วิธีการที่จะทำให้เรารู้ว่าเทรดเดอร์ฝั่งตรงข้ามท่านคือใคร

เริ่มโดย support-1, มีนาคม 10, 2023, 02:07:38 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

การเทรดตลาดฟอเรก trading transactions จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตรงที่ท่านเปิดมีออเดอร์ตรงข้าม ออเดอร์ตรงข้ามนั้นมาจากใคร เมื่อท่านเปิดเทรด Buy ก็ต้องมีเทรดตรงข้ามที่มี Sell ณ ราคาเดียวกันกับที่ท่านเปิดเทรด การเทรดค่อยเกิดขึ้นได้ ถ้าออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาเปิดเทรดไม่มี ราคาก็จะไปหาราคาต่อไปเลยทำให้ราคาขึ้นหรือลง ดังนั้นเมื่อเราเปิดเทรดทุกครั้งสิ่งที่สำคัญต้องมั่นใจว่าเราอยู่ข้างเดียวกับขาใหญ่หรือเปล่า เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนมาก มากพอที่จะหยุดราคาวิ่งสวนพวกเขาได้ถ้าพวกเขาเปิดเทรด และถ้าพวกเขาจะทำกำไร พวกเขาจะพยายามทำให้ราคาไปทางที่พวกเขาเปิดเทรดให้เทรดตรงข้ามพวกเทรดเดอร์ที่อยู่ตรงข้ามพวกเขาที่ติดลบและออกจากการเทรด ก็จะเร่งราคาไปทางที่พวกเขาเปิดเทรด และก็จะดึงเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดหันมาเปิดเทรดจุดที่พวกเขาเทรดด้วย

การเทรดเกี่ยวกับ orders และ positions



ข้อแรกที่ต้องรู้คือ ก่อนที่จะคาดการณ์ว่าเทรดเดอร์ตรงข้ามที่เราเปิดเทรดคือเทรดเดอร์ประเภทไหน เพราะหลักๆ การเทรดทั่วๆไปก็จะพูดถึงแค่ 2 ประเภท คือเทรดเดอร์รายย่อยและขาใหญ่ ขาใหญ่มักจะกำไรเสมอเพราะเงื่อนไขทุนเพราะมีทุนมากพอที่จะดันราคาไปทางที่พวกขาเปิดเทรดได้ และรายย่อยก็มักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ เช่นการเปิดเทรดที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร เมื่อท่านเปิด sell ณ ราคาและเวลาที่เปิด ต้องมีออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคาและเวลาที่เปิดเทรด ตลาดฟอเรกเป็นตลาดที่เรียกกว่า Over-the-counter คือไม่ว่าท่านจะเปิดเทรดทางไหน ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามเสมอเพื่อจับคู่ เรียกว่า match-and-fill ในหลักการทำงานของออเดอร์ ดังนั้น การเทรดหรือการจัดการการเทรด เรียกรวมๆ ว่า trading transaction จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการ match-and-fill ออเดอร์ทั้ง 2 ฝั่ง ณ ราคาและเวลาเดียวกัน

ข้อสอง ชาร์ตหรือสิ่งที่เราเห็น เช่นอย่างกรณีเราดูแท่งเทียนในการเทรด แท่งเทียนแต่ละเวลาที่กำหนด บอกถึง trading transactions ที่เกิดขึ้นช่วงราคาและจำนวนใช้ volume (แม้ว่าฟอเรก เรื่อง volume จะต่างกันออกไปตามโบรกเกอร์) ดังนั้นแท่งเทียนจึงบอกว่าได้มีการเทรดเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง ถ้าเป็นการสะสม เพื่อเข้าตลาดก็จะเห็นในรูปของราคาวิ่งอยู่ในกรอบหรือ consolidation ถ้าตอนเปิดเทรด มีออเดอร์อีกฝั่งไม่พอ หรืออีกข้างมากกว่าด้วยจำนวนมากจนออเดอร์อีกข้างไม่พอที่จะ match-and-fill ก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ ก็จะเห็นเป็นรูปราคา breakout กรอบ consolidation แล้วก็จะตามด้วยแท่งเทียนยาวๆ และรวดเร็ว เพราะช่วงความไม่สมดุลย์ออเดอร์ที่เข้าตลาดเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเป็นการเข้าเทรด trading transactions ที่เกิดขึ้นก็กลายมาเป็น positions ที่อยู่ในตลาดแล้วแต่ทางที่เปิดเทรด ถ้าเปิดเทรด Buy ก็เป็น Long ถ้าเปิดเทรด Sell ก็เป็น Short

ชาร์ตกับความการเทรดที่เกิดขึ้น บอกอะไรบางอย่าง




ดูที่วงกลมว่าก่อนจะมาถึงตรงนี้ว่าเป็นอย่างไร เมื่อมองดูจากชาร์ตจะเห็นว่าราคาทำเทรนลงมาหาพื้นที่ Demand มีความพยายามดันขึ้นไป 2 ครั้ง แต่ราคาก็ยังเบรคลงมาทำเป็น lower lows ตามด้วย lower highs สิ่งที่เห็นคือราคาลงมามากแล้ว และมีการพัฒนาการเทรน ทำให้เทรดเดอร์อยากเทรดต่อ เพราะ trading transactions ที่เกิดขึ้นบอกเรา และโดยเฉพาะที่เบรคจุดสุดท้ายลงมาเป็น sell market orders มากพอที่จะดันราคามาหา demand ข้างล่าง เราพอบอกสิ่งที่เกิดนี้ได้ 2 อย่างคือ การเปิดเทรดหลังจากที่ราคาได้วิ่งไปแล้ว และการเปิดเทรดเข้าหาจุดที่มีร่องรอยการเข้าเทรด หรือแนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand การเปิดเทรดแบบนี้คงไม่ใช่ขาใหญ่ทำ แต่เป็นรายย่อยแน่นอน ดังนั้นเมื่อเราเปิด Buy ตรงที่ Demand ด้านล่างเราก็พอจะคาดการณ์ออกว่า เทรดเดอร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคือใคร หรือถ้าเป็นเทรดที่ใช้ข้อมูลจากอินดิเคเตอร์ประกอบจะเห็นว่า การเปิด sell พื้นที่ Oversold หรือถ้าในทางตรงกันข้ามการเปิด buy พื้นที่อินดิเคเตอร์บอก Overbought

การเปิดเทรดท่านอยู่ข้างเดียวกับขาใหญ่หรือเปล่า



แม้ว่าการเปิดเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ เมื่อเปิดเทรดอะไรก็เกิดขึ้นได้ ราคาขึ้นหรือลงเพราะจำนวนออเดอร์ที่เกินกันหรือความไม่สมดุลย์ระหว่าง sell และ buy ออเดอร์ แท่งเทียนที่เกิดขึ้นบอกถึง trading transactions ที่เกิดขึ้นจึงพอจะทำให้เรารู้ว่าขาใหญ่เทรดอย่างไร และรายย่อยเทรดอย่างไร เมื่อมองความสัมพันธ์กับเงื่อนไขการทำงานของออเดอร์    สิ่งแรกคือขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะ สิ่งที่สองคือการเปิดเทรดหรือการปิดเทรดทำให้ transactions ที่เกิดขึ้น ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ แล้วสิ่งที่ตามมาคือเมื่อพวกขาใหญ่เปิดเทรดด้วยจำนวนที่เปิดเทรดเยอะ ก็เลยมากพอที่จะดันราคาไปทางไหนก็ได้ หลังจากที่พวกเขาได้เข้าตลาด เพราะการทำกำไรเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ราคาวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรด และราคาไปต่อทางที่ท่านเปิดเทรด พร้อมกันนั้นเทรดเดอร์ที่อยู่ตรงข้ามท่านเมื่อท่านกำไรก็จะติดลบ – เมื่อท่านกำไรอีกฝั่งติดลบ เมื่อท่านติดลบอีกฝั่งกำไร
ดังนั้นเมื่อเข้าใจการเทรดเกิดขึ้นได้อย่างไร เงื่อนไขที่ขาใหญ่จะเปิดเทรด ข้อมูลที่แท่งเทียนบอกถึงอะไร ก็จะบอกได้ว่าเมื่อท่านเปิดเทรดแล้วเทรดเดอร์ที่อยู่ข้างท่านเป็นฝ่ายไหน เทรดเดอร์ที่อยู่ตรงข้ามเป็นฝ่ายไหน การเปิดเทรดที่เลข 1 ราคาอาจลงไปต่อหรือมีการล่า stop แล้วตามด้วย consolidation นานก็ได้ แต่สิ่งที่เห็นก่อนการเปิดเทรดคือสิ่งที่บอกว่าเป็นความผิดพลาดที่เทรดเดอร์รายย่อยมักจะทำกัน แต่การเปิดเทรดที่เลข 2 และ 3 เป็นจุดที่ง่ายขึ้น เพราะมีข้อมูลจากเลข 1 ที่ขึ้นมาเปิดเผยว่าขาใหญ่เข้าเทรด ถ้าท่านเข้าใจหลักการ การเปิดเทรดที่เลข 1 ไม่ใช่เรื่องยาก และการเปิดที่เลข 2 และ 3 ก็จะกลายเป็นจุดที่ท่านเปิดเทรดแบบขาใหญ่ได้