เทรด Forex ระหว่าง Timeframe เล็ก VS Timeframe ใหญ่ อันไหนดีกว่ากัน

เริ่มโดย support-1, กันยายน 07, 2023, 02:15:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

เทรดเดอร์ที่เริ่มเทรดใหม่ๆ ก็จะสงสัยเสมอว่า ควรจะเลือกเทรดหรือกำหนด trade setup จาก timeframe ไหนดี สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าจะเทรดช่วงเวลาไหนหรือ timeframe ไหนดี ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเทรดของท่านเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นการเทรดตั้งแต่แบบ Scalping จนไปถึงการเทรดแบบถือ Position ดังนั้นในฐานะที่เป็นเทรดเดอร์ สิ่งแรกเลยต้องเลือก Timeframe ให้เหมาะกับรูปแบบและสิ่งแวดล้อมการเทรด

เข้าใจ Timeframe กับแท่งเทียนก่อน



รูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เทรดเดอร์นิยมมากสุดน่าจะเป็นแท่งเทียนหรือ Candlestick ก่อนอื่นต้องมาดูว่า แท่งเทียนนำเสนอเรื่องของ Timeframe อย่างไร แต่ละแท่งเทียนถือว่าเป็นการบอก trading transactions ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแท่งเทียน เช่นอย่างใน Metatrader 4 มีให้ท่านเลือกถึง 9 timeframes คือ M1, M5, M15, M30, H1, H4, D1, W1 และ MN ส่วนประกอบของแท่งเทียนมีดังนี้ ช่วงเวลาหรือแท่งเทียนแต่ละ timeframe, ราคาเปิด, ราคาสูง, ราคาต่ำ และราคาปิด
โดยที่ราคาเปิดก็จะอ่านต่อเริ่มจากราคาปิดของแท่งเทียนก่อน แล้วก็เริ่มว่ามี trading transactions เกิดที่ช่วงราคาไหน ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ไหน และจบด้วยราคาปิดเมื่อหมดเวลาช่วงแท่งเทียน จะเห็นว่าตัวแปรสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องการคือดูว่า trading transactions ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาเกิดที่ไหน และเกิดอย่างไร เช่น ถ้าเป็นเทรดเดอร์แบบ Scalping ก็จะมองหา trading transactions ที่เกิดขึ้นมากในเวลาอันสั้น เลยจะมองแท่งเทียนที่มี timeframe น้อยลง เช่น M5 หรือ M15 แล้วก็ดูว่าช่วงเวลาไหนมี transactions เกิดขึ้นมาก พร้อมกับการตีความของแท่งเทียน จากส่วนประกอบของแท่งเทียนจากราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิด ก็จะมองเป็นขนาดแท่งเทียน พร้อมทั้งเรื่องของส่วนที่เป็น Body หรือ Real Body ที่บอกราคาเปิดและราคาปิดอยู่ช่วงไหน ส่วนที่เป็นหางแท่งเทียนหรือ wick ยังบอกถึง trading pressure ที่เกิดแต่ละด้านด้วย เทรดเดอร์ก็จะใช้ข้อมูลของ trading transactions และความหมายของแท่งเทียนเพื่อช่วยในการวิเคราะห์การเทรด

Timeframe เล็กและใหญ่



เมื่อพิจารณจากส่วนประกอบของแท่งเทียน ตั้งแต่ช่วงเวลาแต่ละแท่งเทียน พร้อมด้วยราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำและราคาปิด เมื่อมองต่าง timeframe เป็นอันเดียวกัน แต่ที่ต่างคือ ช่วงราคาที่เกิดการเทรดหรือ trading transactions ที่เกิดขึ้น เมื่อมองแท่งเทียนจาก timeframe เล็ก ก็จะเห็นรายละเอียดด้าน trading transactions มากขึ้น ว่า trading pressure หรือมองหา imbalance ระหว่างออเดอร์เกิดที่ช่วงไหนได้ง่ายและชัดเจน แต่ทางกลับกันเนื่องจากช่วงเวลาอันสั้นของแท่งเทียนใน timeframe เล็ก การเทรดที่เกิดขึ้นไม่มากพอ ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญว่าราคาจะดันไปทางไหนจริงหรือเปล่า ความไม่สมดุลย์อาจเกิดจากการปิด positions เพื่อออกจากตลาดก็ได้ ต่างจากเมื่อมองจาก timeframe ใหญ่ขึ้น รายละเอียดที่ได้จาก trading transactions ก็มากขึ้น การที่ความไม่สมดุลย์หรือ trading pressure ที่เห็นใน timframe ใหญ่ขึ้นเลยเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่า จะเห็นว่าเทรดเดอร์เลยนิยมกำหนด trade setup หรือ trend จากข้อมูลมาจาก timeframe ใหญ่แล้วหาจุดเข้าเทรดที่ timeframe ย่อยหรือเล็กลงมาเพื่อเข้าและออกเทรดได้ถูกพื้นที่กว่า

ข้อเสียของการเทรด timeframe เล็กและใหญ่

เช่น การเทรดด้วยการอ่านแท่งเทียน อย่างรูปแบบการเทรด แนวรับ แนวต้าน หรือ supply/demand หรืออื่นๆ เงื่อนไขการเทรดก็จะเกิดขึ้นบ่อย ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของ Impulsive move และการมองต่าง timeframe  ข้อเสียข้อแรก ก็จะทำให้โอกาสเกิดการสูญเสียได้มากเพราะเข้าเทรดบ่อย เพราะ trade setup ก็จะเกิดขึ้นบ่อย ข้อสอง ผลกระทบต่อจิตใจหรือสภาพจิตเยอะ เพราะเมื่อมองแท่งเทียนใน timeframe เล็กมีออเดอร์ที่เปิดอยู่ และเยอะด้วย ถ้าไม่มีประสบการณ์มากพอก็จะถูกกระตุ้น ความเร็วของ price structure และ price action ที่เกิดใน timeframe เล็กกระตุ้นให้อยากเทรด หรือเกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใน timeframe ย่อย ยิ่งการเปิดเทรดด้วยล็อตที่มากก็จะกระทบมากขึ้นด้วย ราคาจะกระตุ้นให้เกิดความกลัวและโลภขึ้นมา หรืออีกข้อเช่น เป็นวันที่มีข่าวแรงๆ เช่น Non-Farm ที่มีเรื่องของ volatility มาก ก็จะทำให้เกิดการเสี่ยงมากเพราะความเร็วที่ราคาขึ้นหรือลงไม่กี่นาที ก่อนที่ราคาจะดันไปทางใดทางหนึ่งอย่างจริงจัง

ส่วนข้อเสียของการเทรด timeframe ใหญ่ สิ่งที่เห็นชัดคือการเคลื่อนไหวราคาช้าเมื่อเทียบกับแท่งเทียนใน timeframe เล็ก เช่นกว่า trade setup จะเกิดขึ้นได้ของ H1 หรือ H4 ชาร์ตก็ต้องใช้เวลานาน แต่ข้อดีมีเยอะเช่น แม้ว่า Trade setup ใช้เวลานาน แต่ถ้าเกิดขึ้นความเป็นไปได้สูงก็จะเกิดขึ้นด้วย เพราะ price structure ที่เกิดขึ้นใน timeframe ที่ใหญ่กว่าก็จะให้ข้อมูลที่น่าเชือถือกว่า เรื่องของ Risk:Reward แต่ละ trade setup ก็จะดีด้วย เรื่องของจุดเข้าและจุดออกก็จะชัดเจนกว่า เพราะเห็นจุดอ้างอิงได้ชัดเจน เรื่องของอารมณ์จัดการได้ดีกว่า ไม่โดนกระทบจากการเคลื่อนไหวเร็วของราคาเมื่อเทียบกับ trade setup ใน timeframe เล็ก  แต่ก็ต้องใช้เวลาและความอดทนมาก กว่าที่ราคาจะวิ่งไปตามคาดการณ์ตามความเป็นไปได้

เทรดด้วย multi-timeframe ใช้เล็กและใหญ่ช่วยกัน



จะเห็นว่าการเทรดใน timeframe เล็กและใหญ่ก็จะมีข้อดีและเสียต่างกัน ส่วนมากการเทรด timeframe ใหญ่ ก็จะได้เปรียบกว่า แต่เสียคือเรื่องของความอดทนและเวลา ใช้เวลานานกว่า trade setup ที่เกิดผลออกมาอย่างไร ต่างจากการเทรดใน timeframe เล็ก อย่างเช่นการเทรดแบบ scalping ใน timeframe M15 หรือ M5 ที่ต้องคอยเฝ้าจอตลอด เพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดขึ้นเร็วและการเทรด Risk:Reward ในระยะไม่กี่ pips และอารมณ์มักจะถูกกระทบต่อเรื่องความโลภและกลัวได้ง่าย วิธีการที่เทรดเดอร์มีประสบการณ์นิยมคือใช้ทั้งจุดแข็งของ timeframe ใหญ่และเล็กช่วยกัน คือใช้ timeframe ใหญ่เพื่อกำหนด trade setup และ risk:reward และ timeframe ย่อยเพื่อจุดเข้าและออกเทรด ตาม trade setup ที่เห็นใน timeframe ใหญ่ และที่สำคัญการจัดการอารมณ์ก็จะได้ดีกว่า ถ้าอดทนเป็นและปล่อยให้เวลาสำหรับแต่ละ trade setup ทำงานออกมาเป็นผลอย่างไร

ดังนั้นการเลือก timeframe เล็กหรือใหญ่ต่างมีข้อดีและเสียต่างกัน แล้วแต่รูปแบบการเทรด ขึ้นอยู่กับความชำนาญและวิธีการเทรดของแต่ละเทรดเดอร์ด้วย แต่เนื่องจากข้อมูลที่มาจาก timeframe เล็กน้อยไปเมื่อเทียบกับ timefrmae ใหญ่กว่า การเปิดเทรดหรือการกำหนด trade setup ควรจะให้สัมพันธ์กับ timeframe ใหญ่ขึ้นจะดีที่สุด และใช้ timeframe เล็กลงไปเพื่อหาโอกาสการเทรดที่บ่อยขึ้น