สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะกำหนด Stop Loss

เริ่มโดย support-1, กรกฎาคม 18, 2023, 02:46:43 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

เรื่องการกำหนด Stop loss สำหรับออเดอร์ที่เปิดเทรดเป็นเรื่องที่เทรดเดอร์รู้ดี แล้วแต่วิธีการเช่น ด้วยการอิง technical analysis แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น support/resistance, supply/demand, chart patterns, pivot points, market structure, trend line เป็นต้น หรือจะเป็นการกำหนดแบบนับ pips ระยะห่างพอ เพราะการกำหนด stop loss เป็นวิธีการจำกัดความความเสี่ยงเบื้องต้นที่ง่ายสุดสำหรับแต่ละ trade setup ที่เปิดโอกาสให้เปิดเทรด
โดยหลักการการกำหนด Stop loss คือการจำกัดการสูญเสียทันทีถ้าราคาวิ่งสวนทางหรือ position ที่ท่านเปิดเทรดอยู่ ประโยชน์ของการกำหนด Stop loss คือให้ท่านจัดการและรักษาสัดส่วนทุนหรือพอร์ตสำหรับเทรดของท่าน วิธีการกำหนด อาจเป็นแบบด้านบน อาศัยเรื่องของ technical anlaysis ที่ทำให้เกิด trade setupก่อนเกิดการเข้าเทรดเมื่อเห็นพื้นที่ stop loss และ take profit ชัดเจน สำหรับเรื่องของ Risk:Reward

ความรู้ทั่วไปการกำหนด Stop loss



ความรู้ทั่วไปในการหาพื้นที่เพื่อกำหนด Stop loss อาจแบ่งเป็นดังนี้ อย่างแรก กำหนดด้วยวิธีการกำหนดขนาดลงไปเลย ว่ารับการสูญเสียได้เท่าไรแต่ละออเดอร์ที่จะเปิดเทรด อาจเป็น pips หรืออาจเป็นยอดเงินที่เกิดการสูญเสียก็ได้ ข้อดีของวิธีการแบบแรกคือง่ายและชัดเจน แต่ตลาดไม่ได้ง่ายแบบนั้นและการทำงานออเดอร์ก็สำคัญ

วิธีการที่สอง เป็นการกำหนดที่พื้นที่แนวรับ แนวต้าน เรียกรวมๆว่า key levels เช่น แนวรับ แนวต้าน supply/demand, pivots, key levels เป็นต้นที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของ Trade setup แล้วหาว่าจะกำหนด stop loss และ take profit ตรงไหนแล้วแต่วิธีการตามแบบ technical analysis หรือรูปแบบ chart patterns

วิธีการที่สาม เป็นการกำหนดเหนือหรือล่างจุดพวก High/Low หรือพวก Round Numbers ตัวอย่างด้านบนเป็นการกำหนด Trader setup จากหลักการ key level คือ supply หรือ resistance ที่เกิดขึ้นด้วย Impulsive move ที่บอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ พื้นที่คาดว่าจะเข้าเทรด หรือ Sell zone ก็จะเป็นพื้นที่ต้นตอของ Impulsive move หรือ Momentum หรื ที่บอกถึงความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์อย่างมากเกิดขึ้น ราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว โอกาสการเปิดเทรดเกิดขึ้นเมื่อราคากลับมาพื้นที่ตรงนี้  เช่นราคากลับมาถึงพื้นที่ Sell Zone เลข 1 ถ้ามีการเปิดเทรดพื้นที่ Stop loss ก็จะเป็นเหนือวงกลมพื้นที่เป็นต้นตอ ก็จะเป็นกำหนดจุดที่ Stop loss 1 แต่ราคาอาจดันขึ้นไปเพื่อล่า stop loss ออเดอร์พวกนี้ แล้วค่อยลงก็ได้ ก็จะมีเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่มองเห็นเรื่องของการล่า stop ก็จะกำหนด stop loss 2 สิ่งที่เห็นคือระยะพื้นที่กำหนด Stop loss อาจมากหรือหลาย pips เลยมีการเปิดเทรดเมื่อเป็น Price action ยืนยัน อย่างที่บอก Sell zone 2 หลังจากที่ราคา consolidation ตรงกรอบ และมีแท่งเทียนยาวๆ เอาชนะและปิดล่างที่กับ Low บอกถึง Price Action บอกเวลาและพื้นที่ในการเข้าเทรด และที่สำคัญทำให้พื้นที่กำหนด stop loss น้อยด้วย ด้วยการกำหนดเหนือ High ที่ใกล้สุด หรือที่บอก Stop loss 3 หรือการเทรดที่พื้นที่ Selll zone 3 และ Sell zone 4 ก็หลักการเดียวกัน

ความรู้ทั่วไปการทำงานของ Stop loss กับ Stop hunt



การที่จะเข้าใจเรื่องของ Stop Hunt ต้องเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไรในตลาดและราคาขึ้นหรือลง เป็นเพราะ ความไม่สมดุลย์กันระหว่าง sell และ  buy ออเดอร์ ต้องเข้าใจว่าออเดอร์มาจากไหน ออเดอร์ไม่ได้มาจากแค่การเปิดเทรดเพื่อเข้าตลาด แต่มาจากการออกจากตลาดด้วย ขบวนการทำงานของออเดอร์เป็นดังนี้ เช่นเมื่อท่านจะเปิด Buy เป็นการคาดการณ์ว่าราคาจะไปทางขึ้น ก็มีการกำหนดล็อตหรือจำนวนที่ต้องการและเปิดเทรด ณ ราคา ที่ท่านต้องการจะเปิดเทรด และออเดอร์ที่ท่านจะเปิดเทรดสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ฝั่งตรงข้าม ณ ราคาที่ท่านเปิดเทรดมากพอ ถ้าจำนวนหรือล็อตที่มีเท่ากันการเปิดเทรดก็เกิดขึ้นได้เท่าจำนวน แต่ถ้าจำนวนออเดอร์ฝั่งตรงข้ามไม่พอ ออเดอร์ที่ท่านเปิดเทรดก็จะวิ่งไปหาออเดอร์ที่ราคาต่อไป ตรงนี้เองที่บอกว่า ความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ทำให้ราคาเกิดการขึ้นหรือลง  การเปิดเทรดค่อยเกิดขึ้นได้ หรือเข้าตลาดได้ หรือเรียกว่าเป็น long poition ถ้าราคาวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรด และมากกว่า position ที่ท่านถืออยู่ก็กำลังมีกำไร แต่ถ้าราคาวิ่งสวนหรือต่ำกว่าราคาที่ท่านเปิดเทรด position ที่ท่านถืออยู่ก็กำลังติดลบ เรื่องของการกำไรหรือติดลบ เป็นแค่เรื่องของ 2 ฝ่ายที่ออเดอร์จับคู่กันตอนการเทรดเกิดขึ้น ถ้าราคาไปทางฝั่งไหน ฝั่งนั้นก็กำไร อีกฝั่งก็ติดลบ แต่ถ้าท่านจะออกจากตลาด เช่นอาจเป็นการปิดเอง ไม่ว่ากำไรหรือขาดทุนก็ตาม หรือใช้คำสั่ง take profit หรือ stop loss เท่ากับท่านออกออเดอร์ตรงข้ามที่ท่านถือ position อยู่ อย่างเช่นที่ยกมา ถือ long position การออกเทรดเท่ากับการเปิด sell ที่ราคาที่ออกเทรด แค่ stop loss ต่างที่ปิดเอง คือเงื่อนไขการทำงานด้วยการกำหนดราคาเข้าไปว่าจะรับการสูญเสียที่ราคาไหนเท่านั้นเอง

การทำงานของ market order อธิบายมาก็จะทำงาน 2 อย่างคือ เพื่อเข้าตลาดและการออกจากตลาดเมื่อเปิด postion ที่อยู่ในตลาด เพราะหลักการทำงานออเดอร์เป็นแบบนี้เลยทำให้เกิด Stop hunt เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นเพราะ Stop loss ออเดอร์เป็นคำสั่งที่พร้อมจะทำงานเมื่อราคาตลาดไปแตะ และเพราะการเข้าใจหลักการกำหนด stop loss เลยทำให้ขาใหญ่หาพื้นที่ที่มีพวก stop loss ได้ง่าย เลยมักจะเป็นเป้าให้ขาใหญ่ใช้เพื่อเข้าตลาดและเร่งราคาเสมอ เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ การที่จะเปิดเทรดหรือออกเทรด ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ และที่สำคัญ stop loss ออเดอร์ทำงานก็ต่อเมื่อราคาตลาดไปแตะเท่านั้นเอง  ภาพด้านบนที่บอกว่าเป็น Support หลังจากที่ราคาทำเทรนขึ้นมา ราคาลงมา เด้งหลายครั้งตรง support ขณะเดียวกันก็เบรค High ด้วยบอกถึงความอ่อนด้าน sellers เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดพื้นที่ support ก็จะกำหนด stop loss ต่ำกว่า support ตามหลักการการกำหนด stop loss ทั่วไปเลยทำให้ขาใหญ่เห็นว่ามี seller market orders มากบริเวณพื้นที่ตรงไหน ถ้าพวกเขาจะเข้าเปิดเทรด Buy พวกเขาก็แค่กำหนด buy limit ไว้ด้านล่าง และดันราคาคลาดไปแตะ stop loss พวกนี้ก็จะกลายเป็น sell market orders ไปจับคู่กับ buy limit orders ของพวกเขาได้อย่างง่าย แล้วดันราคาขึ้นมาง่าย เพราะ sell market orders พวกนั้นมาจาก stop loss นี่เป็นการใช้ stop hunt เพื่อเข้าตลาดในราคาที่ดีกว่า
ดังนั้น การกำหนด Stop loss ต้องเห็นชัดเจนในแต่ละ trade setup และต้องเผื่อพวกพื้นที่ stop hunt ถ้าเข้าเทรดแบบทันที หรืออีกอย่างใช้วิธีการ price action มายืนยัน ก็จะทำให้การกำหนด stop loss ได้พื้นที่น้อยลง และไม่โดน Stop hunt ด้วย