Round Numbers (RN) ตัวเลขกลมๆ ที่แนวจิตวิทยา (Psychological levels)

เริ่มโดย support-1, กุมภาพันธ์ 27, 2024, 05:19:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

ราคาที่ลงท้ายด้วยตัวเลขกลมๆ 00 หรือ 000 หรือ 50 หรือ 20 สะท้อนอะไรบางอย่างให้เห็นที่ price chart ดูสิ่งที่ราคาบอก สะท้อนว่าเทรดเดอร์คิดอย่างไร จึงมีการบอกว่า Round Number เป็นตัวเลขเชิงจิตวิทยา ที่สะท้อนถึงว่าตัวเลขพวกนี้สัมพันธ์กับวิธีการคิดและตัดสินใจของเทรดเดอร์อย่างไร ทำให้ตัวเลขหลักกลมๆ กลายเป็นตัวเลขที่เทรดเดอร์มักจะโต้ตอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นตัวเลขที่ดึงดูด Liquidity

Round numbers กับการโต้ตอบของเทรดเดอร์

You cannot view this attachment.

Round numbers เป็นตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 000 00 ตัวหลักๆ ตัวรองลงมาก็เป็น 50 หรือ 20 ยิ่งตัวเลข 0 มากยิ่งบอกถึงความสำคัญ และที่สำคัญอย่างที่เห็นในชาร์ตที่ยกตัวอย่างมาประกอบ ตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 000 หรือ 00 พวกนี้มักจะกลายเป็นหรืออยู่พื้นที่แนวรับหรือแนวต้าน ที่ตรงเลขลงท้ายพวกนี้กลายเป็นพื้นที่แนวรับหรือแนวต้าน เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะอ้างถึงอะไรที่จำได้ง่ายๆ เช่น ถ้าซื้อของที่ราคา 97 บาท ก็มักจะบอกว่าราคา 100 บาท  เป็นสิ่งสะท้อนว่ามนุษย์เวลาที่ตัดสินใจเกี่ยวกับตัวเลขมักจะอิงค่าอะไรที่ง่ายๆ ขบวนการการตัดสินใจในการเทรดก็เช่นกัน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นชัดในราคาจึงมักจะมีการโต้ตอบที่ Round numbers พวกนี้เป็นประจำ เลยทำให้ตัวเลขพวกนี้กลายเป็น Key levels สำคัญในการวิเคราะห์ เลยมักจะเรียกตัวเลขที่พื้นที่ราคาพวกนี้ว่าเป็น Psychological levels  พื้นที่มีตัวเลขพวกนี้เทรดเดอร์ก็จะใช้เพื่อ เปิดเทรด ออกเทรด หรือเป็นพื้นที่ stop levels ประจำเมื่อเกิดขึ้น

Round Numbers ถือว่าเป็นตัวเลขเชิงจิตวิทยา หรือพื้นที่แนวรับ-แนวต้านเชิงจิตวิทยาที่ทำงานและมีการโต้ตอบประจำ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เกี่ยวกับตัวเลขว่าจะอิงอะไรที่ง่ายๆ เป็นหลัก ออเดอร์ต่างๆ ที่เปิดขึ้นเพราะพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการเข้าเทรด การออกเทรด หรือกำหนด stop loss เลยทำให้เกิด liquidity มากขึ้น ทำให้เกิดออเดอร์ซึ่งจะมีการเข้าและออกมาก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ง่ายและเร็ว เพราะมีความไม่สมดุลย์เกิดได้เร็ว

หา Psychological levels บนชาร์ตอย่างไร

Round numbers เป็นตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 000 00 ตัวหลักๆ ตัวรองลงมาก็เป็น 50 หรือ 20 ยิ่งตัวเลข 0 มากยิ่งบอกถึงความสำคัญ และที่สำคัญอย่างที่เห็นในชาร์ตที่ยกตัวอย่างมาประกอบ ตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 000 หรือ 00 พวกนี้มักจะกลายเป็นหรืออยู่พื้นที่แนวรับหรือแนวต้าน ที่ตรงเลขลงท้ายพวกนี้กลายเป็นพื้นที่แนวรับหรือแนวต้าน เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะอ้างถึงอะไรที่จำได้ง่ายๆ เช่น ถ้าซื้อของที่ราคา 97 บาท ก็มักจะบอกว่าราคา 100 บาท  เป็นสิ่งสะท้อนว่ามนุษย์เวลาที่ตัดสินใจเกี่ยวกับตัวเลขมักจะอิงค่าอะไรที่ง่ายๆ ขบวนการการตัดสินใจในการเทรดก็เช่นกัน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นชัดในราคาจึงมักจะมีการโต้ตอบที่ Round numbers พวกนี้เป็นประจำ เลยทำให้ตัวเลขพวกนี้กลายเป็น Key levels สำคัญในการวิเคราะห์ เลยมักจะเรียกตัวเลขที่พื้นที่ราคาพวกนี้ว่าเป็น Psychological levels  พื้นที่มีตัวเลขพวกนี้เทรดเดอร์ก็จะใช้เพื่อ เปิดเทรด ออกเทรด หรือเป็นพื้นที่ stop levels ประจำเมื่อเกิดขึ้น

Round Numbers ถือว่าเป็นตัวเลขเชิงจิตวิทยา หรือพื้นที่แนวรับ-แนวต้านเชิงจิตวิทยาที่ทำงานและมีการโต้ตอบประจำ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เกี่ยวกับตัวเลขว่าจะอิงอะไรที่ง่ายๆ เป็นหลัก ออเดอร์ต่างๆ ที่เปิดขึ้นเพราะพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการเข้าเทรด การออกเทรด หรือกำหนด stop loss เลยทำให้เกิด liquidity มากขึ้น ทำให้เกิดออเดอร์ซึ่งจะมีการเข้าและออกมาก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ง่ายและเร็ว เพราะมีความไม่สมดุลย์เกิดได้เร็ว

หา Psychological levels บนชาร์ตอย่างไร

You cannot view this attachment.

แม้ว่าตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 000 หรือ 00 มักจะเป็นตัวเลขที่เกิดแนวรับ-แนวต้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกตัวเลขพื้นที่จะทำหน้าที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน ต้องมีการเลือกด้วยการดูว่าราคามีการโต้ตอบตัวเลข RN ไหนเป็นพิเศษที่ผ่านมา เพราะการทำให้เกิด liquidity ที่พื้นที่นั้นๆ ไม่ได้มาจากการเข้าเทรดอย่างเดียว แต่มาจากการออกเทรดด้วย วิธีการง่ายสุดให้ดูราคาโต้ตอบเป็นหลักแล้วก็โฟกัสที่ Round Number นั้นๆ ว่าราคาเปิดเผยอย่างไร ดูการโต้ตอบเรื่องของ rejection หรือ break หรือเป็นพวกวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ หรือเรียกกว่า Builldup ประกอบ เช่นที่ 1.1000 เริ่มมองที่เลข 1 เราไม่แน่ใจว่าตอนลงมาก่อนที่จะถึงเราไม่แน่ใจว่า RN ตัวนี้จะเป็นกลายเป็นพื้นที่แนวรับหรือเปล่า อย่างแรกดู price structrure และการพัฒนาการของราคาที่เกิดขึ้นประกอบ และมองย้อนกลับไปที่บอว่า RN มักจะกลายเป็นพื้นที่ Phsychological level เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะจำและจัดการอะไรที่ตัวเลขจำง่ายๆ ทั้งที่การมาครั้งแรก ไม่มีอะไรที่บอกว่าน่าจะเป็นแนวรับ แต่พอราคามาถึง ราคาเริ่มหยุดและ consolidation ได้เพราะอะไร หลักการอออเดอร์บอกว่าเพราะขาดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เพราะ sell ไม่ได้เกิน Buy นั่นเอง ดูที่การกลับมาที่เลข 2 เห็นได้ชัดเพราะครั้งแรกได้เคยเกิด rejection ให้เห็น ธรรมชาติของคนก็จะมองย้อนอดีต เรื่องเดิมๆ น่าจะเกิดขึ้น พอราคามาถึงจะเห็นว่าทำแบบเดิมๆ มีการเปิด Buy เข้าไปเลยทำให้ราคาหยุด เกิดการ match-and-fill ออเดอร์ทั้งสองข้าง รายย่อยรู้ ขาใหญ่รู้ และเรื่องสำคัญในการเทรดอีกอย่าง ต้องเข้าใจเรื่องของ liquidity ด้วย การเทรดต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ เนื่องจาก RN เป็นร่องรอยที่มีการโต้ตอบ  เลยมักจะทำให้เกิด liquidity มากตรงพื้นๆ นั้นด้วย หลักการแบบเดียวกับการเทรดแนวรับ-แนวต้าน เพราะ RN มักจะกลายมาเป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน เลยมักจะเห็นเรื่องของ stop hunt หรือ false breakout เกิดขึ้นประจำ อย่างที่เกิดก่อนที่ตรงเลข 3 จะเกิดขึ้น
การหา RN ที่กลายมาเป็น Phsychological level หรือกลายมาเป็นแนวรับแนวต้าน ให้ดูราคาเปิดเผยบอกว่าตรงที่ราคาไหน และการดูให้ดูเป็นพื้นที่ราคา หรือมองเป็นกองออเดอร์ที่อยู่รอบๆ RN ดูอย่างการโต้ตอบที่เปิดเผยที่ 1.11000

Round Numbers ที่กลายมาเป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน แยกให้ออกว่าเป็น Major หรือ Minor

You cannot view this attachment.

อย่างที่กล่าวมาการที่บอกว่า RN ไหนสำคัญหรือเป็นแหล่งดึงดูด liquidity ให้ดูราคาโต้ตอบบอก เพราะไม่ได้โต้ตอบทุก RN และการโต้ตอบแต่ละ RN ที่ถือว่าเป็น Phsychological level ต่างกันออกไปไม่ได้เท่ากัน ต้องให้ความสำคัญแยกระดับการโต้ตอบและการมองต่าง timeframe ประกอบว่า RN ไหนกลายมาเป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้านหลัก อันไหนเป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้านรอง เมื่อท่านมองชาร์ตท่านต้องดูว่าราคาโต้ตอบ RN อย่างไร เปิดเผยกลายมาเป็นแนวรับหรือแนวต้านได้หรือเปล่า และมอง timeframe ย่อยลงไป ดูการเคลื่อนไหวของราคาไปที่ RN  นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรจาก price structure แล้วดูราคาปิด ถ้าเบรคเป็นการเบรคอย่างไร ถ้าเด้งออกหรือ rejection เป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้ท่านเทรดตาม price structure ที่เกิดขึ้นและใช้ประโยชน์จาก liquidity จาก RN level พวกนี้ได้อย่างถูกต้องเพิ่มความเป็นไปได้ในการเทรด เช่นอย่างภาพประกอบ มองภาพใหญ่จาก D1 และใช้ Round Numbers ประกอบเพื่อดูว่าพื้นที่ตรงไหนที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน เช่นที่ราคา 1.10000 ดูปริบทหรือ price structure ประกอบ จะเห็นว่าราคาได้เด้งจาก RN 1.09000 ด้านล่างขึ้นไป พอไปดูราคาโต้ตอบดูที่ H1 ประกอบว่าโต้ตอบอย่างไร พอราคาเบรคและปิดบนได้เลยเปิดโอกาสให้เปิดเทรด Buy แบบง่ายๆ ได้

การหา trade setup ด้วย RN

จากที่อธิบายมา RN ให้ดูว่าเทรดเดอร์อยากโต้ตอบ price level นั้นๆ หรือเปล่า ดูการดูย้อนหลัง และดู price structure ที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์มักจะใช้ RN กับ technical analysis อื่นๆ เช่นเรื่องของ S/R หรือ Supply/demand เป็นเรื่องของ Confluence กับ technical analysis แบบอื่นๆ การเทรดก็เหมือนกับการเทรดแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด stop loss หรือ take profit
จะเห็นว่าการใช้ RN ประกอบชาร์ต อย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนคือช่วยให้เทรดเดอร์สแกน หรือหาพื้นที่สำหรับกำหนด trade setup ได้ง่ายด้วยการมองจากชาร์ตเปล่า แค่เข้าใจหลักการตลาดทำงานอย่างไร แต่ต้องแยกระดับให้ออกว่าเป็นแบบ Major หรือ Minor และต้องไม่ลืมว่าเนื่องจากพื้นที่พวกนี้มี liquidity มากเพราะเทรดเดอร์ต่างโต้ตอบทั้งที่อยู่ในตลาดและรอเข้า การล่า Liquidity จากขาใหญ่ก็มักจะเกิดเป็นประจำ