเดอร์ ถือเป็นกฎทั่วไปที่เราควรมองหาเพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้สูงสุด (ต่อหน่วยความเสี่ยง) ในแต่ละธุรกรรม เราควรมองหาทางที่จะบีบออกจากตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

มีหลายครั้งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปล่อยให้การค้าดำเนินไป อย่างไรก็ตาม บางครั้งสภาวะตลาดก็สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้เทรดเดอร์ผู้รอบรู้สามารถ "กดดันการซื้อขาย" หรือ พีระมิด เข้าสู่การซื้อขายได้

อย่ากดดันโชคของคุณ กดการค้าแทน!
การพยายามเข้าหลายรายการในทิศทางของแนวโน้มเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เทรดเดอร์ผู้รอบรู้ใช้ในการพยายามเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด (หรือที่เรียกว่า Pyramiding) ปัญหาของกลยุทธ์นี้คือ แม้ว่ามันอาจจะเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้ แต่การมีตำแหน่งที่ใหญ่กว่าในตลาดก็ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน ในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องค้นหาจุดสมดุลที่สมบูรณ์แบบของการกดดันการซื้อขายโดยไม่กดดันโชคของคุณ

You cannot view this attachment.

มีหลายวิธีในการบรรลุเป้าหมายนี้:

- If the market is moving at a snail's pace, and not much movement has been made from the initial entry, any additional entry should be minor. If, however, a decent distance has been travelled, a trailing stop will secure more profit, and any additional entry can be larger. In essence, any additional position sizes are partly dependent on the distance between the initial entry position to stop loss.

- Ensure you have a strong driver that pushes prices along. Simply pressing trades at random is not good risk management.

- Reduce risk on entry by only adding additional positions when the stop loss on the first position can be trailed.
 
เลือกการต่อสู้ของคุณอย่างระมัดระวังเมื่อพีระมิด

คุณอาจพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเหลือส่วนแบ่งจำนวนมาก (> 2% ของทุนทั้งหมด) ในการซื้อขายครั้งเดียว กลยุทธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงโดยทั่วไปจะทำให้เป็นปิรามิด "สั้น" ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เติบโตเกิน 2.5% ของมูลค่าหุ้นโดยรวม กลยุทธ์แบบพีระมิดนี้ช่วยให้แน่ใจว่าคุณจะต้องเผชิญกับข้อดีเพิ่มเติมในขณะที่ลดข้อเสียให้เหลือน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่คุณสบายใจ

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรระวัง:

- Keep an eye out for drivers that influence market psychology: This is when momentum and volatility will be high, allowing you to pyramid into a move more easily. For the technical traders, you may prefer to avoid day-to-day shifts by taking in a broader market view.

- Diversify: as with any investment, don't place all your eggs in one basket. Diversification is key to keeping overall risk low.

- Have strict risk limits in place: With 2.5% in one pyramid, another 2.5% in another – next thing you know, your overall portfolio heat is close to 10%. That's a high amount of risk to carry around with you. Consider minimising position sizes of certain trades to reduce overall risk.

- Consistency is key with position sizes: If your initial entry is $100k and your second is $300k, you're off to a lousy start in building your pyramid.

ความคิดสุดท้ายเกี่ยวกับปิระมิด
อย่าลืมเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ และช้าๆ เสมอ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเข้าไป ทดลองพีระมิดจนกว่าคุณจะพอใจกับแนวทางของตัวเอง โปรดจำไว้เสมอว่าองค์ประกอบสำคัญสองประการที่ต้องพิจารณา:

1.Resist the temptation to take profit early when the opportunity arises. Sometimes it's best to sit on an existing trade.

2.Be wary of adding to your trade at "worse" levels. Trends will always end at a certain point, so you don't want to be pyramiding into an extended, ongoing trend. Look for new trends to pyramid in, which will reduce your overall risk.