ข่าว:

ไม่กล้า Stop Loss ต้องดู!

เริ่มโดย support-1, สิงหาคม 18, 2023, 03:06:07 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

ไม่กล้า Stop Loss ต้องดู! จิตวิทยา สำหรับคนที่ กลัว Stop Loss ภาวะ Loss Aversion หรือ ความรู้สึกสูญเสียที่มีมากกว่าได้รับ คนเราให้ค่าความทุกข์มากกว่าความสุข

Loss Aversion จัดว่าเป็นความกลัวอย่างหนึ่ง มันเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีมาเนินนานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในการหลีกเลี่ยงการสูญเสียมากกว่า พยายามเสี่ยงที่จะได้อะไรมา

ผลวิจัยเผยว่า การสูญเสียทรงพลังกว่าการได้รับถึง 2 เท่า จึงทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน และทำให้เราอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์มากกว่าคำชม

Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และ Amos Tversky ที่เป็นผู้ช่วยของแดเนล ทั้งสองช่วยกันทำการวิจัย และนิยามทฤษฎีนี้

โดยให้เหตุผลที่เรียบง่ายว่า "คนเราเกลียดการสูญเสียมากกว่าดีใจกับการได้มา" หรือจะให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ คนเราให้ค่าความทุกข์มากกว่าความสุข

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนเรา "ยึดติด" กับสิ่งของที่เรามี โดยเฉพาะถ้าสิ่งของนั้นเราเป็นคนทุ่มแรงสร้างมันมากับมือ เสียแรง-เสียเงิน-เสียเวลา เราจะยิ่งเสียมันไปได้ยากยิ่งขึ้น

ให้ภาพอธิบาย หากคุณหาเงินได้มา 100 $ คุณรู้สึกก็ดีใจน่ะ- ก็ดี – ก็ไม่ได้แย่ แต่เวลาเสียไป 100 $  เสียใจแบบจะเป็นจะตาย

ทำไมเราจึง "หลีกเลี่ยงการสูญเสีย" ?  เรื่องนี้เป็นนิสัยที่สืบทอดกันมาผ่าน DNA จากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ย้อนกลับไปสมัยก่อนความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณนั้นเปราะบางมาก

ความผิดพลาดแบบโง่เขลาเพียงครั้งเดียว อาจนำความตายมาสู่ชีวิตได้ทันที (ยกตัวอย่างเช่นคุณพลาดไปกินผลไม้พิษ วิ่งสะดุดล้มระหว่างหนีเสือ ก็ทำให้คุณตายได้ในทันที มันจึงทำให้มนุษย์กลัวการที่จะสูญเสีย)

คนที่รอดชีวิตคือคนที่ระมัดระวังภัย คนกลุ่มนี้จะรอบคอบสุดๆ มักไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงอันตราย จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียทุกรูปแบบ

ความกลัวจึงกลายมาเป็นสันชาตญาณที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตรอดอยู่ได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังมีส่วนในการเพิ่มความกลัวใน Loss Aversion

เพราะว่าถ้าหากตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว นอกจากตัวเองจะรู้สึกแย่แล้วยังโดนกระแสคนรอบข้างหรือสังคมซ้ำเติมอีก

โดยรวมแล้วมีอยู่ 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้มนุษย์ "หลีกเลี่ยงการสูญเสีย"

- การทำงานของระบบประสาท
- สถานะทางสังคม
- วัฒนธรรม

แต่ละคนมีมากมีน้อยแตกต่างกันไป ตามปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น

นอกจากนี้ มีการทดลองหนึ่ง แจกโบรชัวร์ 2 แบบให้ผู้ป่วย 2 กลุ่ม เกี่ยวกับการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination หรือ BSE)

กลุ่มแรก ได้โบรชัวร์แบบที่ 1 เขียนว่า ผู้หญิงที่ตรวจ BSE มีโอกาสสูงขึ้นมากที่จะตรวจเจอ และจะสามารถรักษาหายได้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะไม่เป็นหนัก
กลุ่มที่สอง ได้โบรชัวร์แบบที่ 2 เขียนว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้ตรวจ BSE มีโอกาสน้อยมากที่จะตรวจเจอและและมีโอกาสน้อยมากที่จะรักษาหายได้ทันท่วงที มีโอกาสป่วยหนัก

การติดตามสัมภาษณ์หลังจากนั้นพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่สอง มีการตื่นตัวรับรู้ถึง BSE สูงกว่ากลุ่มแรก แบบมีนัยยะสำคัญ แม้ทั้ง 2 โบรชัวร์เหมือนกัน แต่การเปลี่ยนข้อความ "เน้นย้ำถึงการสูญเสีย" กลับได้ผลกระทบที่สูงกว่า

อีกการทดลองเพื่อให้เห็นชัดเจนว่า Loss Aversion ทำงานยังไง ?
มีกล่องจับฉลาก 2 กล่องให้เลือก

กล่องแรก: ได้เงิน 10,000 บาทชัวร์ๆ
กล่องที่สอง: อาจจะได้เงิน 20,000 บาท หรือ ไม่ได้อะไรเลย
คนส่วนใหญ่จะเลือกกล่องแรก...

อีกการวิจัยหนึ่งของ Daniel Kahneman และ Amos Tversky กับการเลือกซื้อรถ
เวลาเราไปเลือกซื้อรถเต็มฟังก์ชั่น กับรถที่ยังไม่ได้เพิ่มฟังก์ชั่น ทางร้านเปิดตัวขายรถที่เต็มฟังก์ชั่นในราคา 1,000,000 กับรถโมเดลพื้นฐานอยู่ที่ 900,000

ปรากฏว่า คนส่วนมากให้ความสนใจกับโมเดลพื้นฐานแต่มาเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆทีหลัง โดยมีความรู้สึกว่าตัวเองได้กำไร แต่ถ้าหากเริ่มขายที่โมเดลเต็มฟังก์ชั่น แล้วนำคุณสมบัติออกทำให้รู้สึกเหมือนสูญเสีย

ทั้งๆ ที่จำนวนเงินก็เท่ากัน แต่เรากลับให้น้ำหนักความรู้สึกกับมันไม่เท่ากันเสียอย่างนั้น การที่เรามัวแต่โฟกัสกับความเสียหาย มันทำให้เราไม่ได้นึกถึงวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยให้เราได้ผลกำไร

Loss Aversion กับบริษัทประกันชีวิต
Loss Aversion อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทประกันชีวิตทั่วโลก มันทรงพลังขนาดทำให้คนเรายอมจ่ายค่าประกันแพงๆ ติดต่อกันเป็นสิบๆ ปีให้กับบริษัทประกันชีวิต แม้ว่าโอกาสที่เราจะเสียชีวิตมีน้อยมาก เพราะว่าเขาจับจุดความกลัวที่สูญเสียของมนุษย์ตรงนี้ได้

Loss Aversion กับชีวิตคู่
สังเกตุดูง่ายๆว่าคู่รักที่คบกันนานๆ มักจะไม่กล้าเลิกกันง่ายๆ บางคนต้องทนทุกข์ทรมานเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ต่อไป เพียงเพราะว่าเสียดายเวลา เสียดายอะไรต่างๆนาที่ทำร่วมกันมา จึงทำให้ไม่กล้าที่จบความสัมพันธ์ที่เป็นToxic

Loss Aversion กับการลงทุน
ความกลัวขาดทุน จุดอ่อนนี้ส่งผลให้การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนของมนุษย์ผิดพลาดไปหมดและทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น คือการที่คุณยินดีที่สละโอกาสในได้รับผลตอบแทนมากเกินไปเพียงเพื่อแลกกับการเลี่ยงที่จะไม่ต้องขาดทุน

ยกตัวอย่าง Loss Aversion กับการลงทุนในหุ้น หากเห็นว่ากำไรน้อยลงกว่าเมื่อวาน สมองจะตีความว่าเป็นการสูญเสีย ทำให้ไม่ยินดีที่จะขายออกแม้ว่าตนเองยังคงกำไรอยู่ก็ตาม

ยิ่งตลาดลงไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งที่จะไม่ยอมขาย จนกระทั่งไม่เห็นโอกาสที่จะกลับมากำไรเหมือนเดิมจึงขายออกมาในจุดที่กำไรน้อยหรือไม่ก็ขาดทุน

โดยรวมแล้ว การเลือกสินทรัพย์ที่ดีจึงไม่สามารถให้ผลตอบแทนดีได้ เนื่องจากการตัดสินใจอย่างไม่สมเหตุสมผล ได้แก่ การเดินไปในที่ที่ไม่คุ้นเคยด้วยความมั่นใจเกินไปแทนที่จะระมัดระวัง การซื้อหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่ควรทยอยขายออกในภาวะตลาดขาขึ้น

หรือการไม่กล้าขายทำกำไรขณะที่ยังมีโอกาสในภาวะตลาดขาลง เป็นต้น "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"

แก้ปัญหา loss aversion ได้อย่างไร?

1. ขอบคุณสิ่งที่เข้ามา
วิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะความกลัวการขาดทุนคือ การยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและสำนึกรู้คุณกับสิ่งที่คุณมีอยู่ มองหาข้อดีในสถานการณ์นั้นๆ

เตรียมพร้อมที่จะประสบความสำเร็จไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณให้มองหาข้อดีและเรียนรู้จากมัน ขอบคุณทุกประสบการณ์ที่เข้ามาสอนคุณให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

2. มองการไกล
วางแผนทุกอย่างด้วยการมองการไกล มองภาพความสำเร็จในอนาคต ไม่เอาตัวเองมาติดกับกับดักคิดวนเวียนกับความผิดพลาดที่ทำลงไปเมื่อวาน

การมองไปข้างหน้าจะช่วยให้คุณวางตำแหน่งตัวเองเพื่อไม่ให้พลาดโอกาส ลองนึกภาพว่าพื้นที่นี้จะเป็นอย่างไรในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนโลกโดยสิ้นเชิง  ดังที่บิล เกตส์กล่าวไว้ว่า

"คนส่วนใหญ่ประเมินค่าสูงไปในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ใน 1 ปี และประเมินค่าสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ใน 10 ปีต่ำไป"

3. เตรียมพร้อม ยอมรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
พาตัวเองออกมาจาก Comfort zone กล้าที่จะเสี่ยงเพื่ออะไรที่ดีกว่า ให้มองว่ามันเป็นความตื่นเต้นและท้าทาย หากทำพลาดไปก็เปลี่ยนใหม่ไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม

4. เปลี่ยนชุดความคิดและวิถีการใช้ชีวิต
คิดในเชิงบวก หาความรู้หรือข้อมูลดีๆในการพัฒนาทักษะของตัวคุณเอง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน ในการใช้เวลา 24 ชม ของ ก และ ข

ก :เลือกที่จะเสพแต่สื่อดีๆที่ให้ความรู้กับตัวเอง และพัฒนาจิตใจและอามรณ์ให้ดีขึ้น เวลาคนกลุ่มนี้ไปพบปะเพื่อนฝูง ก็จะชาร์แต่ข้อมูลดีๆให้กัน ส่งเสริมความฉลาดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก

ข :เลือกเสพแต่ข่าวบ้านเมืองที่ชลมุนวุ่นวาย ยิ่งดูยิ่งทำให้รู้สึกหดหู่ใจ  เวลาไปพบป่ะกับเพื่อนก็ยกเรื่องเหล่านี้มาเป็นประเด็นพูดคุย ไม่ว่าจะนินทาหรือวิจารณ์คนอื่น