ข่าว:

กระทู้ล่าสุด

#1
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - วันนี้ เวลา 01:45:42 ก่อนเที่ยง
CADJPY
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 61.8% สัมพันธ์กับ Support เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

GBPNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยม Expanding Triangle และราคาย่อตัวลงมาอยู่ที่ Demand Zone เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 50% สัมพันธ์กับ Support เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#2
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 01:02:59 ก่อนเที่ยง
ทองวันนี้ 
จุด buy 2305-2307
2298
2290
Sell 2321
2332-33
2353
#3
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 12:24:18 ก่อนเที่ยง
#4
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - วันนี้ เวลา 12:22:30 ก่อนเที่ยง
#5
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Stop loss ใช้หรือไม่ - แบบไหนด...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - เมื่อวานนี้ เวลา 03:46:09 หลังเที่ยง
ไม่ว่าการเปิดเทรดทางไหน ไม่มีเทรดเดอร์ท่านไหนต้องการให้ออเดอร์นั้นๆ ที่เปิดโดน stop loss เพราะเป็นการสูญเสีย แต่การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดที่เทรดเดอร์ต้องยอมรับ และบริหารและจัดการความเสี่ยงให้เป็น แม้เทรดเดอร์ไม่ต้องการ stop loss แต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น การเข้าใจการทำงานของ stop loss และเทคนิดต่างๆ ในการจัดการเป็นเรื่องจำเป็น และแต่ละเทรดเดอร์สามารถใช้ได้เข้ากับรูปแบบการเทรดและบริหารทุนของตัวเองได้ดี เมื่อเรายอมรับว่า stop loss เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด เราก็จะหาทางว่าจะลดการสูญเสียได้อย่างไร นั่นคือความจำเป็นที่ต้องเข้าใจและเรียนรู้เทคนิค stop loss ต่างๆ แม้ว่าการเปิดเทรด การกำหนด stop loss และ take profit ก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่รูปแบบการเทรด

แบบแรกกำหนด stop loss กับทุกออเดอร์ที่เปิดเทรดหรือ Hard Stop-loss

You cannot view this attachment.

กรณีแรกถือว่าเป็นพื้นฐานของการจำกัดความเสี่ยง เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายและตรงประเด็นสำหรับการกำหนด stop loss เพื่อจำกัดความเสี่ยง คือเมื่อจะเปิดเทรด หลังจากท่านกำหนด trade setup ได้ สิ่งที่ต้องเห็นชัดเจนคือว่าท่านกำหนด stop loss และ take profit ตรงไหน ความสำคัญก็จะอยู่ที่การกำหนด stop loss เพราะมีผลกระทบต่อการเติบโตของพอร์ตและต่อจิตใจของเทรดเดอร์โดยตรง  แบบแรกคือเมื่อเปิดเทรดก็กำหนด stop loss เข้ากับ position นั้นๆ ทันทีอย่างภาพประกอบ เปิดเทรดตรงเส้นที่บอก Sell แล้วกำหนด stop loss ทันทีที่พื้นที่บอก stop loss ด้านบน

ข้อดีของวิธีการกำหนด stop loss แบบนี้คือ ถ้าราคาวิ่งสวนทางท่าน เกินที่ท่านกำหนด ด้วยการกำหนด stop loss ก็จะทำงานทันทีที่ราคาท่านกำหนด จำกัดความเสี่ยงทันที  การสูญเสียเกิดขึ้นเท่าที่ท่านรับได้ที่กำหนดไว้เท่านั้น และท่านไม่ต้องเฝ้าจอคอยมองสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชาร์ตเปลี่ยนไปด้วย แต่ข้อเสียอย่างในภาพประกอบด้านบนคือ ราคามักจะไปแตะ stop loss ที่ท่านกำหนด แล้วกลับมาทางที่ท่านเปิดเทรดแล้วไปไกลด้วย ทำให้ท่านสูญเสียและได้แค่มองสิ่งที่เกิดขึ้น จากที่ท่านควรจะได้กำไร การเกิด stop hunt จะเป็นเหตุการณ์ที่เห็นบ่อยกับวิธีการกำหนด stop loss แบบนี้

Mental Stop-loss หรือการไม่กำหนดเข้าไป แต่ท่านดูว่าท่านรับความเสี่ยงได้ตั้งแต่ตรงไหน

You cannot view this attachment.

รูปแบบการกำหนด stop loss แบบนี้ จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการเทรดหรือมอง market structure ด้วย อะไรเกิดขึ้น และส่วนเพราะเทรดด้วยพวกนี้ก็จะเข้าใจหลักการทำงานของ stop hunt ด้วยว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำตรงพื้นที่ๆ เข้าเทรดมี liquidity เยอะ เพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดเพิ่ม และเทรดราคาดีกว่า ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทรดเดอร์ที่เข้าเทรดก่อน และดูว่าพื้นที่ตรงไหนที่เทรดเดอร์พวกนี้จะใช้กำหนด stop loss ของพวกเขา วิธีการนี้จะดีสำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มาก เช่นอย่างด้านบน เหตุการณ์เดียวกันกับการเปิด Sell แบบด้านบน แต่ไม่มีการกำหนด stop loss เข้าไป เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะคิดว่าถ้าราคาไม่เบรค High ก่อน ด้วย momentum แล้วลงมาเทส และเห็น Price Action ที่บอก Reversal ในกรอบสีแดงก็จะไม่ปิดเสีย

ข้อดีของรูปแบบการกำหนด Mental Stop-loss คือท่านจัดการ stop loss ได้ดีกว่า เช่นอย่างกรณีของ stop hunt คือตัวอย่างที่ดี เพราะว่า market structure ไม่ได้เปลี่ยนไป แค่ขึ้นไปล่า stop loss เท่านั้นเอง  แต่เรื่องของ drawdown ก็อาจมากขึ้นไปด้วย แต่เทรดเดอร์สามารถถือรอราคาลงมา ถ้า market structure ไม่เปลี่ยน กลับกลายมาเป็นกำไรได้ แต่ข้อเสียคือว่า การที่จะใช้วิธีการกำหนด stop loss แบบนี้ จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ อ่าน market structure และอื่นๆ เป็น และยังต้องคอยเฝ้าจอตลอดด้วย เพราะดูว่า market structure เปลี่ยนแปลงอย่างไร และยิ่งถ้าเปิดเทรดหลายคู่เงิน หรือหลายออเดอร์ ก็ต้องคอยดูหลายคู่มากขึ้นไปอีก

วิธีการแบบ No Stop-loss  หรือไม่กำหนด Stop-loss เลย

การเปิดเทรดแบบ ไม่กำหนด stop loss เวลาราคาวิ่งสวน อาจไปไกล และไปเรื่อยๆ ได้ ส่งผลให้เรื่องขง drawdown เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ยิ่งเป็นการเปิดเทรดหลาย positions พร้อมๆ กัน การถือรออาจนานเช่น ถ้าเปิดเทรดเป็นช่วง swing จาก timeframe D1 การถือรออาจหลายวัน หรือเป็นอาทิตย์ได้ แต่เพราะเทรดเดอร์ที่ใช้วิธีการนี้มองว่าราคาเด้งขึ้นหรือลงเป็นเรื่องปกติ แล้วก็จะกลับมาทางเดิม แค่ว่าการเปิดเทรดไม่มาก ตามสัดส่วนทุน ไม่กระทบต่อพอร์ต ส่วนมากก็จะเทรดกันน้อย ไม่เกิน 10% ของทุน อาจบอกว่าการเทรดแบบไม่กำหนด stop loss เป็นการบริหารความเสี่ยงไปในตัวด้วยก็ว่าได้ แต่วิธีการนี้จะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีวินัยและผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี เพราะต้องทั้งบริหารพอร์ต และจัดการความกดดันจากการถือรอนานที่กระทบต่อ drawdown ด้วย และยังอาจต้องหาโอกาสเทรดเพิ่มเรื่อย แต่ต้องไม่ให้กระทบทุนด้วย

วิธีใช้การเทรดแบบ Hedging เป็นตัวแทนการกำหนด stop loss

You cannot view this attachment.

ข้อดีของตลาดฟอเรกคือท่านสามารถเทรด Sell หรือ Buy เวลาเดียวกันได้ ต่างจากตลาด Futures หรือ Options ที่ท่านต้องเปิดเทรดได้ทางเดียวเท่านั้นใน บัญชีเทรดเดียว ยกตัวอย่างตามภาพประกอบ ท่านเปิดเทรด Buy ที่เลข 1 ราคาวิ่งขึ้นไปได้นิดหน่อย แต่ราคาดันลงมา ท่านเห็นว่าราคาได้เบรค Support 1  และท่านเห็นว่าถ้าราคาเบรคลงไป พื้นที่เหนือ Support 1 ด้านบนสุดมี trapped traders ด้วย stop loss ของกลุ่มนี้น่าจะดันราคาลงไปเร็ว ออเดอร์ที่ท่านเปิด Buy ก็จะติดลบมากยิ่งขึ้นและเร็วด้วย และมองลงไปเห็น Support 2 ราคาก็มีการเทสแล้ว อาจลงไปต่อก็ได้ อาจถึง Support 3 ก็ยิ่งจะติดลบมากขึ้น เพื่อจำกัดการติดลบ และไม่ต้องการออกจากตลาด ท่านก็เปิด Sell ตรงที่เลข 2 ด้วย ล็อตเท่ากันจากที่ท่านเปิด Buy ท่านก็จำกัดการสูญเสียไว้เท่านั้น แต่ท่านยังรักษาโอกาสไว้ได้ ถ้าท่านบริหารการเทรดและมองตลาดเป็นวิธีการนี้ ก็จะมีต้นทุนอย่างอื่นเกิดขึ้นคือ Spread อาจต่างกันออกไปตามช่วงตลาด และการถือข้ามคืนหรือค่า SWAP  ข้อดีของการเทรดแบบ Hedging เป็น Stop loss ท่านสามารถจัดการเรื่องของ drawdown ได้ดีเพราะท่านล็อคพื้นที่ stop loss ท่านไว้ และไม่ต้องมาคอยกังวล หรือเฝ้ามองชาร์ตตลอด ถ้าวันนั้นตลาดไม่เข้าทางท่าน แต่ข้อเสียคือ ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่การที่จะหาว่าท่านจะออกจากการ Hedging เมื่อไร เป็นเรื่องที่ต้องใช้ประสบการณ์ ว่าท่านจะออกตรงไหน เช่น ถ้าท่านมีประสบการณ์ หลังจากเปิด Sell ท่านก็จะรอให้ราคาลงมา จนเห็นว่า market structure ชัดเจนว่าหยุดลงและอยากจะดันขึ้นไป เช่นที่วงกลมด้านล่าง เมื่อเห็น price action ที่บอก reversal ท่านค่อยปิด Sell ออเดอร์เพื่อออกจากตลาด แล้วรอให้ราคาค่อยๆ ดันกลับไปหาจุดที่ท่านเปิด Buy ด้านบน ส่วนมากเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ก็จะเปิดเทรด Buy ตรงด้านล่างนี้ขึ้นไปด้วย แต่ต้องควบคุมความเสี่ยงด้วย

การกำหนด Stop loss เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการเทรดเพราะเป็นการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดเทรด การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด เช่นเดียวกันกับการทำกำไร แต่การสูญเสียเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่ต้องการ จึงจำเป็นที่ต้องเข้าใจและใช้ให้เป็น ให้เข้ากับรูปแบบการเทรดของตนว่าเทรดแบบไหน และจะบริหารทุนอย่างไร
#6
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมื่อวานนี้ เวลา 07:52:43 ก่อนเที่ยง
AUDUSD SELL 0.6616

🔻 SL 0.6675
🔹 TP 0.6400
#7
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมื่อวานนี้ เวลา 06:49:57 ก่อนเที่ยง
Sell : XAUUSD
จุดเข้า : ตอนนี้

TP : 2309

SL : 2330
#8
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - เมื่อวานนี้ เวลา 12:13:05 ก่อนเที่ยง
#9
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 07, 2024, 11:11:46 ก่อนเที่ยง
#10
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / เทคนิค การเทรด Forex ทำกำไรด้ว...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - พฤษภาคม 07, 2024, 11:09:34 ก่อนเที่ยง
กลยุทธ์การเทรดอีกอย่างที่ถือว่าเรียนรู้และง่ายต่อการนำไปเทรด เพราะเป็นแค่การอ่านและทำความเข้าใจเรื่องของ วอลลูมที่เพิ่มขึ้นในช่วงตอนเปิดตลาดลอนดอนเป็นหลักคือ London Breakout ด้วยการดูว่าเมื่อเปิดตลาดช่วงลอนดอนมา 1-3 ชั่วโมงแรกเกิดการ Breakout ของช่วงตลาดที่เปิดมาแต่เช้าก่อนหรือเปล่า ถ้าเกิดก็ให้เทรดทางนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลมาถึงช่วงตลาดอเมริกาเปิดด้วย

เข้าใจช่วงตลาดก่อน

You cannot view this attachment.

ตลาดประกอบด้วย 4 ช่วงหลัก คือ Sydney, Tokyo, London และ New York หรืออาจเรียกช่วงรวมกันระหว่าง Sydne และ Tokyo เป็นช่วง Asia ก็ได้ ก็จะเหลือแค่ 3 ช่วงหลักๆ คือ ช่วงเอเชีย (Sydney + Tokyo) ช่วงยุโรป (London) และช่วงอเมริกา (New York) เมื่อดูชาร์ตที่ประกอบด้วยช่วงตลาด ท่านจะเห็นว่าแต่ละวันส่วนมากช่วงตลาดเอเชียราคาจะ sideway เป็นหลัก ยกเว้นมีข่าวเป็นบางวัน เพราะตลาดการเงินหลักของโลกอยู่ที่ยุโรปและอเมริกา ดังนั้นเมื่อช่วงตลาด London หรือช่วงตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา มักจะมี volatility เพิ่มขึ้นทันที ทำให้ volume เริ่มเพิ่มขึ้น ก็เลยเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์เห็นความเพิ่มขึ้นของ volatility ที่เริ่มเกิดขึ้น ถ้าเป็น Breakout ช่วงก่อนหรือช่วง Asia มักจะเปิดโอกาสให้เทรดตาม Breakout ทางที่เกิดขึ้นนั้นๆ เป็นการเทรดแบบง่าย ด้วยการดู 1-3 ชั่วโมงแรกของช่วงตลาดลอนดอนว่าได้มี Breakout เกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนมากก็จะเทรดคู่พวก GBP เช่น GBPUSD GBPJPY GBPAUD EURGBP เป็นต้น แต่คู่อื่นๆ เช่น EURUSD ก็เทรดได้เช่นกัน

Timeframe ไหนเหมาะสำหรับเทรด London Breakout

รอให้ช่วงตลาด Asia ปิดก่อน เมื่อตลาดลอนดอนเปิด ดูว่า 1-3 ชั่วโมงแรก แค่ดูเรื่องของ price action และเข้าใจเรื่องของ Breakout ว่าราคาเบรคกรอบช่วงแรกของวันหรือช่วงตลาด Asia ไปทางไหน อาจมองได้ว่าช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านก็ว่าได้ เมื่อราคาเบรคทางไหนก็หาโอกาสเทรดตาม เทรดไปทางนั้นๆ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของ timeframe ที่ใช้ในการกำหนด Breakout แนะนำให้ใช้ H1 เป็นหลัก เพราะถ้าเป็น H4 หรือ D1 ก็จะใหญ่เกินสำหรับการหารายละเอียด แต่ก็ควรจะใช้เพื่อกำหนดกรอบเทรนระยะยาวด้วย  แต่ถ้าเป็น M15 หรือ M30 ข้อมูลอาจน้อยไปสำหรับการกำหนดเทรน เลยแนะนำให้ใช้ชาร์ต H1 เป็นหลัก แต่ท่านอาจใช้ multi-timeframe analysis ประกอบเพื่อมองภาพรวมและจุดที่เข้าได้อย่างชัดเจน

เทรด London Breakout อย่างไร

You cannot view this attachment.


วิธีการหลักสำหรับเทรด London Breakout คือการเทรด Breakout นั่นเอง ใช้ช่วงเวลาตลาดเข้ามาเป็นตัวกำหนดว่าเกิด Breakout ทางไหนในช่วง 1-3 ชั่วโมงแรกหรือไม่ เมื่อตลาดลอนดอนเปิดมา ดังนั้นอาจบอกว่า กรอบราคาที่เกิดก่อนช่วง Asia เป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านไปในตัวก็ว่าได้ ดังนั้นการเปิดเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคกรอบแนวรับ-แนวต้านหลักๆ ที่กลยุทธ์นี้เป็นที่สนใจเพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดขึ้นมา โดยการเทรดสามารถใช้ได้กับหลายคู่เงินไม่ใช่แค่ GBP เท่านั้น อาจเป็น EURUSD หรือ USDJPY ได้ด้วย โดยให้เปิดชาร์ต H1 ขึ้นมาเป็นหลัก เพราะโอกาสเทรดสำหรับเทรดเดอร์ คือ 1-3 ชั่วโมงแรก ก็จะดูได้ง่ายและเห็นเทรนชัดเจนพอ  เช่นตัวอย่างภาพด้านบนเป็นคู่เงิน EURUSD เมื่อเราเปิดด้วยชาร์ต H1 ก็จะเห็นชัดว่า 1-3 ชั่วโมงแรกที่ต้องการโฟกัส และอาจมีการวิเคราะห์ต่าง timeframe ประกอบเพื่อภาพรวม เมื่อราคาเบรคไปทางไหน อย่างในภาพเป็นการเบรคลงมา จากนั้นเมื่อมอง price action ท่านจะเห็นว่าจะทำเทรนไปทางนั้นทั้งวัน แม้ช่วงตลาดอเมริกาหรือ New York เปิดมา หลักการในการเปิดเทรดคือเมื่อเห็นราคาเบรคก็เปิดเทรดได้เลย หรือบางทีอาจมีการกลับมาเทสอย่างรวดเร็วก็เปิดโอกาสให้เทรดได้ เนื่องจากการเทรดอิง Breakout ที่คาดว่าจะเกิดแต่ละวัน ดังนั้นกลยุทธ์การเทรดจะเน้นปิด position ที่เปิดภาพวันนั้นๆ เป็นหลัก

การเปิดเทรดก็เหมือนหลักการเทรด Breakout ทั่วๆ ไปคือการใช้ stop orders เช่น ถ้าราคาเบรคขึ้นบนก็เป็น buy stop orders ถ้าราคาเบรคลงล่างก็ใช้ sell stop orders และยังจะได้พวก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดช่วงก่อนหรือช่วง Asia มาเป็นตัวเร่งด้วย หรืออาจใช้เรื่องของ trailing stop มาช่วยก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนด pips ขั้นต่ำ แต่ต้องระวังเพราะอาจโดนล่า stop ก่อนก็ได้ เพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดขึ้นก่อนที่ราคาจะไปทาง Breakout จริงๆ ส่วนเรื่องของการปิดหรือทำกำไร หลักการเบื้องต้นคือปิดเมื่อช่วงตลาด London ปิด แต่ถ้าท่านเข้าใจหลักการ การส่งต่อออเดอร์ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด แนะนำให้ใช้ price level ที่เคยเกิดเป็นตัวกำหนดแทน

การส่งต่อออเดอร์ของแต่ละวัน

You cannot view this attachment.

การที่จะเทรดเรื่องของ London breakout ได้ดี ท่านต้องเข้าใจความต่อเนื่องของออเดอร์ที่ส่งต่อกันระหว่างวัน เพราะว่าในการเปิดเทรดนั้น ขาใหญ่ไม่ได้เปิดเทรดทางเดียวแล้วดันราคาไปต่อเลยจนจบ มีการปิดกำไรเพื่อสะสม หรือมีการปั่นราคาเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดอีกรอบ นี่เป็นเรื่องที่พวกเขาชำนาญ เราต้องดู price structure ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน โดยเฉพาะที่เกิดช่วง London และ New York เป็นช่วงตลาดการเงินหลักของโลก ดูว่าช่วง Asia โต้ตอบกับ price level ที่เกิด 2 ช่วงนั้นในวันก่อนอย่างไรต่อเนื่องกัน ก็จะมองออกง่ายว่าท่านจะเทรด London Breakout ทางไหนดี ด้วยการมองย้อนกลับมา เช่นการมอง ให้มองวันที่ 3 ก่อน ดูการ rejection ที่เกิดระหว่างช่วง London และ New York โดยเฉพาะที่ 2 ช่วงยังเปิดอยู่ สัมพันธ์กับวันที่ 2 อย่างไร วันที่ 2 สัมพันธ์กับวันที่ 1 อย่างไร จะเห็นว่าช่วง Asia ของวันที่กำหนดเทรด London Breakout เป็นแค่ช่วงพักหรือ sideway แต่ยังอยู่ในอิทธพลของวันที่ 3 อย่างชัดเจน และวันที่ 3 ที่ราคาลงมาเทส support ของวันที่ 2 ราคาก็ไม่สามารถเอาชนะ swap level หรือ resistance ที่เปิดเผยวันที่ 2 และมีการเทสอีกรอบวันที่ 3 ได้ เมื่ออ่านความต่อเนื่องพวกนี้เป็น แล้วมี London Breakout เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน ท่านจะกล้าปล่อยกำไรให้ยาวด้วยความมั่นใจได้ เพราะความเป็นไปได้สูงอยู่ข้างที่ท่านเปิดเทรด