เทคนิคการซื้อขายด้วยการวิเคราะห์ Volume: Sentiment Analysis

เริ่มโดย support-1, มีนาคม 01, 2024, 02:30:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

support-1

บทความนี้เราจะมาพูดถึงการวิเคราะห์ความแข็งแรงของ Trend หรือแนวโน้มของราคา โดยพิจารณาจากอารมณ์หรือความรู้สึกของคน หรือที่เรียกกันว่า Sentiment Analysis และหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมในการวิเคราะห์ทางอารมณ์ ก็คือ การดู Volume การซื้อขาย ควบคู่กับการพยากรณ์ทิศทางราคา หรือ Trend

ความสำคัญของ Volume

อย่างที่นักลงทุนหลาย ๆ คนทราบกันดี Volume คือปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบแท่งด้านล่างของ Platform ถ้าปริมาณการซื้อขาย หรือ Volume สูง ก็หมายความว่ามีนักลงทุนกำลังซื้อขายในตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันถ้าปริมาณการซื้อขายลดต่ำลง นั่นคือ มีนักลงทุนกำลังซื้อขายในปริมาณที่ลดลง

สำหรับตลาดที่มีการเคลื่อนไหวแบบมีแนวโน้ม คือราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การใช้ประโยชน์จาก Volume จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการใช้อินดิเคเตอร์จำพวก Oscillator คือหาระดับราคาที่ Overbought ซื้อมากเกินไป หรือ Oversold ขายมากเกินไป โดยดูจากปริมาณการซื้อขาย ถ้าปริมาณการซื้อขายลดลง นั่นคือความแข็งแรงของแนวโน้มเริ่มลดลง อาจเข้าสู่จุดกลับตัว หรือจุดพักแบบเคลื่อนไหวในกรอบ

You cannot view this attachment.

โดยทั่วไปแล้ว Volume หรือปริมาณการซื้อขายมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ Support การวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ Technical Analysis โดยจะเป็นตัวยืนยันแนวโน้มว่าขึ้นหรือลงตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาถูกกดลงมาอย่างรวดเร็วหลังจากที่แนวโน้มของราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้นมาตลอด ซึ่งอาจจะเกิดจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อราคา การลดลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นท่ามกลางแนวโน้มขาขึ้นทำให้นักลงทุนไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าสัญญาณนั้นเป็นสัญญาณที่บอกจุดกลับตัว (trend reversal) หรือเป็นเพียงสัญญาณหลอกเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนำมาสู่การประยุกต์ใช้ Volume กับการวิเคราะห์สัญญาณ เพื่อแก้ปัญหาสัญญาณหลอกที่เกิดขึ้น

การนำ Volume ไปใช้กับการวิเคราะห์ความแข็งแรงของแนวโน้ม

การใช้ Volume เพื่อกรองสัญญาณหลอกนั้น จะใช้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง Volume ที่เกิดขึ้น กับ Volume เฉลี่ยใน n ช่วงเวลา ถ้าในบริเวณที่ตลาดส่งสัญญาณคล้ายการกลับตัวนั้น ปริมาณการซื้อขายมีสูงมากกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สัญญาณกลับตัวนั้นมีความน่าเชื่อถือสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นมีน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สัญญาณนั้นก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสัญญาณหลอก

ข้อสังเกตจากการใช้ปริมาณซื้อขายในการดูความแข็งแรงของแนวโน้ม

ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อ (แท่งเขียว) ต้องมากกว่าปริมาณการขาย (แท่งแดง) และในช่วงแนวโน้มขาลง ปริมาณการขาย (แท่งแดง) ต้องมากกว่าปริมาณการซื้อ (แท่งเขียว)

You cannot view this attachment.

ถ้าราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อนหน้านั้น หรือราคากระโดดขึ้นทั้งๆที่อยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง แต่ Volume การซื้อขายลดลงกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย เราอาจจะตีความได้ว่า ตลาดยังไม่เข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นที่แท้จริง มีแค่สัญญาณหลอก

You cannot view this attachment.

เช่นเดียวกับข้อ (2) แต่ปริมาณการซื้อขายมีค่าสูงกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สามารถพยากรณ์ได้ว่าราคาเข้าสู่จุดกลับตัว

ในกรณีที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีแนวโน้ม ถ้าปริมาณการซื้อขายลดลง นั่นคือความแข็งแรงของแนวโน้มเริ่มอ่อนกำลังลง และกำลังจะกลับทิศ หรือเข้าสู่การเคลื่อนที่แบบไร้แนวโน้มในอีกไม่ช้า