ข่าว:

กระทู้ล่าสุด

#31
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - พฤษภาคม 10, 2024, 02:01:49 ก่อนเที่ยง
USDCAD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 61.8% สัมพันธ์กับ Support เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

NZDCAD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily ราคากำลังสร้างรูปแบบที่บ่งบอกถึงโอกาสที่จะกลับตัวขึ้นอย่าง Double Bottom
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาได้ทะลุขึ้นมาปิดอยู่เหนือเส้น Neckline เป็นสัญญาณยืนยันว่ารูปแบบกลับตัวที่เกิดขึ้นสมบูรณ์ จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นตาม Chart Pattern ที่เกิด มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#32
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / ประโยชน์และวิธีใช้ Stochastic ...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - พฤษภาคม 09, 2024, 10:27:43 ก่อนเที่ยง
Stochastic Oscillator (STO) ถูกคิดค้นและพัฒนามาโดย Dr. George C. Lane เป็น indicator ที่เหมาะกับการวิเคราะห์ในตลาดที่เป็น Sideways รวมทั้งการลงทุนหรือเก็งกำไรในระยะสั้น หลักการทำงานของ STO คือ จะเคลื่อนไหวตาม momentum ของราคา (ไม่ได้เคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม หรือปริมาณการซื้อ-ขาย) ซึ่งโดยปกติ การเปลี่ยนทิศทางของ momentum นั้น จะเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนทิศทางของราคา  ฉนั้น STO จึงใช้บอกสัญญาณเตือนการกลับตัวของราคาที่อาจเกิดขึ้นได้

ประโยชน์และการนำไปใช้งาน

- พยากรณ์การกลับตัวของ momentum (Predict Momentum Reversal)
- บอกภาวะการซื้อหรือขายที่มากไป (Overbought – Oversold identification)
- บอกจุด ซื้อ-ขาย

1. พยากรณ์การกลับตัวของ momentum (Predict Momentum Reversal) ประกอบด้วย

 - ทำนายการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง (Bearish Divergence)
 - ทำนายการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Divergence)

ตัวอย่าง ทำนายการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง (Bearish Divergence)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่าง ทำนายกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Divergence)

You cannot view this attachment.

2. บอกภาวะการซื้อหรือขายที่มากไป (Overbought – Oversold identification)

2.1 บอกภาวะการซื้อที่มากเกินไป (OverBought identification) ภาวะที่ซื้อมากเกินไป คืออุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ราคามีโอกาสที่จะปรับตัวลดลง เนื่องจากความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Overbought เมื่อ %K > 80 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super overbought เมื่อ %K > 90

You cannot view this attachment.

2.2 บอกภาวะการขายที่มากเกินไป (Oversold identification) ภาวะขายที่มากเกินไป คืออุปสงค์มีน้อยกว่าอุปทาน ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ราคามีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Oversold เมื่อ %K < 20 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super oversold เมื่อ %K < 10

You cannot view this attachment.

3. บอกจุด ซื้อ-ขาย (Entry & Exit identification)

การนำ indicator STO มาเป็นสัญญาณบอก การซื้อหรือขายนั้น สามารถแยกได้ดังนี้คือ

- ซื้อเมื่อเส้น %K ตกลงในเขต Oversold แล้วดีดกลับขึ้นสูงกว่า 20
  ขายเมื่อเส้น %K ขึ้นในเขต Overbought แล้วดีดกลับลงมาน้อยกว่า 80
- ซื้อเมื่อเส้น %K ตัดขึ้นเหนือ %D และขายเมื่อเส้น %K ตัดลงต่ำกว่า %D
- หาจังหวะการซื้อหรือขายจากการเกิด Bullish & Bearish Divergence

3.1 ซื้อเมื่อเส้น %K ตกลงในเขต Oversold แล้วดีดกลับขึ้นสูงกว่า 20 และ ขายเมื่อเส้น %K ขึ้นในเขต Overbought แล้วดีดกลับลงมาน้อยกว่า 80

You cannot view this attachment.

3.2 ซื้อเมื่อเส้น %K ตัดขึ้นเหนือ %D และขายเมื่อเส้น %K ตัดลงต่ำกว่า %D

You cannot view this attachment.

3.3 หาจังหวะการซื้อหรือขายจากการเกิด Bullish & Bearish Divergence

ตัวอย่าง จังหวะการขายจาก Bearish Divergence (การกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง)

You cannot view this attachment.

ตัวอย่าง จังหวะการซื้อจาก Bullish Divergence (การกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น)

You cannot view this attachment.

ข้อที่ควรคำนึงจากการนำ STO มาใช้

1. Stochastic Oscillator เป็น indicator ประเภท momentum oscillator ใช้เป็นสัญญาณซื้อ-ขายได้ดี (แม่นยำ) ก็ต้องเมื่อตลาดเป็น Sideway (ตลาดที่ไม่เกิดแนวโน้ม) เนื่องจากตลาดมีการแกว่งตัวขึ้นลงไปมา

2. ถ้าเป็นตลาดขาขึ้น (Uptrend) STO จะให้สัญญาณซื้อได้ดีกว่าสัญญาณขาย

3. ถ้าเป็นตลาดขาลง (Downtrend)  STO จะให้สัญญาณขายได้ดีกว่าสัญญาณซื้อ

4. ความแม่นยำของ Bullish & Bearish Divergence นั้น จำเป็นต้องดูแนวโน้มประกอบด้วย
#33
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / บทวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค Forex...
กระทู้ล่าสุด โดย support-2 - พฤษภาคม 09, 2024, 01:45:42 ก่อนเที่ยง
CADJPY
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 61.8% สัมพันธ์กับ Support เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาจังหวะเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

GBPNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยม Expanding Triangle และราคาย่อตัวลงมาอยู่ที่ Demand Zone เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ

AUDNZD
You cannot view this attachment.
ภาพในกรอบเวลา Daily โครงสร้างของราคามีสวิงไฮและสวิงโลวล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสวิงก่อนหน้า จากภาพดังกล่าวทำให้เรามองว่าแนวโน้มในกรอบเวลานี้อยู่ในขาขึ้น
ตำแหน่งปัจจุบัน ราคาย่อตัวกลับลงมาที่ Fibonacci Retracement 50% สัมพันธ์กับ Support เป็นตำแหน่งที่เรามองว่ามีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นต่อตามแนวโน้มเดิมจากบริเวณนี้ มองหาสัญญาณกลับตัวขึ้นเพื่อเข้า Buy โดยตั้งจุดตัดขาดทุนและคาดหวังเป้าหมายทำกำไรตามภาพประกอบ
#34
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 09, 2024, 01:02:59 ก่อนเที่ยง
ทองวันนี้ 
จุด buy 2305-2307
2298
2290
Sell 2321
2332-33
2353
#35
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 09, 2024, 12:24:18 ก่อนเที่ยง
#36
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 09, 2024, 12:22:30 ก่อนเที่ยง
#37
การวิเคราะห์ทางเทคนิค / Stop loss ใช้หรือไม่ - แบบไหนด...
กระทู้ล่าสุด โดย support-1 - พฤษภาคม 08, 2024, 03:46:09 หลังเที่ยง
ไม่ว่าการเปิดเทรดทางไหน ไม่มีเทรดเดอร์ท่านไหนต้องการให้ออเดอร์นั้นๆ ที่เปิดโดน stop loss เพราะเป็นการสูญเสีย แต่การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดที่เทรดเดอร์ต้องยอมรับ และบริหารและจัดการความเสี่ยงให้เป็น แม้เทรดเดอร์ไม่ต้องการ stop loss แต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น การเข้าใจการทำงานของ stop loss และเทคนิดต่างๆ ในการจัดการเป็นเรื่องจำเป็น และแต่ละเทรดเดอร์สามารถใช้ได้เข้ากับรูปแบบการเทรดและบริหารทุนของตัวเองได้ดี เมื่อเรายอมรับว่า stop loss เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด เราก็จะหาทางว่าจะลดการสูญเสียได้อย่างไร นั่นคือความจำเป็นที่ต้องเข้าใจและเรียนรู้เทคนิค stop loss ต่างๆ แม้ว่าการเปิดเทรด การกำหนด stop loss และ take profit ก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่รูปแบบการเทรด

แบบแรกกำหนด stop loss กับทุกออเดอร์ที่เปิดเทรดหรือ Hard Stop-loss

You cannot view this attachment.

กรณีแรกถือว่าเป็นพื้นฐานของการจำกัดความเสี่ยง เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายและตรงประเด็นสำหรับการกำหนด stop loss เพื่อจำกัดความเสี่ยง คือเมื่อจะเปิดเทรด หลังจากท่านกำหนด trade setup ได้ สิ่งที่ต้องเห็นชัดเจนคือว่าท่านกำหนด stop loss และ take profit ตรงไหน ความสำคัญก็จะอยู่ที่การกำหนด stop loss เพราะมีผลกระทบต่อการเติบโตของพอร์ตและต่อจิตใจของเทรดเดอร์โดยตรง  แบบแรกคือเมื่อเปิดเทรดก็กำหนด stop loss เข้ากับ position นั้นๆ ทันทีอย่างภาพประกอบ เปิดเทรดตรงเส้นที่บอก Sell แล้วกำหนด stop loss ทันทีที่พื้นที่บอก stop loss ด้านบน

ข้อดีของวิธีการกำหนด stop loss แบบนี้คือ ถ้าราคาวิ่งสวนทางท่าน เกินที่ท่านกำหนด ด้วยการกำหนด stop loss ก็จะทำงานทันทีที่ราคาท่านกำหนด จำกัดความเสี่ยงทันที  การสูญเสียเกิดขึ้นเท่าที่ท่านรับได้ที่กำหนดไว้เท่านั้น และท่านไม่ต้องเฝ้าจอคอยมองสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชาร์ตเปลี่ยนไปด้วย แต่ข้อเสียอย่างในภาพประกอบด้านบนคือ ราคามักจะไปแตะ stop loss ที่ท่านกำหนด แล้วกลับมาทางที่ท่านเปิดเทรดแล้วไปไกลด้วย ทำให้ท่านสูญเสียและได้แค่มองสิ่งที่เกิดขึ้น จากที่ท่านควรจะได้กำไร การเกิด stop hunt จะเป็นเหตุการณ์ที่เห็นบ่อยกับวิธีการกำหนด stop loss แบบนี้

Mental Stop-loss หรือการไม่กำหนดเข้าไป แต่ท่านดูว่าท่านรับความเสี่ยงได้ตั้งแต่ตรงไหน

You cannot view this attachment.

รูปแบบการกำหนด stop loss แบบนี้ จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการเทรดหรือมอง market structure ด้วย อะไรเกิดขึ้น และส่วนเพราะเทรดด้วยพวกนี้ก็จะเข้าใจหลักการทำงานของ stop hunt ด้วยว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำตรงพื้นที่ๆ เข้าเทรดมี liquidity เยอะ เพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดเพิ่ม และเทรดราคาดีกว่า ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทรดเดอร์ที่เข้าเทรดก่อน และดูว่าพื้นที่ตรงไหนที่เทรดเดอร์พวกนี้จะใช้กำหนด stop loss ของพวกเขา วิธีการนี้จะดีสำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มาก เช่นอย่างด้านบน เหตุการณ์เดียวกันกับการเปิด Sell แบบด้านบน แต่ไม่มีการกำหนด stop loss เข้าไป เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะคิดว่าถ้าราคาไม่เบรค High ก่อน ด้วย momentum แล้วลงมาเทส และเห็น Price Action ที่บอก Reversal ในกรอบสีแดงก็จะไม่ปิดเสีย

ข้อดีของรูปแบบการกำหนด Mental Stop-loss คือท่านจัดการ stop loss ได้ดีกว่า เช่นอย่างกรณีของ stop hunt คือตัวอย่างที่ดี เพราะว่า market structure ไม่ได้เปลี่ยนไป แค่ขึ้นไปล่า stop loss เท่านั้นเอง  แต่เรื่องของ drawdown ก็อาจมากขึ้นไปด้วย แต่เทรดเดอร์สามารถถือรอราคาลงมา ถ้า market structure ไม่เปลี่ยน กลับกลายมาเป็นกำไรได้ แต่ข้อเสียคือว่า การที่จะใช้วิธีการกำหนด stop loss แบบนี้ จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ อ่าน market structure และอื่นๆ เป็น และยังต้องคอยเฝ้าจอตลอดด้วย เพราะดูว่า market structure เปลี่ยนแปลงอย่างไร และยิ่งถ้าเปิดเทรดหลายคู่เงิน หรือหลายออเดอร์ ก็ต้องคอยดูหลายคู่มากขึ้นไปอีก

วิธีการแบบ No Stop-loss  หรือไม่กำหนด Stop-loss เลย

การเปิดเทรดแบบ ไม่กำหนด stop loss เวลาราคาวิ่งสวน อาจไปไกล และไปเรื่อยๆ ได้ ส่งผลให้เรื่องขง drawdown เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ยิ่งเป็นการเปิดเทรดหลาย positions พร้อมๆ กัน การถือรออาจนานเช่น ถ้าเปิดเทรดเป็นช่วง swing จาก timeframe D1 การถือรออาจหลายวัน หรือเป็นอาทิตย์ได้ แต่เพราะเทรดเดอร์ที่ใช้วิธีการนี้มองว่าราคาเด้งขึ้นหรือลงเป็นเรื่องปกติ แล้วก็จะกลับมาทางเดิม แค่ว่าการเปิดเทรดไม่มาก ตามสัดส่วนทุน ไม่กระทบต่อพอร์ต ส่วนมากก็จะเทรดกันน้อย ไม่เกิน 10% ของทุน อาจบอกว่าการเทรดแบบไม่กำหนด stop loss เป็นการบริหารความเสี่ยงไปในตัวด้วยก็ว่าได้ แต่วิธีการนี้จะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีวินัยและผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี เพราะต้องทั้งบริหารพอร์ต และจัดการความกดดันจากการถือรอนานที่กระทบต่อ drawdown ด้วย และยังอาจต้องหาโอกาสเทรดเพิ่มเรื่อย แต่ต้องไม่ให้กระทบทุนด้วย

วิธีใช้การเทรดแบบ Hedging เป็นตัวแทนการกำหนด stop loss

You cannot view this attachment.

ข้อดีของตลาดฟอเรกคือท่านสามารถเทรด Sell หรือ Buy เวลาเดียวกันได้ ต่างจากตลาด Futures หรือ Options ที่ท่านต้องเปิดเทรดได้ทางเดียวเท่านั้นใน บัญชีเทรดเดียว ยกตัวอย่างตามภาพประกอบ ท่านเปิดเทรด Buy ที่เลข 1 ราคาวิ่งขึ้นไปได้นิดหน่อย แต่ราคาดันลงมา ท่านเห็นว่าราคาได้เบรค Support 1  และท่านเห็นว่าถ้าราคาเบรคลงไป พื้นที่เหนือ Support 1 ด้านบนสุดมี trapped traders ด้วย stop loss ของกลุ่มนี้น่าจะดันราคาลงไปเร็ว ออเดอร์ที่ท่านเปิด Buy ก็จะติดลบมากยิ่งขึ้นและเร็วด้วย และมองลงไปเห็น Support 2 ราคาก็มีการเทสแล้ว อาจลงไปต่อก็ได้ อาจถึง Support 3 ก็ยิ่งจะติดลบมากขึ้น เพื่อจำกัดการติดลบ และไม่ต้องการออกจากตลาด ท่านก็เปิด Sell ตรงที่เลข 2 ด้วย ล็อตเท่ากันจากที่ท่านเปิด Buy ท่านก็จำกัดการสูญเสียไว้เท่านั้น แต่ท่านยังรักษาโอกาสไว้ได้ ถ้าท่านบริหารการเทรดและมองตลาดเป็นวิธีการนี้ ก็จะมีต้นทุนอย่างอื่นเกิดขึ้นคือ Spread อาจต่างกันออกไปตามช่วงตลาด และการถือข้ามคืนหรือค่า SWAP  ข้อดีของการเทรดแบบ Hedging เป็น Stop loss ท่านสามารถจัดการเรื่องของ drawdown ได้ดีเพราะท่านล็อคพื้นที่ stop loss ท่านไว้ และไม่ต้องมาคอยกังวล หรือเฝ้ามองชาร์ตตลอด ถ้าวันนั้นตลาดไม่เข้าทางท่าน แต่ข้อเสียคือ ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่การที่จะหาว่าท่านจะออกจากการ Hedging เมื่อไร เป็นเรื่องที่ต้องใช้ประสบการณ์ ว่าท่านจะออกตรงไหน เช่น ถ้าท่านมีประสบการณ์ หลังจากเปิด Sell ท่านก็จะรอให้ราคาลงมา จนเห็นว่า market structure ชัดเจนว่าหยุดลงและอยากจะดันขึ้นไป เช่นที่วงกลมด้านล่าง เมื่อเห็น price action ที่บอก reversal ท่านค่อยปิด Sell ออเดอร์เพื่อออกจากตลาด แล้วรอให้ราคาค่อยๆ ดันกลับไปหาจุดที่ท่านเปิด Buy ด้านบน ส่วนมากเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ก็จะเปิดเทรด Buy ตรงด้านล่างนี้ขึ้นไปด้วย แต่ต้องควบคุมความเสี่ยงด้วย

การกำหนด Stop loss เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการเทรดเพราะเป็นการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดเทรด การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด เช่นเดียวกันกับการทำกำไร แต่การสูญเสียเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่ต้องการ จึงจำเป็นที่ต้องเข้าใจและใช้ให้เป็น ให้เข้ากับรูปแบบการเทรดของตนว่าเทรดแบบไหน และจะบริหารทุนอย่างไร
#38
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 08, 2024, 07:52:43 ก่อนเที่ยง
AUDUSD SELL 0.6616

🔻 SL 0.6675
🔹 TP 0.6400
#39
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / ต่อ: Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 08, 2024, 06:49:57 ก่อนเที่ยง
Sell : XAUUSD
จุดเข้า : ตอนนี้

TP : 2309

SL : 2330
#40
วิเคราะห์กราฟ Forex ประจำวัน / Forex Signal
กระทู้ล่าสุด โดย narjant - พฤษภาคม 08, 2024, 12:13:05 ก่อนเที่ยง