ข่าว:

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - support-1

#1
วิธีการตีความ Key Levels ต่าง timeframe และราคาปิด

การวิเคราะห์แบบ multi-timeframe ประกอบกันช่วยกรองหลายๆ อย่างก่อนที่ท่านจะเปิดเทรด และยังเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยเมื่อท่านเปิดเทรดอิง timeframe ใหญ่ขึ้นเป็นหลัก วิธีการที่นิยมกันสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่า คือ กำหนด timeframe สำหรับกรอบ key level และ Trend พร้อม Momentum และเปิด timeframe ย่อยลงมาเพื่อหา trade setup ที่ชัดเจน และเปิดหรือออกเทรดด้วย timeframe ที่ย่อยลงมาอีก เช่น D1/H4 -> H1/M30 -> M15/M5 เป็นต้นสำหรับ Day trading หลักสำคัญของการวิเคราะห์ตลาดแบบนี้คือท่านเห็นภาพรวมของการเคลื่อนว่าเป็นอย่างไร ท่านเปิดเทรด อยู่ที่ตรงไหนของภาพรวม

เช่น เมื่อไม่คุ้นเคยการเทรดแบบวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกัน อาจเจอหุตการณ์ที่เห็น เมื่อเห็น key level และ trade setup ตามด้วย price action ที่บอกสัญญาณการเปิดเทรด แต่พอราคาวิ่งมาทางที่เราวิเคราะห์ไม่กี่ pips แล้วสุดท้ายราคากลับวิ่งสวนทางและไปนานด้วย นั่นเพราะว่าลืมการวิเคราะห์ market structure สำหรับภาพรวมจาก timeframe ที่ใหญ่กว่าเราเปิดเทรด

Key levels มองต่าง timeframe ให้ความสำคัญอย่างไร

You cannot view this attachment.

อธิบายคำว่า Key levels ก่อน เป็นพื้นที่ราคาโต้ตอบ เช่นอาจเป็น rejection หลายๆ รอบหรือ Break ก็ได้ เลยอาจมองมาจาก Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots เป็นต้น ให้ความสำคัญพื้นที่ราคาเดียวกัน หรือที่เรียกว่า clustering พื้นที่เดียวกัน ไม่ใช่ที่ราคาเดียวกัน อาจบอกง่ายๆ ว่าเป็นกรอบราคาที่เห็นราคาเปิดเผยแนวรับ-แนวต้าน สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ market structure ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะพื้นที่กรอบราคาพวกนี้ และราคาเปิดเผยอย่างไร

ส่วนประกอบในการพิจารณาไม่ต่างกัน แต่จะให้ความสำคัญกับ Key level จาก timeframe ที่ใหญ่กว่า เช่นจะเปิดเทรดจากชาร์ต H1 เราก็จะให้ความสำคัญ Key level จากชาร์ต H4 และ D1 มากกว่า

You cannot view this attachment.

ภาพประกอบอีก จะเห็นว่าเมื่อเรามองเรื่องของราคาเด้งออกมี wick หรือเปล่า ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่นั้นๆ แล้วราคาเด้งเปลี่ยนทางอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเห็นความพยายามเกิดขึ้นแบบเดียวกัน หลายรอบพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาบอกเราว่า เกิด แนวรับ-แนวต้านที่ไหน การมองพื้นที่พวกนี้ว่ามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรตามมาหรือเปล่า ให้ท่านดู market structure ที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการโต้ตอบเป็นหลัก

ดู D1 ภาพรวม ส่วนด้านขวาเป็น H1 สำหรับกำหนด trade setup และดูรายละเอียดการพัฒนา market structure สัมพันธ์กับ D1 อย่างไร ดูกรอบที่บอกว่าดูแท่งเทียนนี้สำคัญเพราะถือว่าเป็น Key change ต่อเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น เวลามอง key level เราก็มองย้อนกลับมาทางขวา จะเห็นกรอบที่บอกว่า Resistance สัมพันธ์กับดูแท่งเทียนอย่างไร ราคาพยายามหลายรอบ แต่ไม่สามารถเบรคได้ หลักการคือเห็นราคาเด้งที่เดียวกัน ก็มองเป็นพื้นที่ แนวรับ-แนวต้าน แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีกที่ต้องไม่ลืมว่า เวลาวิเคราะห์ต้องมองปริบทต่อเนื่องกัน ว่าพื้นที่แนวต้านเกิดขึ้นเพราะอะไร และผลจากความพยายามพื้นที่แนวต้านเป็นอย่างไร [ของจากความพยายามในที่นี้คือ เห็นราคาเด้งลง หรือมี Sell trading pressure เข้ามาพื้นที่เดียวกัน หลายแท่งเทียน D1 ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถเปลี่ยน market structure ราคาได้เบรคขึ้นมา ดูตรงที่ลูกศรชึ้ จะเห็น]

สิ่งสำคัญของการมอง Key level ว่าจะเทรดทางไหน นอกจากท่านแยกแยะด้วยราคาเปิดเผยออกมา ด้วย rejection หรือ breakout และต้องดูว่า market structure ของความพยายามแต่ละครั้งเป็นอย่างไร หลักการมอง แต่ละ key levels ต่าง timeframe ไม่แตกต่างกัน แต่ต้องให้ความสำคัญ timeframe ใหญ่กว่าที่เราวิเคราะห์หรือหาพื้นที่ trade setup

ทำไม Levels จาก timeframe ใหญ่กว่าสำคัญ

You cannot view this attachment.

อย่างแรกเลย แบบง่ายๆ คือ level ที่มาจาก timeframe ใหญ่เห็นชัดเจน เลยมีผลเชิงจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วยการมองหา level ที่ราคาโต้ตอบ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดเมื่อ market structure เปลี่ยนไปก็จะออกด้วย เพราะการที่ราคาเคลื่อนไหวเพราะออเดอร์ที่เกินกัน หรือที่เรียกว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก Sellers หรือทาง supply และออเดอร์จากทาง Buyers หรือทาง Demand  และแท่งเทียนที่เราเห็นเกิดขึ้นคือบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นพื้นที่ที่ราคาไหนบ้าง สังเกตดูกรอบสีเขียวอ่อน และชมพูอ่อนที่บอกว่าเทรดเดอร์ที่ถือ long positions และ short positions ที่ต้องการให้ใส่ใจเพราะว่า  trading transactions ที่เกิดขึ้นเพราะการจับคู่กันระหว่างออเดอร์ Sell และ Buy  ณ ราคาเดียวกัน volume เทรดเท่ากัน ราคาขึ้นหรือลงดูจากแท่งเทียน เพราะออเดอร์อีกข้างไม่พอ  การถือออเดอร์ที่เปิดเทรด ยังไม่ปิด สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรด Buy เรียกว่าถือ Long position สำหรับเปิดเทรด Sell และถือรอเรียกว่า Short position ดังนั้นสำหรับ positions ที่ถืออยู่ ข้างไหน กำไร ราคาวิ่งไปทางนั้น ราคาวิ่งสวน ทางนั้นติดลบ การที่เทรดเดอร์ถือ positions ต่อเนื่องกันแบบนี้ ก็จะได้ยินเรียกว่าเป็นช่วงขาใหญ่สะสม positions หรือ Accumulation  ยิ่งเกิดจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมีการสะสม positions เยอะ

ความจริงอีกอย่างที่ต้องรู้ และเป็นตัวเพิ่มความสำคัญของ key level จาก timeframe ใหญ่ได้อย่างดี คือการออกจากตลาด ของเทรดเดอร์ที่ถือ long positions หรือ short positions ช่วง Accumulation เท่ากับการเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ เช่น ถ้า ถือ long positions เมื่อออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเอง หรือ take profit หรือ stop loss เท่ากับการเปิด sell market order ณ จุดที่ออก

ดังนั้น key level ที่มาจาก timeframe ใหญ่จึงสำคัญ เพราะเป็นที่เห็นง่าย เพราะ market structure เห็นแนวรับ-แนวต้านชัดเจน เลยเป็น level ที่ดึงเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาด และรอเข้าเทรดสนใจเลยทำให้เกิดออเดอร์เยอะ ทั้งจากการเข้าเทรดและการออกเทรด และเมื่อเห็นมีการสะสม positions ประกอบด้วย พอราคาเบรค มีฝ่ายกำไรมากและติดลบมากเกิดขึ้น เลย ทำให้ฝ่ายที่ติดลบเริ่มออกจากตลาด เลยทำให้เกิดออเดอร์ตรงข้ามต่อเนื่องด้วย เลยยิ่งทำให้ level จาก timeframe มีผลต่อเนื่อง

จากภาพประกอบด้านบน Long positions เดือดร้อนเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า แต่ต้องให้มั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และ stop loss ด้านล่างของพื้นที่ นั่นเป็นพื้นที่ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย ส่วนต่อมาที่บอกว่า เทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็หลักการเช่นเดียวกัน พอขาใหญ่เข้าเทรดได้ ค่อยดันราคาเบรคหลังจากสะสม positions พอ market structure เปลี่ยนเทรดเดอร์กลุ่มนี้เดือดร้อน ต้องค่อยๆ ออก เลยทำให้ buy market orders เกิน sell orders ได้ง่าย และยังมีเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอีกด้วย

#2
ในการเล่นสั้น forex เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับช้อน  ซึ่งอินดี้สามตัวดังกล่าวมีแถมมาในทุกแพลตฟอร์มของ MT4 ตามมาตรฐานอยู่แล้ว

You cannot view this attachment.

การใช้งานเหมาะสมกับทุกคู่สกุลเงินหลักเช่น EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, CAD/USD, NZD/USD, และ USD/JPY

กรอบเวลาที่เหมาะสม แนะนำที่ 15 นาที (M15)

การตั้งค่า

การเช็ทค่า 3 ตัวชี้วัดคือ

- Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2) 
- Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)
- MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Bollinger bands (Period 20, Shift 0, Deviation 2)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ Moving Average (Smoothed Period 2, Shift 0)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการตั้งค่า อินดิเคเตอร์ MACD indicator (Fast EMA 11, Slow EMA 27, MACD SMA 4)

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Buy
1. เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านล่างข้ามขึ้นไปข้างบน
2. เส้น MACD อยู่ต่ำกว่า หรืออยู่ด้านล่าง histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Buy

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขสำหรับการเข้าออเดอร์ Sell

1.เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นสีส้ม) วิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands (เส้นกลางสีเขียว) จากด้านบนข้ามลงไปด้านล่าง
2.เส้น MACD อยู่สูงกว่า หรืออยู่ด้านบน histogram

ตัวอย่างจังหวะเข้าออเดอร์ Sell

You cannot view this attachment.

เงื่อนไขการออกจากออเดอร์ SL/TP

Stop Loss ที่ระยะ 12-16 จุด (ขึ้นอยู่กับชนิดของคู่เงิน)
Take Profit ที่ระดับใกล้ๆกับ pivot points ตามปกติจะอยู่ที่ระยะ 10-15 จุดจากระดับที่เปิด

Credit:http://analytics.roboforex.com/education/trading-strategies/
#3
ในฐานะเทรดเดอร์ ถือเป็นกฎทั่วไปที่เราควรมองหาเพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้สูงสุด (ต่อหน่วยความเสี่ยง) ในแต่ละธุรกรรม เราควรมองหาทางที่จะบีบออกจากตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

มีหลายครั้งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปล่อยให้การค้าดำเนินไป อย่างไรก็ตาม บางครั้งสภาวะตลาดก็สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้เทรดเดอร์ผู้รอบรู้สามารถ "กดดันการซื้อขาย" หรือ พีระมิด เข้าสู่การซื้อขายได้

อย่ากดดันโชคของคุณ กดการค้าแทน!
การพยายามเข้าหลายรายการในทิศทางของแนวโน้มเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เทรดเดอร์ผู้รอบรู้ใช้ในการพยายามเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด (หรือที่เรียกว่า Pyramiding) ปัญหาของกลยุทธ์นี้คือ แม้ว่ามันอาจจะเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้ แต่การมีตำแหน่งที่ใหญ่กว่าในตลาดก็ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน ในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องค้นหาจุดสมดุลที่สมบูรณ์แบบของการกดดันการซื้อขายโดยไม่กดดันโชคของคุณ

You cannot view this attachment.

มีหลายวิธีในการบรรลุเป้าหมายนี้:

- If the market is moving at a snail's pace, and not much movement has been made from the initial entry, any additional entry should be minor. If, however, a decent distance has been travelled, a trailing stop will secure more profit, and any additional entry can be larger. In essence, any additional position sizes are partly dependent on the distance between the initial entry position to stop loss.

- Ensure you have a strong driver that pushes prices along. Simply pressing trades at random is not good risk management.

- Reduce risk on entry by only adding additional positions when the stop loss on the first position can be trailed.
 
เลือกการต่อสู้ของคุณอย่างระมัดระวังเมื่อพีระมิด

คุณอาจพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเหลือส่วนแบ่งจำนวนมาก (> 2% ของทุนทั้งหมด) ในการซื้อขายครั้งเดียว กลยุทธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงโดยทั่วไปจะทำให้เป็นปิรามิด "สั้น" ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เติบโตเกิน 2.5% ของมูลค่าหุ้นโดยรวม กลยุทธ์แบบพีระมิดนี้ช่วยให้แน่ใจว่าคุณจะต้องเผชิญกับข้อดีเพิ่มเติมในขณะที่ลดข้อเสียให้เหลือน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่คุณสบายใจ

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรระวัง:

- Keep an eye out for drivers that influence market psychology: This is when momentum and volatility will be high, allowing you to pyramid into a move more easily. For the technical traders, you may prefer to avoid day-to-day shifts by taking in a broader market view.

- Diversify: as with any investment, don't place all your eggs in one basket. Diversification is key to keeping overall risk low.

- Have strict risk limits in place: With 2.5% in one pyramid, another 2.5% in another – next thing you know, your overall portfolio heat is close to 10%. That's a high amount of risk to carry around with you. Consider minimising position sizes of certain trades to reduce overall risk.

- Consistency is key with position sizes: If your initial entry is $100k and your second is $300k, you're off to a lousy start in building your pyramid.

ความคิดสุดท้ายเกี่ยวกับปิระมิด
อย่าลืมเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ และช้าๆ เสมอ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเข้าไป ทดลองพีระมิดจนกว่าคุณจะพอใจกับแนวทางของตัวเอง โปรดจำไว้เสมอว่าองค์ประกอบสำคัญสองประการที่ต้องพิจารณา:

1.Resist the temptation to take profit early when the opportunity arises. Sometimes it's best to sit on an existing trade.

2.Be wary of adding to your trade at "worse" levels. Trends will always end at a certain point, so you don't want to be pyramiding into an extended, ongoing trend. Look for new trends to pyramid in, which will reduce your overall risk.
#4
 การซื้อขายซ้ำอีกครั้ง เป็นแนวคิดการซื้อขายที่มีความเป็นไปได้สูง เป็นแนวคิดที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำงานได้ดีในทุกสภาพตลาด เทรดเดอร์หลายๆ คนมองข้ามเรื่องพื้นฐานที่สร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยมนี้ไป

  ประสบการณ์ของกราฟตัวอย่างด้านล่าง เทรดเดอร์คุ้นเคยหรือไม่?

1.   หลังจากศึกษากราฟถึงความผิดพลาดของตลาดอย่างรอบคอบแล้ว เทรดเดอร์เข้าเปิดคำสั่งซื้อที่ รูปแบบกราฟแท่งเทียนตะปู  (PIN BAR - รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนแบบกลับตัว)

2.   ตอนที่เทรดเดอร์เปิดคำสั่งซื้อ ให้เทรดเดอร์วางจุดป้องกันการขาดทุน ไว้ที่ใต้แท่งเทียน PIN BAR

3.   หลังจากนั้นไม่นาน กราฟราคาแท่งเทียนในตลาดลดลงและได้รับคำสั่งหยุดขาดทุนของเทรดเดอร์ (STOPPED OUT)

4.   เกือบจะในทันทีหลังจากที่เทรดเดอร์ถูกหยุดคำสั่งซื้อ ด้วยจุดหยุดการขาดทุนแล้วกราฟราคาแท่งเทียนในตลาดก็ทำรูปแบบกราฟแท่งเทียนตะปู อีกครั้ง

5.   ให้เทรดเดอร์ เปิดคำสั่งซื้ออีกครั้ง (RE-ENTRY TRADING) ที่กราฟรูปแบบตะปูที่เกิดขึ้นอีกรอบ


You cannot view this attachment.

   หากเทรดเดอร์เป็นคนว่องไวและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ตัวเทรดเดอร์เองอาจกลับเข้ามาในตลาดเพื่อทำการซื้อขายใหม่ ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เทรดเดอร์อาจถูกทิ้งไว้ที่เดิมในขณะที่ตลาดยังคงเดินหน้าต่อไปข้างหน้า

   ในกรณีอื่นๆ เทรดเดอร์อาจจะผิดหวังและได้รับความเดือดร้อนจากการสูญเสีย คำสั่งซื้อขายในรอบแรก (รอบกราฟราคาแท่งเทียน PIN BAR)

   ดังนั้นในกลยุทธ์การซื้อขายซ้ำ จึงเป็นคำสั่งซื้อรอบใหม่ ให้เทรดเดอร์มุ่งมั่นที่จะข้ามผ่านความผิดพลาดในครั้งแรกและเข้าสู่ตลาดเพื่อซื้อขายซ้ำอีกครั้งให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาส "RE-ENTRY" เท่านั้น โอกาสในการกลับเข้ามาใหม่มักจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ

กฎของการเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

You cannot view this attachment.

   ในที่นี้ ให้เทรดเดอร์ใช้รูปแบบกราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ซึ่งเป็นรูปแบบกราฟราคาที่เป็นที่นิยมในการเข้าทำการซื้อขาย ให้ใช้ไว้เป็นพื้นฐานก่อน แล้วให้เทรดเดอร์หาข้อมูลรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนแบบอื่นๆ เพิ่มเติม เทรดเดอร์จะสามารถทำการซื้อขายด้วยรูปแบบแท่งเทียนแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

กฎการเข้าเปิดคำสั่งซื้อ ซ้ำ

1.   ให้เทรดเดอร์มองหา กราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ขาขึ้น

2.   ที่แท่งเทียนแท่งถัดไปจะต้องเคลื่อนไหวหรือเปิดราคาที่สูงกว่า กราฟแท่งเทียนตะปูแรก (PIN BAR)

3.   ราคาในตลาดจะต้องไต่ลง ระดับต่ำกว่าแท่งเทียนตะปู (PIN BAR)

4.   มองหาตำแหน่งที่จะเข้าทำการซื้อเมื่อราคาทะลุด้านบนของแท่งเทียนขาขึ้นนั้น

กฎการเข้าเปิดคำสั่งขาย ซ้ำ

1.   ให้เทรดเดอร์มองหา กราฟแท่งเทียน ตะปู (PIN BAR) ขาลง

2.   ที่แท่งเทียนแท่งถัดไปจะต้องเคลื่อนไหวหรือเปิดราคาที่ต่ำกว่า กราฟแท่งเทียนตะปูแรก (PIN BAR)

3.   ราคาในตลาดจะต้องไต่ขึ้น ระดับสูงกว่าแท่งเทียนตะปู (PIN BAR)

4.   มองหาตำแหน่งที่จะเข้าทำการซื้อเมื่อราคาทะลุด้านล่างของแท่งเทียนขาลงนั้น

   ตัวอย่าง - ของการเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

ในตัวอย่างนี้ จะใช้เส้นค่าเฉลี่ย 20 EMA กับกราฟราคาแท่งเทียนรูปตะปู (PIN BAR)

You cannot view this attachment.

                                                                               วิธี เอาเครื่องมือ เส้นค่าเฉลี่ยออกมาใช้

You cannot view this attachment.

                                                                                               SAMPLE - FOREX PRICE ACTION RE-ENTRY               

1.   กราฟราคาแท่งเทียนตะปู (PIN BAR) เด้งขึ้นมาจากเส้น EMA แต่ในกลยุทธ์การซื้อขายนี้ จะไม่ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้

2.   ในขณะที่กราฟราคาแท่งเทียนพุ่งขึ้นเหนือ (PIN BAR) เทรดเดอร์บางราย เปิดคำสั่งซื้อที่ตำแหน่งดังกล่าว

3.   แท่งเทียนต่อมาอีกสองแท่ง ราคาลดต่ำลงและหยุดการขาดทุนที่วางอยู่รอบๆ Pin Bar ต่ำ (ระดับหยุดแบบทั่วไป)

4.   กราฟราคาแท่งเทียนวิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นั่นทำให้เหล่าเทรดเดอร์ที่นิยมการซื้อซ้ำได้มองเห็นโอกาสในการกลับเข้ามามีคำสั่งซื้อใหม่อีกครั้ง After our entry, the market rose with a strong thrust.

ทบทวน - การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน

   กลยุทธ์การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ที่รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน เป็นวิธีง่ายๆ ให้มองหาความเป็นไปได้ของรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียน โดยทั่วไปหากมีการผิดพลาดทำให้การเข้าซื้อขายในครั้งแรกผิดพลาด มักจะเกิดรูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนที่ดีเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งในไม่ช้า

   กลยุทธ์การเข้าซื้อขายซ้ำอีกครั้ง ใช้งานได้หลากหลายตามที่เทรดเดอร์จะมีความสามารถใช้ โดยมีรูปแบบกราฟราคาเป็นพื้นฐาน ดังนั้นจึงง่ายต่อการค้นหาการตำแหน่งในการเข้าซื้อขายอีกครั้งโดยใช้รูปแบบการทำงานของกราฟราคาที่ตัวเทรดเดอร์คุ้นเคย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือความอดทนเพื่อก้าวข้ามการผิดพลาดในครั้งแรก และรอจังหวะการเข้าซื้อขายอีกครั้งให้ได้

   เฉกเช่นเดียวกับวิธีการเข้าซื้อขายอื่นๆ อีกมากมาย กลยุทธ์นี้ไม่ใช่กลไกที่ซับซ้อนมากมายนัก แต่เป็นแนวทางในการเข้าซื้อขายที่คำนึงถึงความรอบคอบและอดทน ให้เทรดเดอร์ฝึกฝนให้มากพอ เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าทำกำไรของตัวเทรดเดอร์เอง
#5
You cannot view this attachment.

Average Directional Index (ADX)
ADX เป็น Indicator ที่ถูกพัฒนาโดย Welles Wilder (ผู้คิดค้น ATR , RSI , Parabolic SAR) ซึ่งจะประกอบด้วย 3 เส้น คือ

1.Plus Directional Indicator (+DI) ... บ่งชี้ถึงทิศทางฝั่ง + ของราคา
2.Minus Directional Indicator (-DI) ... บ่งชี้ถึงทิศทางฝั่ง – ของราคา
3.Average Directional Index (ADX) ... เฉลี่ยส่วนต่างของ +DI และ -DI

ซึ่ง +DI และ -DI จะเป็นตัวที่ไว้บอกถึง "แนวโน้ม" ราคา ว่าในช่วงนั้นมีทิศทางเป็นอย่างไร (เป็น + หรือ -) ส่วน ADX จะเป็นตัวที่คอยตอกย้ำถึงแนวโน้มช่วงนั้นว่า "แข็งแกร่ง" จริงหรือไม่ (ADX ไม่ได้บอกทิศทาง บอกแค่ว่า แข็งแกร่ง หรือ ไม่แข็งแกร่ง)

เจ้า +DI และ -DI สองตัวนี้ เมื่อรวมกันปกติจะเรียกกันว่า
"Directional Movement Indicator (DMI)"

ดังนั้นถ้าเรานำ 3 ตัวเหล่านี้มารวมกัน ก็จะสามารถอธิบายถึง ทิศทางของแนวโน้ม และ ความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้

สูตรการคำนวณ
... อาจจะค่อนข้างซับซ้อน แต่ถ้าเจาะลึกทีละตัวจะเข้าใจได้ง่าย

วิธีการคำนวณจะเริ่มจาก

1.คำนวณ True Range , +DM และ -DM ... วิธีการคำนวณอยู่ด้านล่าง
2.คำนวณผลรวมของ True Range , +DM และ -DM ... ค่ามาตรฐานในการรวมอยู่ที่ 14 วัน
จะได้ TR14 , +DM14 และ -DM14
3.หาค่า +DI และ -DI
.... โดย +DI = +DM14 / TR14
.... และ -DI = -DM14 / TR14
4.ส่วนค่า ADX เป็นค่าเฉลี่ย 14 วันของ DX
โดยที่ DX มาจาก
DI 14 Diff / DI 14 SUm
หรือ
(ส่วนต่างของ +DI และ -DI) หารด้วย (ผลรวมของ +DI และ -DI)

การคำนวณ DMI (+DM และ -DM)
+DM (Plus Directional Movement) จะคำนวณเมื่อ ราคา High ปัจจุบัน (Current High) ลบ High ของวันก่อนหน้า (Prior High) มีค่ามากกว่า ราคา Low วันก่อนหน้า (Prior Low) ลบ Low ปัจจุบัน (Current Low) ... โดยเมื่อ High ปัจจุบัน ลบ High ก่อนหน้า มีค่าเป็น บวก จะถูกมาคำนวณ แต่ถ้าหากเป็น ลบ จะให้ค่าเป็น 0

-DM (Minus Directional Movement) จะคำนวณเมื่อ Low ก่อนหน้า (Prior Low) ลบ Low ปัจจุบัน มีค่ามากกว่า High ปัจจุบัน (Current High) ลบ High วันก่อนหน้า (Prior High) ... โดยเมื่อ Low ก่อนหน้า ลบ Low ปัจจุบัน มีค่าเป็น บวก จะถูกมาคำนวณ แต่ถ้าหากเป็น ลบ จะให้ค่าเป็น 0

... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ได้เป็นบวกทั้งคู่ จะเลือกคำนวณเฉพาะค่ามากกว่า และให้ค่าเป็นฝั่งนึงเป็น 0
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ให้ค่าเป็นลบทั้งคู่ จะตีค่าเป็น 0 ทั้งคู่

การคำนวณอาจจะค่อนข้างซับซ้อน แต่ลองมาดูตัวอย่างจริง จะเห็นภาพมากขึ้น

ตัวอย่างการคำนวณจริงของ +DM และ -DM

You cannot view this attachment.

เป็นตัวอย่างการคำนวณ +DM และ -DM ใน 4 รูปแบบ

1.ซ้ายมือสุด ... กระโดดเปิด Gap
2.ถัดมา ... แท่งเทียนลักษณะ Outside bar
3.ถัดมาลำดับที่ 3 ... เกิดลบรุนแรง
4.ขวามือสุด ... แท่งเทียนลักษณะ Inside bar
ย้ำ
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ได้เป็นบวกทั้งคู่ จะเลือกคำนวณเฉพาะค่ามากกว่า และให้ค่าเป็นฝั่งนึงเป็น 0
... ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ให้ค่าเป็นลบทั้งคู่ จะตีค่าเป็น 0 ทั้งคู่

ตารางการคำนวณ

You cannot view this attachment.

Excel การคำนวณ

ลองพยายามเข้าไปดูสูตรในแต่ละช่องในตาราง Excel ก็จะเข้าใจถึงที่มาของการคำนวณทั้งหมด

การตีความหมาย
อย่างที่กลางไว้ตอนต้น +DI และ -DI ไว้ดูทิศทางของราคา ส่วน ADX จะเป็นตัวยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้น

ต้องบอกก่อนว่า คุณ Wilder ในตอนแรกที่คิดเครื่องมือนี้ เขาได้คิดไว้เพื่อการเทรดพวกสินค้า Commodity และ Currency แต่ในปัจจุบันเทรดเดอร์ส่วนมากนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดหุ้น เนื่องจากเห็นว่าหุ้นบางตัวก็มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบสินค้าพวก Commodity และ Currency

การดูความแข็งแกร่งของแนวโน้ม : ADX
ADX จะคอยบอกเราว่าทิศทางในช่วงนั้นเป็นแนวโน้ม (strong trend) หรือ ไม่เป็นแนวโน้ม (no trend)

การที่ราคาเคลื่อนไหวเป็นอย่างมีแนวโน้มจะทำให้เวลาเราเทรดสามารถรันเทรนและเก็บกำไรได้ดีกว่าช่วงที่ราคาไม่เป็นแนวโน้ม

Wilder แนะนำว่าในช่วง Strong trend คือช่วงที่ค่า ADX > 25
ส่วนช่วงที่ no trend คือช่วงที่ ADX < 20

เนื่องจากคำแนะนำนี้มีช่วง Wilder ไม่ได้ให้ความหมาย (20-25) หรือที่เรียกกันว่า Grey Zone ดังนั้น นักเทคนิคส่วนมากจึงปรับมาใช้ระดับที่ 20 เป็น Key level แทน

You cannot view this attachment.

ดูทิศทางของราคา : +DI / -DI (DMI)
Buy Signal จะเกิดเมื่อ +DI ตัด -DI ขึ้น
ส่วน Sell Signal จะเกิดขึ้นเมื่อ -DI ตัด +DI ลง
... และขณะเดียวกัน ADX ต้องอยู่เหนือระดับ 25 (ตามคำแนะนำของ Wilder)
... Stop loss ที่ระดับ Low ของ Signal Day (กรณี Buy ส่วน Sell ก็ใช้ระดับ High แทน)

You cannot view this attachment.
You cannot view this attachment.

เครื่องมือ ADX และ DMI เป็น Indicator ที่ครบเครื่องเลยทีเดียว สามารถวัดได้ทั้งทิศทาง และ ความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ภายในเครื่องมือเดียว ซึ่งมีน้อย Indicator นักที่สามารถทำได้ จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในหมู่นักเทคนิค
#6
จับจังหวะทำกำไรแบบเซียนด้วยการอ่านค่าแนวโน้มของ Spinning Top จากกราฟแท่งเทียน รูปแบบของแท่งเทียน จะบอกแนวโน้มของตลาดจากแรงกระเพื่อขอหมีและกระทิงในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ

แท่งเทียนแบบ Spinning Top คืออะไร
แท่งเทียนแบบ Spinning Top (Spinning Top Candlestick) เป็นรูปแบบหนึ่งของกราฟแท่งเทียนซึ่งเป็นกราฟเทคนิค ลักษณะคือตัวแท่งจะสั้นมีหางทั้งบนและล่าง หางจะสั้นหรือยาวก็ได้ขนาดความยาวหางทั้งบนและล่างควรจะไล่ ๆ กัน



แท่งเทียนแบบนี้จะบอกใบ้ทิศทางของราคาหลักทรัพย์ในอนาคต เป็นสัญญาณการเปิดสัญญาหรือซื้อขายสำหรับนักลงทุน



แท่งเทียนแบบ Spinning Top เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายสร้างสมดุลในอำนาจ ราคาปิดและเปิดเท่ากันในแต่ละช่วงเวลาอาจจะหนึ่งนาที ห้านาที สิบห้านาที หนึ่งชั่วโมงหรือช่วงเวลาใดก็แล้วแต่ที่นักลงทุนตั้งค่า Timeframe ไว้เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของคนในตลาดที่สะท้อนออกมาผ่านราคา  แท่งเทียนรูปแบบนี้จะปรากฏเป็นแท่งสีเขียวราคาเปิดอยู่ต่ำกว่าราคาปิด สะท้อนตลาดกำลังจะมีแนวโน้มขาขึ้น และสีแดงราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด สะท้อนตลาดกำลังจะมีแนวโน้มขาลง

แท่งเทียนแบบ Spinning Top เกิดได้ยังไงบ้าง
พฤติกรรมของนักเทรดกำหนดรูปแบบของกราฟแท่งเทียน นักเทรดแบ่งออกเป็นกลุ่มกระทิงที่จะผลักแท่งเทียนให้เลื่อนสูงขึ้น และกลุ่มหมีที่ดึงให้แท่งเทียนลดระดับต่ำลง นักลงทุนคนหนึ่งจะเป็นกระทิงหรือหมีขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในตลาดราคาจะมีแนวโน้มขาลงหรือขาขึ้นชัดเจนขึ้นอยู่กับอำนาจการซื้อขายของกลุ่มกระทิงหรือกลุ่มหมีที่มีมากกว่ากัน

ในช่วงตลาดขาขึ้นนักเทรดกระทิงมักส่งราคาสูงกว่าราคาเปิดในช่วงเวลาก่อนหน้าซึ่งเป็นไปได้ว่านักเทรดหมีอาจจะดึงราคาลงมาในเวลาเดียวกันพอดี และในช่วงตลาดขาลงนักเทรดหมีมักส่งราคาต่ำกว่าราคาเปิด ซึ่งนักเทรดกระทิงก็อาจจะพยายามดึงราคาขึ้นไปอย่างได้จังหวะพอดีเช่นกัน ราคาที่มาจากนักเทรดกระทิงและนักเทรดหมีต่างกันบ้างแต่น้อยมากจึงทำให้แท่งเทียนออกมาเป็นรูปแบบ Spinning Top

เรารู้อะไรจากแท่งเทียนแบบ Spinning Top
แท่งเทียนแบบ Spinning Top สื่อถึงการชะลอการตัดสินใจที่ส่งผลต่อการซื้อขายอย่างมีนัยยะสำคัญของนักลงทุน หรือการตัดสินใจที่จะไม่กำหนดราคาให้สูงหรือต่ำอย่างเด็ดขาด ถ้าสถานการณ์ความไม่แน่ใจยังดำเนินต่อไป กราฟแท่งต่อ ๆ ไปก็จะปรากฏขึ้นด้านข้างโดยไม่แสดงแนวโน้ม (Sideway) อย่างไรก็ตามสีและตำแหน่งของแท่งเทียนก็ให้สัญญาณว่าในอนาคตอันใกล้ แนวโน้มขาขึ้นหรือลงกำลังจะปรากฏให้เห็น



ในขาขึ้นที่จุดสูงสุด มักพบแท่งเทียนแบบ Spinning Top ซึ่งเป็นสีแดงแสดงว่านักเทรดกระทิง (Bull Trader) กำลังจะสูญเสียการควบคุมเพื่อกำหนดราคา แนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาลง และในทางกลับกัน ถ้าหากเจอแท่งเทียนแบบ Spinning Top ในกราฟขาลงซึ่งเป็นสีเขียวก็แสดงว่านักเทรดหมีกำลังสูญเสียอำนาจการกำหนดราคาไปอยู่ทางฝั่งกระทิงซึ่งจะทำให้ราคาพุ่งทะยานขึ้น



การดูสัญญาณจากแท่งเทียนเพียงแท่งเดียว หรือดูจาก Spinning Top เพียงรูปแบบเดียว เป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป ในเบื้องต้น ถ้าพบกับแท่งเทียนแบบ Spinning Top แล้ว ไม่ควรบุ่มบ่ามแต่ควรรอสัญญาณยืนยันอื่น เช่น แท่งเทียนที่ปรากฏขึ้นตามมา 2-3 แท่งควรเป็นไปในทิศทางที่คาดไว้ เช่น Spinning Top เป็นสีแดงก็รอเห็นกราฟแท่งเทียนปรากฏตามมาเป็นสีแดงติด ๆ กัน 2-3 แท่ง และไม่ได้อยู่ในช่วงแคบก็ค่อยเชื่อว่าตลาดเป็นขาลง และตัดสินใจลงทุนในช่วงขาลง หรือถ้า Spinning Top เป็นสีเขียว ก็รอจนเห็นแท่งเทียนสีเขียวอื่น ๆ ตามมาพร้อมกับระคาที่ดันตัวสูงขึ้นไปอีก ค่อยสรุปว่ากำลังเจอกับขาขึ้น

จะเทรดเมื่อเป็น แท่งเทียนแบบ Spinning Top ได้ยังไง
มีหลายวิธีในการเทรดเมื่อเห็นแท่งเทียนแบบ Spinning Top สิ่งแรกที่ต้องทำเน้นอีกครั้งว่าคือการยืนยันว่ากำลังเห็นสัญญาณอยู่ ไม่ใช่แค่แท่งเทียนบังเอิญแสดงรูปแบบ Spinning Top และหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าราคาปรับเป็นขาขึ้นหรือขาลงหรือเป็นไปในทิศทางที่ไม่ได้คาดซึ่งจะทำให้ขาดทุนได้



นักเทรดจำนวนมากใช้ตัววัดทางเทคนิคเข้ามายืนยันประกอบการเทรด เพราะว่าตัววัดทางเทคนิคจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าแค่ข้อมูลราคาที่เปลี่ยนไป เช่น

1.Moving Average Convergence-Divergence (MACD) คือ ตัวชี้วัดที่บอกทิศทางแนวโน้มของหุ้น เป็นเครื่องมีที่มีแนวคิดจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นที่มีค่าแตกต่างกัน คำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง

2.Relative Strength Index (RSI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาว่ามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือการขายมากเกินไป (Oversold) มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 หากมีการซื้อมากไป เมื่อราคาพุ่งไปสูงแล้ว อาจจะไม่เพิ่มสูงต่อ ปริมาณการซื้อลดลง ราคาเริ่มลดลง หรือเมื่อราคาลดลงต่ำแล้ว อาจจะไม่ลดต่อ ปริมาณการซื้อกลับมาเพิ่มขึ้น เราสามารถดูที่เส้น RSI ประกอบกราฟแท่งเทียนเพื่อหาสัญญาณราคากลับตัวเป็นขาขึ้นหรือขาลง

3.Stochastic Oscillator เน้นเปรียบเทียบราคาปิดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 เช่นเดียวกับ RSI แต่ประกอบด้วยเส้น 2 เส้น เส้นหนึ่งคือ %K ซึ่งเป็นสัดส่วนระหว่างราคาปิดกับราคาต่ำสุด กับส่วนต่างระหว่างราคาสูงสุดกับราคาต่ำสุด ส่วน %D คือเส้นค่าเฉลี่ยของ %K อีกที เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) และเกิดขึ้นที่ค่าชี้วัดมากกว่า 80 จะเป็นสัญญาณซื้อ และในทางตรงกันข้ามเมื่อ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) และเกิดขึ้นที่ค่าชี้วัดต่ำกว่า 20 เป็นสัญญาณขาย

ตัวอย่างกราฟแท่งเทียนแบบ Spinning Top

You cannot view this attachment.

จากภาพกราฟตัวอย่าง กราฟแท่งเทียน Spinning Top ขาลงสีแดงปรากฎขึ้นด้านซ้ายก่อนที่ราคาของคู่เงิน EURUSD หรือ ยูโรกับดอลลาห์สหรัฐ จะปรับเป็นขาลง โดยในช่วงที่สังเกตเห็น Spinning Top ถ้าไม่ได้ดูร่วมกับเครื่องมืออื่นว่าจะเป็นขาลง จะต้องรอให้แน่ใจก่อน เพราะหลังจากนั้นมี Sideway อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนที่ราคาจะปรับลดลงจริง ๆ



เมื่อดูต่อไป สิ้นสุดขาลง ก่อนที่ราคาในขาลงจะกลับตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ปรากฎกราฟแท่งเทียน Spinning Top ขาขึ้นสีเขียวซึ่งจริง ๆ แล้วยังเป็น Spinning Top ที่ไม่สมบูรณ์แบบเพราะหางด้านบนและด้านล่างสั้นยาวไล่ ๆ แต่ไม่เท่ากัน แต่ถัดจากนั้นไม่นานเราสามารถเห็น Spinning Top ขาลงสีแดงได้อีกครั้ง โดยตลาดในเวลาถัดไปยังไม่ปรับตัวลงทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เป็นขาลงดังในรูปต่อไป

You cannot view this attachment.

จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วการใช้ Spinning Top เพียงอย่างเดียวค่อนข้างจะคาดเดาแนวโน้มในอนาคตให้แน่นอนได้ยาก เพราะอาจจะมี Sideway เข้ามาแทรก หรือการปรับตัวสวนทางระยะสั้น ๆ ซึ่งสำหรับมือใหม่อาจทำให้ตกใจและชิงขาดขาดทุนเป็นการ Cut Loss ได้ ดังนั้นหากใช้เครื่องมือทางเทคนิคประกอบจะทำให้ตัดสินใจได้ดีกว่า ดังในภาพต่อมา

You cannot view this attachment.

เลือกใช้ Stochastic Oscillator เข้ามาประกอบ และอ่านค่าดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้ว เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) ที่ค่าชี้วัดมากกว่า 80 จะเป็นสัญญาณขาขึ้น หรือการเปิดสัญญาซื้อ และในทางตรงกันข้ามเมื่อ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D (ค่าเฉลี่ยของตัวเอง) ที่ค่าชี้วัดต่ำกว่า 20 เป็นสัญญาณขาย



TOP1 Markets มีบทวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางเทคนิค ซึ่งช่วยให้คุณได้เรียนรู้ไปพร้อมกับทดลองใช้งาน สนใจเปิดบัญชีซื้อขายได้ทันที ที่ 

Doji กับ Spinning Top ต่างกันตรงไหน

You cannot view this attachment.

กราฟแท่งเทียนแบบ Spinning Top มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับแบบ Doji แต่สิ่งที่ต้องพึงใส่ใจคือขนาดแท่ง กราฟแบบ Doji จะมีขนาดแท่งที่เล็กกว่า แสดงถึงความเป็นกลางในด้านราคาซื้อขายหรือความกดดันระหว่างผู้ซื้อสองฝั่งใกล้เคียงกัน แท่งเทียนแบบ Spinning Top จะพบมากกว่าที่จุดสูงหรือต่ำสุดเมื่อแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลง ในขณะที่แบบ Doji มักจะตามมาหลัง Spinning Top อีกที หรือขณะที่กราฟดำเนินไปในลักษณะ Sideway

ข้อจำกัดของการใช้แท่งเทียนแบบ Spinning Top
หลาย ๆ ครั้งจะพบแท่งเทียนแบบ Spinning Top เมื่อราคากำลังจะเข้าสู่ Sideway (ราคาปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบ ๆ ไม่แสดงแนวโน้ม) หรืออยู่ในช่วง Sideway  แล้ว การนำ Spinning Top มาใช้เพื่อคะเนแนวโน้มจึงเกิดปัญหาขึ้นได้ว่าบางครั้งถึงจะเห็นกราฟแบบ Spinning Top แต่ราคากลับไม่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงดังที่คาดไว้



สายเก็งกำไรระยะสั้นหลายท่านเน้นการเห็นกำไรในทันทีหลังเปิดสัญญาหรือซื้อขาย โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่เน้นกินส่วนต่างขนาดเล็ก ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผิดพลาดหรือรอนาน เมื่อจะตัดสินใจลงทุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ตลาดคอนเฟิร์มด้วยการเห็นการปรับทิศทางกับตาตัวเองไปสักระยะหนึ่งหรือมีสัญญาณจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ



นอกจากนี้ แท่งเทียน Spinning Top ยังไม่ได้ทำให้กำหนดราคาเป้าหมายหรือว่าช่วยหาทางออกเหมือนกับแนวรับหรือแนวต้าน  นักเทรดต้องมีเทคนิควิธีการอื่น ๆ เสริม อย่างรูปแบบกราฟแท่งเทียนแบบอื่น หรือตัววัดอื่นเพื่อให้รู้จุดที่จะปิดสัญญาณหรือทำการขายเพื่อทำกำไร

บทส่งท้าย
กราฟแท่งเทียนมีหลายรูปแบบ ไม่สามารถพึ่งพารูปแบบเดียวมาเป็นกลยุทธ์ทำกำไรได้ดีหรือสมบูรณ์ Spinning Top เป็นหนึ่งในรูปแบบที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย จริง ๆ แล้วมันเป็นเหมือนสัญญาณให้ตรวจสอบหาจังหวะเข้าซื้อหรือขายด้วยเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ



นอกจากเทคนิคและกลยุทธ์ ในการลงทุน การเทรดกับโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้เป็นเรื่องสำคัญมาก TOP1 Markets โบรกเกอร์ CFDs ให้บริการเทรดออนไลน์ทั้ง Forex, สินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น, ดัชนี และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ แม้ในยามตลาดผันผวนก็สามารถทำกำไรได้ ให้บริการมากกว่า 10 ประเทศ ไม่คิดค่าคอมมิชชั่น ด้วยรางวัลบริการทางการเงินคุณภาพเยี่ยม มีแพลทฟอร์ตการเทรดที่ดีที่สุดในปี 2021 ปัจจุบันมีนักเทรดกว่า 1.35 ล้านคนทั่วโลกกำลังใช้บริการอยู่ เริ่มต้นเทรดเพียงใช้เงินฝากขั้นต่ำ 50 USD  มีโบนัสสูงสุดสำหรับการเทรด 4,000 USD และ รับ Leverage เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อขายสูงสุดที่ 1,000 เท่า

#7
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Fibonacci
มีนาคม 21, 2024, 04:01:54 ก่อนเที่ยง
Fibonacci คืออะไร ตัวเลขทองคำที่ Trader สายลงทุนชื่นชอบและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาจุดกลับตัว จัดว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมและเป็นลำดับเลขที่พบเจอได้ตามทั่วไป เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเทียบเป็นสัดส่วนของการเคลื่อนที่จนถูกเรียกว่าเป็นสัดส่วนทองคำ

มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
Fibonacci คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Fibonacci มาแล้วบ้าง เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเชื่อมเข้ากับ Number ที่มีความเชื่อมโยงเข้ากันและมีความหมายในแต่ละสัดส่วน เช่น 0, 1, 2, 3, 5, 8, 13 ...จะเห็นได้ว่าสัดส่วนตัวเลขที่พบเป็นสัดส่วนทองคำ ในแวดวงการลงทุนจะใช้เป็นกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวของราคที่ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน ทำให้การหาตัวเลขทองคำเหล่านี้มีผลต่อการซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

You cannot view this attachment.

Table of Contents
มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
ประเภททั้งหมดของ Fibonacci คืออะไร แล้วมันมีกี่แบบ?
Fibonacci Retracement
Fibonacci Extension
Fibonacci Projection
เทคนิคการตี Fibonacci คืออะไร
Fibonacci คืออะไร ตัวเลขทองคำที่ Trader สายลงทุนชื่นชอบและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาจุดกลับตัว จัดว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมและเป็นลำดับเลขที่พบเจอได้ตามทั่วไป เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเทียบเป็นสัดส่วนของการเคลื่อนที่จนถูกเรียกว่าเป็นสัดส่วนทองคำ

มาดูกันดีกว่า Fibonacci คืออะไรกันแน่?
Fibonacci คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Fibonacci มาแล้วบ้าง เมื่ออยู่ในตลาดการเทรดถูกนำมาเชื่อมเข้ากับ Number ที่มีความเชื่อมโยงเข้ากันและมีความหมายในแต่ละสัดส่วน เช่น 0, 1, 2, 3, 5, 8, 13 ...จะเห็นได้ว่าสัดส่วนตัวเลขที่พบเป็นสัดส่วนทองคำ ในแวดวงการลงทุนจะใช้เป็นกฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวของราคที่ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน ทำให้การหาตัวเลขทองคำเหล่านี้มีผลต่อการซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Fibonacci
ความเป็นมาของตัวเลขฟีโบนัชชี เกิดขึ้นในช่วงสมัยกลางยุโรป เชื่อกันว่าการเกิดขึ้นของฟีโบนัชชีถูกคิดค้นด้วยนักคณิตศาสตร์ตั้งแต่ 400-200 ปีก่อนคริสตกาล และถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ความ Amazing ของอนุกรมตัวเลขไที่นำมาใช้ในการเทรดซึ่งเป็นสัดส่วนของกฎธรรมชาติเพื่อนำมาคาดการณ์หาแนวรับ แนวต้าน เป้าหมายราคา เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเข้าถึงจุดซื้อ จุดขาย ได้ดีรวมถึงการใช้ร่วมกับเครื่องมือที่หลากหลาย

ประเภททั้งหมดของ Fibonacci คืออะไร แล้วมันมีกี่แบบ?
เมื่อต้องการ Trade ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรทำความเข้าใจ Fibonacci คืออะไร มีกี่ประเภท เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งได้ ดังนี้

You cannot view this attachment.

Fibonacci Retracement
ใช้ในการวัดกะระยะการย่อหรือการเด้งของ Graph เพื่อต้องการหาโอกาสที่เส้นกราฟจะเดินไปถึงจุดไหน หากกราฟเป็นเทรนขาขึ้นจะใช้ในการย่อลงมาของกราฟ แต่ในทางกลับกันหากเป็นราคาขาลงมาก็ใช้ในการวัดการเด้งของกราฟ สัดส่วนจะเริ่มจาก 0% -100% ความสำคัญของการดูกราฟที่มีโอกาสซื้อขายจับจังหวะได้แม่นยำขึ้น

Fibonacci Extension
รูปแบบนี้คือการใช้วัดราคาสามารถยืดออกไปได้ไกลแค่ไหน โดยแสดงค่าตั้งแต่ 100% ขึ้นไป เลือกการเทรดได้ตามประสบการณ์ ซึ่งเป็นช่วงกว้างอาจต้องเป็น Professional

Fibonacci Projection
เหมาะสำหรับการใช้ดูการเคลื่อนไหวของราคา หลังจากที่มีการย่อหรือการเด้งใน Trend ทั้งนี้เพื่อต้องการดูว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนว่าจะถึงตามเป้า หรือดูแนวต้าน แนวรับ สำหรับราคาที่มักจะใช้งานบ่อย ๆ คือ 100, 161.8

You cannot view this attachment.

เทคนิคการตี Fibonacci คืออะไร
การเรียนรู้ใช้งานเทคนิค Fibonacci คืออะไร จัดว่าเป็น Great Tools อีกหนึ่งประเภทที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ให้ความสนใจและนำมาใช้งานกันมาก หากต้องการสัดส่วนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

- ควรศึกษา Market Trends ต้องมีความชัดเจนจึงจะใช้งานเครื่องมือได้ดี แนวโน้มของตลาดต้องชัดเจน จึงจะสามารถค้นหาจุดสูงสุด จุดต่ำสุดได้
- คาดการณ์ความเคลื่อนไหว Asset Price ได้ชัวร์มากขึ้น ความสำคัญของการเลือกตลาดที่ให้สัญญาณที่น่าเชื่อถือโดยเฉพาะตลาดใหญ่ย่อมดีกว่าตลาดขนาดเล็กอย่างแน่นอน
- ความแน่นอนและความแม่นยำในการ Confirm Signal ควรเลือกใช้เครื่องมือควบคู่กันหลายตัว ช่วยให้การวิเคราะห์เกิดความแม่นยำและสามารถจับทิศทางได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญช่วยให้การคาดการณ์ได้ดีกว่าการใช้เพียงเครื่องมือชนิดเดียว แนะนำควรเลือกใช้ Ichimoku Cloud , Bollinger Bands
#8
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / On Balance Volume (OBV) คืออะไร?
มีนาคม 20, 2024, 01:35:43 ก่อนเที่ยง
You cannot view this attachment.

On Balance Volume หรือ OBV คือเครื่องมือที่วัดปริมาณการซื้อขายสะสม เพื่อวัดแรงซื้อแรงขาย ใช้ในการยืนยันทิศทางแนวโน้ม และหาจุดกลับตัวของราคา ถูกพัฒนาโดย Joe Granville โดยทฤษฎีของ Granville นั้นเชื่อว่า Volume นำราคา ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลปริมาณการซื้อขายสามารถบ่งชี้ถึงทิศทางราคาในอนาคตได้
 
OBV จะปรับตัวขึ้นก็ต่อเมื่อ Volume ของวันที่หุ้นขึ้น มากกว่า Volume ของวันที่หุ้นลง ในทางตรงกันข้าม OBV จะปรับตัวลงก็ต่อเมื่อ Volume ของวันที่หุ้นลง มากกว่า Volume ของวันที่หุ้นขึ้น

- การปรับตัวขึ้นของ OBV บ่งชี้ให้เห็นว่า ราคามีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต
- การปรับตัวลงของ OBV บ่งชี้ให้เห็นว่า ราคามีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต

ทั้งนี้ ค่าของ OBV ไม่ค่อยมีนัยสำคัญ เราจะโฟกัสที่ทิศทางการขึ้นลงของ OBV มากกว่า
 
การยืนยันแนวโน้ม

OBV สามารถใช้ยืนยันทิศทางของแนวโน้มการแกว่งตัวของราคา โดยหาก OBV เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคา แปลว่า ทั้ง Volume และ ราคา สอดคล้องกัน เป็นการยืนยันทิศทางของแนวโน้มนั้น หรือจังหวะที่ OBV เปลี่ยนทิศทาง และราคาก็เปลี่ยนทิศทางเช่นเดียวกัน เป็นการยืนยันสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างเช่น กราฟ หุ้น DTAC ในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น ราคาและ OBV ยืนยันทิศทางฝั่งขาขึ้นด้วยการขึ้นทำ Higher High (ทำ High ใหม่) พร้อมกัน ซึ่งเป็นการ Comfirm ซึ่งกันและกัน และในขณะที่ทางขวามือ เป็นการยืนยันว่า แนวโน้มขาขึ้นได้จบลง ด้วยการที่ราคาหลุดเส้น Uptrend Line และทำ Lower Low เช่นเดียวกับ OBV ก็ทำภาพลักษณะคล้ายกัน

การสังเกต Divergence

การเกิดสัญญาณ Divergence สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา โดย

- Bullish Divergence : ราคาทำ Lower Low แต่ OBV ทำ Higher Low
- Bearish Divergence : ราคาทำ Higher High แต่ OBV ทำ Lower High

You cannot view this attachment.

  ตัวอย่างการเกิดสัญญาณ Divergence ระหว่างราคา กับ OBV

Bullish Divergence : ราคาทำ Low ใหม่ แต่ OBV กลับยก Low สูงขึ้น เป็นสัญญาณ Bullish Divergence บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวขึ้นในอนาคต

Bearish Divergence : ราคาขึ้นแตะ High เดิม แต่ OBV กลับทำ High ที่ต่ำกว่า เป็นสัญญาณ Bearish Divergence บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวลงในอนาคต

สรุป
On Balance Volume (OBV) เป็นเครื่องมือชี้วัดที่ค่อนข้างใช้ง่าย ทรงประสิทธิภาพ และยังสามารถวัดแรงซื้อแรงขาย จากปริมาณการซื้อขาย (Volume) ซึ่งนักลงทุนสามารถนำ OBV ไปใช้ในการยืนยันทิศทางของแนวโน้ม และยังสามารถหาจุดกลับตัวของราคาจากการดู Divergence ได้อีกด้วย อีกทั้งเมื่อนำไปประกอบเครื่องมืออื่นใน Technical analysis ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เพิ่มโอกาสการชนะ และสร้างกำไรในการเทรดได้เป็นอย่างดี
#9
เทคนิคหรือกลยุทธ์ต่างๆในการเทรด หรือเก็งกำไรในตลาดค่าเงิน รวมทั้งหุ้น หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในวงการตลาด Forex ค่อนข้างจะมีหลากหลายวิธี คงต้องค่อยๆ ทยอยเขียนไปเรื่อยๆ เอาครับ

สำหรับวันนี้จะขอกล่าวถึงเทคนิคเก็งกำไรระยะสั้นๆ กับตลาดที่ไม่มีความหวือหวา ที่เรียกว่า ตลาด ไซด์เวย์ Sideway  ถึงมันจะเงียบๆ สงบๆ แต่เราก็สามารถหากิน(เทรดทำกำไร) กับมันได้เหมือนกัน เอาล่ะ! ไม่พร่ำเพรื่ออะไรให้มันมากมาย ไปลุยกันเลยดีกว่าครับ

กลยุทธ์ที่ว่านี่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Scalping By "Cutting Points" ควรเล่นกับคู่สกุลที่มีสเปรด่ตำ หรือคู่สกุลเงินหลัก เช่น EURUSD, GBPUSD, AUDUSD, USDCAD, กรอบเวลาแนะนำ(Time frame)คือ 5 นาที (M5)

เครื่องมือที่ใช้เทรดในช่วงตลาด Sideway

ประกอบด้วยอินดิเคเตอร์ 3 ตัวคือ

Bollinger Bands = 20, 2

ADX = 14 period

RSI = 7 period

 

กรณีซื้อ (Buy or Long)

1. ราคาลงอยู่ต่ำกว่า หรือลงมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านล่าง

2. RSI ต่ำกว่าระดับ 30

3. ADX ต่ำกว่าระดับ 30

4. เปิดออเดอร์ซื้อ เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่า หรือลงมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านล่างแล้ว ราคาย้อนกลับทะลุเส้นดังกล่าวขึ้นไปข้างบน

 

ตัวอย่างกรณีซื้อ (Buy or Long)

You cannot view this attachment.

กรณีขาย (Sell or Short)

1.  ราคาอยู่สูงกว่า หรือขึ้นมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านบน

2. RSI อยู่เหนือระดับ 70

3. ADX อยู่ต่ำกว่าระดับ 30

4. เปิดออเดอร์ขาย เมื่อราคาอยู่สูงกว่า หรือขึ้นมาแตะเส้น Bollinger Bands ด้านบนแล้ว ราคาย้อนกลับทะลุเส้นดังกล่าวลงมาข้างล่าง

 

ตัวอย่างกรณีซื้อ (Sell or Short)


You cannot view this attachment.

กรณี Take Profit และ Stop loss

TP เลือกตามความเหมาะสม หรืออาจใช้เส้นกลางของ Bollinger Bands เป็นตัวกำหนด

TP ระยะสั้น อาจเลือกห่างจากระดับเปิด  3-5 จุดขึ้นไป

SL อาจเลือกห่างจากเส้น Bollinger Bands บนหรือล่าง 3 จุด หรือตามความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
#10
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / MACD คืออะไร?
มีนาคม 18, 2024, 01:59:09 ก่อนเที่ยง
โดย Indicator MACD ถือเป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นีกเทรดไทย และเป็นที่นิยมของนักเทรดทั่วโลกผ่านกาลเวลาอันยาวนาน Indicator MACD เป็น Indicator ในกลุ่ม Oscillator แต่บทบาทของ MACD เป็น Indicator มีบทบาทในการบอกเทรนด์ของราคาสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงเป็นส่วนมาก และด้วยรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้เลยทันทีทำให้มันเป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ สูตรการคำนวณ ลักษณะและวิธีการใช้งานของ MACD

 

MACD คืออะไร?

MACD หรือ Moving Average Divergence Convergence ที่แสดงความสัมพันธ์ของเทรนด์ผ่าน Moving Average 2 ตัวของราคาสินทรัพย์ที่ใช้คำนวณ ตัวอย่างเช่น ค่าเงิน หรือ หุ้น หรือ Cryptocurrency เป็นต้น การคำนวณสามารถทำได้จากการ นำ เส้น Moving Average แบบ Exponential หรือ EMA ลบออกโดย Moving Average 12 Period  ผลที่ได้จากการกระทำดังกล่าวจะทำให้เราได้เส้น MACD Line โดยที่ 9 MACD เป็นเส้นให้สัญญาณ หรือ Signal Line ซึ่งจะพล็อตด้านบนของเส้น MACD ที่จะเป็นตัวให้สัญญาณซื้อขาย ว่าจะส่ง Buy หรือ Sell

อย่างไรก็ตาม MACD สามารถใช้ตีความได้หลายรูปแบบในการอ่านกราฟ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดคือ การใช้มันตัดกัน โดยสูตรของเส้น MACD สามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้

MACD = 12 Period EMA –  26 Period EMA

 

ซึ่งรูปร่างของ MACD นั้นสามารถตีความได้ง่าย ดังต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

การใช้งาน MACD

จากรูปร่างตามที่แสดงในรูปที่ 1 มันมีองค์ประกอบ อยู่  3 อย่างคือ เส้น สีแดง  แท่ง Histogram และ เส้น 0 ดังนี้มันทำให้มีการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบ ที่เป็นที่นิยม

 

การใช้ แท่ง Histogram เป็นเกณฑ์

การใช้แท่ง Histogram เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเทรนด์หลักการใช้นั้นไม่ยากและตรงไปตรงมา นั่นคือ เมื่อแท่ง Histogram สูงกว่าเส้น 0 ให้ทำการ Buy ณ เวลานั้น ขณะเดียวกันถ้าหากต้องการที่จะทำการส่ง ออเดอร์ Sell ก็สามารถทำได้โดยการส่งคำสั่ง Sell เมื่อ MACD มีค่าต่ำกว่าแกนกลางของ MACD การทำแบบนี้จะเกิดเมื่อเทรนด์ที่มีความชัดเจนมากเท่านั้น

ความชัดเจนของเทรนด์ของราคาสินทรัพย์ที่เราใช้ในการคำนวณ จะสามารถดูได้จากความสูงของเส้น MACD ที่เป็นส่วนของ Histogram ที่ดีดออกมาจากฐาน 0 นั่นคือเทรนด์ที่มีความชัดเจนมาก ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ แม้ว่าเราจะหาจุดเข้าเทรดได้แต่เราไม่สามารถหาจุดออกจากการเทรดได้ เพราะว่า การใช้ MACD ตัดลงแล้วค่อย Sell นั้นจะทำให้การออกจากออเดอร์นั่นล่าช้ามาก ๆ การแก้ไขสามารถทำได้โดยการใช้ Indicator ประเภทอืน ๆ เป็ฯตัวกำหนดระยะทางในการออกจากออเดอร์ ตัวอย่างเช่น Stochastic หรือ Horizontal line ที่ทำเป็นแนวรับแนวต้าน

 

การใช้ MACD จากเส้น Signal Line

การให้สัญญาณการเทรด ที่ช้าเมื่อเราใช้ค่า Histogram ตัดค่า 0 ขึ้นไปนั้นแม้จะให้สัญญาณการเทรดที่ช้า แต่ไม่ได้หมายความว่า MACD นั้นจะเป็น Indicator ที่ให้การเคลื่อนไหวช้ากว่า Indicator ตัวอื่น ๆ ถ้าเราสังเกตุ เราจะพบว่า เส้น Signal Line หรือเส้น สีแดงนั้นจะมีช่วงที่ตัดขึ้นตัดลงกันไปมากระหว่างเส้น Signal Line กับ แท่ง Histogram นั่นแหละครับคือสัญญาณการเข้าซื้อเข้าขายที่เร็วมากอันหนึ่ง

เราจะส่ง buy เมื่อ Signal Line อยู่ต่ำกว่าแท่ง Histogram และต้องมีเงื่อนไขว่า ต้องตัดกันตอนที่ signal line และ Histogram อยู่ต่ำกว่าค่า 0 ด้วยเท่านั้น ถึงจะส่งสัญญาณ Buy ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าจะส่งสัญญาณ Sell ก็ต้องทำในด้านตรงข้ามกัน คือ Signal Line ตัดกันลงมาโดยแท่ง Histogram ต่อต่ำกว่า Signal Line อยู่สูงกว่าค่า 0 ดังแสดงในรูปต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

จากรูปที่ 2 จะมีสัญญาณ 2 แบบ คือ วงกลมสีเขียว กับ วงกลมสีแดง ในวงกลมสีเขียว คือการให้สัญญาณ Buy ของ Indicator ยิ่งการตัดกันเกิดลึกมากเท่าใด ความน่าจะเป็นว่า ราคาจะมีการกลับตัวขึ้นที่จุดนั้นย่อมมีสูง ในขณะเดียวกัน กรณีที่จะส่งออเดอร์ Sell การตัดกันของ เส้น Signal Line และ Histogram ก็ให้สัญญาณ Sell

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ MACD คือ การตั้งค่า แม้ว่าค่า Default คือ 9 12 26 นั้นจะเป็นค่าที่ตั้งค่ามาดีพอสมควร แต่เพื่อให้เหมาะสมจริง ๆ กับราคา สิ่งที่เราต้องทำคือการปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของราคา โดยปรับค่าเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจ และทำการ Back Test ข้อสำคัญที่ไม่ควรลืม คือ การใช้ Indicator ประเภทอื่น ๆ ให้สอดรับกันด้วย
#11
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Chart patterns คืออะไร ?
มีนาคม 14, 2024, 03:02:15 หลังเที่ยง
You cannot view this attachment.

เทรดเดอร์ Forex ที่เป็นสาย Technical นั้นสามารถแบ่งได้เป็นอีกหลายสาย ในวันนี้หนึ่งในสายที่สำคัญคือ สายดูรูปแบบราคา หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Chart patterns นั้น มักจะคุ้นเคยกับรูปแบบราคาของตัวเอง โดยรูปแบบราคา ส่งผลต่อการเทรด และการทำกำไรในการเทรด Forex ซึ่งรูปแบบราคาที่สามารถทำกำไรของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม จะมีรูปแบบราคาไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่จะสามารถสร้างกำไรได้บ่อยเพราะว่า มันเกิดขึ้นบ่อย และสามารถใช้ได้ง่าย สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายนั้นเอง

3 กลุ่มรูปแบบราคา คืออะไร ?

รูปแบบราคาที่เป็นที่รู้จักในตลาดเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ รูปแบบต่างๆ เช่น Double top , Head and shoulder , สามเหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งบทความนี้เราจะมาสรุปประเภทของรูปแบบราคาต่าง ๆ นี้ ออกมาเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. รูปแบบการกลับตัว

2. รูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง

3. รูปแบบ  2 ทาง

 
1.รูปแบบการกลับตัว


You cannot view this attachment.

รูปแบบการกลับตัว คือ เมื่อราคาฟอร์มตัวในรูปแบบการกลับตัวแล้ว มันจะบ่งบอกสัญญาณว่า ราคาจะเปลี่ยนทิศทาง จากการเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง เป็นทิศทางขาขึ้น หรือ!! จากทิศทางขาขึ้นเป็นขาลง รูปแบบกราฟสัญญาณกลับตัวนั้น มีอยู่ 6 รูปแบบ หลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 Double top

รูปแบบ Double Top คือ การที่ราคาเคลื่อนไหวเป็นหยัก 2 หยักที่ตรงจุดยอด หรือ จุด Top เลยเรียกว่า Double Top ซึ่งการเกิด Double Top กำลังหมายความว่า ราคาพยายามที่จะทำ New High แต่ว่าไม่สามารถที่จะ ทำ New High ได้ ทำได้ดีที่สุดคือ การขึ้นไปเทียบกับราคาเดิม เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่นนี้ทำให้ราคาดีดกลับลงมาต่ำกว่าเดิมและเปลี่ยนทิศทางไปเลย จากขาขึ้นเป็นขาลง

1.2 Double bottom

ส่วนรูปแบบ Double Bottom เป็นรูปแบบตรงข้ามกับรูปแบบ Double Top เพียงแต่มันเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ราคาพยายามจะลงต่อเพื่อทำ  New Low นั่นแหละแต่ไม่ประสบความสำเร็จทำให้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนทิศทางกลับเป็นขาขึ้น ซึ่งรูปแบบ 2 รูปแบบ เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการเทรด สูงสุดและสามารถวิเคราะห์ได้ง่าย มีเหตุมีผลในการวิเคราะห์

1.3 Head and shoulders

่รูปแบบหัวและใหล่ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเทรด เพราะว่ารูปแบบหัวและใหล่นั้นสามารถดูได้ง่ายเช่นเดียวกัน รูปแบบหัวและไหล่ จะคล้ายคลึงกับ Double Top และ Double Bottom เพียงแต่ว่า จะมียอดอยู่ 3 ยอดด้วยกัน โดยที่ยอดแรกกับยอดสุดท้ายจะเท่ากัน และยอดตรงกลางจะสูงสุดหรือต่ำสุด รูปแบบ Head and Shoulder นี้ก็จะเกิดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง เช่นเดียวกับรูปแบบอื่น ๆ โดยจะเรียกว่า รูปแบบ Head and Shoulder กลับหัว หรือ inverse head and shoulders

1.4 Inverse head and shoulders

ในการเทรดรูปแบบเหล่านี้ ทำให้อย่างง่ายดายโดยเพียงรอราคาทะลุผ่านเส้น Neckline และก็เข้าไปเปิดออเดอร์ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มใหม่ ส่วนเป้าหมายการทำกำไรในแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไปครับ

2.รูปแบบราคา การเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Continuation)

You cannot view this attachment.

เมื่อเกิดรูปแบบราคาในลักษณะนี้ ราคามักจะเคลื่อนไหวต่อไป ตามทิศทางเดิมของเทรนด์ก่อนหน้า  เช่น เทรนด์ก่อนหน้าเป็นเทรนด์ขาขึ้น หลังจากนั้นจะมีการพักฐานเพียงชั่วครู่หนึ่งแล้วจะเป็นขาขึ้นต่อ ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวเดิมเป็นขาลง หลังจากนั้นก็จะเป็นขาลงต่อไปเช่นเดียวกัน โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่องของ รูปแบบราคานี้จะประกอบด้วย

2.1 Falling wedge

คือกราฟรูปแบบสามเหลี่ยมรูปลิ่ม เฉียงลง ซึ่งสามเหลี่ยมจะค่อย ๆ แคบจนเป็นรูปลิ่ม และจะเกิดสัญญาณ Break Out คือทะลุรูปแบบ 3 เหลี่ยมออกมา โดยจะเคลือ่นไหวไปทิศทางเดียวกับเทรนด์ก่อนหน้า นั่นคือเทรนด์ขาลง

2.2 Rising wedge

คือ รูปแบบราคาที่ตรงข้ามกับ Falling Wedge ซึ่งสามเหลี่ยมจะกลับด้านกับรูปแบบ Falling Wedge ซึ่งทิศทางของเทรนด์สำหรับรูปแบบ Rising Wedge คือ การเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากเทรนด์ขาลงเป็นเทรนด์ขาขึ้น

2.3 Bullish rectangle

รูปแบบ Bullish Rectangle หรือรูปแบบ 4 เหลี่ยมผืนผ้าขาขึ้น เป็นรูปแบบที่ราคาพักฐานสักครู่หนึ่งก่อนที่จะเคลื่อนไหวต่อไปข้างหน้าเป็นขาขึ้น

2.4 Bearish rectangle

รูปแบบ Bearish Rectangle เป็นรูปแบบ 4 เหลี่ยมผืนผ้าขาลง คือราคาพักการเคลื่อนไหวเพื่อสะสมแรงเพียงชั่วครู่หลังจากนั้นเคลื่อนไหวเป็นขาลงต่อไป

2.5 Bullish pennant

เป็นรูปแบบ 3 เหลี่ยมธง คล้ายคลึงกับรูปแบบ Wedge เพียงแต่ลักษณะสามเหลี่ยมจะยาวกว่า คล้าย ๆ ธงสามเหลี่ยม รูปแบบ Bullish ก็แสดงถึงขาขึ้น ที่ราคาจะไปต่อเมื่อพักฐานและเกิด Breakout ขณะที่รูปแบบตรงข้ามของมันคือ Bearish Pennant ที่เป็นรูปแบบของขาลง

2.6 Bearish pennant

แต่ละรูปแบบก็น่าตาต่างกันออกไป เป้าหมายการทำกำไร หรือจุด Stop loss ก็ต่างกัน แต่หลักการเดียวกันคือเป็นการไปต่อของแนวโน้ม

3.รูปแบบราคา ทั้ง 2 ทาง

You cannot view this attachment.

รูปแบบนี้โอกาสการเคลื่อนไหวของราคา และ การเกิด Break Out สามารถเกิดขึ้นได้หลายทาง ตัวอย่าง การทะลุของราคาสามารถเกิดขึ้นไปทั้ง 2 ทางเลยคือ ไปต่อ หรือเกิดรูปแบบ กลับตัว โดยรูปแบบนี้จะเป็นพวกรูปแบบสามเหลี่ยม

3.1 Ascending triangle

3.2 Descending triangle

3.3 Symmetrical triangle


 

ตามรูปแบบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องมีการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามทฤษฎี หรือรูปร่างของราคาที่กล่าวมาตามนี้เป๊ะ ๆ เพียงแต่ว่ามีโอกาสและความน่าจะเป็นสูง ถ้าหากนับรูปร่างหรือระยะทางอาจจะไม่เหมือน แต่มีความคล้ายคลึงกันด้านรูปร่าง นั่นคือ โอกาสที่เราจะสามารถใช้เทรด มันก็มีบ้างเหมือนกันที่มีโอกาสที่ราคาจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางเป้าหมายหรืออาจเกิดความล้มเหลวในการสร้างรูปแบบก็ได้ ดังนั้นเทรดเดอร์ Forex ที่เทรดรูปแบบราคานั้นก็อย่าลืมวาง Stop loss ก็ด้วยนะครับ หมั่นฝึกฝน ดูแนวโน้มจนชิน บางครั้งอาจต้องใช้ประสาทสัมผัสและการประมวลผลหลายด้าน แต่เมื่อชำนาญแล้วมันจะคุ้มค่าต่อการฝึกฝนมากครับ เป็นกำลังใจให้กับ Treader Forex ทุกคน
#12
You cannot view this attachment.

เทรดเดอร์ที่เข้ามมาเทรดในตลาด Forex นั้น ต่างก็มีเทคนิคการเทรดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเทรดเดอร์สายเทคนิค ที่ใช้อินดิเคเตอร์หลายอันเพื่อช่วยในการหาจุดเข้าออเดอร์ หรือสายข่าวที่จะพึ่งการดูข่าวและตัวเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาในแต่ละวัน แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าซื้อ แต่ในวันนี้ ทีมงาน Forexlearning จะพาทุกคนมารูัจักกับหนึ่งในกราฟแท่งเทียนที่จะเป็นตัวช่วยในการทำกำไรจากตลาด Forex ที่นักเทรดสายเทคนิคหลาย ๆ คนนิยมใช้กัน หรือก็คือ  "Pin Bar"

Pin Bar คืออะไร ?
Pin Bar คือ แท่งเทียนรูปแบบหนึ่งที่แสดงถึงการปฏิเสธ (Rejection) หรือการกลับตัวของราคา ทำให้เทรดเดอร์สามารถนำไปใช้เพื่อหาจุดเข้าซื้อ-ขายได้ โดยจุดเด่นของ Pin Bar คือ ดูง่าย และมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปสร้างกลยุทธ์ในการเทรดได้อย่างหลากหลาย

โดยสัดส่วนของไส้เทียนกับเนื้อเทียน ตามลักษณะของ Pin Bar คือ แท่งเทียนจะต้องมีไส้เทียนที่ยาว, เนื้อเทียนสั้น และอยู่ช่วงปลายไส้ จึงจะสามารถเรียกว่า "Pin Bar" ได้

You cannot view this attachment.

                                         รูปภาพตัวอย่างของ Pin Bar

รูปแบบของ Pin Bar
1. Bullish Pin Bar (Hammer)
แท่งที่มีไส้เทียนยาวลงมาด้านล่าง แสดงถึงแรงขายที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เกิดแรงซื้อกลับที่รุนแรงกว่า ทำให้ราคากลับมาฟื้นตัว ก่อนที่จะปิดตัวด้วยราคาสูง (High) อีกครั้ง

แท่งเทียนที่เป็น Bullish Pin Bar แบบสมบูรณ์ เนื้อเทียนควรจะเป็นสีเขียว (ราคาปิด > ราคาเปิด)

2. Bearish Pin Bar (Shooting Star)
แท่งที่มีไส้เทียนยาวขึ้นมาด้านบน แสดงถึงแรงซื้อที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายเกิดแรงขายกลับที่รุนแรงกว่า ทำให้ราคาพลิกกลับตัว ก่อนที่จะปิดตัวด้วยราคาต่ำ (Low) อีกครั้ง

แท่งเทียนที่เป็น Bearish Pin Bar แบบสมบูรณ์ เนื้อเทียนควรจะเป็นสีแดง (ราคาปิด < ราคาเปิด)

การประยุกต์ใช้ Pin Bar ในการเทรด
การเทรดด้วย Pin Bar นั้น เทรดเดอร์สามารถนำ Pin Bar ข้างต้นมาใช้ดูประกอบกับการใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการหาจุดเข้าซื้อขายสินทรัพย์ โดยเครื่องมือที่นิยมใช้ควบคู่กับ Pin Bar คือ "แนวรับ – แนวต้าน"

You cannot view this attachment.

1. กลยุทธ์ฝั่งซื้อ (Buy Setup) – ใช้ Pin Bar คู่กับแนวรับ
- "ราคาเปิด" ของแท่งเทียนที่เป็น Pin Bar "อยู่เหนือระดับแนวรับ"

- ไส้เทียนลงมาต่ำกว่าระดับแนวรับ

- ราคาปิดของแท่งเทียนนั้นไม่สามารถที่จะ Break แนวรับออกไปได้ ทำให้แท่งเทียนกลับขึ้นมาปิดเหนือกว่าระดับแนวรับ

You cannot view this attachment.

2. กลยุทธ์ฝั่งขาย (Sell Setup) – ใช้ Pin Bar คู่กับแนวต้าน
- "ราคาเปิด" ของแท่งเทียนที่เป็น Pin Bar "อยู่ต่ำกว่าระดับแนวต้าน"

- ไส้เทียนขึ้นไปสูงกว่าระดับแนวต้าน

- ราคาปิดของแท่งเทียนนั้นไม่สามารถที่จะ Break แนวต้านออกไปได้ ทำให้แท่งเทียนกลับลงมาปิดต่ำกว่าระดับแนวต้าน

กลยุทธ์ทั้ง 2 นี้ เทรดเดอร์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับแท่งเทียนที่เป็น Pin Bar ในการขึ้นหรือลงไปแตะระดับแนวรับ-แนวต้าน เพื่อให้การคำนวณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เทรดเดอร์อาจจะลองศึกษาการเคลื่อนที่ของราคาในอดีตเพื่อหาสัญญาณดังกล่าวก่อนเทรดจริง

 
ตัวอย่างพฤติกรรมของ Pin Bar
ตัวอย่างที่ 1


You cannot view this attachment.

- ตัวอย่างในช่วงซ้ายของกราฟ เป็นการเกิด Pin Bar ในจังหวะที่ไม่ได้เจอแนวต้าน ทำให้ไม่มีนัยสำคัญพอที่จะส่งผลให้ราคาปรับตัวลงทันที
- ในช่วงทางขวามือ เป็นการเกิด Pin Bar ในช่วงที่เจอแนวรับพอดี จากนั้นราคาก็เด้งกลับขึ้น

ตัวอย่างที่ 2

You cannot view this attachment.

- ราคาเกิด Bearish Pin Bar ที่บริเวณแนวต้าน ซึ่งอยู่ในกรอบของรูปแบบ Triple Tops
- ประกอบกับ RSI ชี้ให้เห็นถึงโมเมนตัมการขึ้นที่อ่อนแอลง
- 3 สิ่งนี้ กดดันให้ราคาอ่อนตัวลงในที่สุด

ทั้งหมดนี้ คือ Pin Bar หนึ่งในกลยุทธ์ Price Action ที่เน้นการดูพฤติกรรมจากราคาเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปเทรดเดอร์มักใช้คู่กับแนวรับ-แนวต้าน แต่ก็สามารถนำไปต่อยอดใช้กับเครื่องมืออื่นต่าง ๆ ได้ ทั้ง RSI, Moving Average, Bollinger Bands และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อนำไปสร้าง Trade Set Up หรือกลยุทธ์การเทรดนั่นเอง
#13
การช่วยเพิ่มกำไรโดยใช้ Indicator เข้ามาช่วยดูแนวโน้มของราคา ในบทความนี้ จะขอแชร์ Indicator สุดเจ๋งอีกหนึ่งตัวที่ใช้อยู่เป็นประจำ จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเขียนวิธีการใช้ง่ายอย่างระเอียดในหัวข้อ กลยุทธ์ทำกำไรอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ Indicator Rate-Of-Change ( ROC ) และยังมี Indicator ที่เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่อยากแนะนำให้ลองใช้กันก่อนเพื่อที่คุณจะสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้เข้าใจมากขึ้น

Rate-of-Change (ROC) คืออะไร ?

Indicator ROC คือ เครื่องมือช่วยหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา เป็นการดูโมเมนตัมอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการเทรดได้หลากหลายรูปแบบ ถึงแม้ Indicator ROC จะดูเรียบง่าย แต่มันมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

การนำ Rate-Of-Change ไปใช้ในการเทรด
Rate-of-Change หรือ ROC Indicator เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดโมเมนตัมเพียว ๆ โดยดูจากเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงการขึ้นลงของราคาตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งตามหลักทั่วไป เครื่องมือที่วัดโมเมนตัมมักจะเหมาะกับตลาดที่เป็น Sideway แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการดูแน้วโน้มการกลับตัวของราคา เพื่อที่เราจะได้ตามเทรดด้วยเช่นกัน

วิธีการดูแนวโน้มจาก ROC
เราสามารถปรับค่า Period ของ ROC ให้ยาวขึ้น เพื่อที่จะสามารถดูแนวโน้มของราคาได้ โดยทั่วไป ค่า Period ที่ 250 วัน แทนระยะเวลา 1 ปี (กรณีดูแนวโน้มระยะยาว), ดู 125 วัน แทนครึ่งปี, ดู 63 วัน แทน 1 ไตรมาส และดู 21 วัน แทน 1 เดือน

การดูแนวโน้ม ROC
การดูแนวโน้ม ROC นั้น เพียงแค่เราสังเกตกราฟว่า

- ROC > 0 = แนวโน้มขาขึ้น
- ROC < 0 = แนวโน้มขาลง

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างกราฟราคากับ ROC 250 วัน จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ ROC ลงต่ำกว่าระดับ 0 แสดงถึง แนวโน้มขาลง จนกระทั่ง ROC กลับขึ้นมาเหนือระดับ 0 ถึงจะเป็นสัญญาณของรอบขาขึ้น ที่จะกลับเข้ามาอีกครั้ง

การดูสัญญาณ Overbought / Oversold จาก ROC
ธรรมชาติของราคาจะเกิดการแกว่งตัวของราคาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้น ขาลง หรือ Sideway แม้ในช่วงขาขึ้น จะเห็นได้ว่า ก็จะมีจังหวะการย่อตัวสั้น ๆ แล้วค่อยขึ้นต่อ ตรงกันข้ามกับขาลง ก็จะมีการฟื้นตัวสั้น ๆ แล้วค่อยลงต่อ ซึ่งจังหวะการแกว่งตัวของราคานี้ เราสามารถใช้เป็นโอกาสในการเข้าทำกำไรได้ ทั้งนี้ ROC สามารถดู Overbought/Oversold เพื่อหาจุดกลับตัวในระยะสั้นได้เช่นเดียวกัน

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างกราฟกับ ROC 12 วัน โดยใช้ระดับ Oversold ที่บริเวณ -5% จะเห็นได้ว่าเมื่อ ROC ลงมาต่ำกว่าระดับ -5% มักจะเป็น Low ของรอบการแกว่งตัว สามารถใช้จับจังหวะในการสร้างกำไรได้

ทั้งนี้การ Set ระดับ Overbought/Oversold บน ROC ของหุ้น หรือสินทรัพย์ในแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน บางตัวผันผวนมาก ก็อาจใช้ระดับ -15% เป็นระดับ Oversold หรือบางตัวผันผวนน้อย ก็อาจใช้ระดับ -5% เป็นระดับ Oversold ต้องดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ผ่านมาประกอบด้วย

การเทรด Overbought/Oversold ใน ROC จะมีอยู่ 3 อย่างหลัก ๆ คือ

1.ในแนวโน้มขาลง : ดู Overbought ในรอบการฟื้นตัว เพื่อหาจังหวะขาย (Short)
2.ในแนวโน้มขาขึ้น : ดู Oversold ในรอบการย่อตัว เพื่อหาจังหวะซื้อ (Long)
3.ในแนวโน้ม Sideway : ดูทั้ง Overbought และ Oversold เพื่อจับจังหวะ Trading เล่นรอบ
อย่างที่ 1 และ 2 เป็นการเทรดแนวโน้มหลัก อย่างในช่วงแนวโน้มขาขึ้น การย่อตัวจะสั้นกว่าการปรับตัวขึ้น และในช่วงแนวโน้มขาลง การดีดตัวจะสั้นกว่า การอ่อนตัวลง ซึ่งถ้าเราอยู่ในช่วงที่เป็นแนวโน้มเป็นขาขึ้น ก็เตรียมตัวหาจังหวะที่กราฟย่อต่อลง เพื่อเปิดออเดอร์ซื้อในช่วงที่แนวโน้มเป็นขาลงสั้น ๆ นั่นเอง (ส่วนในฝั่งขาย ก็ตรงกันข้าม) หวังว่าในส่วนนี้ทุกท่านอ่านแล้วคงจะไม่สับสน

การดูสัญญาณ Divergence จาก ROC
เช่นเดียวกัน ROC สามารถดูการเกิด Divergence (สัญญาณการกลับตัว) ระหว่างราคากับ Indicator ได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มในอนาคต

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการเกิดสัญญาณ Bullish divergence ระหว่างราคาหุ้น DTAC กับ ROC 20 วัน จะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ราคาทำ Lower Low (Low ใหม่) แต่ ROC กลับยกฐานสูงขึ้น (Higher Low) เป็นสัญญาณ Bullish Divergence แสดงถึงโมเมนตัมการลงที่อ่อนแรง เป็นสัญญาณที่บอกว่า ราคามีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้ม

สรุปการใช้ Rate-Of-Change (ROC)
Rate-of-Change Oscillator เป็นเครื่องมือที่วัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา สามารถดูโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคาได้เป็นอย่างดี เพราะ ROC เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการของ Momentum แบบ 100% เลย สามารถวิเคราะห์ได้หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับระบบของตัวเอง เพื่อสร้างกำไรในการเทรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สุดท้ายนี้ การใช้เครื่องมือ Indicator เข้ามาช่วยนั้น ไม่ได้การันตีว่าเราจะวิเคราะห์ถูก 100% แต่มันช่วยให้เราสามารถหาเทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดอัตราการชนะตลาดให้สูงเท่าที่จะเป็นไปได้ และที่สำคัญเรื่องของการใช้ Indicator นั้น ไม่ได้ถูกจำกัดว่า ต้องใช้แค่เพียง 1 ตัว เท่านั้น เราสามารถนำ Indicator หลาย ๆ ตัวมาประยุกต์เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้ ถ้าคุณกลัวกว่าการใช้หลายตัวพร้อม ๆ กัน จะทำให้สับสน
#14
บทความในวันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงินออสเตรเลียและทองคำ ซึ่งการเทรดที่ดูความสัมพันธ์ เป็นวิธีการหา trade setup ที่เป็นไปได้และง่ายสุด แต่ถึงอย่างไรคุณต้องมีการศึกษา เพื่อให้คุณสามารถดูได้ว่าคู่เงินที่ท่านทำการเทรดนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่

ความสัมพันธ์ค่าเงินออสเตรเลียและทองคำ
การเทรดด้วยการดูความสัมพันธ์หรือ Correlation เป็นวิธีการหา Trade Setup ที่เป็นไปได้สูงและง่ายสุด แต่คุณต้องดูให้เป็นว่า คู่เงินที่คุณทำการเทรดสัมพันธ์กับคู่เงินไหนหรือดัชนี เช่นถ้าเป็นคู่เงิน EURUSD กับ USDCHF ก็จะวิ่งสวนทางกัน ท่านก็เปิดหรือใช้ Dollar Index เพื่อสัมพันธ์กับคู่เงินที่เกี่ยวกับ USD  และการสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์

You cannot view this attachment.

วิธีการดูความสัมพันธ์ (Correlation)
วิธีการดูให้ดู price structure หรือ price level พร้อมเวลาในการเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นเป็นหลักเพื่อหาโอกาสเทรดใช้ชาร์ตยืนยันชาร์ต

อีกคู่หนึ่งที่นิยมกันคือการเทรดทองคำ และ AUDUSD เพราะทั้งสองมักจะเคลื่อนไหวไปทางเดียวกันเป็นหลัก เพราะประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ผลิตทองใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน หรือบางเทรดเรียกคู่เงินที่เกี่ยวกับ AUD เป็นค่าเงินที่มีความเกี่ยวข้องกันกับ Commodity โดยส่วนมากเป็น Commodity ประเภททองคำ  และ AUDUSD จะเคลื่อนไปในทางลักษณะเดียวกัน

You cannot view this attachment.

โดยการเทรดด้วยการดู Correlation ต้องเข้าใจว่าลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาต้องเกิดลักษณะเดียวกันหรือตรงข้ามกันถ้าเป็นการดูความสัมพันธ์แบบตรงกันข้าม

You cannot view this attachment.

อย่างภาพด้านบนเมื่อดูทองคำ อย่างเดียวจะไม่กล้าเทรด แต่พอมาดู AUDUSD ด้วยจะเห็นว่าราคาได้ทำ Impulsive Move ลงมา หลังจาก Consolidation แล้วดันราคาลงมาเกิด Trapped Traders ในโครงสร้างของ AUDUSD ถ้าราคากลับมาจะเป็นพื้นที่เข้าเทรดอีก เทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนเมื่อเป็น Impulsive Move ก็จะรอโอกาสเข้าเทรดเมื่อราคากลับมาที่จุดเบรค และเทรดเดอร์ที่ติดลบหรือ Trapped Traders ที่เราลงเบรคลงไป พอราคากลับมาแต่ราคาเกิด Rejection อีก บอกอาการไม่ว่าจะไม่ไปต่อหรือว่าจะดันราคาไปทางที่ราคาเบรคลงไป ก็จะเริ่มหันมาออกจากตลาด และยิ่งเห็นทองคำ เกิด Rejection อย่างแรงแบบเดียวกัน ที่เวลาพร้อมๆ กันด้วย ยิ่งเป็นตัวช่วยยืนยันการเข้าเทรดอีกรอบ ก็จะทำให้การเทรดเพิ่มความเป็นไปได้สูงขึ้นมาอีก

ส่วนเรื่องการกำหนด Take profit ก็ให้ดู Price level แต่ละสินค้าประกอบกัน ถ้าราคายังดันไปไม่มีสินค้าตัวไหนหยุดหรือไม่เห็น Price level ที่บอกว่าแข็งให้ถือรอได้ เพราะต้องการเห็นลักษณะ Price action ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กันกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้นเมื่อมองจุดนี้ด้วยก็จะได้ภาพรวมการเทรด AUDUSD และ ทองคำ สัมพันธ์กันอย่างไรดังนี้

- หา Trade setup ที่เห็นการเข้าเทรดจริงที่มี Impulsive move ประกอบในโครงสร้างที่เกิดพร้อมกัน

- เปิดเทรดเมื่ออีกสินค้ายืนยันและ Stop loss กำหนดไว้แถวที่จุดเบรค หรือมากกว่าจุดที่จุดต้นตอของ Impulsive move

การกำหนดทีพี ดูพื้นที่ตรงข้ามทั้ง 2 สินค้าประกอบและดู Momentum ต่อเนื่อง ถ้ายังต่อเนื่องอยู่ทั้ง 2 สินค้าให้กำไรวิ่งไปแล้วขยับ Stop loss มาเป็น Break-Even แทนจะไม่ต้องมากังวลเรื่องการสูญเสียไม่ต้องมากดดัน

You cannot view this attachment.

อย่างกรณีชาร์ต Metatrader ของ ชาร์ต H4 จะเห็นว่าเกิดรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้น มีร่องรอยการเข้าเทรด แต่ราคาปิดเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามไม่เด็ดขาด ขึ้นมาด้วยบาร์ยาวๆ แต่ราคาไม่ได้ปิดบนแบบโดดเด่น แต่ก็มาแตะกรอบบนของ supply ได้ และราคาใช้เวลาอยู่ในพื้นที่นานบอกว่าไม่มีเทรดเดอร์ตรงข้ามอยากเปิด sell market orders มาก ไม่งั้นราคาไม่สามารถอยู่ตรงนั้นได้นาน และยังบอกว่าลด sell limit orders ไปด้วยดูกรอบเลข 1 อีกอย่างเพิ่มเติ่มสังเกตุว่าทองได้ทำเทรนขึ้นไปก่อนแล้ว การกลับมาเป็นการย่อตัว ราคาเด้งลงมาจะเห็น demand ที่ดันราคาขึ้นไปตอนแรก ที่บอกว่า impulsive move ไม่โดดเด่นเพราะไม่สามารถปิดบนได้แบบเกินมาเยอะ แต่ที่สำคัญคือข้อความเดียวกันที่เกิด impulsive move เป็นเพราะการเข้าเทรดหรือเปล่า  ดังนั้นเมื่อเทรดด้วยการดูความสัมพันธ์สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ อาการที่เกิดขึ้นและเวลาที่อาการที่เกิดขึ้น ต้องสัมพันธ์กันค่อยจะยืนยันกันและกันได้ ดังนั้น ถ้าราคาดันขึ้นไปถึง supply ลักษณะเดียวกันเวลาช่วงเดียวกัน วิ่งอยู่ในกรอบ supply ได้แบบเดียวกัน ราคาเด้งลงมาเจอ demand แล้วเกิดการโต้ตอบเวลาช่วงเดียวกัน จะเห็นว่าพอราคาเบรคกรอบเลข 1 ได้ จะเกิดโอกาสการเทรดที่ชัดเจนมาก สำหรับโอกาสที่ Buy 2 หรือเปิดเทรดที่ Buy 1 ตอนที่ราคากลับมาเทส demand ใหม่ที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างที่ยกมาเป็นการใช้ทองคำ หรือ XAUUSD เพื่อช่วยยืนยันการเทรด AUDUSD เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้และหาว่าควรจะเข้าที่ไหนและเมื่อไรได้แบบง่ายๆ แม้ว่าทั้งสองจะเคลื่อนไหวทางลักษณะเดียวกัน แต่โครงสร้างจะไม่ชัดเจนแบบการสัมพันธ์คู่เงินอย่างกรณีของ EURUSD และ USDCHF ที่กล่าวมาตอนแรก สำคัญอาการที่เกิดและเวลาที่เกิดอาการนั้นๆ เพราะราคาขึ้นหรือลงเพราะ market orders มีมามาก มาแรงและต่อเนื่อง ณ เวลานั้น เลยทำให้เกิน limit orders ฝั่งตรงข้าม ถ้าเกิดช่วงพร้อมกัน แม้จุดอ้างอิงเช่น key levels ต่างกันบ้าง แต่บอกว่ามีการเข้าเทรดของขาใหญ่จริง เพราะขาใหญ่เมื่อเปิดเทรดพวกเขาสามารถดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการได้ เพราะพวกเขาเทรดด้วยจำนวนปริมาณการซื้อขายที่เยอะมากพอที่จะดันราคาไปทางที่ต้องการหรือปั่นราคาได้ ดังนั้นเมื่อเห็นแบบนี้เกิดขึ้น AUDUSD และ ทองคำก็ยิ่งจะยืนยันการเข้าเทรดจริงของขาใหญ่

จากที่ได้กล่าวมานั้น ทุกคนคงเห็นได้ชัดว่าเงินออสเตรเลียก็เป็นอีกสกุลเงินหนึ่งที่คนได้นิยมทำการเทรดโดยเฉพาะ AUDUSD เพราะทั้งสองคู่สกุลเงินมักเคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวเป็นหลัก เพราะประเทศออสเตรเลียมีการผลิตทองใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจีน หรือบางการเทรดคู่เงินที่เกี่ยวกับ AUD เป็นประเภทค่าเงินที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ โดยส่วนมากเป็นทองคำ ซึ่ง AUDUSD จะเคลื่อนไปในลักษณะเดียวกัน แต่ถึง ทองคำ หรือ XAUUSD และ AUDUSD จะเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน แต่โครงสร้างจะไม่ชัดเจนแบบความสัมพันธ์คู่เงิน

#15
ราคาเปลี่ยนแปลงตลอด ตลาดเปลี่ยนข้างไปมาเพราะการเทรดและการปิดทำกำไรของขาใหญ่ผ่านการทำงานออเดอร์ ราคาขึ้นหรือลงเพราะจำนวนออเดอร์ที่เกินกัน market orders ไม่ได้มาจากการเข้าเทรด แต่ยังมาจากการออกจากตลาดด้วย พวกที่ติดลบที่ต้องรีบออกจากตลาดเพื่อจำกัดการสูญเสีย – หลักการอย่างหนึ่งของการทำงานออเดอร์ที่ต้องเข้าใจคือคำว่า absorption – การซึมซับออเดอร์ฝั่งตรงข้ามเพราะเป็นการลด market orders ที่กำลังเข้ามา

บทความนี้จะเป็นการลงรายละเอียดการทำงานและที่มาของออเดอร์ว่าทำไมราคาถึงเด้งหรือเบรกที่พื้นที่นั้นๆ ได้

Selling Absorption เกิดขึ้นเมื่อ sell market orders ที่มาจาก aggressive sellers ที่ต้องการจะเปิด sell โดยสนใจแค่ที่ราคาปัจจุบัน ถ้าไม่เปิดเทรดก็จะไม่ทันหรือพลาดโอกาส ราคาที่ fill orders ต่างไปบ้างไม่เป็นไรขอให้ได้ตอนนี้ เจอกับ buy limit orders ของ passive buyers กำหนดเอาไว้รอ ณ ราคาที่พวกเขาต้องการไม่ให้ราคาผ่านเพื่อว่าพวกเขาจะได้เปิดเทรด buy ณ ตรงนั้น โดยออเดอร์พวก buy limit orders พวกนี้ก็จะซึมซับ sell market orders หรือที่เป็น supply ของฝ่ายที่เป็น sellers

Buying Absorption เกิดขึ้นเมื่อ buy market orders ที่มาจาก aggressive buyers ที่ต้องการจะเปิด buy โดยสนใจแค่ที่ราคาปัจจุบัน ถ้าไม่เปิดเทรดก็จะไม่ทันหรือพลาดโอกาส ราคาที่ fill orders ต่างไปบ้างไม่เป็นไร ขอให้ได้ตอนนี้ เจอกับ sell limit orders ของ passive sellers กำหนดเอาใว้ ณ ราคาที่พวกเขาต้องการไม่ให้ราคาผ่านเพื่อว่าพวกเขาจะได้เปิดเทรด sell ณ ตรงนั้น โดยออเดอรพวก sell limit orders พวกนี้ก็จะซึมซับ buy market orders หรือที่เป็น demand ของฝ่ายที่เป็น buyers

โดยพวก passive sellers หรือ buyers ที่กำหนด sell limit orders หรือ buy limit orders รอ ณ ราคาที่พวกเขาต้องการ พวกนี้ก็จะเป็นขาใหญ่หรือพวกสถาบันการเงินเป็นหลัก เพราะเทรดเดอร์พวกนี้เทรดด้วยวอลลูมที่เยอะเลยจำเป็นต้องมั่นใจว่าออเดอร์ฝั่งตรงข้ามมากพอ ออเดอร์ของขาใหญ่พวกนี้ก็จะอยู่ที่ราคาที่พวกเขากำหนดไว้และจะซึมซับ supply หรือ demand ที่มาจากพวก aggressive traders.  ผลของการซึมซับคือทำให้ราคาหยุดไม่ไปต่อ ถ้าออเดอร์ทาง aggressive traders ไม่ต่อเนื่องจนเกินหรือเอาชนะ  limit orders ของพวกขาใหญ่ไปได้ ราคามักจะเด้งจากพื้นที่ๆ เกิดการซึมซับเพราะ พวก aggressive traders ต้องจำกัดความเสี่ยงตัวเอง เมื่อราคาลงมาและเริ่มวิ่งสวนพวกเขา

ข้อแรกของหลักการ absorption คือทำให้เรารู้ว่า demand/supply เปลี่ยนแปลงตลอด ตลาดเป็นไดนามิคทำให้เราหาจุดเข้าและจุดออกเป็นช่วงๆ ไป ตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด

You cannot view this attachment.

เลข 1 ดู 2 บาร์ลงแรงๆ ต่อกันแสดงว่า sell orders จากพวก aggressive sellers มาเจอ buy limit ตรงพื้นที่ๆ เป็น swap demand ขาใหญ่ต้องการไม่ให้ราคาลงไปต่ำกว่านี้ด้วยการกำหนด buy  limit orders พอราคามาถึง limit orders ของขาใหญ่พวกนี้ก็จะซึมซับหรือลดจำนวน market sell orders ที่อาจจะมาจากการปิดกำไร หรือการเข้าเทรดแบบสวนเทรดการที่มีแต่ market orders หลักการของ limit orders ถ้ามากพอหยุดราคาที่มาจาก market orders พอหยุดถ้ามีการเข้าเทรดเพิ่มหรือออกจากตลาดของพวกที่เปิด sell ลงมา เพราะราคาไม่สามารถเบรคจุดนี้ได้ก็ต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง การออกจากตลาดของพวกนี้เลยเร่งราคาขึ้นง่าย ในที่นี้คือ buy market orders ก็จะเกิดตรงพื้นที่ buy limit orders หลังจากที่ limit orders พวกนี้ได้ซึมซับไป ก็เลยทำให้ราคาขึ้นง่ายเพราะไม่มี sell limit orders แถวที่เปิด aggressive sell orders และการออกจากตลาดของเทรดเดอร์พวกนี้เลยทำให้ราคาขึ้นง่าย

พอมาถึงเลข 2 และ 3 ก็หลักการเดียวกัน แต่ตอนนี้เป็น aggressive buy market orders ไปเจอ sell limit ของขาใหญ่ที่พื้นที่ตรงนั้น หลักการซึมซับทำงานคือ เมื่อเทรดเดอร์พวกนี้ไม่สามารถเอาชนะพื้นที่นั้นๆ ได้ ราคามักจะเด้งจากพื้นที่ตรงนั้นเพราะเทรดเดอร์พวกนี้ต้องออกจากตลาดเพื่อจำกัดความเสี่ยงตัวเอง ยิ่งราคาวิ่งสวนพวกเขาก็ยิ่งต้องรีบออก การรีบออกจากตลาดเลยเร่งราคาหรือทำให้ราคาไปง่าย  นี่คือการอธิบายที่บอกว่า market orders ไม่ได้มาจากการเข้าเทรดแต่มาจากการต้องออกจากตลาด

เลข 4 ก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายเรื่อง absorption เมื่อราคาวิ่งไปอย่างแรงเพราะ buyers ไม่ต้องการพลาดการเข้า ต้องเข้าให้ได้  อาจจะด้วยเหตุผลที่เห็นราคามาเบรคลงพื้นที่ด้านล่างได้หลังจากวิ่งอยู่ในกรอบสักระยะ และเพราะการล่า stop เพื่อหา liquidity ไปหา sell limit orders ด้านบนของขาใหญ่เองก็ได้ พอราคาไปถึงพื้นที่ เลข 4 limit orders ที่ขาใหญ่วางไว้ ซึมซับ buy market orders จนหมด ราคาไม่ไปต่อ เริ่มเด้งเพราะพวก trapped traders ที่เปิด buy market oders ขึ้นไปนี้ต้องรีบจัดการออเดอร์ตัวเองเพื่อจำกัดความเสี่ยงด้วยการ liquidate orders ที่กำลังเกิดการสูญเสีย ยิ่งถ้าราคาเริ่มลง การสูญเสียก็จะสูงขึ้น ยิ่งต้องรีบออกเลยทำให้เกิดแต่ sell market orders

จากตัวอย่างที่ยกมา absorption ทำให้ demand/supply เปลี่ยนข้างเองโดยอัตโนมัติ ตัวผู้เข้าเทรด market orders ไม่ว่าจะทาง buy หรือ sell เมื่อราคาไม่สามารถเบรคจุดๆ หนึ่ง ได้ เพราะราคาไปเจอ limit orders ที่มากพอจากขาใหญ่ที่ต้องการออเดอร์พวกนี้เพื่อจะได้เข้าตลาดที่จุดต้องการและได้เปรียบทั้งราคาและง่ายต่อการปั่นราคาด้วย เพราะถ้าพวกที่เข้าเปิดเทรดไม่สามารถเบรคพื้นที่นั้นๆ ได้ พวกนี้จะออกเอง – การออกเองทำให้เกิดออเดอร์อีกฝั่งที่เป็นด้านขาใหญ่เข้าเทรด และเกิดตรงที่ขาใหญ่วาง limit orders ไว้ เลยทำให้ราคาไปทางที่ขาใหญ่เทรดเองยิ่งราคาวิ่งไปทางที่ขาใหญ่เทรด การสูญเสียของพวกเยอะ พวกเขายิ่งต้องรีบออก ยิ่งทำให้ market orders เกิดขึ้นเยอะ ยิ่งทำให้ราคาไปเร็ว
#16
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Hedge คือ อะไร ?
มีนาคม 08, 2024, 08:23:18 ก่อนเที่ยง
Hedge คืออะไร

Hedge หรือการทำ Hedging คือวิธีการในการประกันความเสี่ยงของการลงทุน ด้วยวิธีการเปิดรายการซื้อ(buy) และขาย(sell) เงินสกุลเงินเดียวกันในเวลาคาบเกี่ยวกัน

เช่น ถ้าคุณเทรด EUR/USD คุณเปิดทั้งออเดอร์ Buy และ Sell ไว้อย่างละ 1 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 1 lot ดังนั้น ไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใด คุณก็จะไม่มีทางได้หรือเสียเงิน ยอดรวมบัญชีของคุณจะความสมดุล หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในการเทรดของคุณเป็น 0 หลักการนี้จึงถูกนำไปประยุกต์ในในตอนที่คุณต้องการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด หรือตอนรู้ตัวแล้วว่าเทรดผิดทางครับ

ตัวอย่างเช่น

เปิด buy เวลา 9:00น. เปิด sell เวลา 11:00น. ปิด sell เวลา 13:00น. ปิด buy เวลา 14:00น. –>> เป็น Hedging

เปิด buy เวลา 9:00น. ปิด buy เวลา 11:00น. เปิด sell เวลา 13:00น. ปิด sell เวลา 14:00น. –>> ไม่เป็น Hedging (เป็นการเทรดปกติ ไม่ใช่เทรดแบบประกันความเสี่ยง)

* แต่ถ้าเป็นการเทรดหุ้น โดยปกติแล้วการทำ Hedge หรือการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน(Currency Hedging) จะกล่าวถึงวิธีการ 2 แบบใหญ่ๆคือ การใช้สิทธิ์ในการซื้อเงินตราต่างประเทศ(Option) และการใช้สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Forward Contract) หรือใช้ตราสารอนุพันธ์ประเภท Futures ซึ่งรายละเอียดจะไม่ขอกล่าว

ข้อควรรู้ของการทำ Hedge

การทำ Hedge ดูเหมือนจะเสียค่าคอมมิชชั่น 2 รอบ แต่ถ้าคุณเลือกโบรกเกอร์ดีๆ เช่น ที่มีสเปรดน้อยๆ ถ้าทำ Hedge ไปซักพักจะพบว่าค่าคอมมิชชั่นหรือ สเปรด โดยรวมทั้งการซื้อและขายที่ Hedging ไว้จะน้อยกว่าการเทรดทางเดียวของโบรกบางโบรกเสียด้วยซ้ำ(มันหักลบจาก สเปรดทางบวก และลบ) ซึ่งผมมองว่าต่อให้เสียค่าคอมเล็กน้อย ก็ยังดีกว่าล้างพอร์ต

การ Hedge จะใช้ในการเปิด หลังจากเปิดไม้แรกไปแล้วเกิดการผิดทางที่คิดไว้ อาจจะเกิดทะลุแนวรับหรือแนวต้านในกราฟ โดยทำเพื่อลดความศูนย์เสีย และคิดว่าสักพักกราฟจะวิ่งกลับมาราคาเดิมภายหลัง

เช่น เมื่อเราซื้อ Buy ไว้เพื่อรอให้ราคาขึ้นแต่เกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้นราคากลับตกลงมาต่ำกว่าราคาที่เราซื้อ buy ไว้ เราสามารถทำ Hedging โดยการเปิดขาย Sell ในทางตรงกันข้ามเพื่อจำกัดการขาดทุนไว้ไม่ให้มากไปกว่านี้

You cannot view this attachment.

                                  Hedging โดยการเปิดขาย Sell ในทางตรงกันข้ามเพื่อจำกัดการขาดทุน

วิธีการทำ Hedging forex

1. การ Hedging แบบสมบูรณ์ :

จะทำกับค่าเงินเดียวกัน ในขนาดสัญญาที่เท่ากัน

เช่น ค่าเงิน EUR USD ผมทำการ SELL ที่ราคา 1.3700 ขนาด 0.25 ล็อตไว้ ต่อมาราคาวิ่งขึ้นผิดจากทางที่ผมคิดไว้อย่างน่าตกใจ ผมก็ BUY ตามน้ำ ที่ราคา 1.3800 ขนาด 0.25 ล็อตเช่นกัน ราคาวิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่งถึงราคา 1.3950 ผมเห็นแล้วว่าเป็นแนวต้าน คิดว่ามันต้องหยุดแน่นอน ก็เลยปลดล็อคกำไรทาง BUY ซึ่งได้กำไรไป 150 จุด จากนั้นผมจะเหลือไม้ SELL ไว้ รอมันวิ่งกลับมาราคาเดิม อาจจะไม่ถึงราคาเดิมก็ได้แต่ก็หักลบอาจได้กำไรนิดหน่อย ซึ่งก็ยังดีกว่าขาดทุน

2. การ Hedging แบบไม่สมบูรณ์ :

จะทำกับค่าเงินเดียวกัน แต่ในขนาดสัญญาที่แตกต่างกัน

เช่น ค่าเงิน EUR USD ผมทำการ SELL ที่ราคา 1.3700 ขนาด 0.25 ล็อตไว้ ต่อมาราคาวิ่งขึ้นผิดจากทางที่ผมคิดไว้อย่างน่าตกใจ ผมก็ BUY ตามน้ำ ที่ราคา 1.3750 ขนาด 0.5 ล็อต ราคาวิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่งถึงราคา 1.3800 ผมจึงซื้อไม้สาม ขนาด 1 ล็อต ต่อมาวิ่งอีกถึงราคา 1.3850 ผมก็ซื้ออีก 1 ล็อต จะเห็นได้ว่าผมถือทั้งหมด 4ไม้จนเกิดกำไร

3. Hedging ในกรณี ต่างค่าเงิน :

เช่น SELL EUR /USD แต่ไป BUY GBP/USD ในเวลาเดียวกัน พอได้กำไรเมื่อไหร่ก็เลิกเลย หรือถือต่อไปตามแผนใจหรือแนวโน้มของตลาด

4.Hedging โดยใช้ OPtion หรือ binary option contracts :

ซึ่งศาสตร์นี้จะลึกซึ้งขึ้นมาอีกหน่อย โดยจะมีเรื่องการหมดอายุสัญญามาให้ปวดหัว กลยุทธ์นี้จะยากขึ้นพลิกแพลงขึ้น ถ้าท่านเข้าใจก็จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ถ้า Hedge เป็นก็รวย ไม่เป็นก็อันตราย

ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำ Hedge นั้นมีดังต่อไปนี้

1.ช่วยป้องกันความผันผวนของตลาด

ข้อแรกนี้ถือเป็นข้อที่มีความสำคัญมากที่สุดเลย คือป้องกันความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่นการโจมตีฝรั่งเศสของผู้ก่อการร้ายทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 160 คนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตลาด Forex ยุโรป มีการแกว่งตัวอย่างรุนแรง และคุณอาจได้รับผลกระทบในกรณีดังกล่าวด้วย

ตัวอย่าง

คุณ Buy EUR/USD ตั้งแต่ 1.4950 และราคาในปัจจุบันคือ 1.5000 แต่กำลังจะมีการประกาศข่าวที่สำคัญของค่าเงิน USD และคุณคาดว่าจะมีความผันผวนที่อาจทำให้ราคาวิ่งไปชนจุด Stop Loss ของคุณได้ คุณจึงจะหาทางที่จะปกป้องผลกำไรของคุณโดยการ Hedge เพื่อป้องกันความเสี่ยงของออเดอร์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเอา Stop Loss ของคุณออกได้ชั่วคราวในช่วงที่มีความเสี่ยงจากภาวะราคาผัวผวนมากๆจากข่าว และที่นี้คุณก็สามารถถืออเดอร์รอดูข่าวได้อย่างไม่ต้องมีความเสี่ยงใดๆ ถ้าข่าวที่ออกมาส่งผลดีกับออเดอร์แรกของคุณ (Buy) คุณก็สามารถปิดออเดอร์ Hedge (Sell) ของคุณได้เพื่อให้ ออเดอร์ Buy ของคุณวิ่งทำกำไรต่อไปในแนวโน้มขาขึ้น

2.แก้ไขสถานการณ์เมื่อเทรดพลาด แล้วรอเข้าทำกำไร

เช่น เมื่อเราซื้อ Buy ไว้เพื่อรอให้ราคาขึ้นแต่เกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้นราคากลับตกลงมาต่ำกว่าราคาที่เราซื้อ buy ไว้ เราสามารถทำ Hedging โดยการเปิดขาย Sell ในทางตรงกันข้ามเพื่อจำกัดการขาดทุนไว้ แล้วรอกราฟวิ่งกลับมาราคาเดิมภายหลัง

ซึ่ง Hedge เป็นตัวอย่างหนึ่งในสามวิธีการแก้ปัญหานี้ กล่าวคือ

1 Cut loss ตัดขาดทุนไป หรือตัดกำไรที่ได้จากการเทรดโดยรักษาต้นทุนไว้

2 รอมันเด้งขึ้นมาแล้วปิด หลายคนจะลุ้นวิธีนี้ ซึ่งอาจจะไม่ได้โชคดีเสมอไป การเล่นแบบนี้เขาเรียกว่าเข้าข่ายเล่นพนันครับ

3 แก้ปัญหาโดยการ Hedging

You cannot view this attachment.

Hedge คืออะไร forex

Hedging โดยการเปิดขาย Sell ในทางตรงกันข้ามเพื่อจำกัดการขาดทุนไว้ แล้วรอกราฟวิ่งกลับมาราคาเดิม ช่วยให้คุณทำกำไรได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการที่คุณจะป้องกันความเสี่ยงแล้วการทำ Hedge ยังสามารถช่วยให้คุณทำกำไร เมื่อราคามีการปรับตัวในราคาวิ่งไปตามแนวโน้ม ซึ่งจะทำให้ผลกำไรของคุณเพิ่มเป็น 2 เท่า กล่าวคือคุณจะได้กำไรจากทั้งการ Buy และ Sell ซึ่งในการใช้กลยุทธ์นี้ในการเทรด คุณควรจะต้องรู้ก่อนว่าจุดกลับตัว หรือจุด Retracement นั้นอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะเข้าออเดอร์ได้แม่นยำมากขึ้น

ตัวอย่าง

ถ้าคุณคาดว่า EUR/USD จะวิ่งในทิศทางขาขึ้น คุณจึงเปิด Buy ที่ 1.4950 และเป้าหมาย Take profit ของคุณอยู่ที่ 1.5100 ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.5000 และคุณคาดว่าราคาจะลงมาพักตัวที่ระดับ 1.4980 ดังนั้นคุณจึง Hedge ด้วยการ Sell ที่ 1.5000 และเมื่อราคาลงมาถึงระดับ 1.4980 คุณก็ปิดออเดอร์ Sell ของคุณ คุณก็จะได้กำไรในส่วนนี้ไปก่อน แต่คุณยังเก็บออเดอร์ Buy ในครั้งแรกของคุณไว้และหวังว่าราคาจะวิ่งไปถึงเป้าหมายของคุณ (1.5100) แต่ที่แน่ๆคุณได้กำไรจากการ Hedge ออเดอร์ Sell ไปเรียบร้อยแล้ว

อันที่จริงในกรณีนี้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดออเดอร์ Hedge แต่ในการเปิดออเดอร์แรกของคุณก็ทำกำไรได้ 30 จุด อยู่แล้ว ( 1.4980-1.4950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก)

และเมื่อมีการ Hedge กำไรของคุณจะกลายเป็น 50 จุด (1.4980-1.4950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก และ 1.5000 -1.4980 = 20 ในการเปิด Sell เพื่อ Hedge)
#17
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Triple day pullbacks คืออะไร ?
มีนาคม 06, 2024, 04:46:44 หลังเที่ยง
กลยุทธ์การเล่นครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จะได้รับผลกำไรจากการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศและจะกลับมามีกำไรอีกครั้ง และการออกค่อนข้างชัดเจน

 

1.การเปิด Long (ฝั่งสั้นตรงกันข้าม)

ADX> 25, + DI> -DI

หรือ ADX> 30, + DI> -DI

2.เมื่อราคาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 3 วันติดต่อกันเปิดยาวที่ราคาปิดของแท่งวันที่ 3

3.ออกเมื่อราคาผ่านไป 2 วัน (ไม่มีStop loss )

You cannot view this attachment.

1.ค่า ADX มากกว่า 25 (ADX = 56) และ + DI มากกว่า -DI

2.ราคาอ่อนตัวลงติดต่อกัน 3 วันเปิดยาวที่ราคาปิดของแท่งที่ 3

3.ปิดตำแหน่งในแท่งเทียน 2 แท่งถัดไป

สั้นการเปิดฝั่งสั้น



1.ค่า ADX มากกว่า 25 (ADX = 38) และ -DI มากกว่า + DI

2.ราคาอ่อนตัวลงติดต่อกัน 3 วันเข้าสั้นที่ราคาปิดของแท่งที่ 3

3. ปิดตำแหน่งในแท่งเทียน 2 แท่งถัดไป

จะเห็นได้ว่ามีการตั้งค่าที่เข้าใจได้ง่ายและมีชื่อเสียงการค้าขายสูงในตลาด Forex คนที่อยู่ในสายระบบการค้าสามารถใช้งานได้ง่าย แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจก็สามารถนำไปใช้ในช่วงออกราคาได้เช่นมาก
#18
ในการเทรด Forex เครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค อย่างไรก็ตามปัญหาในการวิเคราะห์ และการตัดสินใจในการเทรด Forex นั้นไม่ได้ง่ายและแม่นยำเหมือนจับวาง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคานั้น  ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ได้แก่ พอไปดู  Time Frame 1 ชั่วโมงเป็นขาลงและยังไม่สุดดี ราคาพลิกกลับดีดขึ้นอย่างรวดเร็ว พอกลับไปดู Time Frame 4 ชั่วโมงแล้วปรากฏว่ามันคือขาขึ้น เราก็บอกว่า อ๋อออออออ!!! เป็นเพราะว่า Time Frame ใหญ่กว่านี่เอง ทำให้เราพลาดโอกาสนั้น

วิเคราะห์ขึ้นหรือวิเคราะห์ลงดี

ในการวิเคราะห์หลาย Time Frame ปัญหาอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ จะใช้ Time frame ใหญ่เป็นหลัก หรือ Time Frame เล็กเป็นหลักดีหล่ะ เรื่องนี้จริง ๆ แล้วไม่มีวิธีการไหนที่ผิดและถูกในการวิเคราะห์ Time Frame ใหญ่ไปหาเล็ก หรือ วิเคราะห์ Time Frame เล็กไปหาใหญ่ แน่นอนว่า มันไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางครั้งบางสถานการณ์ต้องใช้ Time Frame เล็ก แต่บางสถานการณ์ต้องใช้ Time Frame ใหญ่เป็นหลัก หลายคนเถียงว่าไม่จริง ผมคงต้องบอกว่า นั่นเพราะว่าบางคนยึดโยงกับ Time Frame ใหญ่ที่ส่งอิทธิพลมา แล้วถ้าพูดจากำปั้นทุบดินแบบผมนี่จะให้ใช้ยังไงดีหล่ะ ใจเย็น ๆ วิธีการใช้คือ

ต้องดูว่า เทรนด์เกิด Time Frame ไหน เพราะว่า บางครั้งเทรนด์ไม่ได้เกิด Time Frame ใหญ่ การใช้ Time Frame ใหญ่เป็นตัวนำจึงผิดอย่างไรหล่ะ สิ่งที่เราควรจะจับให้ได้คือ Trend เกิดที่ Time Frame ไหน ซึ่งเทรนด์ไม่เหมือน Side way จะต้องจับให้ได้ก่อน บางครั้ง Trend เกิดขึ้นแต่เราจับสัญญาณ Side Way ทำให้เราคิดว่าจะมีการกลับตัว

วิเคราะห์เครื่องมือให้ถูก – บางครั้งเทรนด์เกิดขึ้นใน Time Frame Daily แต่ว่าพอไปดูสัญญาณ Weekly แล้วกลับกลายเป็นแค่กรอบ Side Way แคบ ๆ เท่านั้นเอง การดู Time Frame ใหญ่หรือเล็กจึงควรดู Trend ว่าเกิด Time Frame ไหนเป็นหลัก

แล้วควรดูกี่ Time Frame ดี

หลายคนบอกว่า ต้องดูหลาย ๆ Time Frame แต่ว่าสำหรับผม ผมดูทุก Time Frame แม้ว่าเราจะเทรด 1 ชั่วโมง เราก็ต้องดูกราฟ 5 นาทีด้วยว่า นี่เป็นกราฟที่ราคาถูกที่สุดหรือไม่ หรือว่าถูกได้อีกโดยการดูจังหวะหลาย ๆ Time Frame ประกอบกัน สำหรับแล้วผมใช้ 4 Time Frame เป็นอย่างน้อยเพื่อยืนยันความสอดคล้องกัน โดยเราต้องตั้งค่าบนหน้าจอเพื่อที่จะดูได้ในรวดเดียว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

You cannot view this attachment.

จากรูปข้างต้นผมใช้กราฟ 4 กราฟ สำหรับ AU บนขวาคือกราฟ Daily ล่างขวา คือกราฟ Weekly และบนซ้ายคือกราฟ 1 ชั่วโมงและล่างซ้ายคือกราฟ 4 ชั่วโมง สำหรับผม ผมจะส่งสัญญาณเทรดที่กราฟ 4 ชั่วโมง แต่ผมก็ดูกราฟ Time Frame อื่นด้วย โดย Function การตั้งค่าหน้าจอแบบนี้ เพื่อให้สะดวกต่อการเทรดแบบนี้ มีอยู่ใน MT4 อยู่แล้ว

การใช้กราฟ หลาย Time Frame จจจะต้องใช้ indicator ชุดเดียวกัน เพื่อที่จะสะท้อนความต่างของมุมมองได้ชัดแจ้งมากที่สุด ทำให้เราไม่พลาดง่าย ๆ โดยไม่ดูตามาตาเรือ และตัดสินใจเทรดได้อย่างแม่นยำทุกจุดมากยิ่งขึ้น

เทคนิดง่าย ๆ แค่นี้อาจจะช่วยเสริมเขี้ยวเล็บฝึกการตัดสินใจได้ดีกว่าการใส่ indicator ที่เทพ ๆ เป็นไหน ๆ ครับ  อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นแค่จุดหนึ่ง ที่จะต้องเสริมคือ ข้ออ่อนของมัน

จุดอ่อนของมัน

ในสมัยก่อนที่ผมแชร์เทคนิคนี้ให้เพื่อนที่เทรดด้วยกัน เขาบอกว่า มันทำให้งงและสับสนได้ง่ายว่า จะขึ้นหรือจะลง บ่อยครั้งที่เทรดเดอร์จะต้องมาเจอปัญหา ความสับสนทำให้ตัดสินใจได้ลำบากว่า ควรตะเชื่อข้อมูลจากทางไหนดี  ทางกราฟ Weekly บอกว่าจะลงต่อ แต่ทางกราฟ Daily บอกว่ากลับตัวมาได้ 2 – 3 วันแล้ว ทางกราฟ  4 ชั่วโมงก็ทำท่าจะลง เพราะขึ้นมาเยอะแล้ว อะไรทำนองนั้น นั่นเป็นปัญหาที่ต้องบอกว่าเจอกันทุกคน ซึ่งจุดอ่อนนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ คือ

การใช้เวลาฝึกฝนดูกราฟ มันจะเข้ามาในความทรงจำของคุณอย่างค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา แต่ว่ามันสามารถแก้ไขจุดอ่อนได้ดี บางครั้งเราอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีในการเก็บภาพรูปแบบกราฟเหล่านั้น  ก็ตลอดชีวิตของการเทรดของเรานั่นแหละครับ  นอกจากการฝึกฝนดูกราฟบ่อย ๆ แล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกอย่างคือ การไม่ดูกราฟมาก การดูกราฟบ่อย ๆ กับดูกราฟมากนั้นเป็นคนละเรื่อง การดูกราฟ 4 Time Frame นั้น เป็นเรื่องของความรู้สึกและสัญชาตญาณเป็นหลัก เพื่อให้ชินกับการใช้งาน เราต้องดูแล้วตัดสินใจเลย ไม่ใช่มัวแต่คิดพิจารณา นั่งเฝ้าหน้าจอ อย่างนั้นเรียกว่า overtrade เสพติดการเทรดครับ
#19
You cannot view this attachment.

Commodity Channel Index หรือ CCI คืออินดิเคเตอร์ที่สามารถบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นแนวโน้มใหม่ และยังสามารถแจ้งเตือนในกรณีที่ราคาขึ้นหรือลงมากเกินไปได้อีกด้วย โดยเครื่องมือตัวนี้ถูกคิดค้นโดย Donald Lambert ซึ่งในตอนแรกเริ่มนาย Lambert ได้สร้างเครื่องมือนี้เพื่อที่ว่าจะหา Cycle ของราคาบนสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ด้วยความมีประสิทธิภาพของเครื่องมือนี้ ทำให้กลายเป็นที่นิยมและถูกนำมาประยุกต์ใช้ต่อในการเทรดดัชนี, หุ้น, ETFs และอื่น ๆ อีกมากมาย
 
โดย CCI จะวัดจากราคาปัจจุบันเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (ค่า Default อยู่ที่ 20-period) โดยในช่วงที่ CCI มีค่าสูง ก็แปลว่า ราคาปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา ส่วนในช่วงที่ CCI มีค่าต่ำ ก็แปลว่า ราคาปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ CCI สามารถใช้ในการวิเคราะห์ระดับ Overbought และ Oversold ของราคาได้
 
การวิเคราะห์
 
เนื่องด้วย CCI ถูกใช้เปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับราคาเฉลี่ย โดยเมื่อ CCI ให้ค่าเป็นบวก เป็นการแสดงให้เห็นว่า ราคาปัจจุบันได้อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในการขึ้นของราคา ในทางตรงกันข้าม หาก CCI ให้ค่าเป็นลบ แปลว่าราคาปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแรง
 
โดย Commodity Channel Index (CCI) สามารถเป็นได้ทั้ง Coincident Indicator และ Leading Indicator
 
Coincident indicator : อินดิเคเตอร์ที่เคลื่อนไหวไปตามราคา โดยเมื่อ CCI กระชากขึ้นเหนือระดับ +100 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในการขึ้นของราคา เป็นสัญญาณการเริ่มต้นการขึ้นใหม่ ในทางตรงกันข้าม กรณี CCI ดิ่งลงต่ำกว่าระดับ -100 เป็นสัญญาณการเริ่มต้นขาลง
 
Leading indicator : อินดิเคเตอร์ที่สามารถชี้นำราคา CCI สามารถใช้ดูระดับ Overbought และ Oversold ได้ เพื่อใช้จับจังหวะการย่อตัวหรือฟื้นตัวระยะสั้น อีกทั้งการดู Divergence ที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในโมเมนตัมการเคลื่อนไหวของราคา และมีโอกาสกลับตัวในที่สุด
 
CCI กับการเริ่มต้นแนวโน้มใหม่
 
การที่ CCI เคลื่อนไหวขึ้นสูงเหนือระดับ +100 แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แสดงถึงความแข็งแกร่งของราคา ซึ่งมีโอกาสเข้าสู่รอบการขึ้นใหม่อีกครั้ง ในทางตรงกันข้าม กรณี CCI ลงต่ำกว่า -100 แสดงถึงความอ่อนแอของราคา มีโอกาสเข้าสู่แนวโน้มขาลง

You cannot view this attachment.

กราฟตัวอย่างการใช้ CCI ในการหาจุดเริ่มต้นแนวโน้มใหม่ของราคา จะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ CCI ขึ้นเหนือ +100 (เส้นสีเขียว) เป็นสัญญาณการเริ่มต้นการเข้าสู่รอบการขึ้นใหม่อีกครั้ง และในทางขวาสุดของกราฟ (เส้นสีแดง) เป็นจังหวะที่ CCI ลงต่ำกว่า -100 เป็นสัญญาณการเข้าสู่รอบขาลง
 
Overbought/Oversold
 
CCI สามารถใช้วิเคราะห์ Overbought/Oversold ทั้งนี้ต้องเข้าใจ CCI ก่อนว่ามันเป็นลักษณะ Unbound Oscillator คือไม่มี Limit ในการแกว่งตัว (โดยปกติทั่ว Indicator ทั่วไป อย่างเช่น RSI จะแกว่งตัวในช่วง 0-100 แต่ CCI ไม่ใช่อย่างนั้น) ดังนั้นการวัด Overbought/Oversold ของ CCI จะค่อนข้างอิสระ
 
โดยหลักการทั่วไปในการวิเคราะห์ Overbought/Oversold ของ CCI คือ ในช่วงที่ราคาแกว่งตัว Sideway จะใช้ค่าที่ระดับ +/-100 ส่วนในช่วงที่ราคาเป็นเทรนอยู่แนะนำให้ใช้ช่วงระดับ +/-200 ในการหาจุด Extreme Levels (Overbought/Oversold) ทั้งนี้การวัดระดับ Overbought/Oversold ต้องคำนึงถึงความผันผวนของราคาหุ้นด้วยเช่นเดียวกัน

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างกราฟในการใช้ดูระดับ Overbought และ Oversold ของราคา โดยใช้ระดับ +/- 200 เป็นระดับในการวัด ในการเทรด สำหรับเทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถเข้าเทรดตั้งแต่ตอนที่ราคา แตะระดับ +/- 200 ได้เลย หรือ อีกกรณีสำหรับเทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ สามารถเข้าเทรดหลังจากที่ CCI วกกลับเข้ามาในกรอบ +/- 200
Divergence
 
การเกิด Divergence คือความไม่สอดคล้องระหว่างราคากับ Indicator ซึ่งการเกิดสัญญาณนี้ บ่งชี้ว่าราคามีโอกาสที่จะกลับตัวเกิดขึ้นในอนาคต

You cannot view this attachment.

ตัวอย่างการเกิด Divergence กับ CCI บนกราฟราคาทองคำ ในกราฟทางซ้ายมือเป็นการเกิดสัญญาณ Bearish divergence จากเดิมที่ราคาอยู่ในรอบขาขึ้น จากนั้นกลับเข้าสู่รอบขาลง ส่วนทางขวามือเป็นการเกิดสัญญาณ Bullish divergence (เกิด Bullish Divergence จำนวน 2 รอบ) จากเดิมที่ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง กลับเข้าสู่รอบการขึ้นใหม่อีกครั้ง
 
สรุป
 
CCI เป็น Indicator ที่ค่อนข้างสารพัดประโยชน์ สามารถดู Overbought/Oversold, ดูการเริ่มต้นของแนวโน้ม และยังสามารถหาจุดกลับตัวของราคาได้จากสัญญาณ Divergence อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ในสินค้าที่หลากหลาย ทั้ง Forex, หุ้น, ดัชนี, ทองคำ, น้ำมัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
 
ทั้งนี้เทรดเดอร์ยังสามารถนำอินดิเคเตอร์ตัวอื่น เข้ามาช่วยในการยืนยันสัญญาณต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของเทรดเดอร์ได้อีกด้วย
#20
หากต้องการจะเทรดคู่สกุลเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกคู่สกุลเงินใด Currency Correction อาจจะช่วยหาคำตอบได้ แต่มันคืออะไร? สิ่งที่ใช้ตัดสินดูได้จากอะไร แล้วตัวเลขบวก / ลบ คืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ รับรองว่า มันจะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจความสัมพันธ์ของคู่สกุลเงินต่าง ๆ มากขึ้นอย่างแน่นอน

Currency Correction คืออะไร ?

Currency Correction คือ "ความสัมพันธ์ของสกุลเงิน" ในตลาดแลกเปลี่ยนค่าเงิน (Forex) ซึ่งเป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องในมูลค่าและการเคลื่อนไหวของค่าเงิน โดยมีความสัมพันธ์ คือ หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปพร้อมกัน นั่นแสดงว่า คู่สกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันใน "เชิงบวก" แต่หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ เคลื่อนไหวตรงข้ามกัน คู่หนึ่งแข็งค่า อีกคู่หนึ่งอ่อนค่าลง จะหมายความว่า คู่สกุลเงินนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันใน "เชิงลบ" นอกจากนี้ หากคู่สกุลเงิน 2 คู่ เคลื่อนที่แบบสุ่ม โดยไม่มีความสัมพันธ์ที่สามารถตรวจพบได้ นั่นอาจหมายถึง คู่สกุลเงินนั้น "ไม่มีความสัมพันธ์" ต่อกัน

You cannot view this attachment.

                             ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างคู่เงิน 2 คู่ จะถูกแสดงด้วย "ตัวเลข สัญลักษณ์ + และ -" โดยผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีตั้งแต่ -1 ถึง +1 และมีทศนิยมแทนค่าสัมประสิทธิ์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมายิ่งสูงก็จะยิ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของคู่เงิน หรือเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกัน หากตัวเลขออกมาน้อยก็จะหมายถึง คู่เงินนั้นมีความสัมพันธ์กันน้อย อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของสกุลเงินก็สามารถแปรผันได้ตามช่วงเวลา และปัจจัยต่าง ๆ

Currency Correction ใช้บอกอะไร ?

ความสัมพันธ์ของสกุลเงิน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องทำความเข้าใจ เพราะมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลลัพธ์การเทรด Forex เนื่องจากมันสามารถบ่งชี้ถึงโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น และใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปิดสถานะคำสั่งซื้อ ขณะที่ตลาดเกิดความผันผวนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ทำไมคู่สกุลเงินจึงมี Currency Correction เป็นบวกหรือลบ ?

การที่คู่สกุลเงิน 2 คู่ มีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นบวกหรือลบ นั่นเป็นเพราะสกุลเงินแต่ละคู่จะสะท้อนถึงพื้นฐานความสัมพันธ์ของประเทศนั้น ๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งด้านความสัมพันธ์กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD), เศรษฐกิจ, การเมือง, ความแตกต่างของนโยบายการเงิน, การเปลี่ยนแปลงนโยบายธนาคารกลาง, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ

และโปรดทราบว่า ความเชื่อมโยงของสกุลเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่ง ณ ตอนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่รับประกันถึงสิ่งที่เหมือนเดิมในอนาคต ดังนั้น เราจึงขอแนะนำให้ทุกท่านตรวจสอบความเชื่อมโยงในระยะยาว และหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับมุมมองที่ดียิ่งขึ้น

คู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุดคืออะไร ?

คู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด มักจะเป็นคู่ที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกัน ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD และคู่สกุลเงิน GBP/USD มักมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ซึ่งความสัมพันธ์นี้ยังรวมถึงความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และสถานะสกุลเงินสำรอง 2 สกุล ที่ถือกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน

You cannot view this attachment.

ความสัมพันธ์ของสินค้าโภคภัณฑ์กับสกุลเงิน

มูลค่าของสกุลเงินบางสกุลไม่เพียงแต่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าของสกุลเงินอื่นเท่านั้น แต่ยังมีความสัมพันธ์กับราคาของสินค้าโภคภัณฑ์อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศนั้นเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงิน เช่น CAD/น้ำมันดิบ ราคาของเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD) มักมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาน้ำมัน โดยปกติ หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มูลค่าของเงินดอลลาร์แคนาดาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เป็นต้น

 
โดยสรุปแล้ว Currency Correction ก็คือ ความสัมพันระหว่างสกุลเงิน 2 คู่ ซึ่งจะแสดงผลออกมาเป็นบวกหรือลบ สื่อถึงความเชื่อมโยงในการเคลื่อนที่ระหว่างกัน เทรดเดอร์จึงสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจการเปิดสถานะได้ อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของคู่เงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น อย่าลืมติดตามข่าวสาร และใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้วย