อินดิเคเตอร์แบบ Lagging หรือ Leading ต่างกันอย่างไร

เริ่มโดย support-1, ตุลาคม 06, 2023, 02:29:14 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

หลักการทำงานของอินดิเคเตอร์ก็จะเป็นการคำนวณจากข้อมูลหรือ price data ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นหลัก รูปแบบวิธีการต่างกันออกไปทำให้เกิดเป็นอินดิเคเตอร์หลายๆ ชื่อ แต่สรุปแล้วมี 2 ประเภทด้วยกันคือแบบ Lagging indicators และ Leading indicators  เช่นตัวอย่างของอินดิเคเตอร์ที่ง่ายสุดคือ Moving Average หรือ MA ด้วยการกำหนดหาค่าเฉลี่ยจากช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อดูทิศทางราคาปัจจุบันว่าน่าจะยู่ที่ระดับไหนเพื่อช่วยยืนยันเทรน

อินดิเคเตอร์แบบ Lagging กับ Leading ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว



อินดิเคเตอร์แบบ Lagging (แบบให้ข้อมูลช้า) ใช้ข้อมูลราคาที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาสัญญานในการเข้าเทรดและออกเทรด ส่วนอินดิเคเตอร์แบบ Leading ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่เป็นตัวบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของราคาที่จะเกิดขึ้น การเข้าใจและการเลือกใช้ให้ถูก ให้เข้ากับสถานการณ์เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์ต้องทำให้ได้ เช่นเทรดเดอร์บางคนใช้แบบ Lagging เพื่อเป็นการยืนยันก่อนว่าราคาอยากไปทางนั้นจริงๆ ค่อยเปิดเทรด เพื่อให้มั่นใจว่าได้เวลา (timing) ที่ความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เปิดเผยออกมา แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งคือราคามีการวิ่งไปแล้วเพราะ Lagging ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อยืนยัน แต่ Leading อินดิเคเตอร์ก็ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น จึงอาจทำให้เทรดได้ดีกว่า แต่โอกาสที่ราคาวิ่งสวนก็มีเช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้ lagging หรือ leading อินดิเคเตอร์ก็ต่างกันออกไปแล้วแต่ความชอบของเทรดเดอร์ หรืออาจใช้ประกอบกันก็ได้ เช่นการเทรดแนวรับ-แนวต้าน ใช้ price action ที่ยืนยันด้วยอินดิเคเตอร์เป็นตัวเข้าเทรด

ความแตกต่างระหว่างอินดิเคเตอร์แบบ Lagging และแบบ Leading



อินดิเคเตอร์แบบ Lagging เป็นทูลที่เทรดเดอร์ใช่เพื่อวิเคราะห์ตลาดด้วยการใช้ค่าฉลี่ยของข้อมูลหรือราคาที่จบไปแล้ว ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากอินดิเคเตอร์ประเภทนี้จะให้ข้อมูลช้ากว่าตลาด ก็จะทำให้เทรดเดอร์ได้เห็นการเคลื่อนไหวก่อนที่อินดิเคเตอร์ประเภทนี้จะยืนยัน นั่นเลยทำให้เทรดเดอร์ถ้าเปิดเทรดด้วยการใช้อินดิเคเตอร์แบบนี้เป็นตัวบอกการเข้าหรือการออก มักจะพลาดตอนเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวของราคาเยอะพอสมควร เพราะราคาได้เคลื่อนไปก่อนแล้ว แล้วอินดิเคเตอร์ค่อยยืนยัน เทรดเดอร์ก็จะใช้ยืนยัน Momentum ที่เกิดขึ้น อินดิเคเตอร์ประเภทนี้เช่น Moving Average Convergence Divergence (MACD), Simple Moving Averages (SMA), Stochastic Oscillator, Relative Strength Index (RSI) ซึ่งข้อเสียคือราคาได้เคลื่อนไปหลาย pips แล้ว เลยทำให้เทรดเดอร์บางกลุ่มมองว่า Lagging Indicators ทำให้พลาดโอกาสตอนเทรนเริ่มได้ ตัวอย่างเช่น Stoch ที่ยกตัวอย่างภาพมาประกอบ จะเห็นว่าราคาได้ขยับไปเยอะแล้วกว่าที่อินดิเคเตอร์จะยืนยัน นี่คือตัวอย่างการทำงานของอินดิเคเตอร์แบบ Lagging  แต่เมื่อเข้าใจว่าอินเคเตอร์ประเภทนี้ทำงานอย่างไร ถ้าเป็นการเปิดเทรดด้วย price action เป็นต้น แล้วพอเห็นอินดิเคเตอร์ยืนยันก็สามารถปล่อยให้กำไรวิ่งไปมากกว่าเดิมได้ นี่คือหลักการที่เทรดเดอร์ที่มีประสบการร์ประยุกต์ใช้อินดิเคเตอร์ประเภทนี้ เพราะเป็นตัวยืนยันว่าการเทรดถูกทาง

อินดิเคเตอร์แบบ Leading ก็เป็นทูลด้านเทคนิคการเทรดที่ใช้ข้อมูลเดียวกันกับแบบแรก คือใช้ข้อมูลราคาที่เกิดขึ้นไปแล้วมาช่วยในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นหลักการข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์ประเภทนี้ก็จะมีโอกาสให้เทรดเดอร์ได้เข้าเทรดตอนจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ เพราะการเข้าเทรดก่อนการเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นจริงและยังไม่มีอะไรยืนยัน โอกาสที่ราคาจะวิ่งสวนก็เยอะเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องของ False Breakout ที่เกิดขึ้นบริเวณแนวรับ-แนวต้าน ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่อธิบายได้ดีที่สุด หรือสัญญาณการกลับตัวช่วงที่เกิดขึ้นตอนราคามีการย่อตัวเล็กน้อยแต่ราคาไปต่อ อินดิเคเตอร์พวกนี้จะเป็นพวกแนวรับ-แนวต้าน Fibonacci retracement, Donchain channels เป็นต้น



ตัวอย่างด้านบนเป็นการใช้ Fibonacci Retracements พร้อมด้วย S/R level ในที่นี้คือ Supply ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ราคาเอาชนะ Demand และราคาลงไปเอาชนะ Low ด้านล่างได้ เราใช้ Fibo เพื่อคาดการณ์ว่าราคาจะเกิดการกลับตัวตรงไหน จะเห็นว่าตัวเลขราคากลับตัวที่ 38.2 50.0 และ 61.8 ตามหลักการของ Fibo ที่บอกว่าถ้า Momentum แรงก็จะไม่ย่อตัวมากและที่สำคัญยังเกิด Confluence กับ Supply ที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย ทั้ง 2 เป็น technical analysis/indicators ที่ยืนยันกันเอง แต่พอเข้าเทรด Sell ตรงที่วงกลมจะเห็นว่าเกิด False Breakout หรือ Stop Hunt ก่อน ดังนั้นเมื่อเข้าเทรดด้วยข้อมูลที่มาจาก Leading Indicators โอกาสเกิดแบบนี้ก็จะมี แต่เมื่อมองมาที่ตรงส่วน Stoch ด้านล่างที่ถือว่าเป็น Lagging Indicator จะเห็นว่าเกิดขึ้นเมื่อราคาได้เคลื่อนไปเยอะแล้ว

ข้อดีและข้อจำกัดของอินดิเคเตอร์แบบ Leading และ Lagging

จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ประเภทต่างมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันออกไป ข้อดีของ Leading Indicators คือทำให้เข้าเทรดที่จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวได้ แต่เพราะไม่มีอะไรยืนยัน เลยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจตลาดมากพอ และใช้ price action ประกอบเป็น เนื่องจากเป็นทูลที่ต้องใช้ความรู้และเข้าใจมาก เลยอาจทำให้ยากไปสำหรับเทรดเดอร์รายใหม่ๆ ที่ต้องการเข้าเทรด ส่วน Lagging Indicators เพราะเป็นทูลที่ยืนยันการเคลื่อนไหวราคาที่ได้เกิดขึ้น ข้อดีที่เห็นอย่างเช่นเรื่องของ False Breakout จะเห็นว่าช่วยลดการเทรดพลาดแบบนี้ได้ดี แต่ข้อเสียคือต้องพลาดไปหลาย pips ของการเคลื่อนไหว เพราะต้องรอการยืนยันที่เกิดขึ้นตามการทำงานของอินดิเคเตอร์ และอีกอย่างอินดิเคเตอร์พวกนี้ไม่มีความสนใจเรื่องของ Key levels ที่สำคัญอย่างแนวรับ-แนวต้าน ดังนั้นในการเทรดต้องใช้ให้เป็น

เทรดเดอร์ที่เข้าใจตลาดทำงานอย่างไร เช่นการทำงานเรื่องออเดอร์ ว่าเมื่อการเทรดจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีออเดอร์ตรงข้าม ณ พื้นที่ที่ต้องการเปิดเทรด และขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะมากพอที่จะปั่นหรือดันราคาไปตามที่พวกเขาต้องการได้ อย่างเรื่องของ False Breakout เป็นตัวอย่างที่ดีที่บอกถึงการทำงานของตลาดและการเข้าเทรดของขาใหญ่ได้ดี เพราะการเทรดจะเกิดขึ้นได้ เมื่อท่านเปิดเทรดแล้วต้องมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่ท่านเปิดเทรดด้วย อย่าง False Breakout ขาใหญ่เห็น stop orders ของเทรดเดอร์ที่เข้าก่อนพวกเขาเลยปั่นราคาให้ขึ้น ก็จะกลายเป็น buy market orders วิ่งไปหา sell limit orders ด้านบนของพวกเขาได้ พวกเขาเลยได้เข้าเทรด (ตรงส่วนนี้เป็นการรู้ทันว่าขาใหญ่เทรดอย่างไรที่ Leading Indicators) และพอพวกเขาเข้าเทรดได้ดันราคาลงมา Lagging Indicator ก็ยืนยันพอดี เป็นการดึงเทรดเดอร์ที่เทรดด้วยการรอข้อมูลจากประเภท Lagging indicators ให้หันมาเทรดทางที่พวกเขาเทรด พวกเขาก็จะมีคนเร่งราคาให้ จึงสามารถปล่อยให้กำไรมากขึ้นได้